ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบการบริการประชาชน แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
poo ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ II
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบการบริการประชาชน แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
    ตอบ     ROYAL-INTIATED SELF SUFFICIENT ECONOMY PROJECT
2. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขึ้นแนะแนวทาง         มาแล้วกี่ ปี
    ตอบ  25 ปี
3. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหมายถึง
    ตอบ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีระบบคุ้มกันในตัว
4. การที่จะเปลี่ยนให้คนมีเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องทำทั้งหมดหรือไม่ ตามแนวพระราชดำริ
    ตอบ    ไม่จำเป็น เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็อยู่ได้
5. การดำเนินโครงการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
    ตอบ   ทุนทางสังคม (Social Capital)
6. เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าชุมชน ออกเป็นสินค้าส่งออก ใช่หรือไม่
    ตอบ     ไม่ใช่ แต่เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
7. บทบาทข้าราชการในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
    ตอบ      สนับสนุนเงินทุน   เป็นผู้ให้ความสะดวก (FACILITATOR) และสนับสนุน (SUPPORTER)
8. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
    ตอบ      คณะกรรมการบริหารโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ( กปร.)
9. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ระดับอำเภอ
    ตอบ       คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ
10. การใช้เงินทุนดังกล่าว หากกลุ่มไม่สามารถคืนเงินยืมได้ จะทำอย่างไร
    ตอบ   องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องตั้งงบประมาณชดใช้คืนเงินทุน
11. เศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อเป้าหมายใดทางเศรษฐกิจ
     ตอบ   การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม 
12. หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
     ตอบ  เศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
13. กรมการปกครองรับผิดชอบและสนับสนุนการจัดประชาคม ระดับใด
     ตอบ  ระดับจังหวัด และอำเภอ
14. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฉบับใด
     ตอบ   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
15. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาแบบใด
     ตอบ   แบบองค์รวม (HORISTIC APPROACH) คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกันครบองค์มีดุลยภาพเกิดขึ้น
16. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปรากฏอยู่ในโครงการใดของกระทรวงมหาดไทย
     ตอบ   โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
17. การพัฒนาประชารัฐ มีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
     ตอบ   เน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารงานพัฒนาและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
18. ในระยะเริ่มต้นของการใช้แผนฯ 8 ได้เกิดกระบวนการอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาประชารัฐ
     ตอบ  ประชาคมจังหวัด
19. ตามแนวคิดประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) แบ่งสังคมออกเป็นส่วน ๆ กี่ส่วน อะไรบ้าง
        ตอบ 3 ส่วน คือภาครัฐหรือราชการ (PUBLICE SECTOR) ภาคธุรกิจเอกชน (BUSINESS SECTOR)และภาคประชาชน (VOLUNTARY SECTOR) 
20. หน่วยงานใดบ้างที่ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
     ตอบ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบัน  ราชภัฏ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
21. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ มาจากภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
     ตอบ  THE PROJECT OF COMMUNITY EMPOWERMENT RESPONSE TO CRISIS ACTION PLAN : (CERCAP)
22. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ อยู่ในความดูแลขององค์กรใด
     ตอบ  คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ 
23. องค์กรระหว่างประเทศใด ที่ให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
     ตอบ  UNDP – UNITED NATION DEVELOPMENT PROGRAMME
24. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
        ตอบ     การสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ จังหวัด
25. กรมการปกครองใช้วิธีการใด ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ 
    ตอบ     การอบรมแบบมีส่วนร่วม (PARTICITIPATORY TRAINING)
26. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ- A – I – C (APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL) F.S.C. (FUTURE SEARCH CONFERENCE)
27. F.S.C. คืออะไร
     ตอบ FUTURE SEARCH CONFERENCE หรือการสร้างอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิคการทำความเข้าใจอดีต ปัจจุบันและเชื่อมโยงสู่อนาคตร่วมกัน ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ (VISION)ของอนาคตและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ
28. A – I – C คืออะไร
      ตอบ APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจสภาพปัญหาและขีดจำกัด และสร้างวิสัยทัศน์รวมทั้งแผนงานร่วมกัน
29. ทุนทางสังคม (SOCIAL CAPITAL) คืออะไร
      ตอบ   ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสถาบันองค์กรทางสังคม
30. ประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) คืออะไร
      ตอบ  การที่คนในสังคม มีจิตสำนึก(CIVIL CONSCIOUSNESS) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อกระทำการบางอย่าง ด้วยความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
