ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนายร้อยตำรวจว่าด้วยพยาน  สอบนายร้อยตำรวจ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนายร้อยตำรวจว่าด้วยพยาน  สอบนายร้อยตำรวจ

แชร์กระทู้นี้

256.โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อของแล้วไม่ชำระเงิน จำเลยต่อสู้ว่าชำระเงินแล้ว คดีนี้มีประเด็นว่า "ชำระเงินแล้วหรือยัง" ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นชนิดใด
ก. ประเด็นแห่งคดี ข. ประเด็นข้อพิพาท
ค. เป็นประเด็นแห่งคดีแล้วกลายมาเป็นประเด็นข้อพิพาท
ง. เป็นทั้งประเด็นแห่งคดีหรือเป็นประเด็นข้อพิพาท
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต ดูหลักในข้อสงเกตุ ข้อ 6
257. ความหมายคำว่า "ประเด็นแห่งคดี" ในกฎหมายลักษณะพยาน ข้อใดถูกที่สุด
ก. ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างเพื่อเป็นเหตุให้ศาลคุ้มครองสิทธิของตน
ข. เป็นกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างขึ้นเพื่อเป็นเหตุให้ศาลบังคับให้
ค. ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงหรือกล่าวหาและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ(ง.)
258. ในคดีอาญา ถ้าจำเลยปฏิเสธหรือเฉยถือว่าไม่ยอมรับ ผู้ใดมีหน้าที่นำสืบ
ก. จำเลย ข. โจทก์
ค. แล้วแต่ศาลสั่ง ง. แล้วแต่คู่ความจะตกลงกัน
ตอบ(ข.)
259. ในเวลาที่ ก. ข. วิวาทกัน ข. ใช้มีดแทน ก. ตาย นาย 1, 2, 3, 4 อยู่ในบริเวณนั้นและเห็น เหตุการณ์ กรณีเช่นนี้นาย 1, 2, 3, 4 เป็นพยานชนิดใด
ก. ประจักษ์พยาน ข. พยานบอกเล่า
ค. พยานคู่ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ควรตอบข้อ (ก) และ (ค)
ข้อสังเกต 1,2,3, 4 สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากประสาทสัมผัสของเขา มิได้รับข้อเท็จจริงจากการบอกเล่าจึงไม่ใช่พยานบอกเล่า
260. คำขอฝ่ายเดียว หมายความว่า
ก. ต้องส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้ามและไม่ต้องฟังว่าอีกฝ่ายจะคัดค้านหรือไม่
ข. ไม่ต้องส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้ามและไม่ต้องฟังว่าอีกฝ่ายจะคัดค้านหรือไม่
ค. ไม่ต้องส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้ามและต้องฟังว่าอีกฝ่ายจะคัดค้านหรือไม่ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
261. ตามธรรมดาความเห็นของพยานหรือของบุคคลอื่น ศาลไม่รับฟัง มีกรณีใดบ้างที่ศาลรับฟังความเห็น
ก. ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ข. ความเห็นของบุคคลธรรมดาในเรื่องลายมือเขียนหนังสือ
ค. ความเห็นของบุคคลธรรมดาในเรื่องความคล้ายคลึงของตัวบุคคลหรือวัตถุ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
262. ต่อไปนี้ข้อใดเป็นพยานบอกเล่า
ก. พยานเห็นนาย ก. วิ่งออกจากบ้านมีบาดแผล และ นาย ก. ได้บอกพยานว่า นาย ข. ทำร้าย
ข. พยานให้การว่าขณะเกิดเหตุได้ยินเสียงตะโกนว่านาย ข. เป็นคนร้าย
ค. ถูกเฉพาะข้อ ก.
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
ตอบ(ค.)
