ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบตำรวจสัญญาบัตร สายสอบสวน (สส.5) ปี 2555
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบตำรวจสัญญาบัตร สายสอบสวน (สส.5) ปี 2555

แชร์กระทู้นี้

ข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1) พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ชนผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยประมาทขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้องจริง ศาลชั้นต้นสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงเสนอ พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะแล้วเสนอรายงานว่า ความจริง จำเลยไม่ได้ขับรถชนผู้ตาย ญาติของจำเลยเป็นคนขับแต่ได้ขอให้จำเลยรับผิดแทนดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในรายงานของพนักงานคุมประพฤติ แล้วพิพากษายกฟ้องทันทีได้หรือไม่ ( เนติ 54 )

ก. รายงานของพนักงานคุมประพฤติเพยานเป็นหลักฐาน ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามรายงานดังกล่าว แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีได้ 

ข. รายงานของพนักงานคุมประพฤติมิใช่พยานหลักฐาน ศาลจะนำมาใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดหรือมิได้กระทำผิดไม่ได้ ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามรายงานดังกล่าว แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีไม่ได้ 

ค. เป็นดุลพินิจของศาล ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามรายงานดังกล่าว แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีได้ 

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค 

2) ศาลชั้นต้นจะถือข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำให้การรับสารภาพของจำเลย แล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด โดยไม่คำนึงถึงรายงานของพนักงานคุมประพฤติเลย ชอบหรือไม่ ( เนติ 54 )

ก. แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้อง และข้อหานั้น กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาทันทีโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แต่ในคดีอาญาหากมีมูลกรณีให้เห็นว่าจำเลยจะมิใช่ผู้กระทำผิด ศาลก็ชอบที่จะให้มีการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป

ข. จำเลยจะให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะมีคำพิพากษา

ค. ศาลชอบที่จะให้มีการพิพากษาทุกกรณี

ง. ไม่มีข้อใดถูก 

3) นายแดงลักแหวนเพชรของนายขาวไปจากบ้านพักที่อยู่ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครสวรรค์ แล้วขับรถยนต์หลบหนีไปทางจังหวัดกำแพงเพชร ร้อยตำรวจเอกสมศักดิ์ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชรทราบเรื่องจึงได้ไปตั้งด่านเพื่อจับกุม แต่นายแดงรู้ตัวเสียก่อนได้ขับรถยนต์หลบหนีไปทางจังหวัดตาก ร้อยตำรวจเอกสมศักดิ์จับกุมนายแดงได้พร้อมแหวนเพชรของนายขาวที่นายแดงลักเอาไปที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตากนำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชรทำการสอบสวนดำเนินคดี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชรทำการสอบสวนเสร็จ แล้วส่งสำนวนให้พนักงาน อัยการจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดบ้างที่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ( เนติ 52 )

ก. พนักงานสอบสวนท้องที่อำเภอเมืองนครสวรรค์ 

ข. พนักงานสอบสวนท้องที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร 

ค. พนักงานสอบสวนท้องที่อำเภอเมืองตาก 

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.

4) ตามข้อ 53 พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ ( เนติ 52 )

ก. มีอำนาจฟ้อง 

ข. ไม่มีอำนาจฟ้อง 

ค. มีอำนาจฟ้อง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากอัยการสูงสุด 

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค. 

5) นางสาวสวยเดินทางโดยเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด ไปประเทศสิงคโปร์ ขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือประเทศสิงคโปร์ นายหนุ่มซึ่งโดยสารอยู่ในเครื่องบินลำเดียวกันเสพสุรามึนเมา ได้กระทำอนาจารต่อนางสาวสวย เมื่อนางสาวสวยเดินทางกลับประเทศไทย ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และต่อมาอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ทำการสอบสวนคดี แต่นางสาวสวยเห็นว่าพนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้า จึงประสงค์จะยื่นฟ้องคดีเอง ให้วินิจฉัยว่า นางสาวสวยจะยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองได้หรือไม่ และจะยื่นฟ้องนายหนุ่มต่อศาลใดได้บ้าง ( เนติ 51 )

