ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สรุป พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สรุป พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

แชร์กระทู้นี้

พรบ.ตำรวจแห่งชาติ

ชื่อ.......................................................พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้ไว้ ณ วันที่......................................๑๓  มกราคม   ๒๕๔๗
เป็นปีที่................................................๕๙  ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยคำแนะนำและยินยอมของ............รัฐสภา
วันใช้บังคับ.........................................ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                                            (ประกาศ  ๑๔  ก.พ.  ๒๕๔๗)
ยกเลิก..................................................กฎหมาย  ๑๗  ฉบับ
ข้าราชการตำรวจ.................................บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม พรบ.นี้ โดยได้รับ                                                                    เงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนใน สตช.  และหมายรวมถึงข้าราชการใน สตช. ซึ่ง สตช. แต่งตั้ง หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
ประธานกรรมการหมายถึง...................ประธาน ก.ต.ช.
กรรมการหมายถึง.................................ก.ต.ช.
กองทุนหมายถึง....................................กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
กองบัญชาการ......................................รวมถึงส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกอง         บัญชาการด้วย
กองบังคับการ...................................รวมถึงส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย
ผู้รักษาการตาม พรบ.นี้........................นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี.....................................มีอำนาจออกกฎกระทรวง  เพื่อปฏิบัติตาม  พรบ.นี้
กฎกระทรวงที่ออกตาม  พรบ.นี้..........เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

                              ลักษณะที่ ๑ บททั่วไป

สตช. อยู่ในบังคับบัญชาของ...............นายกรัฐมนตรี
สตช. มีอำนาจหน้าที่...........................
(๑)รักษา   
(๒)ดูแลควบคุม วิ อาญา   
(๓)ป้องกัน อาญา   
(๔)เรียบร้อย/ปลอดภัย/มั่นคง  
(๕)อื่น   
(๖)ช่วยเหลือ(นายก)   
(๗)ส่งเสริมสนับสนุน (๑),(๒),(๓),(๔),(๕)
การที่จะโอนอำนาจหน้าที่ตาม (๓) (๔) (๕) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่น.....................ให้ตราเป็น  พรฎ. และให้ถือว่า พนง.เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ  พงส.  ปค.หรือ ตร.ผู้ใหญ่  ตาม วิ อาญา
ให้ สตช. .............................................ส่งเสริมท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วม รปภ.ปชช. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.ต.ช.  กำหนด
ให้แบ่งตำรวจเป็นประเภทที่ไม่มียศได้.............โดยให้ตราเป็น  พรฎ.
พรฏ.ที่เกี่ยวกับตำรวจไม่มียศ............................ไม่มีผลกระทบฐานะของตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่ พรฎ. มีผลบังคับใช้
วัน เวลาทำงาน วันหยุด การลาหยุด...................ให้เป็นไปตามที่คณะรัมนตรีกำหนด
ในกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่..........ก.ต.ช. จะกำหนดให้แตกต่างไปจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้
                                                     ลักษณะที่ ๒ การจัดระเบียบราชการใน สตช.