263. การที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นหนังสือต่อศาลเพื่อให้ตรวจดู ข้อความนั้นเป็นพยานประเภทใด
ก. เป็นพยานเอกสาร
ข. เป็นพยานบุคคล
ค. เป็นพยานวัตถุ
ง. เป็นทั้งพยานเอกสารและพยานวัตถุ
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต หากตรวจอย่างอื่นมิใช่ข้อความ เป็นพยานวัตถุ
264. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และอ้างว่ากระทำความผิดมาก่อน ขอให้เพิ่มโทษด้วย จำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง ปัญหาว่าคำรับสารภาพเช่นนี้เป็นคำรับสารภาพอย่างไร
ก. รับสารภาพว่าลักทรัพย์จริง และรับว่าเคยกระทำผิดมาก่อน
ข. รับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ครั้งนี้เท่านั้น
ค. รับสารภาพว่าเคยกระทำความผิดมาก่อน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
265. ข้อใดเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ตาม ป.วิ. แพ่ง ม. 93
ก. เมื่อคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว
ข. ต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้หรือสูญหายศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบ
ค. ต้นฉบับทำลายโดยเหตุสุดวิสัย ศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
266. ข้อใดที่ไม่ต้องปฏิบัติ ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารหรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสารให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นหรือส่งเอกสารนั้น
ก. คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารอาจยื่นคำขอ
ข. ทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตงดการส่งสำเนาเอกสาร
ค. ทำเป็นคำร้องขอยืดเวลาการส่งสำเนาเอกสาร
ง. ขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 90 วิแพ่ง วรรคท้าย ให้ทำเป็นคำร้อง ขออนุญาตงดยื่นสำเนา และขอยื่นต้นฉบับแทน
267. ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลจะรับฟ้องความเห็นมีชื่อเรียกต่าง ๆ คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญ (2) ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ (3) ผู้ชำนาญการพิเศษ ถามว่าผู้เชี่ยวชาญประเภทใดใน 3 ประเภทนี้ สามารถทำความเห็นเป็นหนังสือส่งมายังศาลได้ โดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น
ก. ผู้เชี่ยวชาญ
ข. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ
ค. ผู้ชำนาญการพิเศษ
ง. ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ประเภท ต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต ผู้เชี่ยวชาญเป็นกรณีคดีแพ่ง ตามมาตรา 130 วิแพ่ง
268. ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือเสนอต่อศาล และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือ ต้องส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเท่าใดก่อนวันเบิกความ
ก. ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันเบิกความ
ข. ไม่น้อยกว่า 5 วัน ก่อนวัน เบิกความ
ค. ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันเบิกความ
ง. ไม่น้อยกว่า 10 วัน ก่อนวันเบิกความ
ตอบ (ก.) ข้อสังเกต ผู้เชี่ยวชาญเป็นกรณีคดีอาญา ตามมาตรา 243 วิอาญา
269. พยานที่ไม่เคยได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวน นั้น
ก. คู่ความอ้างเป็นพยานได้
ข. คู่ความอ้างเป็นพยานไม่ได้
ค. ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็อ้างไม่ได้
ง. แล้วแต่ศาลจะอนุญาตหรือไม่
ตอบ (ก.)
270. การรับฟังพยานหลักฐาน
ก. เมื่อได้ยื่นถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยานแล้วศาลต้องรับฟังทุกอย่าง
ข. เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกิดสมควรหรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น เมื่อคู่ความยื่นถูกต้องแล้วศาลต้องรับฟัง
ค. พยานหลักฐานที่ฟุ่มเพื่อยเกินไปหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
ง. พยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟื่อยเกินไปหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็นศาลมีอำนาจ
งดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้แต่ไม่มีสิทธิงดการสืบพยานหลักฐานอื่นโดยเด็ดขาด
ตอบ (ค.)
271.การท้ากันในประเด็นแห่งคดี ในคดีอาญานั้น
ก. ศาลรับฟังคำท้าในประเด็นคดีอาญาได้
ข. การท้ากันในประเด็นแห่งคดีมีเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น
ค. การท้ากันในประเด็นแห่งคดีมิได้ทั้งทางแพ่งและอาญา
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
272. พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็น
ก. ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานเช่นนั้นได้ ข. ศาลต้องสืบพยานหลักฐานนั้น
ค. แล้วแต่คู่ความตกลงกัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
273. การส่งหมายเรียกพยาน ต้องให้พยานรู้ตัวล่วงหน้าอย่างน้อย
ก. 3 วัน ข. 7 วัน ค. 15 วัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
274. นายน้อยกำนันมีอาชีพทำนาและได้เลี้ยงกระบือไว้หลายตัว มีความรู้ในเรื่องลักษณะของกระบือพอสมควร ได้มาเป็นพยานเบิกความว่า กระบือพิพาท ตาเป็นฝ้าไม่ใช่ตาถั่วดังนี้ คำพยานนี้จะรับฟังได้หรือไม่
ก. รับฟังไม่ได้ ข. นายน้อยเป็นกำนันแม้จะมีกระบือหลายตัวก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ
ค. รับฟังเป็นพยานได้ ง. นายน้อยไม่ใช่ผู้ที่ศาลแต่งตั้งรับฟังไม่ได้เลย
ตอบ(ค.)