ก. ยื่นฟ้องได้ ที่ศาลจังหวัดสงขลา

ข. ยื่นฟ้องได้ ที่ศาลจังหวัดสงขลา 

ค. ยื่นฟ้องไม่ได้ 

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 

6) พันตำรวจโทสนิท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีตามคำร้องทุกข์ของนายเสนอผู้เสียหาย ซึ่งกล่าวหาว่านายสนองผู้ต้องหากระทำการฉ้อโกงทรัพย์ของนายเสนอ ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ระหว่างสอบสวนนายเสนอ และนายสนองได้ทำความตกลงด้วยวาจายอมเลิกคดีต่อกัน โดยนายสนองยินยอมผ่อนชำระค่าเสียหายเนื่องจากการะกระทำความผิดในคดีนี้ให้แก่นายเสนอเป็นสองงวด นายเสนอ และนายสนองได้มาแจ้งถึงความตกลงดังกล่าวให้พันตำรวจโทสนิท ทราบ ต่อมานายสนองไม่ได้ชำระเงินค่าเสียหายให้แก่นายเสนอตามที่ตกลงกันไว้ นายเสนอจึงขอให้พันตำรวจโทสนิท สอบสวนดำเนินคดีนี้แก่นายสนองต่อไป ให้วินิจฉัยว่า พันตำรวจโทสนิท จะมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีนี้แก่นายสนองต่อไปได้หรือไม่ ( เนติ 51 )

ก. สอบสวนได้ เพราะคดียังไม่ระงับ 

ข. สอบสวนได้เฉพาะข้อหาปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม 

ค. สอบสวนไม่ได้ เฉพาะคดีระงับไปหมดแล้ว 

ง. สอบสวนได้เฉพาะข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ 

7) นางสายถูกนายกล้ายกยอกแหวนเพชรไปในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีจึงได้ไปร้องทุกข์เรื่องที่ตนถูกนายกล้ายักยอกทรัพย์ต่อสิบตำรวจตรีซื่อ ซึ่งเป็นตำรวจจราจร สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ นางสายเห็นนายกล้าเดินเที่ยวอยู่ในห้างสรรพสินค้าในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร นางสายจึงแจ้งให้สิบตำรวจเอกตรง จับนายกล้า โดยแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว สิบตำรวจเอกตรงจึงไปทำการจับกุมนายกล้าได้ในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว แล้วควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี ในระหว่างที่นายกล้าถูกควบคุมตัวโดยพนักงานสอบสวน นายกล้าได้ยื่นคำร้องต่อศาลนนทบุรี ขอให้ปล่อยตัวโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดอันยอมความได้แต่มิได้มีการร้องทุกข์ ข้ออ้างของนายกล้ารับฟังได้หรือไม่( เนติ 51 )

ก. รับฟังได้ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน 

ข. รับฟังได้ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์กับนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ 

ค. รับฟังไม่ได้ เพราะการร้องทุกข์จะร้องทุกข์กับตำรวจใดก็ได้ ง.ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 

8) ตามข้อ 57 หากนายกล้าต่อสู้ว่าสิบตำรวจเอกตรงทำการจับโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีหมายจับและหมายค้น ให้วินิจฉัยว่า ข้ออ้างของนายกล้ารับฟังได้หรือไม่( เนติ 51 )

ก. รับฟังได้ เพราะการจับกุมต้องมีหมายหรือคำสั่งจากศาล 

ข. รับฟังได้ เพราะการจับกุมต้องมีหมายหรือคำสั่งจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ 

ค. รับฟังไม่ได้ เพราะผู้เสียหายชี้ให้ทำการจับกุมได้ 

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 

9) นายแดงและนายขาวต่างเป็นโจทก์ฟ้องนายดำในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกัน หลังจากสืบพยานโจทก์นัดแรกไปแล้ว ในการสืบพยานโจทก์นัดต่อมา นายขาวและทนายของนายขาวมาศาล ส่วนนายแดงและทนายของนายแดงไม่มาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกฟ้องคดีที่นายแดงเป็นโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 นายแดงอุทธรณ์ว่า เมื่อศาลรวมพิจารณาคดีที่นายแดงเป็นโจทก์เข้ากับคดีที่นายขาวเป็นโจทก์ การฟังพยานหลักฐานตลอดจนการพิพากษาคดีต้องถือเป็นคดีเดียวกัน แม้ถึงวันนัดสืบพยาน โจทก์ทั้งสองจะมีแต่นายขาวและทนายของนายขาวมาศาลก็ตาม ต้องถือว่านายแดงมาศาลด้วย อีกทั้งมิใช่เป็นการนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องในคดีที่นายแดงเป็นโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของนายแดงฟังขึ้นหรือไม่( เนติ 51 )