31. องค์ประกอบของประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
      ตอบ  จิตสำนึกประชาสังคม โครงสร้างองค์กรประชาสังคม และเครือข่ายประชาสังคม
32. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ หรืออยู่ในชุมชนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการรวมตัวตามแนวความคิดประชาสังคม เรียกว่าอะไร
      ตอบ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CHANG AGENT)
33.  เวทีประชาคมคืออะไร
       ตอบ  คือ พื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาพบปะรวมตัวกันเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิด ความเห็นได้
34. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คืออะไร
       ตอบ  การเพิ่มกำลังอำนาจให้แก่ประชาชน ในการคิด การทำ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
35. องค์ประกอบของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย อะไรบ้าง
     -องค์ประกอบ 9 ประการ คือ
     1. มีบุคคลหลากหลายรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ หรือไม่ทางการ
     2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
     3. มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเอง รักและเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักชุมชน
     4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
     5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
     6. เรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
     7. มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
     8. มีการจัดการบริหารงานกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
     9. มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย
36.  ยูเนสโก ประกาศให้คนไทย  2  ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก คือ  ม.ร.ว ศึกฤทธิ์  ปราโมทย์ และ                สุนทราภรณ์   (เอื้อ  สุนทรสนาน)
37.  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2553  กระทรวงฯ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันอย่าง   
  ต่อเนื่อง  “รั้วชายแดน  รั้วสังคม รั้วชุมชน  รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว    ” และ กำหนดนโยบายเร่งด่วน “Clean and seal”
38.  Clean  and  seal  คือ  การกวาดล้างและการป้องกัน
39.  การประชุม ASEAN(๑๐ ประเทศ) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  เป็นครั้งที่ 15 (+๓  คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี 
       (+๖  ได้แก่ อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย) การประชุมครั้งที่16 ประเทศเวียตนาม เป็นเจ้าภาพ
40.  การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เน้นไปที่ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98) 2. ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111 ถึงมาตรา 121) 3.การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265) 4.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266) 5.การทำสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา 190)  และ 6. การยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง (มาตรา 237)
41.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีใด  และมีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน
ตอบ     เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี  2543  มีจำนวนทั้งสิ้น  99  คน
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบการบริการประชาชน
1. การบริการประชาชนให้เรียกว่า One – Stop – Service หมายถึง
ตอบ การบริการ ณ จุดเดียว ให้แล้วเสร็จ
2. บุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการเฉพาะตำบล ที่ตนมีหน้าที่ประจำอยู่เช่นเดียวกับนายอำเภอ
ตอบ กำนัน
3. ปลัดอำเภอมีฐานะเป็น
ตอบ ผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ
4. การบริการประชาชนในหน้าที่กรมการปกครอง มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การจัดเวรบริการประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอ
2.การจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่
3.ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล
4.การให้บริการประชาชน ณ ที่ทำการตำบล
5. รูปแบบใหม่ของการบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 1)ลดขั้นตอนและความล่าช้า เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว
2)ผู้รับบริการมีความสำคัญสูงสุด
3)ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการทำงานมากขึ้น
4)ตัดขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย
6. การบริการราชการเพื่อประชาชนมีความหมายครอบคลุมเพียงใด
ตอบ การปฏิบัติงานของหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ประชาชนยื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการ
7.ขอให้ยกตัวอย่างการบริการประชาชนในลักษณะที่ไม่ต้องมีคำขอ
ตอบ การบริการประชาชนในลักษณะที่ไม่ต้องมีคำขอ เป็นการบริการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นการให้บริการต่อสาธารณะ การให้ความอนุเคราะห์ และการให้สงเคราะห์ประชาชน เช่น การให้บริการของกรมประชาสงเคราะห์ต่อผู้ประสบภัยธรรมชาติ อาจกำหนดระยะเวลาของการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน เมื่อได้รับทราบหรือได้รับแจ้งเหตุ
8. หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้ ได้แก่หน่วยงานใดบ้าง
ตอบ หมายถึงส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า กรม จังหวัด อำเภอ และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย และหน่วยงานอื่นใด ของรัฐในต่างประเทศแล้ว ยังให้ความหมายรวมถึง -ราชการส่วนท้องถิ่น
–รัฐวิสาหกิจเฉพาะที่ตั้งขึ้น โดย พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ.