275. ต่อไปนี้ข้อใดเป็นพยานวัตถุ
ก. ศิลาจารึก ข. ป้ายเลขทะเบียนรถยนต์ ค. บาดแผล ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
276. คำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยนั้น
ก. ใช้ลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ข. ใช้ลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้เลย
ค. ถ้าคดีมีอัตราโทษไม่เกิน 3 ปี จึงจะใช้ยันลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
ง. ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธชั้นศาลจึงจะใช้ยันไม่ได้
ตอบ(ข.)
277. ศาลจะบังคับให้พยานตอบคำถามที่พยานอาจจะถูกฟ้องในคดีอาญาได้หรือไม่
ก. ได้เสมอ ข. ไม่ได้เลย
ค. ศาลบังคับไม่ได้ต้องเตือนพยานก่อน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 118 วิแพ่ง
278. ผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนกันเป็นพยานนั้น โจทก์จะอ้างเป็นพยานต่อศาลในคดีที่ผู้ต้องหาดังกล่าว และจำเลยร่วมกันกระทำผิดได้หรือไม่
ก. ได้ ข. ไม่ได้ ค. แล้วแต่ศาลจะอนุญาตหรือไม่
ง. ถ้าในคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูง 5 ปีขึ้นไปอ้างไม่ได้
ตอบ(ก.)
279. จำเลยในคดีอาญาทำร้ายร่างกายสาหัสให้การต่อศาลว่า "ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าได้กระทำจริงตามฟ้อง" โจทก์จึงไม่ติดใจนำพยานหลักฐานในเรื่องได้รับอันตรายสาหัสขึ้นพิสูจน์ในข้อนี้ ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะแปลคำรับของจำเลยในศาลอย่างไร
ก. จำเลยรับสารภาพฐานทำร้ายร่างกายสาหัส
ข. ศาลจะพิพากษาจำเลยฐานทำร้ายร่างกายธรรมดาและทำร้ายร่างกายสาหัสเรียงกระทงความผิด
ก. จำเลยมิได้รับในข้อที่ว่าการทำร้ายร่างกายนั้นได้ทำให้เกิดบาดเจ็บสาหัสนั้นมิใช่เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบการกระทำผิดที่จำเลยรับสารภาพ เมื่อจำเลยจะรับในข้อนี้ก็ต้องให้ปรากฎชัดในคำให้การหรือคำแถลงของจำเลยและโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานพิสูจน์ในข้อนี้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายธรรมดา
ข. คำสารภาพจำเลยไม่ชัดเจน เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยประกอบพยานหลักฐานไม่มี พิพากษายกฟ้อง
ตอบ(ค.)
280. ข้อความดังต่อไปนี้ ข้อใดผิด
ก. กฎหมายไทยศาลรับรู้ ได้เองไม่ต้องสืบพยาน
ข. จังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกับจังหวัดอะไร ศาลรู้ได้เองไม่ต้องสืบพยาน
ค. ราชกิจจานุเบกษา ศาลรู้ได้เองไม่ต้องสืบพยาน ง. ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ(ง.)
281.ในระหว่างพิจารณา
ก. ศาลไม่มีอำนาจถามโจทก์ หรือจำเลยได้
ข. ศาลมีอำนาจถามโจทก์ จำเลยได้
ค. ศาลถามจำเลยเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะจะเพิ่มเติมคดีโจทก์ได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
282. ในคดีอาญานั้น
ก. ห้ามมิให้โจทก์อ้างภริยาจำเลยเป็นพยาน ข. ห้ามมิให้โจทก์อ้างบุตรจำเลยเป็นพยาน
ค. ห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยาน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ค.)
283. ในคดีอาญานั้น
ก. จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานได้ ข. จำเลยอ้างโจทก์เป็นพยานได้
ค. จำเลยอ้างพยานร่วมกับโจทก์ได้ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
284. กฎหมายลักษณะพยาน เป็นกฎหมายประเภท
ก. สาระบัญญัติ ข. วิธีสบัญญัติ
ค. เป็นได้ทั้งสาระบัญญัติ และวิธีสบัญญัติ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
285. พยานหลักฐานใด ๆ ที่สามารถจะแสดงท่าทางหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้ศาลทราบได้ เรียกว่า
ก. สามัญพยาน ข. วิจักขณพยาน
ค. โมกษพยาน ง. พยานสาธิต
ตอบ(ง.)