ก. ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องมาศาลในวันนัดสืบพยานทุกนัด การรวมคดีก็เพื่อสะดวกในการพิจารณาและพิพากษาเท่านั้น 

ข. ฟังขึ้น เพราะมีการรวมคดีและนายขาว ทนายความนายขาวโจทก์ก็มาศาลแล้ว 

ค. ฟังขึ้น เพราะในดคอาญาโจทก์ไม่จำต้องมาศาลในวันนัดสืบพยานทุกนัด 

ง. ไม่มีข้อใดถูก 

10) พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีลูกระเบิดขว้างชนิดสังหารไว้ในครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษประหารชีวิตอันเป็นบทหนัก จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ อีกกรรมหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิด แต่หากศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยก็ขอให้ศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ต้องลดโทษให้แก่จำเลย เช่นนี้หากศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดจะพิพากษาลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ลดโทษให้จำเลยได้หรือไม่( เนติ 51 )

ก. ได้ เพราะเป็นฎีกาให้เพิ่มโทษของจำเลยเอง 

ข. ได้ เพราะอัตราโทษที่ฟ้องระบุถึง 

ค. ไม่ได้ เพราะศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นแล้ว 

ง. ไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ฎีกาให้เพิ่มโทษ 

11) พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ซึ่งความผิดดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ถึง 20 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 6 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยอ้างว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วให้วินิจฉัยว่า ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่( เนติ 51 )

ก. จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ เพราะเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย 

ข. จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย 

ค. จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ง. จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ เพราะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

12) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 พันตำรวจโทยุทธศักดิ์ พนักงานสอบสวนขอศาลออกหมายจับนางสมศรีในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น และได้สืบสวนจนทราบว่านางสมศรีอยู่ในบ้านของตนซึ่งตามสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏชื่อนายสมศักดิ์สามีของนางสมศรีเป็นเจ้าบ้าน พันตำรวจโทยุทธศักดิ์ จึงมอบหมายให้พันตำรวจตรีทรงวุธนำกำลังตำรวจจำนวนหนึ่งไปขอค้นบ้านนายสมศักดิ์โดยไม่มีหมายค้น นายสมศักดิ์ไม่ยอมให้ค้น พันตำรวจตรีทรงวุธจึงแสดงหมายจับนางสมศรี และอ้างว่าตนเป็นพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่สามารถทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย และขู่ว่าถ้านายสมศักดิ์ไม่ให้ความร่วมมือจะถูกดำเนินคดี นายสมศักดิ์จึงจำยอม และพันตำรวจตรีทรงวุธจึงจับกุมนางสมศรีได้ ให้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังได้หรือไม่ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ( เนติ 51 )

ก. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธชอบด้วยกฎหมาย 

ข. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ค. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังไม่ได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธชอบด้วยกฎหมาย 

ง. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังไม่ได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

13) นางวิไลมีบุตรสองคนคือ นายสมศักดิ์ อายุ 24 ปี และนายสมทรงอายุ 21 ปี นายสมทรงถูกนายอาวุธใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย นางวิไลจึงเป็นโจทก์ฟ้องนายอาวุธฐานฆ่านายสมทรงที่ศาลอาญา ศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งประทับฟ้อง ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญา พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนคดีที่นายอาวุธใช้อาวุธปืนยิงนายสมทรงถึงแก่ความตาย ส่งให้พนักงานอัยการพิจารณา พนักงานอัยการพิจารณาแล้วได้ยื่นฟ้องนายอาวุธที่ศาลอาญาฐานฆ่านายสมทรงอีกคดีหนึ่ง ต่อมานางวิไลถึงแก่ความตาย นายสมศักดิ์จึงร้องขอต่อศาลอาญาเพื่อดำเนินคดีแทนนางวิไลต่อไป หากปรากฏว่าคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์นายอาวุธคัดค้านว่าพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีที่นางวิไลได้ยื่นฟ้องนายอาวุธไว้แล้ว ให้วินิจฉัยว่า ข้อคัดค้านของนายอาวุธดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจพนักงานสอบสวนมิให้ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก 