-หน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น สนง.คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ธปท. เป็นต้น
-จนท. ที่ใช้อำนาจทำคำสั่งทางการปกครอง ตาม กม.ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางการปกครอง
9. คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐประจำจังหวัด มีฐานะอย่างไร ใครเป็นผู้แต่งตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐประจำจังหวัด (ปปร.จังหวัด) เป็นคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามระเบียบ สร. จึงเป็นคณะอนุกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่ถาวรแต่งตั้ง โดย ผวจ. มีหน้าที่ช่วยเหลือ ปปร. ในการส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและตรวจสอบ ให้หน่วยงานของรัฐในจังหวัด ปฏิบัติตามระเบียบ สร. และปฏิบัติตามที่ ปปร.มอบหมาย
10.งานบริการประชาชนที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จในหนึ่งวันทำการ หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จในเรื่องนั้น ๆ ให้ประชาชนทราบหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการ แต่หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศให้ประชาชนทราบว่าเมื่อประชาชนมารับบริการในเรื่องนั้นแล้ว จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาเท่าไร ซึ่งอาจกำหนดเป็นนาที ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อประชาชนจะได้ทราบล่วงหน้า
11. การกำหนดระยะเวลาในระเบียบกำหนดขั้นตอนฯ หน่วยงานของรัฐควรกำหนดเป็นวัน หรือวันทำการ
ตอบ วันทำการ
12. หน่วยงานของรัฐจะออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน โดยกำหนดระยะเวลาเผื่อไว้ให้มากกว่าปกติ เช่น ควรจะเสร็จภายใน 2 วัน ก็กำหนดไว้ 5 วัน จะได้หรือไม่
ตอบ ระยะเวลาที่กำหนดจะต้องเป็นระยะเวลาที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ จริง ๆ ไม่ควรกำหนดระยะเวลาเผื่อไว้
13. โดยกรณีของสภาพแห่งเรื่องแล้ว ไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคำขอในเรื่องนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 90 วัน จะออกระเบียบให้มีระยะเวลามากกว่า 90 วัน ได้หรือไม่
ตอบ ได้ แต่ต้องขออนุมัติต่อรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงเป็นผู้ลงนามในระเบียบฯ หรืออนุมัติต่อปลัดกระทรวง กรณีที่อธิบดีเป็นผู้ลงนามในระเบียบก่อน
14. ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของกรุงเทพมหานคร
ตอบ อาจเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าหน่วยงานระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าก็ได้
15. ผู้มีอำนาจลงนามในระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน จะมอบอำนาจการลงนามในระเบียบ ให้ผู้อื่นลงนามได้หรือไม่
ตอบ มอบอำนาจได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
16. การบริการประชาชนในเรื่องที่มีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกระเบียบกำหนดขั้นตอน สำหรับคำขอในเรื่องนั้น ๆ
ตอบ หน่วยงานที่รับคำขอในเรื่องนั้น ๆ
17. การปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนในเรื่องใด ที่อยู่ในอำนาจของอธิบดีหรือปลัดกระทรวง แต่ได้มีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคอื่น เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการในเรื่องนั้น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบได้ การออกระเบียบกำหนดขั้นตอนฯ ในเรื่องดังกล่าวนี้ จะต้องปรึกษาหารือกันก่อนหรือไม่
ตอบ ควรมีการปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อความราบรื่นในการทำงาน และเกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติราชการต่อไป