286. พยานอัน หมายถึง พระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา คือ พยานซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แต่เดิมนิยมใช้ เรียกว่า
ก. สามัญพยาน ข. วิจักรขณพยาน
ค. โมกษพยาน ง. พยานสาธิต
ตอบ(ค.)
287. ประเด็นข้อพิพาทที่ถือว่าศาลทราบได้เอง โดยไม่ต้องนำพยานหลักฐานใดมาสืบเช่น
ก. กฎหมายวิธีพิจารณา และธรรมเนียมประเพณี
ข. รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการปกครองแบบประชาธิปไตย
ค. ตราแผ่นดิน ใช้เป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของตำรวจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)

288. ในคดีอาญา การนิ่งหรือเฉย หรือไม่ต่อสู้ของจำเลยในประเด็นที่เกิดขึ้น ถือว่าจำเลย
ก. ยอมรับ ข. ไม่ยอมรับ
ค. ไม่ปฏิเสธ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
289. พยานจะต้องตอบคำถามของศาลเสมอไปหรือไม่
ก. ต้องตอบเสมอไป เพราะฉะนั้นจะมีความผิดฐานขัดคำบังคับตาม ป. อาญา
ข. ไม่จำเป็นต้องตอบ อยู่ที่ความพอใจ
ค. ปกติต้องตอบ ยกเว้นซึ่งถ้าตอบไปแล้วพยานอาจถูกฟ้องในคดีอาญา ฐานหมิ่นประมาท
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
290. พยานเอกสารแบ่งออกเป็นกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด คือ เอกสารมหาชน เอกสารเอกชน เอกสารราชการ
ข. 1 ชนิด คือ เอกสารสิทธิ
ค. 2 ชนิด คือ เอกสารมหาชนและเอกสารเอกชน
ง. 2 ชนิด คือ เอกสารทางอาญา และเอกสารทางแพ่ง
ตอบ (ค)
ข้อสังเกต บางทีก็แบ่งเป็น 3 ประเภทตามข้อ (ก)
291. พยานความเห็นรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ก. รับฟังไม่ได้เลย เพราะไม่ได้รู้เห็น ข. รับฟังได้เสมอ
ค. รับฟังไม่ได้ เว้นแต่เป็นความเห็นของผู้ชำนาญการพิเศษ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
292. สำเนาเอกสารใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ในกรณีใด
ก. ใช้ได้เสมอ ข. ปกติศาลไม่ยอมรับฟัง เว้นแต่ต้นฉบับหาไม่ได้
ค. ปกติศาลไม่ยอมรับฟัง เว้นแต่เป็นสำเนาเอกสารราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้อง
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
ตอบ (ข.)
293. ในคดีอาญา อัยการโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ ต่อมาอัยการโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และขออ้างจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเป็นพยานฝ่ายโจทก์ ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้เพราะโจทก์จะอ้างจำเลยเป็นพยานไม่ได้
ข. ได้ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลยอีกต่อไปแล้ว
ค. ได้ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร โดยใช้ดุลพินิจ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
294. บุคคลธรรมดาสามารถอ้างเป็นพยานได้หรือไม่
ก. อ้างได้เสมอ ถ้าสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้
ข. อ้างได้ ถ้าเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้จะไม่ได้ยินหรือเห็นหรือทราบเรื่องราวเกี่ยวกับคดีก็ตาม
ค. อ้างได้เสมอถ้าสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้และต้องได้ยินได้เห็น หรือทราบเรื่องเกี่ยวกับคดีนั้น
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
295. ความเห็นของผู้ชำนาญการพิเศษที่ทำเป็นหนังสือส่งต่อศาล ใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เพียงใด
ก. ใช้ได้เลยเพราะมีน้ำหนักพอ
ข. รับฟังได้โดยมีลายเซ็นของผู้ชำนาญการพิเศษในหนังสือเท่านั้นก็พอ
ค. รับฟังได้ เมื่อผู้ชำนาญการพิเศษได้มาเบิกความประกอบหนังสือนั้นต่อศาล
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
296.ประเด็นในคดีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. 2 ประเภท คือ ประเด็นแห่งคดี และประเด็นข้อตกลงกัน
ข. 3 ประเภท คือ ประเด็นแห่งคดี ประเด็นข้อตกลงกัน และประเด็นข้อพิพาท
ค. 2 ประเภท คือ ประเด็นแห่งคดี และประเด็นข้อพิพาท
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
297. การไม่ไปศาลตามหมายเรียกเพื่อให้เบิกความ
ก. มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ข. ต้องผิดศีลธรรม
ค. ได้ชื่อว่าไม่กระทำตนเป็นพลเมืองดี ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ก.)