ข. ฟังไม่ขึ้น เพราะผู้เสียหายและพนักงานอัยการต่างมีอำนาจฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันได้ 

ค. ฟังขึ้น เพราะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อน 

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 

14) ตามข้อ 63 หากคดีที่นางวิไลเป็นโจทก์ นายอาวุธคัดค้านว่านายสมศักดิ์ไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนนางวิไลต่อไปได้ ให้วินิจฉัยว่า ข้อคัดค้านของนายอาวุธดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ 

ข. ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นการรับมรดกความ 

ค. ฟังขึ้น เพราะนางวิไลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 

15) นายคมถูกพนักงานสอบสวนจับกุมสอบสวนในข้อหาฉ้อโกงนายขำและนายเขียว และทำร้ายร่างกายนายเขียวได้รับอันตรายสาหัส ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายคมในข้อหาฉ้อโกง แต่มีคำสั่งฟ้องนายคมในข้อหาทำร้ายร่างกายนายเขียวได้รับอันตรายสาหัส แล้วยื่นฟ้องนายคม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษนายคมตามฟ้อง นายคมอุทธรณ์ ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายเขียวได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ให้วินิจฉัยว่า นายเขียวมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้นายเขียวได้รับอันตรายสาหัส หรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ไม่มีสิทธิ เพราะต้องยื่นฟ้องคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ข. ไม่มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ค. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ง. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

16) ตามข้อ 65  คดีข้อหาฉ้อโกง นายขำได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายเขียวได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายขำ ให้วินิจฉัยว่านายเขียวมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายขำในความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่( เนติ 50 )

ก. ไม่มีสิทธิ เพราะ ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30,31

ข. ไม่มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ค. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ง. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

17) คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 365 (3) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จำเลยอุทธรณ์ ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า ความผิดตามมาตรา 365 (3) มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ไม่มีสิทธิขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องต่อมาศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 362 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้จำหน่ายคดีเพราะโจทก์และจำเลยยอมความกันแล้ว ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีได้หรือไม่( เนติ 50 )

ก. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว 

ข. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว 

ค. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว 

ง. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว 

18) พนักงานอัยการฟ้องนายดำต่อศาลอาญาว่านายดำกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา นายดำยื่นคำร้องต่อศาลว่าเป็นการฟ้องเพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง ของให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน ศาลอาญาจึงมีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้อง ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง นายดำพร้อมทนายความมาศาล พนักงานอัยการนำผู้เสียหายเข้าเบิกความจนจบคำซักถามทนายจำเลยไม่ถามค้าน นายดำยื่นคำให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง ขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกไว้ ผู้เสียหายแถลงขอให้ศาลรอการลงโทษให้นายดำ ถ้าศาลอาญาจะพิจารณาพิพากษาคดีให้เสร็จไปในวันนั้น ศาลอาญาจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไร( เนติ 50 )

ก. ศาลต้องสั่งประทับรับฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 162

ข. ศาลต้องสั่งดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 172

ค. ศาลอ่านคำฟ้อง สอบถามคำให้การจำเลย หากจำเลยรับสารภาพ ก็มีคำพิพากษาได้ 

ง. ถูกทุกข้อ 

19) พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายเสริมเป็นจำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายนางสาวจิราได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงต่อศาลว่าไม่ต้องการทนายความและขอให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 4 เดือน ลดโทษในกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 2 เดือน โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด และตามพฤติการณ์แห่งคดีสมควรลงโทษจำเลยสถานหนัก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดจริง แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก 3 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56  ให้วินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย 

ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ค. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

ง. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

20) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ลงโทษจำคุกจำเลย 5 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก 2 เดือน และปรับ 24,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 50 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย 

ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย 

ค. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนและปรับ นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

เปิดจำหน่ายแนวข้อสอบตำรวจสัญญาบัตร สายสอบสวน (สส.5)

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 
ประกอบด้วย

ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
1. ประมวลกฎหมายอาญา
2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. กฎหมายลักษณะพยาน

4. - แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พร้อมเฉลย

5. - เเนวข้อสอบรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย 2550 พร้อมเฉลย
6. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ตร. ที่เกี่ยวข้อง
- กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2547
- กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม 2553
7. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

8.. รวมคำถามข้อสอบเก่าๆ ที่ออกบ่อยๆ

9. ข้อสอบและสรุป พรบ. ที่ใช้สอบ มากกว่า 2000 ข้อ

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. 2539
1.  ข้อใดต่อไปนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
    ก. การพิจารณาของรัฐมนตรีในงานทางนโยบายทางตรง
    ข.  การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
    ค.  การดำเนินงานของรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
    ง.  การพิจารณาของผู้ตรวจราชการแผ่นดิน
    จ.  ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ง.
    ตอบ    ก.
2.  ข้อใดวิธีปฏิบัติราชการปกครอง
    ก.  การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
    ข.  การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
    ค.  การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ
    ง.  การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ
    จ.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ข.
3.  ข้อใดไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
    ก.  การสั่งการ    ข. การอนุญาต
    ค.  การออกระเบียบ    ง.  การรับจดทะเบียน
    จ.  การออกใบรับรอง
    ตอบ   ก.
4. ข้อใดไม่ใช่ “กฎ”
    ก.  พระราชบัญญัติ    ข.  พระราชกฤษฎีกา
    ค.  กฎกระทรวง    ง.  ประกาศกระทรวง
    จ.  ข้อบัญญัติท้องถิ่น
    ตอบ   ก.
5.  ข้อใดคือเจ้าหน้าที่
    ก.  ปลัดอำเภอ
    ข.  บุคลากร
    ค.  พนักงานตรวจสภาพยนต์ของเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ
    ง.  คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
    จ.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ก.
6.  ข้อใดคือการพิจารณาทางปกครอง
    ก.  การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีการออกกฎ
    ข.  การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
    ค.  การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ
    ง.  การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อบังคับคดี
    จ.  การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการ
    ตอบ   ข.
7.  เจ้าหน้าที่ในข้อใดจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
    ก.  เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี    ข.  เป็นญาติของคู่กรณี
    ค.  เป็นนายจ้างของคู่กรณี    ง.  เป็นคู่กรณีเอง
    จ.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  
8.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคู่กรณี
    ก.  คู่กรณีมีสิทธินำทนายความของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
    ข.  คู่กรณีมีสิทธิแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแทนตนในการพิจารณาทางปกครองได้
    ค.  เจ้าหน้าที่มีสิทธิห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนของคู่กรณีที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องที่พิจารณา
            ทางปกครองเพียงพอ
    ง.  เมื่อมีการแต่งตั้งตัวแทนร่วมของคู่กรณี จะขอยกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนเมื่อ            
            ใดก็ได้
    จ.  ไม่มีข้อถูก
    ตอบ   ค.
9.  ในการพิจารณาทางปกครองการกระทำใดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง
    ก.  แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบ
    ข.  ให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
    ค.  ให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
    ง.  ไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ
    จ.  ให้คู่กรณีตรวจดูเอกสารอันเป็นต้นร่างคำวินิจฉัย
    ตอบ    ก.
10.  คำสั่งทางปกครองในข้อใดไม่ถูกต้อง
    ก.  คำสั่งทางปกครองที่เป็นคำสั่งด้วยวาจา  ถ้าผู้รับคำสั่งร้องขอคำสั่งร้องขอคำสั่งเป็นหนังสือ ให้เป็น
           ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งนั้น  ว่าจะดำเนินการให้หรือไม่
    ข.  คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้  ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ใน
            คำสั่งด้วย
    ค.  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย
    ง.  คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย  เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ
    จ.  คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน  ถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความ
            เห็นชอบในภายหลังถือว่าใช้ได้
    ตอบ   ก.
11.  การอุทธรณ์คำสั่งทางการปกครองที่ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำสั่งทางปกครอง
       ภายในกี่วัน
    ก.  7   วัน    ข.  15  วัน
    ค.  30  วัน    ง.  45 วัน
    จ.  60  วัน
    ตอบ  ค.
12.  การพิจารณาคำอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในข้อใดไม่ถูกต้อง
    ก.  การอุทธรณ์เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
    ข.  เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ภายใน 30 วัน   นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
    ค.  กรณีเห็นด้วยกับการอุทธรณ์ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตน
    ง.  ไม่มีข้อใดถูก
    ตอบ   ค.
13.  การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วัน นับแต่ได้รู้ถึงเหตุที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น
    ก.  7  วัน    ข.  15 วัน
    ค.  30  วัน    ง.  45  วัน
    จ.  60  วัน
    ตอบ   ค.
14.  กรณีใดที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริต  เมื่อถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสำคัญ
    ก.  ผู้นั้นไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองในขณะที่รับคำสั่งทางปกครอง
    ข.  ผู้นั้นได้ปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
    ค.  ผู้นั้นชักจูงโดยการให้ทรัพย์สินประโยชน์อื่นที่มิชอบด้วยกฎหมาย
    ง.  ไม่มีข้อถูก
    ตอบ   ก.
15.  ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองต้องรับของค่าทดแทนภายในกี่วัน นับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
    ก.  60  วัน    ข.  90 วัน
    ค.  120 วัน    ง.  150  วัน
    จ.  180  วัน
    ตอบ   ข.
16.  คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองข้อใดที่
       สามารถเพิกถอนได้
    ก.  คำสั่งปกครองนั้นมีข้อกำหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติภายในเวลาที่
            กำหนด
    ข.  มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอนได้  หรือมีข้อสงวนสิทธิให้เพิกถอนได้ในคำสั่งทางปกครองนั้นเอง
    ค.  ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เช่นนั้นในขณะทำ
            คำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่คงไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น
    ง.  บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทบาทเช่นนั้นในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้ว เจ้าหน้าที่
            คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น
    จ.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ  
17.  คู่กรณีสามารถมีคำขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์  
      ได้ในกรณีใด
    ก.  มีพยานหลักฐานใหม่
    ข.  คู่กรณีแท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
    ค.  เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
    ง.  ข้อเท็จจริงหรือกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
    จ.  ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ก.
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
วิธีการดาวโหลด inkbucks

