ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 ท้องถิ่น อบต.อบจ.เทศบาล
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 ท้องถิ่น อบต.อบจ.เทศบาล

แชร์กระทู้นี้

                              ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว                        

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
 
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ข้อสอบเฉพาะทาง สาธารณะสุข
1.    1669 คือเบอร์อะไร
เบอร์ 1669 คือเบอร์ กู้ชีพ กู้ภัย หรือ ที่เรียกกันว่า EMS สามารถโทรได้ทุกที่ ในประเทศ ท่านกด
ที่ใด ก็จะไปติด ศูนย์ที่จังหวัดนั้น มีไว้แจ้ง เรื่องอุบติเหตุ ไม่ว่า เจอกับตัว หรือ พบเห็น สามารถ โทรเข้าได้เลย แล้วศูนย์ จะแจ้งไปยัง หน่อยกู้ภัย ในเขต นั้นๆ ให้รีบออกไปยัง สถานที่เกิดเหตุนั้นๆ

2.    - หมายเลขโทรถามเรื่องบัตรทองคือ ?
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหน่วยงานราชการ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร ฯ 10210  โทรศัพท์ เบอร์กลาง 02 141 4000
โทรสาร (Fax) 02 143 9730 – 1    เว็บไซท์ : http://www.nhso.go.th
3.    สิทธิต่างๆของบัตรทองมีอะไรบ้าง
-  บัตรทองเป็นสิทธิสวัสดิการที่ได้จากรัฐ ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทั้งหมดตามความเป็นจริง
แต่ยกเว้นค่าห้องค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน ผู้รับสิทธิบัตรทองต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม  ไม่มีการเก็บเงินสมทบ แต่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานครั้งละ
30 บาท
4.     ใครที่ต้องลงขันให้กองทุนประกันสังคม
- ลูกจ้างผู้ประกันตนและนายจ้างจะต้องลงขันฝ่ายละ 5% ของค่าจ้างรายเดือน
5.    ประกันสังคมจ่ายในกรณีไหนบ้าง
-  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย   กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ  กรณีเสียชีวิต  กรณีสงเคราะห์บุตร  กรณีชราภาพ   กรณีว่างงาน  ผู้ประกันตนมาตรา 40
6.     แต่ละช่วงอายุจะฉีดวัคซีนอะไรบ้าง  (ชื่อวัคซีนในชอยส์เป็นตัวย่อภาษาอังกฤษทั้งหมด)
-  ทารกแรกเกิด - วัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค
ทารกอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน- วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน, ฮิปวัคซีนทารกอายุ 9 เดือน – วัคซีนป้องกันโรคหัด
เด็กอายุ 15 เดือน - วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
อายุ 18 เดือน - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน
อายุ 2 ปี – วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์
อายุ 3 ปี - วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ และให้ฉีดทุก 3 ปี
อายุ 4-6 ปี - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน
อายุ 14-16 ปี - วัคซีน ดี ที ชนิดผู้ใหญ่
7.    อาการของวัณโรค , ต้องตรวจอะไรตรงไหนถึงจะรู้ว่าเป็นไหม
-           ไข้ พบว่าผู้ป่วยโรควัณโรคจะมีไข้ได้ตั้งแต่ร้อยละ 37-80 แต่ก็มีผู้ป่วยร้อยละ 21 ที่ไม่มีไข้เลย หลังจากได้รับยารักษาวัณโรคพบว่าไข้จะลงในหนึ่งและสองสัปดาห์  ร้อยละ34,64 ตามลำดับระยะเวลาเฉลี่ยที่ไข้ลงประมาณ 10 วัน
           อาการอื่นๆที่พบได้ได้แก่ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน
            พบว่าเม็ดเลือดขาวอาจจะต่ำ ปกติหรือสูงก็ได้ ในรายที่เป็นมานานจะพบภาวะโลหิตจางด้วย
อาการของเลือแรโซเดียมต่ำซึ่งจากปอดที่ติดเชื้อวัณโรสร้าง antidiuretic hormone-like substance
           การวินิจที่ถูกต้องจะต้องตรวจพบตัวเชื้อโรค โดยการนำสารหลั่งต่างมาตรวจ เช่น เสมหะ น้ำจากกระเพาะอาหาร น้ำจากช่องปอด น้ำไขสันหลัง นอกจากนั้นหากสามารถเพาะเชื้อโรคได้จะทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง การนำมาเพาะเชื้อก็มีความจำเป็นเนื่องจากเชื้อวัณโรคมีการดื้อยาบ่อยทำให้ ต้องทราบว่าเชื้อดื้อต่อยาอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นระยะเวลาก็มีความสำคัญ
8.     ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรค
-  ผู้ที่ได้รับเชื้อ [Latent infection] ทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคทุกคน ประมาณว่าร้อยละ 10จะเป็นวัณโรคโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรค  ประจำตัวเหล่านี้   ผู้ป่วยโรคเอดส์   ผู้ป่วยเบาหวาน   ผู้ป่วยที่ได้รับยา prednisolone หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน หรือเปลี่ยนไต    ผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรัง   ผู้ป่วยโรคมะเร็ง   ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย   ผู้ป่วยที่เป็น silicosis    ผู้ป่วยที่ตัดกระเพาะ หรือตักต่อลำไส้  
9.     การจำแนกกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน จำแนกกี่แบบ อะไรบ้าง
-  1. เบาหวานในทารกและเด็ก  หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการของเบาหวานเริ่มต้นเมื่ออายุ 0-14 ปี ผู้ป่วยพวกนี้มักจะมีอาการเริ่มต้นรุนแรงและมักเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้ รับอินซูลินตลอดเวลา