298. ผู้ชำนาญการพิเศษ คือ
ก. ผู้มีอาชีพทางศิลป์ฝีมือ ข. นายแพทย์
ค. นักวิทยาศาสตร์ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
299. ปัจจุบันการจราจรในกรุงเทพฯ คับคั่ง
ก. เป็นข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความไม่ต้องนำพยานมาสืบพิสูจน์
ข. ศาลต้องนำพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบประกอบ
ค. เป็นข้อสันนิษฐาน
ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ข้อ ค.
ตอบ(ค.)
300. คดีอาญาจำเลยต้องหาว่าฆ่าคนตายโดยเจตนาซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีหรือประหารชีวิต ในชั้นพิจารณาหากจำเลยรับสารภาพตามฟ้องศาลจะพิจารณาคดีโดยไม่มีการสืบพยานได้หรือไม่
ก. ลงโทษจำเลยได้ทันทีเพราะเป็นการรับสารภาพ
ข. ต้องมีการสืบพยานก่อน
ค. อยู่ในดุลพินิจของศาลเพราะกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในดุลพินิจ
ง. ศาลจะสั่งให้สืบหรือไม่ก็ได้
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ตาม 176 วิอาญาต้องสืบพยานต่อไปเพราะมีโทษจำคุกเกินกว่า 5 ปี
301. คำรับสารภาพว่าเล่นการพนันที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี โดยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดเล่นการพนันดังฟ้อง และเล่นโดยพนันเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเอาเงินรวมซื้อโคล่ามาเลี้ยงกันรอบวง ลงโทษจำเลยได้หรือไม่
ก. ศาลจะสั่งให้สืบหรือไม่ก็ได้
ข. ลงโทษได้ไม่ต้องสืบพยานเพราะเป็นคำรับสารภาพอยู่ในตัว
ค. ต้องสืบพยานเพราะไม่เป็นคำรับสารภาพ
ง. อยู่ในดุลพินิจของศาลเพราะกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในดุลพินิจ
ตอบ(ค.)
302. โจทก์ฟ้องว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จับจำเลยได้พร้อมของกลางทั้งนี้โดยจำเลยลักทรัพย์นั้นมาหรือมิฉะนั้นก็รับทรัพย์นั้นไว้โดยรู้ว่าเป็นของคนร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิด จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง ลงโทษจำเลยได้หรือไม่
ก. ศาลต้องตัดสินยกฟ้องเพราะเป็นการรับสารภาพที่ไม่ถูกต้อง
ข. ต้องสืบพยานเพราะไม่เป็นคำรับสารภาพ
ค. ลงโทษได้ไม่ต้องสืบพยานเพราะเป็นคำรับสารภาพอยู่ในตัว
ง. ศาลจะสั่งให้สืบหรือไม่ก็ได้
ตอบ (ก.)
303. คนวิกลจริตเป็น ๆ หาย ๆ ได้เป็นพยานเบิกความต่อศาล ขณะที่เบิกความนั้นสติไม่ฟั่นเฟือนคือ ในช่วงเวลาหายจากวิกลจริต ศาลจะรับเป็นพยานได้หรือไม่
ก. ศาลรับเป็นพยานได้เพราะเข้าใจและตอบคำถามได้
ข. จะอ้างเป็นพยานไม่ได้เพราะเป็นคนวิกลจริต
ค. มีกฎหมายบัญญัติโดยชัดแจ้งไว้แล้วว่าคนวิกลจริตจะอ้างเป็นพยานไม่ได้
ง. คนวิกลจริตจะประหารชีวิตหรือจำคุกมิได้ย่อมเป็นพยานไม่ได้อยู่ในตัว
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1199 / 2526 ยืนยันไว้
304.บุคคลต่อไปนี้สามารถอ้างเป็นพยานได้
ก. คนใบ้ ข. คนหูหนวก
ค. คนหูหนวกและเป็นใบ้ด้วยแต่อ่านและเขียนหนังสือได้ ง. คนวิกลจริต
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต กฎหมายลักษณะพยามเดิมไม่ยอมให้เป็นพยาน แต่วิแพ่งมาตรา 96 ระบุไว้ชัดเจนให้เป็นพยานไว้
305. พยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อาจแบ่งเป็น
ก. พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสาร พยานผู้ชำนาญการพิเศษ
ข. ประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณี
ค. พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสาร พยานผู้เชี่ยวชาญ
ง. พยานชั้นพนักงานสอบสวน พยานชั้นพิจารณา
ตอบ(ก.)
306. พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็น
ก. ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานเช่นนั้นได้ ข. ศาลต้องสืบพยานหลักฐานนั้น
ค. แล้วแต่คู่ความตกลงกัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ก.)
307. คดีแพ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกัน
ก. ได้ ข. ไม่ได้ ค. แล้วแต่ศาลอนุญาต ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ก.)
308. การอ้างพยานเอกสาร ถ้าต้นฉบับเอกสารสูญหาย
ก. ศาลต้องงดสืบพยานหลักฐานนั้น ข. ศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้
ค. ศาลต้องบังคับให้หาต้นฉบับมาให้ได้ ง. พยานบุคคลสืบแทนได้เลย
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 93 วิแพ่ง
309. พยานบุคคลที่ศาลยอมรับฟัง
ก. สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้
ข. เป็นผู้ที่ได้เห็นข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเอง
ก. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ(ค.)
310. คนหูหนวก
ก. ไม่สามารถอ้างเป็นพยานได้ ข. สามารถอ้างเป็นพยานได้
ค. เป็นพยานแวดล้อม ง. เป็นพยานเท็จ
ตอบ(ข.)

311. พยานที่ศาลจะรับฟังต้อง
ก. มิได้เกิดจากการจูงใจ ข. มิได้เกิดขึ้นจากการหลอกลวง
ค. มิได้เกิดขึ้นจากการขู่เข็ญ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
312. คดีอาญาถ้าศาลมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่
ก. ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยลง ข. ศาลต้องลงโทษจำเลยน้อยลง
ค. ให้ยกฟ้อง ง. แล้วแต่ศาลจะพิจารณา
ตอบ(ค.)
313. ในคดีอาญา
ก. โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานได้ ข. โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานไม่ได้
ค. จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานไม่ได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
314. ในคดีอาญา คนใบ้
ก. ศาลรับฟังเป็นพยานได้เพราะไม่โกหก ข. อาจถูกอ้างเป็นพยานได้
ค. ไม่สามารถอ้างเป็นพยานได้เลยเพราะพูดไม่รู้เรื่อง ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ดูหลักการในข้อสังเกตข้อ 304
315. บุคคลที่ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความก็ได้
ก. พระภิกษุในพุทธศาสนา ข. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี
ค. บุคคลหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
316. บุคคลที่ไม่จำเป็นต้องไปศาล
ก. คนใบ้ ข. คนพิการเดินไม่ได้
ค. พระภิกษุในพุทธศาสนา ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
317. บุคคลที่จะไปเป็นพยานในคดีอาญาได้
ก. อายุไม่ต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์ ข. อายุไม่เกิน 75 ปี
ค. ไม่จำกัดอายุ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต อายุไม่เป็นอุปสรรคการเป็นพยาน คนชราก็เช่นกันสำคัญที่สามารถเข้าใจคำถามและตอบคำถามได ตามนัยมาตรา 95 วิแพ่ง
318.ผู้ชำนาญการพิเศษ
ก. ต้องสำเร็จชั้นปริญญา ข. ต้องเป็นนายแพทย์
ค. ผู้ใดก็ได้โดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตามมีความชำนาญพิเศษในการนั้น ๆ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ค.)
319. ผู้ชำนาญการพิเศษ
ก. ต้องให้มาเบิกความประกอบเอกสารความเห็นทุกครั้ง ข. ไม่ต้องมาเบิกความประกอบก็ใช้ได้
ค. ศาลจะอนุญาตให้มาศาลหรือไม่ก็ได้ ง. แล้วแต่คู่ความตกลงกันจะมาศาลหรือไม่ก็ได้
ตอบ(ก.)