ดาวโหลดข้อสอบพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
[/url][url=http://5d665e0d.linkbucks.com/]http://5d665e0d.linkbucks.com
[/url][url=http://6c3fae34.linkbucks.com/]http://6c3fae34.linkbucks.com
ดาวโหลด กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553
[/url][url=http://6d779210.linkbucks.com/]http://6d779210.linkbucks.com
ดาวโหลดข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
[/url][url=http://a8833b8f.linkbucks.com/]http://a8833b8f.linkbucks.com
[/url][url=http://3291edad.linkbucks.com/]http://3291edad.linkbucks.com
[/url][url=http://d28e7525.linkbucks.com/]http://d28e7525.linkbucks.com
ดาวโหลดกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล ฯ พ.ศ.2547
[/url][url=http://10a8ff06.linkbucks.com/]http://10a8ff06.linkbucks.com
ดาวโหลดพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2554
[/url][url=http://92e29417.linkbucks.com/]http://92e29417.linkbucks.com

เเนวข้อสอบรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย  2550
1.     ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลใดบ้าง
        ก. ตนเอง  ภริยา  บุตร  และบุตรบุญธรรม          ข. ตนเอง  คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
        ค. ตนเอง  ภริยา  แลกะบุตรทุกคน                      ง. ตนเอง  คู่สมรส  และบุตรบุญธรรม
2.     การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องยื่นต่อ
        ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
        ข. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
        ค. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
        ง. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
3.     ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
        ก. นายกรัฐมนตรี                                                   ข. ผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
        ค. สมาชิกวุฒิสภา                                                 ง. ถูกทุกข้อ
4.     ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับระยะเวลาการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
        ก. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
        ข. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
        ค. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง
        ง. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับ / วันพ้นจากตำแหน่งและภายใน 30 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งมาแล้ว 1 ปี
5.     บัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดที่จะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
        ก. นายกรัฐมนตรี                                                                   ข. รัฐมนตรี
        ค. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา              ง. ถูกทุกข้อ
6.     ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับคณะกรรมการ  ป.ป.ช.
        ก. ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น  อีก  10  คน
        ข. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร
        ค. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9  ปี  และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
        ง. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้สรรหาและคัดเลือก
7.     ตำแหน่งใดบ้างที่วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนจากตำแหน่ง
        ก. นายกรัฐมนตรี   รัฐมนตรี                                 ข. ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
        ค. ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ                            ง. ถูกทุกข้อ
8.     มติของวุฒิสภาในการถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งจะต้องได้คะแนนเสียงเท่าใดจึงจะมีผลตามรัฐธรรมนูญ
        ก.ไม่น้อยกว่า  2  ใน  3                                          ข.ไม่น้อยกว่า  3  ใน  5
        ค. เกินกว่า  1  ใน  2                                              ง.  เกินกว่า  1  ใน  4
9.     ข้อใดกล่าวถูกต้อง
        ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 9 คน
        ข. ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานธุรการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
        ค. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามคำแนะนำของรัฐสภา
        ง. ถูกทุกข้อ
10. กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าใด
        ก.  6 ปี  วาระเดียว                                ข.  7  ปี  วาระเดียว               ค.  9 ปี  วาระเดียว                                ง.  10  ปี ไม่จำกัดวาระ
11. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
