ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบนักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัิติการ
norramon ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบนักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัิติการ

แชร์กระทู้นี้

สรุป พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542  บัญญัติขึ้นโดยอาศัยพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511

เป็นแนวทางใน 5 ประการ คือ

 1. บทบัญญัติในส่วนที่ไม่จำเป็นแล้วตัดออกไป

 2. บทบัญญัติที่ยังใช้ได้ดีอยู่นำกลับมาไว้เหมือนเดิมโดยไม่แก้ไป

 3. บทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นใหม่ซึ่งไม่เคยมีในกฎหมายเดิม

 4. บทบัญญัติเดิมแต่ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

 5. บทเฉพาะกาลของกฎหมาย

  หลักกฎหมายสำคัญตามแนวทาง 5 ประการดังกล่าวมีดังนี้ 

 1. บทบัญญัติที่ตัดออก ได้แก่ บทบัญญัติในส่วนที่ว่าสหกรณ์ไม่จำกัดออกทั้งหมด ตั้งแต่ มาตรา 54ถึงมาตรา 69 เพราะในทศวรรษที่ผ่านมาไม่มีประชาชนขอจดทะเบียนสหกรณ์ ชนิดไม่จำกัด และสหกรณ์ชนิดไม่จำกัด ก็จดทะเบียนเปลี่ยนเป็นสหกรณ์ชนิดจำกัดไป

หมดแล้ว บทบัญญัติส่วนที่ว่าด้วยสหกรณ์ชนิดไม่จำกัดจึงหมดความจำเป็นไปแล้ว ยกเว้น เพียงเรื่องเดียวคือ ทุนกลางของบรรดาสหกรณ์ไม่จำกัดสินใช้มีเงินเหลืออยู่ประมาณ 40 ล้าน จึงบัญญัติคงทุนกลางไว้อีก

 2.บทบัญญัติที่นำกลับมาไว้เหมือนเดิม นำมาบัญญัติไว้เหมือนเดิมโดยไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ได้แก่

 2.1 หลักเกณฑ์การวินิจฉัยการจดทะเบียนสหกรณ์ของนายทะเบียนสหกรณ์

 2.2 รายการที่ต้องมีในข้อบังคับ

 2.3 การดำเนินงานในเรื่องที่ว่าด้วยวงเงินกู้ยืม การรับเงินอุดหนุน การประชุมใหญ่สามัญ การประชุมใหญ่วิสามัญ

 2.4 การตรวจการสหกรณ์

 2.5 การจัดทำทะเบียนหุ้น และสมาชิก

 2.6 การจัดทำงบดุล การอนุมัติและการจัดทำรายงานกิจการประจำปี

 2.7 การดำเนินงานภายหลังเลิกสหกรณ์

 2.8 การควบสหกรณ์เข้ากัน

 2.9 การชำระบัญชีหลังสหกรณ์เลิก

 3. บทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นใหม่ของเดิมไม่เคยมี ได้แก่

 3.1 คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ของด้านการกำหนดนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และการคุ้มครองสหกรณ์

 3.2 กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กสพ.) เพื่อให้สหกรณ์มีแหล่งเงินทุนที่มีขนาดใหญ่สหกรณ์สามารถกู้เงินไปดำเนินกิจการได้กว้างขวางมากขึ้น เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการสหกรณ์กฎหมายใหม่ให้นำมารวมไว้ในกองทุนนี้ด้วย

 3.3 ให้สหกรณ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง

 3.4 กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ข้อบังคับอาจขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ตีความได้

และสหกรณ์ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้น 

 3.5 การมีสมาชิกสมทบในสหกรณ์ โดยนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดประเภท

สหกรณ์ที่สามารถรับสมาชิกสมทบ 

 3.6 กำหนดจำนวนกรรมการสหกรณ์ทุกประเภท และกรรมการชุมนุมสหกรณ์มีได้ไม่เกิน 15 คน

 3.7 กำหนดคุณสมบัติการเป็นกรรมการและผู้จัดการสหกรณ์

 3.8 กำหนดวาระการเป็นกรรมการสหกรณ์ได้ไม่เกิน 2 วาระ ติดต่อกัน วาระละไม่เกิน 2 ปี

 3.9 กำหนดระยะเวลาให้สหกรณ์นำรายการที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเงินสดหรือไม่เกี่ยวกับเงินสดให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน หรือ 3 วัน