   2. เบาหวานในวัยรุ่น  หมายถึงผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเบาหวานระหว่างอายุ  15 – 25 ปี ซึ่งโดยมากมักจะมีอาการเกิดขึ้นทันที และมักจะเป็นผู้ป่วยซึ่งต้องให้อินซูลินรักษาเช่นเดียวกัน
   3. เบาหวานในผู้ใหญ่ หมายถึง โรคเบาหวานซึ่งเริ่มต้นมีอาการตั้งแต่อายุ  25 – 64 ปี ซึ่งผู้ป่วยพวกนี้มีอาการเปลี่ยนแปลงได้มาก และมักไม่จำเป็นจะต้องได้รับอินซูลิน
   4. เบาหวานในคนสูงอายุ หมายถึงผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเมื่อมีอายุเกิน 64 ปีขึ้นไป  และมักจะไปพบแพทย์ด้วยอาการของโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน ผู้ป่วยพวกนี้มักสามารถควบคุมอาการเบาหวานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน
          นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังจำแนกออกได้อีกแบบหนึ่งดังนี้
               1.   เบาหวานประเภทวัยรุ่น หมายถึงผู้ป่วยเบาหวานไม่ว่าจะอยู่ในอายุใดๆ ก็ตามที่ต้องการอินซูลินในการรักษา และเป็นประเภทซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเกิดภาวะคีโทซิส (ketosis) ได้ง่าย
               2.   เบาหวานประเภทต่อต้านอินซูลิน  หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการอินซูลินมากเกินกว่าวันละ 200 หน่วย
              3. เบาหวานจากต่อมไร้ท่อ หมายถึงผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือมีความผิดปกติไม่ทนต่อเมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรต เนื่องจากโรคของต่อมไร้ท่อ เช่นกลุ่มอาการคุชิง
              4. เบาหวานประเภทเปลี่ยนแปลงง่าย หมายถึง โรคเบาหวานประเภทวัยรุ่นซึ่งควบคุมอาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ ภาวะคีโทซิส และอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ยาก
10.     ประชากรไทยมักป่วยด้วยโรคอะไร
-  โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA)  กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (HEART ATTACK)     มะเร็งไฝ (MELANOMA)   มะเร็งเต้านม (BREAST CANCER)  กาฬหลังแอ่น (MENINGOCOCCAL INFECTION)   เบาหวาน (DIABETES)
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
๑.    พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ไว้เมื่อ
-    วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
๒.    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า
-  โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการ  ใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย
๓.    ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
-  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๔.    ข้อกำหนดของท้องถิ่นใดถ้าขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ ให้บังคับตามกฎกระทรวงนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่
-  ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุผลเป็นพิเศษเฉพาะท้องถิ่น
๕.    ในกรณีที่เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วน
-  ให้อธิบดีกรมอนามัยมีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของวัตถุหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายดังกล่าวระงับการกระทำหรือให้กระทำการใดๆ
๖.    ถ้าบุคคลซึ่งได้รับคำสั่งตามวรรคหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาตามสมควร
-  อธิบดีกรมอนามัยจะสั่งให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติการใดๆ เพื่อแก้ไขหรือป้องกันความเสียหายดังกล่าวนั้นแทน
๗.    ประธานกรรมการคณะกรรมการสาธารณสุข
-  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
๘.    “คณะกรรมการสาธารณสุข” ประกอบด้วย
-  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิ
๙.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ
-  สองปี
๑๐.    ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน
-  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง
๑๑.    เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อย
-  สามสิบวัน  
๑๒.    ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายใน
- เจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง
๑๓.    ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายใน
- สิบห้าวัน
๑๔.    ใบอนุญาตที่ออกให้ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอายุ
- หนึ่งปี
๑๕.    ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีก
- ไม่เกินสองครั้ง
๑๖.    ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ
-  รัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
๑๗.    ผู้ใดฝ่าฝืนกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษ
- ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๑๘.    ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรโดยไม่มีหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องระวางโทษ
- จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
111111111111
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
11111111111111
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้