        ก.   1  สิงหาคม  2550           ข.   17 สิงหาคม  2550          ค.   24 สิงหาคม  2550         ง.   25 สิงหาคม  2500
12. ในการเสนอขอแก้ไขในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ใครเป็นผู้มีสิทธิขอเสนอ
        ก. พรรคการเมือง                                                                  ข.นายกรัฐมนตรี
        ค. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30,000 คน
        ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า  1  ใน  5 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
        ก. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช. )                   ข. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
        ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                                                  ง. การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
14. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
        ก. 1 สิงหาคม 2550               ข. 17 สิงหาคม 2550             ค. 24 สิงหาคม 2550            ง. 25 สิงหาคม 2550
15. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
        ก. ฉบับที่ 16                          ข.ฉบับที่ 17                            ค. ฉบับที่ 17                          ง. ฉบับที่ 19
16. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
        ก. 14   หมวด   303  มาตรา                                 ข.  14   หมวด   309   มาตรา
        ค. 15   หมวด   303  มาตรา                                 ง.   15   หมวด   309   มาตรา
17. มาตรา 1   ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องใด
        ก. ประมุขของรัฐ                                                    ข. ความเป็นรัฐเดี่ยวของราชอาณาจักรไทย
        ค. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความคุ้มครอง   ง. สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
        18. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน  มาตรา 1  ระบุว่า  “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ..... ”
                ก. .... ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ”
                ข. .... ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ”
                ค. .... อันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ”
                ง. .... อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ”
19. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
                ก.  17  คน                              ข.  18  คน                               ค.  19  คน                              ง.  20  คน
20. ใครมีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
        ก. ประธานองคมนตรี    ข. ประธานรัฐสภา        ค. ประธานวุฒิสมาชิก    ง. นายกรัฐมนตรี
    21. ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ ใครจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
        ก. สภาองคมนตรี        ข. รัฐสภา        ค. วุฒิสภา        ง. พระมหากษัตริย์
    22. ข้อใดกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550  ไม่ถูกต้อง
        ก. การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
        ข. บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทาง
                    ศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้
        ค. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของ
             รัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ง. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตมบทบัญญัติแห่ง
    รัฐธรรมนูญนี้
23. บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่แสดงเจตนารมณ์ให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน
     ยกเว้นข้อใด  
    ก. ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    ข. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่
            เก็บ  ค่าใช้จ่าย
    ค. บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยจากรัฐ
    ง. บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการสิงอำนวยความสะดวก
                    อัน เป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
    24. การกำจัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ ยกเว้น ข้อใด
        ก. รัฐธรรมนูญกำหนดกฎหมายไว้        ข. เป็นการจำกัดของคณะรัฐมนตรี
        ค. เป็นการจำกัดโดยรัฐสภา            ง. เป็นการจำกัดโดยศาลหรือตุลาการ
    25. การกระทำข้อใด ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ว่า  “ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ”
        ก. พนักงานสอบสวนใช้ไฟส่องหน้าและใช้เวลาสอบสวนผู้ต้องหาติเดต่อกันถึง 8 ชั่วโมง
        ข. ประหารชีวิตนักโทษตามกฎหมาย
        ค. ตำรวจซ้อมผู้ร้ายปากแข็งเพื่อให้รับสารภาพ        ง. ผิดทุกข้อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้