 3.10 ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ หรือเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการในสหกรณ์ได้ กรณีสหกรณ์ตั้งใหม่หรือสหกรณ์ขาดทุนติดต่อกันเกิน 2 ปี  3.11ให้มีการแยกสหกรณ์ได้ และแบ่งทุนสำรองจากสหกรณ์เดิมได้ 

 3.12 กำหนดระดับชุมนุมสหกรณ์เป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ 

  4. บทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมจากของเดิม ได้แก่

 กฎหมายเก่า

 1. การยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ กำหนดเป็น 2 เรื่อง คือ

 ก. กำหนดหน้าที่ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ต้องดำเนินการเลือกประเภทสหกรณ์ทำแผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจ ทำบัญชีรายชื่อผู้จะเป็นสมาชิกและจำนวนหุ้นที่จะถือ ร่างข้อบังคับเสนอที่ประชุม

 ข. การยื่นคำขอจดทะเบียนเอกสารประกอบด้วย สำเนารายงานการประชุมที่มติเลือกคณะผู้จัดตั้ง แผนดำเนินงานเกี่ยวกับธุรกิจ รายชื่อผู้เป็นสมาชิกและจำนวนการการถือหุ้น ข้อบังคับ

 2. การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์

กำหนดว่า "ดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการและการอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก" ซึ่งมีความชัดเจนและทำได้กว้างขวางกว่าเดิม 

     3. การใช้เงินของสหกรณ์

กำหนดให้ฝากในธนาคารได้ทุกแห่งไม่ต้องขอความเห็นชอบ และนอกจากจะซื้อพันธบัตรของรัฐบาลแล้ว ยังซื้อตราสารอื่นของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจด้วย นอกจากนี้ยังสามารถฝากหรือลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนดได้ด้วย 

 4. การเลือกตั้งคณะกรรมการ

กำหนดว่า "ในสหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ เลือกตั้งจากสมาชิก"

 5. การมีผู้ตรวจกิจการสหกรณ์

กำหนดให้สหกรณ์ทุกสหกรณ์ต้องมีผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งทื่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอกตามจำนวนที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สหกรณ์มีผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์มากเกินความจำเป็นทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย 

 6. ผู้แทนสมาชิกในการประชุมใหญ่

กำหนดให้สหกรณ์สามารถประชุมใหญ่โดยผู้แทนได้ว่าสหกรณ์มีสมาชิกกว่า 500 คน แต่ผู้แทนสมาชิกจะมีจำนวนต่ำกว่า 100 คน ไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้องค์ประชุมมีขนาดเล็กโดยไม่มีขอบเขตจำกัด

 7. การประชุมใหญ่สามัญ

กำหนดให้สหกรณ์ต้องประชุมใหญ่สามัญประจำปี 1 ครั้ง ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์นั้น

 8. การส่งสำเนาทะเบียนหุ้นและทะเบียนสมาชิก

กำหนดให้สหกรณ์ต้องส่งสำเนาทะเบียนหุ้นและทะเบียนสมาชิกภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อลดภาระของสหกรณ์ให้ปฏิบัติงานได้สะดวกขึ้น

 9. การเพิกถอนมติที่ประชุม

กำหนดให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนหรือยับยั้งมติของที่ประชุมคณะกรรมการหรือที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์จำนวนนั้นฝ่าฝืนกฎหมายข้อบังคับระเบียบของสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สหกรณ์เกิดความเสียหายเพราะมีมติที่ไม่ชอบ 

 10. การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์

ตัดอำนาจผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีกรณีสั่งให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องแต่กำหนดให้นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ใช้ดุลยพินิจสี่งให้แก้ไขข้อบกพร่องหรือไม่ก็ได้ก่อนที่นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งให้คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือรายตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดกับสหกรณ์เพราะว่าเรื่องเมื่อคณะกรรมการทำให้เกิดความเสียหายแล้วไม่อาจแก้ไขกลับคืนให้เหมือนเดิมได้ 