สตช. แบ่งส่วนราชการเป็น....................................
   (๑)  สนง.ผบ.ตร.   
   (๒) กองบัญชาการ
การแบ่งส่วนราชการตาม(๑) เป็นกองบัญชาการ หรือการจัดตั้งกองบัญชาการ........ให้ตราเป็น พรฎ.
การแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น...........ให้ออกเป็น กฎกระทรวง
หัวหน้าส่วนราชการ สตช. คือ....................ผบ.ตร.
ผบ.ตร.มีอำนาจหน้าที่.................................
   (๑)รับผิดชอบควบคุม ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางที่ นายก และ ก.ต.ช. กำหนด   
   (๒)เป็นผู้บังคับบัญชาของ ตร.  รองจากนายก  
   (๓)รับผิดชอบ   
   (๔)วางระเบียบ ตาม กม.วิ หรือ กม.อื่น
ให้จเรตำรวจแห่งชาติ ,รอง ผบ.ตร. ,ผู้ช่วย ผบ.ตร..........เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจรองจาก ผบ.ตร. ตามที่ ผบ.ตร.กำหนดหรือมอบหมาย
ในกองบัญชาการ.........................ให้มีผู้บัญชาการเป็นผู้บังคับบัญชา และจะให้มี รอง ผบช.ก็ได้
ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ.............
   (๑)บริหารให้เป็นตามประกาศของทางราชการ /  ก.ต.ช.  /  ก.ตร.  และ  สตช.  
   (๒)ควบคุม ให้เป็นตามประกาศของทางราชการ /  ก.ต.ช.  /  ก.ตร.  และ  สตช.  
   (๓)เป็นผู้แทน ของ สตช.   
   (๔)รายงานผลการปฏิบัติต่อ ผบ.ตร.ทุก  ๔  เดือน หรือตามระยะที่  ผบ.ตร.กำหนด   
   (๕)หน้าที่อื่น ตาม กม. ระเบียบ บังคับ ประกาศของทางราชการ /  ก.ต.ช.  /  ก.ตร.  และ  สตช.
ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ บังคับ คำสั่ง มติ ครม. กำหนดให้เป็นอำนาจของอธิบดี หรือผบ.ตร....................................ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นนั้นในฐานะอธิบดี หรือ แทนผบ.ตร.ในส่วนกองบัญชาการ ตาม ก.ต.ช. กำหนด
ผู้บังคับการมีอำนาจและหน้าที่..............................
   (๑)บริหาร
   (๒)ควบคุม
   (๓)หน้าที่อื่น
ผู้บังคับการให้มีอำนาจสั่งการหรือยับยั้งการกระทำใดๆที่เห็นว่าไม่ชอบของข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดนั้นๆ.....................แล้วรายงาน สตช. และ บช. ตามหลักเกณฑ์ที่ สตช.กำหนด
ลักษณะที่ ๓ ก.ต.ช.
ก.ต.ช.มีอำนาจหน้าที่...........กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ  และกำกับดูแล สตช. ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ มติ ครม. และ กฎหมาย
ก.ต.ช. ประกอบด้วย...............
   (๑) นายกเป็นประธาน   รมต.มท.  รมต.ยธ.  ปลัด มท.  ปลัด ยธ. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
   (๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ๔  คน ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯจากบุคคลซึ่งสรรหาโดยกรรมการตาม (๑)
เลขานุการ ก.ต.ช....................ให้ประธานแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศ   พล.ต.ท.  ขึ้นไปคนหนึ่ง  โดยคำแนะนำของ ผบ.ตร.
ผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช...................ให้ประธานแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศ  พล.ต.ต.ขึ้นไป ไม่เกิน ๒ คน โดยคำแนะนำของ ผบ.ตร.
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตาม (๒)......ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ  ก.ต.ช.
รายชื่อ กรรมการ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิ................ให้นายกประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย...................................
(๑)        ออกระเบียบ ให้เป็นไปตามที่ ก.ต.ช.  กำหนด (ประกาศในราชกิจจาฯ)
(๒)เสนอแนะให้มีการตรา  พรฏ.เรื่องการโอนอำนาจให้หน่วยงานอื่นปฏิบัติ
(๓)คัดเลือก เพื่อแต่งตั้ง  ผบ.ตร. ตามที่นายกเสนอ
(๔)กำหนดกระบวนการกระจายอำนาจ
(๕)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
(๖)ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย และให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ
(๗)ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตาม ครม.มอบหมาย หรือตามกฎหมายกำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่
ของ  ก.ต.ช.
กรรมการ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมี......................ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านกฎหมาย    การงบประมาณ   การพัฒนาองค์กร  หรือการบริหารและจัดการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้.................(ม.๒๐)
     (๑)มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
     (๒)มีอายุไม่ต่ำกว่า  ๔๐  ปี บริบูรณ์
     (๓)ไม่เป็น สส. สว. ข้าราชการการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาข้าราชการการเมืองหรือที่ปรึกษา สส. หรือ สว.ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่
     (๔)ไม่มีตำแหน่งในพรรคการเมือง
     (๕)ไม่เป็นคนไร้ความสามมารถ เสมือนไร้ความสามารถ   วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
     (๖)ไม่เป็นคนล้มละลาย
     (๗)ไม่เคยได้รับโทษจำคุก เว้นแต่ประมาทหรือลหุโทษ
     (๘)ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก  ปลดออก  ให้ออกจากราชการ  หน่วยงานรัฐ  รัฐวิสาหกิจ
     (๙)ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
     (๑๐)ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ  ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่ง......................คราวละ  ๔  ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน  ๒  วาระติดต่อกันไม่ได้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากหน้าที่..................ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้วกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแน่งเมื่อ......................
         (๑)ตาย
         (๒)มีอายุครบ  ๗๐  ปีบริบูรณ์
         (๓)ขากคุณสมบัติตาม  ม.๒๐
         (๔)ก.ต.ช. มีมติ ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย
กรรมการผู้ทรงฯพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการสรรหาเว้นแต่.........วาระการดำรงตำแหน่งจะเหลือไม่ถึง   ๙๐  วัน  ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการสรรหาก็ได้
กรรมการผู้ทรงฯ............................ให้ดำรงตำแหน่งแทนเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
องค์ประชุม  ก.ต.ช...........................ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง
ถ้าประธานไม่มาหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้.........ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
ประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง..........จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้
ก.ต.ช.  มีอำนาจ..................ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ก.ต.ช. /คณะอนุกรรมการ  /  กรรมการ
ลักษณะที่ ๔  ยศและชั้นข้าราชการตำรวจ
ยศตำรวจมี................................. ๑๔ ลำดับ  (ส.ต.ต.  ถึง  พล.ต.อ.)
ชั้นข้าราชการตำรวจมี................... ๓ ชั้น  (๑)สัญญาบัตร  (๒)ประทวน  (๓)พลตำรวจ
การแต่งตั้งยศตำรวจสัญญาบัตร..........เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
การแต่งตั้งยศตำรวจสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ.................อาจกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ
ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศสัญญาบัตรจะแต่งตั้งว่าที่ยศชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราว โดยให้ผู้มีอำนาจต่อไปนี้แต่งตั้ง............................
     (๑) ว่าที่ยศ  ร.ต.ต.   ถึง   พ.ต.อ.   ให้    ผบ.ตร.  เป็นผู้แต่งตั้ง
     (๒) ว่าที่ยศ  พล.ต.ต.  ขึ้นไป        ให้   นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน....................ให้ ผบ.ตร.หรือ ผู้บังคับบัญชาระดับ ผบช.ขึ้นไป ซึ่งได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ตร. เป็นผู้แต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์  ก.ตร.
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวนเป็นกรณีพิเศษ..............................ให้  ผบ.ตร. เป็นผู้แต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์ ก.ตร.
การถอด หรือ การออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร...........ให้เป็นไปตามระเบียบ  สตช. และโดยประกาศพระบรมราชโองการ
การให้ออกจากว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร หรือการถอด หรือการออกจากยศตำรวจชั้นประทวน
ให้ผู้มีอำนาจต่อไปนี้............................