18. กรณีหน่วยงานของรัฐคืนคำขอเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์นั้น จะนับช่วงเวลาที่แก้ไขนั้นรวมอยู่ในระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนหรือไม่
ตอบ ไม่นับ แต่ต้องระบุความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ของคำขอทั้งหมด และแจ้งให้ประชาชนทราบในคราวเดียว
19. การแจ้งผลให้ประชาชนผู้ยื่นคำขอทราบต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปหรือไม่
ตอบ ต้องเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน
20.ประชาชนได้รับประโยชน์อะไรจากระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนนี้
ตอบ 1.ทราบขั้นตอนและระยะเวลา ที่ใช้ในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ทำให้สามารถวางแผนการดำเนินงานทางด้านธุรกิจได้ชัดเจน
2.ทราบเหตุผลและระเวลาที่หน่วยงานของรัฐขอขยายเพิ่มเติม กรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
3.ทราบความไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องทั้งหมดของคำขอในคราวเดียว ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐขอให้แก้ไขคำขอให้ถูกต้องสมบูรณ์ หรือในกรณีที่หน่วยงานของรัฐคืนคำขอ
4.ทราบเหตุผลโดยละเอียด ในกรณีที่ผลการพิจารณาออกมาในทางไม่สมประสงค์
5.สามารถร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือต่อ ปปร. ได้ในกรณีที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
21.แนวคิดเรื่องการบริการแบบเบ็ดเสร็จมีหลักการสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ 1.กำหนดให้การบริการประชาชนอยู่ในองค์กรเดียวกัน/สถานที่เดียวกัน
2.เพิ่มอำนาจหน้าที่และกระจายกิจกรรม เพื่อบริการประชาชนให้แก่ศูนย์บริการของรัฐแบบครบวงจร
3.การกำหนดให้หน่วยงานจัดบริการประชาชนให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว
4.การให้บริการในเรื่องต่าง ๆ มีความสัมพันธ์และผสมผสานอย่างเหมาะสม
5.ระยะเวลาที่ประชาชนใช้ในการติดต่อขอรับบริการน้อยที่สุด
6.ประชาชนได้รับความพอใจสูงสุดจากบริการของรัฐ
22. แนวคิดในการที่จะจัดบริการให้ทั่วถึงในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และเน้นที่ความสะดวกของผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยเป็นไปในลักษณะเชิงรุกคือแนวคิดใด
ตอบ การบริการเชิงรุกหรือแบบครบวงจร(PACKAGE - Service)
23. แนวคิดเรื่อง PACKAGE SERVICE มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย
ตอบ 1.ยึดการตอบสนองความต้องการจำเป็นของประชาชนเป็นเป้าหมาย People Oriented
2.ความรวดเร็วในการให้บริการ Acceleration
3.การให้บริการต้องเสร็จสมบูรณ์ Completion
4.ความกระตือรือร้นในการให้บริการ Keen
5.การให้บริการด้วยความถูกต้องตรวจสอบได้ Accountability
6.ความสุภาพอ่อนน้อม Gentle
7.ความเสมอภาค Equality
24. แนวคิด Smile – model มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ 1)Service mine คือมีจิตบริการประชาชน
2)Modern all the time คือรู้จักปรับวิธีการให้บริการที่ทันสมัยอยู่เสมอ
3)Intelligence in duty operation คือปฏิบัติการอย่างเชี่ยวชาญ ฉลาด รอบรู้
4)Listening to the people คือรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการ
5)Equality for all คือเสมอภาคทุกคน
25. แนวคิดเรื่อง Reengineering เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด โดยใคร
ตอบ เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา โดย Micheal Hammmer
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้