 11. การบำรุงสันนิบาตสหกรณ์

กำหนดไว้เป็นหน้าที่ของสหกรณ์ต้องชำระ โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจที่ประชุมใหญ่โดยต้องชำระไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแต่อัตราจะเป็นเท่าใดเป็นอำนาจของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราที่ไม่ต้องออกเป็นกฎกระทรวงซึ่งล่าช้าไม่ทันการ

 12. การใช้ทุนสำรอง

กำหนดให้สหกรณ์กองทุนสำรองได้เพื่อชดเชยการขาดทุนหรือจัดการชำระบัญชีทุนสำรองให้แก่สหกรณ์ที่แยกไป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมที่สหกรณ์ที่แยกตัวไปควรมีทรัพย์สินเป็นของตนเองด้วย 

 13. การเลิกสหกรณ์

กำหนดเพิ่มเติมสาเหตุของการสั่งเลิกสหกรณ์ได้อีกหนึ่งสาเหตุ คือ สหกรณ์ไม่ส่งสำเนางบดุลและรายงานประจำปีต่อนายทะเบียนสหกรณ์เป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกันทั้งนี้เพื่อให้สหกรณ์จัดทำบัญชีให้ถูกต้องเรียบร้อยเป็นประจำ และป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของพนักงานสหกรณ์หรือกรรมการของสหกรณ์

 14. การจดทะเบียนจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์

กำหนดให้จดทะเบียนชุมนุมสหกรณ์ได้เมื่อมีสหกรณ์ตั้งแต่ 5 สหกรณ์ ให้ร่วมกันขอจัดตั้งทำให้ชุมนุมสหกรณ์มีสมาชิกขั้นต่ำมากขึ้นเท่ากับอัตราการถือหุ้นไม่เกิน1 ใน 5 ของหุ้นชุมนุมสหกรณ์ทั้งหมด

  15. การอุทธรณ์คำสั่ง

กำหนดให้คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ทุกคำสั่งอุทธรณ์ได้ต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ 

กฎหมายใหม่ 

กำหนดว่าในมาตรา 12 ว่า "การขอจดทะเบียนสหกรณ์จำกัดให้ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์จำกัด เลือกตั้งคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จำกัดขึ้นไม่น้อยกว่าสิบคนเพื่อลงลายมือชื่อยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์พร้อมกับบัญชีรายชื่อของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์จำกัดทั้งหมดและรายการยื่นตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และสำเนารายงานการประชุมของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์จำกัดหนึ่งฉบับ และข้อบังคับสองฉบับ"กำหนดว่า "ดำเนินธุรกิจและการค้าเพื่อประโยชน์ของสมาชิก" กำหนดให้ฝากเงินได้แก่เฉพาะธนาคารที่มีวัตถุประสงค์ในความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์ (ธกส.) หรือในธนาคารออมสิน ถ้าฝากกับธนาคารอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อน นอกจากนี้ให้ซื้อหลัทรัพย์และพันธบัตรของรัฐบาล กำหนดว่า "ให้มีคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จำกัดคณะหนึ่งประกอบด้วย กรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก"  กำหนดว่าเพียงว่า "สหกรณ์จำกัดอาจมีผู้ตรวจสอบสหกรณ์คนหนึ่งหรือหลายคน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก"

กำหนดเพียงว่า "สหกรณ์จำกัดใดมีสมาชิกเกินกว่าร้อยคนจะกำหนดในข้อบังคับให้มีการประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิก" กำหนดไว้ว่า "การประชุมใหญ่สามัญครั้งต่อไปให้คณะกรรมการเรียกประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสินวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์นั้น" กำหนดว่า "เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนสหกรณ์หรือทะเบียนหุ้นให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง"กำหนดให้นายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติได้เฉพาะมติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์