     (๑) ยศตำรวจชั้นประทวน            ให้    ผบ.ตร. หรือ  ผบช.  เป็นผู้สั่ง
     (๑) ว่าที่ยศ  ร.ต.ต.   ถึง   พ.ต.อ.   ให้    ผบ.ตร.  เป็นผู้สั่ง
    (๒) ว่าที่ยศ  พล.ต.ต.  ขึ้นไป        ให้   นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง
    สั่งได้ตามระเบียบ  สตช.
ลักษณะที่ ๕  ก.ตร.
ก.ตร.ประกอบด้วย..................
    (๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ , เลขาธิการ ก.พ. , ผบ.ตร. , จเรตำรวจแห่งชาติ , รอง ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
    (๒) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งโปรดเกล้าแต่งตั้ง จากผุ้ซึ่งได้รับคัดเลือก
ก.ตร.ผู้ทรงฯ ประกอบด้วย..................(มาตรา ๓๐ (๒))
    (ก) ผู้ที่เคยรับราชการเป็นตำรวจในตำแหน่ง ผบช. หรือเทียบเท่า ขึ้นไป จำนวน  ๕  คน แต่ต้องพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน   ๑   ปี
    (ข) ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ  จำนวน  ๖  คน  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขา  นิติศาสตร์  รัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์  อาชญาวิทยา  และงานยุติธรรม หรือ สาขาอื่นตามที่  ก.ตร.กำหนด  สาขาละ ไม่เกิน  ๑  คน
         เว้นแต่ถ้ามี รอง ผบ.ตร. เพิ่มขึ้น ก็ให้กรรมการผู้ทรงฯ เพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนของ รอง ผบ.ตร.
         บุคคลซึ่งเคยเป็นตำรวจ หากพ้นจากความเป็นตำรวจ เกิน  ๑๐  ปี และอายุไม่เกิน  ๖๕  ปี อาจได้รับการสรรหาเป็น  ก.ตร.ผู้ทรงได้ แต่ต้องไม่เกิน  ๑  คน
ตำแหน่งเลขานุการ ก.ตร........................ผบช. สนง.ก.ตร.
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ........................รอง ผบช. สนง.ก.ตร.
รายชื่อกรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงฯ.................ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ก.ตร.มีอำนาจและหน้าที่..........................(ม.๓๑)
     (๑) กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคล
    (๒) ออกกฎ ก.ตร.
    (๓) กำกับดูแล และให้มีอำนาจออกระเบียบให้ สตช.รายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ  การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย  การออกจากราชการ
    (๔) รายงาน ครม.เพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ
    (๕) กำหนดชั้นยศที่ควรบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับ สำหรับวุฒิปริญญา
  (๖) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
   (๗) พิจารณาอนุมัติแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ วันเดือนปีเกิด และควบคุมการเกษียณอายุ
   (๘) ในกรณีที่เห็นว่าการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  ของ  สตช. ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตาม  พรบ.นี้  ให้มีมติสั่งให้  สตช.ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้า สตช.ไม่ปฏิบัติตามให้รายงาน นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งต่อไป
   (๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
   (๑๐)ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.นี้ หรือกฎหมายอื่น
กฎ ก.ตร.บังคับได้ใช้เมื่อ.........................ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายให้ ก.ตร.ออกกฎกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง
กฎดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้เมื่อ.................... ๑๘๐ วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้.................(ม.๒๐)
     (๑)มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
     (๒)มีอายุไม่ต่ำกว่า  ๔๐  ปี บริบูรณ์
     (๓)ไม่เป็น สส. สว. ข้าราชการการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาข้าราชการการเมืองหรือที่ปรึกษา สส. หรือ สว.ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่
     (๔)ไม่มีตำแหน่งในพรรคการเมือง
     (๕)ไม่เป็นคนไร้ความสามมารถ เสมือนไร้ความสามารถ   วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
     (๖)ไม่เป็นคนล้มละลาย
     (๗)ไม่เคยได้รับโทษจำคุก เว้นแต่ประมาทหรือลหุโทษ
     (๘)ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก  ปลดออก  ให้ออกจากราชการ  หน่วยงานรัฐ  รัฐวิสาหกิจ
     (๙)ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
     (๑๐)ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ  ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงฯ...........ให้ ก.ตร. เป็นผู้วินิจฉัย
ก.ตร. จะเป็นกรรมการใน  ก.ต.ช. ในขณะเดียวกันไม่ได้.............. ยกเว้นนายก และ ผบ.ตร.
การเลือก ก.ตร.ผู้ทรงฯให้ดำเนินการ ดังนี้............................................
(๑  การเลือก กรรมการผู้ทรงฯ ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ก)(ผู้ซึ่งเคยรับราชการตำรวจในตำแหน่ง ผบช./เทียบเท่าขึ้นไป) ให้ ผกก. พงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งเทียบเท่าเป็นผู้เลือก
(๒) การเลือก กรรมการผู้ทรงฯ ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ข)(ผู้ไม่เป็นข้าราขการตำรวจ) ให้ ก.ตร.โดยตำแหน่ง และ ก.ตร.ผู้ทรงตาม มาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือก แล้วเสนอไปยัง ครม. เมื่อได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้วให้นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ พร้อมกับ ก.ตร.ผู้ทรงตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)
การเลือก ก.ตร.ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ก) ให้ประธาน ก.ตร.รับสมัคร แล้วจัดส่งบัญชีรายชื่อโดยเรียงตามลำดับตัวอักษรไปยังผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่า.................๔๐  วัน
การเลือก ก.ตร.ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ก) ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนมากตามลำดับเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีผู้ได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้สามารถเรียงลำดับผู้รับเลือกตามจำนวนได้..........................................
......ให้ประธาน ก.ตร.ทำการจับฉลาก
กรรมการ ก.ตร.ผู้ทรง ฯให้วาระการดำรงตำแหน่งได้คราวละ...........  ๔  ปี  วาระเดียว
ให้กรรมการ ก.ตร. ผู้ทรงฯซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ.................... ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงฯ ที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงฯ จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ...............................
(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
(๒) ก.ตร.มีมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓  เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม
(๓) ตาย  /  มีอายุครบ ๗๐  ปีบริบูรณ์  /  ลาออก
(๔) สมัครรับเลือกตั้ง หรือได้รับแต่งตั้งเป็นคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ในกรณี ก.ตร.ผู้ทรงฯ ตามมาตรา ๓๐ (๒)(ก) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ......ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อในอันดับแรกเป็นกรรมการแทน และให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงฯตามมาตรา ๓๐(๒)(ข) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่าง หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง ๒ ปี ..........ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงฯจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระใหดำเนินการจัดให้มีการเลือกใหม่ภายในเวลา..................................ไม่เกิน  ๖๐  วัน ก่อนครบวาระ
องค์ประชุม ก.ตร....................ต้องมี ก.ตร.มาประชุมไม่น้อยกว่า  กึ่งหนึ่ง ของจำนวน ก.ตร.ทั้งหมด
ในกรณีที่ประธาน ก.ตร.ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้...........ให้กรรมการ ก.ตร.ที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
การประชุม.............................ให้ประธาน ก.ตร.เป็นผู้เรียกประชุม  ในกรณีที่กรรมการ ก.ตร.ไม่น้อยกว่า  ๖  คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ เรียกประชุมภายใน  ๗  วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
ในกรณีที่  ก.ตร.มีหน้าที่ตาม  พรบ.นี้..............ให้ ผบ.ตร.เป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.ตร. แต่ไม่ตัดสิทธิ์กรรมการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ

ลักษณะที่ ๖  ระเบียบข้าราชการตำรวจ

ตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่ง...............มีทั้งหมด  ๑๓  ตำแหน่ง ตั้งแต่ ผบ.ตร.  ถึง  รอง ผบ.หมู่ ที่น่าสังเกตุคือตำแหน่ง จเรตำรวจแห่งชาติ เทียบเท่ากับตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.
จะกำหนดให้มีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดย.............ก.ตร.เป็นผู้กำหนด ในกฎ ก.ตร.
การกำหนดให้มีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้มีเฉพาะเท่าที่จำเป็น..........เมื่อหมดความจำเป็นให้ยุบตำแหน่งนั้น
จะให้มีตำแหน่งใด เท่าใด คุณสมบัติอย่างใด จะมียศหรือไม่รวมตลอดถึงการตัดโอนจากส่วนราชการหนึ่งไปส่วนราชการหนึ่ง.....................ให้เป็นไปตามที่  ก.ตร.  กำหนด
การกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่  ผบก.  พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือเทียบเท่า ขึ้นไป..........................ต้องได้รับความเห็นชอบจาก   ก.ต.ช.  ก่อน
ให้ พงส. ได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามระเบียบที่..................... ก.ตร. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
พงส. ให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ดังนี้....................................
(๑)พงส.  เมื่อดำรงตำแหน่งและได้รับเงินเดือนตามที่  ก.ตร.กำหนด อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้ชำนาญการ (สว.)
(๒)พงส. ผู้ชำนาญการ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓  ปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ  ส.๓  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้ชำนาญการพิเศษ ( รอง ผกก.)
(๓)พงส. ผู้ชำนาญการพิเศษ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓  ปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ ส.๔  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผกก.)
(๔)พงส. ผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓ ปี และได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของส.๕  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้เชี่ยวชาญ (รอง ผบก.)
(๕)พงส. ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓ ปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ ส.๖  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  พร้อมทั้งมีตำแหน่งว่าง  ให้ผู้นั้นเป็น   พงส.ผู้เชี่ยวชาญ       พิเศษ  (ผบก.)
การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งของ  พงส......................ให้นำปริมาณและคุณภาพของสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของ  ก.ตร.
การแต่งตั้ง  พงส. จะมีจำนวนเท่าใด มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาเพียงใด........................................ให้เป็นไปตามระเบียบของ  ก.ตร.
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจตาม พรบ.นี้..............ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่กำหนดในระเบียบของ  ก.ตร.
การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร.................................ให้บรรจุจากบุคคลที่ได้รับคัดเลือก หรือสอบแข่งขันได้
ผู้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ...........ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง มีกำหนดไม่น้อยกว่า   ๖  เดือน
หลักเกณฑ์หรือวิธีการคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน.........ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ผู้ดำเนินการคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน........... ผบ.ตร.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ตร.
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่ง ให้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ดังนี้..................
     (๑)    ผบ.ตร. โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก    ยศ   พล.ต.อ.
     (๒)  จเรตำรวจแห่งชาติ , รอง ผบ.ตร. โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก   ยศ  พล.ต.ท. / พล.ต.อ.
     (๓)   ผช.ผบ.ตร.  โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก  ยศ  พล.ต.ท.
     (๔)   ผบช.   โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ยศ  พล.ต.ต. / พล.ต.ท.
     (๕)   รอง ผบช. โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ยศ  พล.ต.ต.
     (๖)   ผบก. และพงส.ผู้เชี่วชาญพิเศษ  โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ยศ  พ.ต.อ.(พิเศษ) / พล.ต.ต.
     (๗)   รอง  ผบก. และพงส.ผู้เชี่ยวชาญ  แต่งตั้งจาก ยศ  พ.ต.อ.
     (๘)   ผกก. และพงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ  แต่งตั้งจาก  ยศ  พ.ต.ท. / พ.ต.อ.
     (๙)   รอง  ผกก. และพงส.ผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่งตั้งจาก  ยศ    พ.ต.ท.
     (๑๐)  สว. และพงส.ผู้ชำนาญการ   แต่งตั้งจาก  ยศ  ร.ต.อ. / พ.ต.ท.
     (๑๑)  รอง สว. และพงส.  แต่งตั้งจาก ยศ  ร.ต.ต. ขึ้นไปไม่สูงกว่า ร.ต.อ.
     (๑๒)  ผบ.หมู่  แต่งตั้งจาก  ยศ  ส.ต.ต. ขึ้นไปแต่ไม่สูงกว่า ดาบตำรวจ
     (๑๓)  รอง  ผบ.หมู่  แต่งตั้งจาก  ชั้น พลตำรวจ
     ตำแหน่ง   ๒   ถึง  ๑๓  อาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าด้วยก็ได้
หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
ตำแหน่ง
ผบ.หมู่ หรือ รอง ผบ.หมู่ อาจได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รอง สว.และพนักงานสอบสวนได้.....................ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.
รอง ผบ.หมู่ อาจได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.หมู่ได้..........ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.
ผบ.ตร.

         นายก....คัดเลือกชื่อ – นำเสนอ.......กตช. (พิจารณา).......นายก....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ
จเรตำรวจแห่งชาติ  ,รอง ผบ.ตร. (๒)
ผู้ช่วย ผบ.ตร. (๓)
ผบช. (๔)

         ผบ.ตร.......คัดเลือกชื่อ – นำเสนอ......ก.ตร. (พิจารณา)......นายก....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ

รอง ผบช. (๕)
ผบก. (๖)
(ใน สนง.ผบ.ตร.)

ผบ.ตร....คัดเลือก(รับฟังข้อเสนอแนะจาก ผบช.ที่เกี่ยวข้อง..เสนอ....กตร.
                                                            (เห็นชอบ)........นายก.....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ

รอง ผบช. (๕)
ผบก. (๖)
(ที่ไม่สังกัด  สนง.ผบตร.)

ผบช....เสนอ.....ผบ.ตร.
เห็นว่า ยังไม่เหมาะสม....ทำความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะ และเหตุผล

เห็นว่า เหมาะสม................เสนอ....ก.ตร.(เห็นชอบ)....นายก....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ
รอง ผบก. (ลงมา)

ใน สนง. ผบ.ตร.
               ผบ.ตร.....แต่งตั้ง...โดยที่
                                                                         ผบก.ที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอ
                                                                         และมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ
                                              * หากไม่เป็นที่ยุติ ให้.....ผบ.ตร.  ชี้ขาด
ไม่สังกัด  สนง. ผบ.ตร.
                ผบช...........แต่งตั้ง....โดยที่
                                                                           ผบก.ที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอ
                                                                           และมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ
                                                   *หากไม่เป็นที่ยุติ ให้.... ผบ.ตร.   ชี้ขาด

ผกก. (ลงมา)......ไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิม

ใน  บช. ที่สังกัด  สนง.ผบ.ตร.
                      ผบช. .......แต่งตั้ง โดย รับฟังข้อเสนอแนะจาก  ผบก.ที่เกียวข้อง
ใน  บก. ที่สังกัด  สนง.ผบก.ตร.
              ผบก. .........แต่งตั้ง
....................................................

ใน  บช.  อื่น
                   ผบก. .........แต่งตั้ง

การแต่งตั้ง รอง ผบช. ลงมา จากส่วนราชการหนึ่ง ไปส่วนราชการหนึ่ง
รอง ผบช.
ผบก.
ระหว่าง  สนง.ผบ.ตร.   และ  บช.  อื่น
                         ผบ.ตร.  และ  ผบช. .........ตกลงกัน
                                ผบ.ตร. ....เสนอ....ก.ตร. .......นายก......นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ
.........................................................
ระหว่าง  บช. อื่น
ผบช. ที่เกี่ยวข้อง........ตกลงกัน  ถ้า
ตกลงกันได้
ผบช.ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง.....เสนอ.....ผบ.ตร. .....เสนอ.....ก.ตร....นายก..นำความฯ
ตกลงกันไม่ได้
ผบ.ตร. , ผบช. ที่เกี่ยวข้อง......ทำความเห็นและข้อเสนอแนะ.....เสนอ......ก.ตร.
รอง ผบก. ลงมา

ระหว่าง  สนง. ผบ.ตร.   และ  บช.  อื่น
            ผบ.ตร.   และ  ผบช.ที่เกี่ยวข้อง.........ตกลงกัน
                    ผบ.ตร.  /  ผบช.
              ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง......เป็นผู้แต่งตั้ง
                    

ระหว่าง  บช.  อื่น
            ผบช. ที่เกี่ยวข้อง........ตกลงกัน
                                *ผบช.ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง...............เป็นผู้แต่งตั้ง

ในกรณีที่  ผบ.ตร. เห็นว่า
๑. การแต่งตั้งของ ผบช. ไม่เป็นธรรม
๒.ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ ที่ ก.ตร. กำหนด
๓. กรณีต้องดำเนินการทางวินัย
๔. และมีความจำเป็น  ให้   รอง  ผบช. (ลงมา)
     - พ้นจากหน้าที่
     -พ้นจากพื้นที่
     -หรือมีเหตุพิเศษ ตามที่ ก.ตร. กำหนด    ให้
               ผบ.ตร.......แต่งตั้ง
             * โดยที่ในตำแหน่ง  รอง ผบช. และ ผบก. ผบ.ตร. ....เสนอ ก.ตร...เห็นชอบ

การสั่งให้ข้าราชการตำรวจ
๑.        สำรองราชการ
๒.        พ้นจากตำแหน่งหน้าที่
ให้
๑.        นายก......เป็นผู้สั่ง สำหรับตำแหน่ง..................ผบ.ตร.
๒.        ผบ.ตร...เป็นผู้สั่ง สำหรับตำแหน่ง...................ตร. ทุกตำแหน่ง
๓.        ผบช.....เป็นผู้สั่ง สำหรับตำแหน่ง....................ตร. ใน บช. (หรือเทียบเท่า)
การโอนข้าราชการตำรวจไปรับราชการในส่วนราชการอื่น.............จะกระทำได้ต่อเมื่อเจ้าตัวสมัครใจและส่วนราชการอื่นนั้นต้องการ
การสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน   ให้

                                                                            ส.๖
ผบ.ตร......เป็นผู้สั่ง สำหรับ ระดับ.                   ส.๗                   เมื่อ  ก.ตร. ..เห็นชอบ
                                                                            ส.๘
การเลื่อนขั้นเงินเดือนตั้งแต่ระดับ ส.๕ ลงมา..................ให้เป็นไปตามระเบียบ  ก.ตร.

การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกิน  ๒  ขั้น.... ต้องได้รับอนุมัติจาก  ก.ตร.เป็นพิเศษเฉพาะราย

ขั้นเงินเดือน

๑        พล.ต.อ. (ตำแหน่ง ผบ.ตร.)  ให้รับอัตราเงินเดือน.........................ส.๙
๒        พล.ต.อ..........................................................................................ส.๘
๓        พล.ต.ท..........................................................................................ส.๗
๔        พล.ต.ต...........................................................................................ส.๖
๕        พ.ต.อ.(พิเศษ)...............................................................................ส.๕
๖        พ.ต.อ............................................................................................ส.๔
๗        พ.ต.ท............................................................................................ส.๓
๘        พ.ต.ต............................................................................................ส.๒
๙        ร.ต.อ. ,ร.ต.ท. ,ร.ต.ต.....................................................................ส.๑
๑๐        ด.ต. ..............................................................................................ป.๓
๑๑        จ.ส.ต.(พิเศษ)................................................................................ป.๒
๑๒. จ.ส.ต. , ส.ต.อ. , ส.ต.ท. , ส.ต.ต...................................................ป.๑
๑๓. พลฯสำรอง...................................................................................พ.๑
    * ยศ  ๒  ถึง  ๑๓  ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าก็ได้โดยตราเป็น   กฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว...........ตามที่กำหนดในกฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เงินเพิ่มอื่น.......ตามที่  ครม. กำหนด
ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำในต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ..............ตามที่กำหนดในระเบียบ  ก.ตร. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

การรักษาราชการแทน

              ผู้สั่ง                                                                                   ตำแหน่ง
๑.        นายกรัฐมนตรี...................................................................ผบ.ตร.
๒.        ผบ.ตร. ............................................................................. จเรตำรวจแห่งชาติ
                                                                                                        รอง ผบ.ตร.  หรือเทียบเท่าลงมา
๓.        ผบช. หรือเทียบเท่า.......................................................... ผบก.
                                                                                                 พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ลงมา)
                                                                ในส่วนราชการนั้น