ฝ่าฝืนกับกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์กำหนดให้ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือผู้สอบบัญชีต้องสี่งให้คณะกรรมการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องหรือการปฏิบัติที่ทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหาย หรือเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกภายใน 30 วันก่อน ถ้าไม่แก้ไขจึงรายงานให้นายทะเบียนสหกรณ์สี่งให้คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือรายตัวได้กำหนดให้สหกรณ์ต้องชำระค่าบำรุงสันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทยไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ แต่จะเป็นอัตราเท่าใดให้กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดไว้ว่า เงินสำรองจะถอนจากบัญชีเงินสำรองได้เพื่อการชดเชยการขาดทุนเท่านั้นกำหนดเพียง 3 กรณีเท่านั้นที่อาจถูกนายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้เลิกได้คือ เมื่อสมาชิกเกินกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอให้สั่งเลิก สหกรณ์ไม่ดำเนินธุรกิจในระยะเวลากำหนดหนึ่งปีหรือสองปี แล้วแต่กรณี และสหกรณ์ไม่อาจดำเนินกิจการให้เป็นผลดีกำหนดให้มีสหกรณ์ 3 สหกรณ์ ขึ้นไปรวมกันจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ได้กำหนดเพียงคำสั่งไม่รับจดทะเบียนสหกรณ์และการสั่งเลิกสหกรณ์เท่านั้นที่สามารถ

อุทธรณ์คำสั่งได้ต่อรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและมหกรรม 

  5. บทเฉพาะกาลของกฎหมาย

การมีบทเฉพาะกาลการของกฎหมายก็เพื่อให้รอยต่อกฎหมายเดิมกับกฎหมายเก่าเชื่อมต่อกันโดยไม่มีข้อขัดข้องในทางปฏิบัติ กล่าวคือสถานภาพขององค์การและการปฏิบัติหน้าที่ของ 

ผู้แทนนิติบุคคลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หลักในบทเฉพาะการของพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ได้กำหนดไว้ดังนี้

 5.1 สถานภาพความเป็นนิติบุคคลของสหกรณ์จำกัด ชุมนุมสหกรณ์สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรกร ยังสถานภาพเดิมทุกประการ แม้ชุมนุมสหกรณ์ที่มีสมาชิกไม่ถึง 5 สหกรณ์ ก็ยังดำเนินชุมนุมสหกรณ์ต่อไป

 5.2 ข้อบังคับของสหกรณ์ยังคงใช้เป็นข้อบังคับต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติใหม่

 5.3 คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ ที่มีอยู่ก่อนพระราชบัญญัติสหกรณ์ใหม่ใช้บังคับดำเนินการต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามที่กำหนดในข้อบังคับ

 5.4 สหกรณ์ชนิดไม่จำกัดถ้ามีต้องจดทะเบียนสหกรณ์เปลี่ยนชนิดเป็นสหกรณ์จำกัด ภายใน 180 วัน นับแต่พระราชบัญญัติสหกรณ์ใหม่มีผลใช้บังคับ

 5.5 พระราชกฤษฎี กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งที่ออกโดยอาศัยพระราชบัญญัติสหกรณ์เดิม ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไข

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบ นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 
ประกอบด้วย
 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์
แนวข้อสอบ  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ.ศ. 2551
แนวข้อสอบการบัญชี
แนวข้อสอบเศรษฐศาสตร์
ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
แนวข้อสอบข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง สังคม ประจำปี พ.ศ. 2555
สรุปประเด็นสำคัญพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.  ระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ.ศ.  2551
1.    ข้าราชการพลเรือน  ตามกฎหมายใหม่  มีกี่ประเภท  ได้แก่
ก.  2  ประเภท  คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  และข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ข.  3  ประเภท  คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค.    4 ประเภท  คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ  ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษและข้าราชการตุลาการ
ง.  5  ประเภท คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ  ข้าราชการตุลาการ  และข้าราชการอัยการ
ตอบ  ก.  2  ประเภท  คือ  ข้าราชการพลเรือนสามัญ  และข้าราชการพลเรือนในพระองค์
2.    นายนิคม  อาการดี  รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตรวจเงินแผ่นดินอยู่ที่จังหวัดสกลนคร  นายอาคมเป็นข้าราชการประเภทใด
ก.   ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข.  ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค.  ข้าราชการอัยการ
ง.  ข้าราชการพลเรือสามัญ
ตอบ  ก.   ข้าราชการพลเรือนสามัญ
3.    ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ  เป็นข้าราชการประเภทใด
ก.  ข้าราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ข.  ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค.  ข้าราชการกระทรวงการคลัง
ง.  ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ  ง.  ข้าราชการพลเรือนสามัญ
4.    ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
ก.  ข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศ
ข.  ข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
ค.  ข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
ง.  ข้าราชการอัยการ
ตอบ  ง.  ข้าราชการอัยการ
5.    ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
ก.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข.  ข้าราชการปกครอง
ค.  ข้าราชการตำรวจ
ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ก.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
6.    ตำแหน่งใดเทียบเท่าตำแหน่ง “อธิบดี”
ก.  เลขนุการ ก.พ.                ข.  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ค.  เลขาธิการคณะรัฐมนตรี            ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
7.    หน่วยงานใดต่อไปนี้ที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ก.  สำนักข่าวกรองแห่งชาติ            ข.  สำนักงบประมาณ
ค.  สำนักคณะกรรมการการกฤษฎีกา        ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
8.    ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.  2551 คือ
ก.  นายกรัฐมนตรี    ข.  เลขาธิการ ก.พ.
ค.  รองนายกรัฐมนตรี    ง.  ประธานกรรมการ ก.พ.
ตอบ  ก.  นายกรัฐมนตรี
9.    ก.พ.  ประกอบด้วยกรรมการไม่เกินกี่คน
ก.  3  คน    ข.  5  คน
ค.  7  คน    ง.  12  คน
ตอบ  ง.  12  คน
10.    ผู้ใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ก.พ.
ก.  รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ข.  รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ค.  รัฐมนตรีสำนักงานนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
ง.  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ  ก.  รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
11.    กรรมการ ก.พ.  ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.   2  ปี    ข.  3  ปี
ค.  4  ปี    ง.  5 ปี
ตอบ  ข.  3  ปี
12.    เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดต้องดำเนินการแต่งตั้งภายในกี่วัน
ก.  30  วัน    ข.  15 วัน
ค.  20 วัน    ง.  45 วัน
ตอบ  ก.  30  วัน    
13.    หากกรรมการ ก.พ. ว่างลงจะไม่แต่งตั้งกรรมการ ในกรณีใด
ก.  วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 60 วัน    ข.  วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 90วัน
ค.  วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง  120  วัน    ง.  วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง  180 วัน
ตอบ  ง.  วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง  180 วัน
14.    เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานจาก ก.พ. ในกรณีที่กระทรวงทบวงกรมไม่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน  และนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงาน ก.พ.  จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก.  ทำตามความเห็นของนายกรัฐมนตรี
ข.  ยืนยันให้นายกรับมนตรีทบทวนใหม่
ค.  ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
ง.  เรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อขอถอนเรื่องกลับมาพิจารณาข้อมูลใหม่
ตอบ  ค.  ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
15.    หน่วยงานใดที่มีหน้าที่รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก  หรือจัดการสวัสดิการปรับปรุงเงินเดือนสำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม
ก.  กรมบัญชีกลาง
ข.  ก.พ.
ค.  สำนักงบประมาณ
ง.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ  ข.  ก.พ.
16.    การประชุม ก.พ.  ต้องมีจำนวนกรรมการประชุมจำนวนเท่าใดของจำนวนกรรมการทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุม
ก.   ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่    ข.  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ค.   ไม่น้อยกว่าสามในสี่    ง.  ไม่น้อยกว่าสองในสาม
ตอบ  ข.  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
17.    คณะกรรมการิสามัญ ซึ่งตั้งขึ้นโดย ก.พ.  มีหน้าที่อย่างไร
ก.  เพื่อทำการใดๆแทน ก.พ. ได้    
ข.  พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย
ค.  พิจารณาอุทธรณ์ หรือการร้องทุกข์    
ง.  เพื่อการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการพลเรือน
ตอบ  ก.  เพื่อทำการใดๆแทน ก.พ. ได้
18.    ผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการสำนักงาน ก.พ. คือ
ก.  นายกรัฐมนตรี    ข.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.  เลขาธิการ ก.พ.    ง.  เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ  ค.  เลขาธิการ ก.พ.
19.    ผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่บริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อผู้ใด
ก.  นายกรัฐมนตรี    ข.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี    ง.  รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย
ตอบ  ก.  นายกรัฐมนตรี
20.    อนุกรรมการกระทรวง  ประกอบด้วยผู้ใดบ้าง
ก.  รัฐมนตรีเจ้าสังกัด  และปลัดกระทรวง
ข.  อนุกรรมการผู้แทน  ก.พ.  และผู้ทรงคุณวุฒิ
ค.  อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ
ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้