๔.         ผบก. หรือเทียบเท่า......................................................... ผกก.
                                                                                                 พงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ (ลงมา)
                                                                                                  ในส่วนราชการนั้น
ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน....................ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรอง / ถ้าไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีตำแหน่งผู้ช่วย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย / ถ้ามีตำแหน่ง รองหลายคน ให้ผู้มีอาวุโส  / ถ้าไม่มีทั้ง รอง หรือผู้ช่วยหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีอาวุโส   เป็นผู้รักษาการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต อนุมัติ การดำเนินการด้านอื่นที่ ผบ.ตร.จะพึงปฏิบัติตามกฎหมายในกิจการของกองบัญชาการ...............ให้ ผบช.เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร.
ในการปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร...............ผบช.อาจมอบหมายให้ รอง ผบช.ปฏิบัติราชการแทก็ได้
ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยนช์ของทางราขการหรือเพื่อระงับความเสียหายอันเกิดจากการใช้อำนาจของ  ผบช......................  ผบ.ตร.จะระงับการใช้อำนาจนั้นเป็นการชั่วคราวและใช้อำนาจนั้นด้วยตนเองก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่  ก.ต.ช.  กำหนด
เมื่อรับมอบอำนาจแล้ว...........ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจไว้เป็นกรณีไป
ในกรณีที่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติ ครม. กำหนดให้อำนาจหรือหน้าที่ใดเป็นของปลัดกระทรวง..................การใช้อำนาจหรือการปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ สตช.ให้ถือเป็นอำนาจและหน้าที่ของ  ผบ.ตร.
วินัยและการรักษาวินัย
กฎ ก.ตร.เรื่องจรรยาบรรณของตำรวจให้มีผลใช้บังคับ..............เมื่อพ้นกำหนด  ๖๐  วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจาฯ
การกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงได้แก่..............การไม่รักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม ๑๘  ข้อ
การกระทำผิดวินัยร้ายแรง..........................มี  ๗  ข้อ
ผู้มีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาข้าราชการตำรวจให้มีวินัยและดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัยคือ.................ผู้บังคับบัญชา
เมื่อกรณีมีมูลที่ควรจะกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย..............ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที
ผู้บังคับบัญชาผู้ใด ละเลย ไม่ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัย หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต..................ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
เมื่อมีความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาวินัย แลปราบปรามข้าราชการตำรวจผู้ก่อการกำเริบ หรือเพื่อบังคับข้าราชการตำรวจที่ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่..................
ผู้บังคับบัญชาอาจใช้อาวุธหรือกำลังบังคับได้ และถ้าได้ทำโดยสุจริต ตามสมควรแก่เหตุ ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ช่วยเหลือไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา  แต่ต้องรายงานเหตุไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนตามลำดับ จนถึง  ผบ.ตร.
โทษทางวินัย........................มี  ๗  สถาน ได้แก่  
(๑)        ภาคทันฑ์
(๒)ทันฑกรรม
(๓)กักยาม
(๔)กักขัง
(๕)ตัดเงินเดือน
(๖)ปลดออก
(๗)ไล่ออก
ภาคทันฑ์ได้แก่..................มีเหตุควรปราณี จึงแสดงความผิดให้ปรากฎ
ทันฑกรรมได้แก่...............ทำงานโยธา  อยู่เวรยาม  ทำงานสาธารณประโยชน์ ไม่เกิน  ๖  ซม. ต่อวัน
กักยามได้แก่......................การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควร
กักขังได้แก่.........................การขังในที่จัดไว้เพื่อควบคุม
การกักยามหรือกักขัง.............................จะใชังานโยธาหรืองานอื่นของทางราชการด้วยก็ได้แต่ต้องไม่เกิน  ๖  ซม. ต่อวัน
การลงโทษข้าราชการตำรวจ.................ให้ทำเป็นคำสั่งโดยระบุด้วยว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด และมาตราใด
การดำเนินการทางวินัย
เมื่อมีการกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย............ให้ ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง หรือ พิจารณาในเบื้องต้นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาหรือไม่
การสืบสวนข้อเท็จจริง....................ให้แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหา หรือถูกร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยไม่ร้ายแรง..........ให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง มาพิจารณาสั่งลงโทษ ภาคทันฑ์  ทันฑกรรม  กักยาม  กักขัง ตัดเงินเดือน ตามควรแก่กรณี

เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายแรง................ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน
การสอบสวนความผิดวินัยร้ายแรง...................ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
ผู้มีอำนาจสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน...........................................
              ผู้สั่ง                                                                                  สำหรับตำแหน่ง
๑.    นายกรัฐมนตรี...................................................................ผบ.ตร.
๒.   ผบ.ตร. ............................................................................. จเรตำรวจแห่งชาติ
                                                                                                        รอง ผบ.ตร.  หรือเทียบเท่าลงมา
๓.    ผบช. หรือเทียบเท่า.......................................................... ผบก.
                                                                                                 พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ลงมา)
                                                                ในส่วนราชการนั้น
     ๔.    ผบก. หรือเทียบเท่า......................................................... ผกก.
                                                                                                 พงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ (ลงมา)
                                                                                                  ในส่วนราชการนั้น
•        หรือ ผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่างกันถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายแรงร่วมกัน..............ให้ผู้มีอำนาจสำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่า  หย่อนความสามารถ  บกพร่อง หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม  และผลการสอบปรากฏว่าผิดวินัยร้ายแรง.............ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งตามผลการสอบสวนโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มี ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ จะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาศผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
การพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัย....................ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภานใน  ๒๔๐  วัน นับแต่วันได้รับสำนวน
กรณีมีเหตุจำเป็น ตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ซึ่งทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลากำหนด...................ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน  ๒  ครั้ง ครั้งละไม่เกิน   ๖๐  วัน
หากยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ................ให้ผู้ถูกกล่าวหากลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อน และให้ถือว่าไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกสืบสวนหรือสอบสวน นับแต่วันครบกำหนด จนกว่าการพิจารณาสั่งการในเรื่องนั้นจะเสร็จสิ้นและมีคำสั่ง
ในกรณีที่ความผิดที่ปรากฎชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร................จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสืบสวนหรือสอบสวนก็ได้
เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องกักตัวผู้ถูกกล่าวหา................ให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจกักตัวระหว่างการสอบสวนได้ แต่ต้องไม่เกิน อำนาจลงโทษ กักขัง ของผู้สั่ง และต้องไม่เกิน  ๑๕   วัน
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกลงโทษ กักยาม หรือ กักขัง ................ให้หักจำนวนวันที่ถูกกักตัวออกจากระยะเวลากักยาม หรือกักขังด้วย
ในกรณีที่ถูกลงโทษทันฑกรรม...........ให้ถือว่าการถูกกักตัวเป็นการรับโทษสำหรับความผิดนั้นแล้ว
ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง.............ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ   ภาคทันฑ์  ทันฑกรรม  กักยาม  กักขัง หรือตัดเงินเดือน ตามควรแก่กรณี
การลงโทษภาคทันฑ์ให้ใช้เฉพาะ...............กรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งไม่ถึงกับต้องลงโทษทันฑกรรม
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้กระทำผิดวินัยควรได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่ง...........ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของตนที่มีอำนาจ เพื่อพิจารณาสั่ง
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ.................จะงดโทษให้โดยให้ทำทันฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจสั่งลงโทษ  ในสถานโทษใด และอัตราโทษเพียงใด.........ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.
ผู้ใดกระทำผิดวินัยร้ายแรง....................ให้ผู้มีอำนาจสั่ง สั่งลงโทษ ปลดออก หรือ ไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาก็ได้.....แต่ห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าปลดออก
การพิจารณาสั่ง ของ  ผบ.ตร.   ,  ผบช.หรือเทียบเท่า , ผบก. หรือเทียบเท่า เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดวินัย ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองเสนอ  คณะกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย  รองหัวหน้าหน่วยงานนั้นทุกคน  
ผู้ถูกลงโทษปลดออก.................ให้มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าลาออกจากราชการ
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใดแล้ว..............ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยต่อผู้บังคับบัญชาที่มีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการ และรายงาน  ผบ.ตร.
ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานเห็นว่าการยุติเรื่อง  งดโทษ  ลงโทษเป็นการไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม.................ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ  เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้น ลดโทษลง งดโทษ ทำทันฑ์บนเป็นหนังสือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องเหมาะสม
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการในเรื่องใดแล้ว..........................ถ้า ก.ตร.เห็นสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่ ให้ ก.ตร.มีอำนาจกระทำได้ตามความจำเป็น
ให้ผู้สืบสวน  กรรมการสืบสวน  กรรการสอบสวนทางวินัย.............เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตาม ป.วิ อาญา
ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนความผิดวินัยร้ายแรง  หรือ ถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไว้แล้ว.............แม้ต่อมาผู้นั้นจะลาออกจากราชการไปก็ให้ทำการสอบสวนต่อไป  แต่ต้องให้แล้วเสร็จภายใน  ๑  ปี นับแต่วันที่ออกจากราชการ
ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่า ผิดวินัยร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมกการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำผิดกฎหมายอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่ความผิดประมาทหรือความผิดลหุโทษ.................................ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าภายหลังผลการสอบสวนผู้นั้นมิได้กระทำความผิดหรือผิดไม่ถึงกับถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก...................ให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัย แต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน.......... ภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภานใน
๕        ปี ให้ผู้มีอำนาจสั่งให้มีการสืบสวนสอบสวนต่อไป

การออกจากราชการ
ข้าราชการตำรวจออกจากราชการเมื่อ......................................
(๑)        ตาย
(๒)พ้นจากราชการตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ
(๓)ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือการลาออกมีผล
(๔)ถูกสั่งให้ออก
(๕)ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ข้าราชการตำรวจผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออก.......ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ  ตำแหน่งทางการเมือง  เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา  สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น...........
ให้การลาออกมีผลบังคับนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นลาออก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ...........จะยับยั้งการลาออกเป็นเวลาไม่เกิน  ๓  เดือนนับแต่วันขอลาออก
ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่าหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ ประพฤติตนไม่เหมาะสม  ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ.................ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่  ผกก.หรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นว่ามีมูล ถ้ารับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายแรงและได้มีการสอบสวนแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้นั้นกระทำความผิดที่จะถูกลงโทษ  แต่มีมลทินมัวหมอง...............ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญทดแทนได้
ในการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจตำแหน่ง ผู้บังคับการ พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป ......................ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ในการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจตำแหน่ง  ผบ.ตร.  จเรตำรวจแห่งชาติ  รอง  ผบ.ตร. หรือตำแหน่งเทียบเท่า..................ให้นำความฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย
การอุทธรณ์
ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ.................มีสิทธิ์อุทธรณ์ได้
กรณีถูกสั่งลงโทษ  ภาคทันฑ์  ทันฑกรรม  กักยาม  กักขัง  ตัดเงินเดือน...............ให้อุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชา ของผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ  ถ้า  ผบ.ตร.เป็นผู้สั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อ  ก.ตร.
กรณีถูกสั่งลงโทษ  ปลดออก ไล่ออกหรือให้ออก .................................ให้อุทธรณ์ ต่อ  ก.ตร.
ระยะเวลาอทธรณ์..................ให้อุทธรณ์ภายใน   ๓๐  วัน  นับแต่วันทราบคำสั่ง
ระยะพิจารณาอุทธรณ์............ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน  ๒๔๐  วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์
ในกรณีมีเหตุจำเป็นตามที่กำหนดในระเบียบ  ก.ตร. ที่ทำให้การพิจารณาไม่เสร็จ.............ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน ๒  ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน  ๖๐  วัน
การร้องทุกข์
ข้าราชการตำรวจผู้ใดเห็นว่า  ผู้บังคับบัญชา ใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องตามระเบียบ  กฎหมาย  หรือเกิดจากการปฎิบัติโดยมิชอบต่อตน.............ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ก.ตร. แล้วต่กรณี เว้นแต่เป็นกรณีมีสิทธิอุทธรณ์ ให้ใช้สิทธิอุทธรณ์
หลักเกณฑ์การร้องทุกข์ เหตุห่งการร้องทุกข์และการพิจารณา.......ให้เป็นไปตาม กฎ ก.ตร.
เครื่องแบบ
ลักษณะ ชนิด ประเภทของเครื่องแบบ รวมทั้งการแต่งว่าจะสมควรอย่างไร  เมื่อไร..........ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตราที่มีโทษทางอาญา     ๓   มาตรา
ม.๑๐๘ ผู้ใดแต่งเครื่องแบบโดยไม่มีสิทธิ  ต้องระวางโทษ  ๓  เดือน  ถึง  ๕  ปี
ม.๑๐๙ ข้าราชการตำรวจผู้ใดแต่งเครื่องแบบขณะกระทำความผิดกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑  ปีขึ้นไป ต้องระวางโทษ  ๑  ปี  ถึง  ๗  ปี
ม.๑๑๐ ผู้ใดแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจ และกระทำการใดๆอันทำให้ราชการตำรวจ ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ราชการตำรวจ ต้องระวางโทษ ไม่เกิน  ๓  เดือน หรือปรับ ๑,๐๐๐  ถึง  ๑๐,๐๐๐  หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในการแสดภาพยนต์  ละคร  หากผู้แสดงประสงค์จะแต่งเครื่องแบบ.............ให้ผุ้รับผิดชอบหรือมอบหมาย แจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่จะทำการแสดงนั้น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ลักษณะที่  ๗  กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
วัตถุประสงค์ในการตั้งกองทุน............................เพื่อสนับสนุนงานสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
กองทุนประกอบด้วย...........................................
      ๑.เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
      ๒.เงินและทรัพย์สินที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐ  วิสาหกิจ  ส่วนราชการท้องถิ่น  มูลนิธิ
      ๓.ดอกผลที่เกิดจากกองทุน
ให้นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ และเงินค่าปรับตาม  พรบ.จราจรทางบก  เฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้เป็นกองทุน............โดยได้รับอนุมัติจาก ครม.
คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วย.......................................
(๑)        ผบ.ตร.  เป็นประธานกรรมการ
(๒)        ผู้แทนสำนักปลัดนายก
(๓)        ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
(๔)        ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม
(๕)        ผู้แทนสำนักงบประมาณ
(๖)        ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
(๗)        ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(๘)        รอง ผบ.ตร หรือ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่ได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ตร. จำนวน  ๒  คน
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้ง...................ข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการ  ๑  คน  ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน  ๒  คน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน..............................................
       (๑)บริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ นโยบายที่  ก.ต.ช.  กำหนด
       (๒)ออกระเบียบหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน  เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก  ก.ต.ช.
       (๓)จัดวางระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน
       (๔)กำหนดหลักเกณฑ์การเก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
       (๕)ออกระเบียบกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
       (๖)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
       (๗)ออกระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารกองทุก
       (๘)รายงานสถานะการเงินและบริหารกองทุนต่อ  ก.ต.ช.
นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน................ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินและบัญชี ส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน   ๑๒๐  วัน
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปี...............แล้วรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อ   ก.ต.ช.  และ กระทรวงการคลัง

                                                         บทเฉพาะกาล
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
จำเกี่ยวกับตัวเลขใน พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

- ชื่อ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

- ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547

- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก

- ใช้บังคับวันถัดจากวันประกาศฯคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547

- เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน

- ก.ต.ช.โดยตำแหน่งประกอบด้วย 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไป 1 คน เป็นเลขานุการ ก.ต.ช.

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. เชี่ยวชาญ 4 ด้านคือ กฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ

- คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. คือ อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

- ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึง 90 วัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้

- ก.ต.ช. มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

- ตำแหน่ง 13

- ยศ 14

- ชั้นข้าราชการ 3

- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ ของ ก.ตร. จำนวน 6 คน

- กรรมการ ก.ตร. ซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน10 ปีและมีอายุไม่เกิน 65 ปี

- ข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ตร.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว

- ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- การดำรงตำแหน่งของ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง 2 ปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง

- ในกรณีที่ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน 60 วันก่อนวันครบวาระ

- การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

- ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่ ก.ตร. ไม่น้อยกว่า 6 คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับร้องขอ

- ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีคุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

- การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ คำนึงถึง (เรียงตามลำดับ)

1. ความอาวุโส

2. ประวัติการรับราชการ

3. ผลการปฏิบัติงาน

4. ความประพฤติ

5. ความรู้ความสามารถประกอบกัน

- ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ถ้า 15 วัน ไม่ผิด)

- โทษทางวินัยมี 7 สถาน (ให้ออก ไม่ใช่โทษทางวินัย)

- การลงโทษทัณฑกรรม ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- การลงโทษกักยามหรือกักขัง ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันได้รับสำนวน

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

- เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องกักตัวข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ต้องไม่เกิน 15 วัน

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันออกจากราชการ

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายใน 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป

- ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออก มีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

- หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ดาวโหลดข้อสอบพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
http://5d665e0d.linkbucks.com
http://6c3fae34.linkbucks.com
ดาวโหลด กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553
http://6d779210.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
http://a8833b8f.linkbucks.com
http://3291edad.linkbucks.com
http://d28e7525.linkbucks.com
ดาวโหลดกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล ฯ พ.ศ.2547
http://10a8ff06.linkbucks.com
ดาวโหลดพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2554
http://92e29417.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบวิชาภาษาไทย (อก2-4)
http://c6d6c93d.linkbucks.com
http://5cfa3cc9.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ 2526 และแก้ไขเพิ่มเติม (อก.2-4)
http://fe628dd0.linkbucks.com
http://7e61f3a6.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ปป1-3)
http://5c96f9d3.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบกฎหมายลักษณะพยาน (ปป1-3)
http://9172a531.linkbucks.com
http://956fd2b0.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบประมวลกฎหมายอาญา (ปป1-3)
http://b90c5b86.linkbucks.com
ดาวโหลดเเนวข้อสอบรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (สส.5)
http://bee7b0ae.linkbucks.com
ดาวโหลดแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 (สส.5)
http://740874b1.linkbucks.com

ลิงค์สำรอง

วิธีการดาวโหลดไฟล์จาก  inkbucks


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้