320. คำให้การพยานในชั้นสอบสวนเมื่อไม่ได้ตัวผู้ให้การมาเบิกความเป็นพยานที่ศาลเพราะถูกทำร้ายตายเสียก่อน จะมีผลอย่างไรต่อการพิจารณาของศาล
ก. ศาลจะยกฟ้องทันทีเพราะไม่มีพยานสำคัญ
ข. ศาลจะจำหน่ายดีออกจากสาระบบความทันที
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. ใช้เป็นคำประกอบคำเบิกความพยานอื่นในชั้นกาลได้
ตอบ(ง.)
321. จำเลยให้รับการสารภาพในชั้นสอบสวน ด้วยความสมัครใจโดยไม่มีข้อต่อสู้ใด ๆ และได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพให้พนักงานสอบสวนทำแผนที่และบันทึกไว้ไม่มีประจักษ์พยานเห้นจำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมกรณีในชั้นศาลจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้นศาลรับฟังคำให้การรับสารภาพของจำเลยชั้นสอบสวนประกอบกับพยานแวดล้อมกรณีลงโทษจำเลยได้หรือไม่
ก. รับฟังและลงโทษได้
ข. รับฟังไม่ได้เพราะจำเลยปฏิเสธในชั้นศาลและไม่มีประจักษ์พยาน
ค. รับฟังเพื่อประกอบการวินิจฉัยแต่ยังไม่สามารถลงโทษจำเลยได้
ง. หลักกฎหมายมีว่าอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง จึงยังรับฟังไม่ได้
ตอบ (ก.)
322. ตาม ป.วิ. อาญา ม. 229 บัญญัติว่า "ศาลเป็นผู้สืบพยาน จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้แล้วแต่เห็นควรตามลักษณะของพยาน" และมาตรา 230 บัญญัติว่า "เมื่อจำเป็นศาลมีอำนาจเองหรือให้จ่าศาลไปเดินเผชิญสืบ หรือส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานให้" ดังนั้น คดีอาญาเรื่องหนึ่งศาลส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ในเมืองต่างประเทศและจำเลยป่วย ไม่สามารถตามไปด้วยได้ จะรับฟังมาลงโทษจำเลยได้หรือไม่
ก. ได้เพราะสืบพยานถูกต้องตามกฎหมาย ข. ไม่ได้
ค. ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ส่งประเด็นไปสืบพยานแล้วรับฟังได้
ง. การสืบพยานดังอุทาหรณ์นั้นถ้าสืบในศาลต่างประเทศจึงจะรับฟังได้
ตอบ(ข.)
323. ในคดีเรื่องหนึ่งมีนายดำ นายตอหดและนายตอยาว ได้ตกเป็นผู้ต้องหาฐานทำร้ายผู้อื่นจนถึงกับได้รับอันตรายสาหัส ไม่มีประจักษ์พยานอื่นใดนอกจากผู้เสียหายที่ถูกทำร้ายพนักงานอัยการเห็นว่านายตอหดกระทำผิดในขั้นพยายามเท่านั้น จึงกันไว้เป็นพยาน ดังนี้จะถือว่านายตอหดเป็นพยานที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่
ก. นายตอหดเป็นพยานที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ข. ผู้กระทำความผิดร่วมกันจะเป็นพยานไม่ได้
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. นายตอหดเป็นพยานได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
ตอบ(ง.)
324. ในการปล้นทรัพย์ในเวลากลางคืนเจ้าทรัพย์ตาย มีนายเล็ก นายใหญ่ และนายยาวเป็นจำเลยต่อศาล นายใหญ่ได้เบิกความชัดทอดว่านายเล็ก และนายยาวเป็นผู้ทำให้เจ้าทรัพย์ตาย นายเล็กและนายยาวปฏิเสธ ดังนี้คำซัดทอดของนายใหญ่ถือได้ว่าเป็นพยานรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่
ก. ได้เพราะเป็นประจักษ์พยาน
ข. จะรับฟังนายใหญ่เป็นพยานลงโทษจำเลยคือนายเล็กและนายยาวหาได้ไม่
ค. เป็นพยานที่มีน้ำหนักไม่เพียงพอ ง. เป็นพยานที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
ตอบ (ข.)
325. ในคดีฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา พนักงานอัยการได้ฟ้องนายเหี้ยมและนายหูดเป็นจำเลยต่อศาล โดยแยกฟังเป็นคนละคดี เนื่องจากจำเลยทั้งสองปฏิเสธ ดังนี้พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์จะอ้างนายเหี้ยมเป็นพยานยืนยันการกระทำของนายหูดได้หรือไม่
ก. พนักงานอัยการย่อมอ้างนายเหี้ยมเป็นพยานได้
ข. จะอ้างนายเหี้ยมเป็นพยานหาได้ไม่เพราะกฎหมายห้ามไว้
ค. จะอ้างได้หรือไม่เพียงใดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ง. เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตอบ (ก.)
326. คราบโลหิตในที่เกิดเหตุใช้เป็นข้ออ้างทางใด
ก. ใช้อ้างยืนยันว่าเป็นโลหิตของผู้นั้นผู้นี้ได้ ข. ใช้อ้างยืนยันว่าไม่เป็นโลหิตของผู้นั้นผู้นี้ได้
ค. ใช้เป็นพยานไม่ได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
327. ผลการพิสูจน์จากเครื่องวัดความเมา
ก. ใช้เป็นพยานยืนยันไม่ได้ ข. ใช้เป็นพยานบอกเล่าไม่ได้
ค. ใช้ได้บางโอกาส ง. ใช้เป็นพยานยืนยันได้
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต มีคำพิพากษาฎีกายืนยัน
328. เหตุขัดข้องที่ศาลไม่ยอมให้เลื่อนวันสืบพยาน คือ
ก. พยานมีกิจธุระส่วนตัว ซึ่งเป็นการจำเป็นที่จะผ่อนผันมาให้การไม่ได้จริง ๆ
ข. พยานติดราชการส่วนตัวซึ่งจะละทิ้งเสียในเวลาศาลนัดสืบไม่ได้จริง ๆ
ค. พยานป่วยไข้มีอาการหนัก ไม่สามารถจะมาศาลได้จริง ๆ ง. มีธุระส่วนตัวต่อทางราชการ
ตอบ(ง.)
329. บุคคลที่กฎหมายห้ามมิให้อ้างเป็นพยาน
ก. โจทก์ซึ่งจำเลยจะอ้างเป็นพยานไม่ได้ ข. จำเลยซึ่งโจทก์จะอ้างเป็นพยานไม่ได้
ค. ผู้ต้องหา ซึ่งโจทก์จะอ้างเป็นพยานของโจทก์ไม่ได้
ง. โจทก์จะอ้างพรรคพวกของจำเลยเป็นพยานโจทก์ไม่ได้
ตอบ (ข.)
330. บุคคลที่กฎหมายห้ามมิให้ยอมรับฟังเป็นพยาน ได้แก่
ก. บุคคลที่ไม่ยอมตอบคำถาม ข. บุคคลที่ไม่เข้าใจคำถาม
ค. บุคคลที่เพียงแต่ไม่ยิน ง. บุคคลที่ไม่สามารถจะเข้าใจและตอบคำถามได้
ตอบ (ง.)
331. สิ่งใดที่ใช้เป็นพยานวัตถุ
ก. ต้องนำมาศาลสถานเดียว
ข. ไม่จำเป็นต้องนำมาศาล แต่ตรวจจดรายงานรายละเอียดแห่งวัตถุนั้น
ค. พยานวัตถุที่นำมาไม่ได้ ต้องให้ศาลไปตรวจรายงาน
ง. ข้อ ก. และ ข. ผิด
ตอบ (ค.)
332. พยานที่ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้คือ
ก. พยานที่เกิดจากการให้คำมั่นสัญญา ข. พยานบุคคล
ค. พยานชั้นที่หนึ่ง ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ก.)
333. นาย ก. ฆ่าคนตายโดยเจตนา ต่อมานาย ก. ได้ถูกจับ พนักงานสอบสวนทำสำนวนส่งให้อัยการฟ้องยังศาล นาย ก. รับสารภาพต่อศาลว่าได้กระทำผิดจริง แต่พยานหลักฐานอื่นไม่มีในกรณีนี้ศาลจะลงโทษนาย ก. ได้หรือไม่
ก. ลงโทษได้เพราะได้รับสารภาพต่อศาลแล้ว
ข. เป็นอาญาแผ่นดินแม้ไม่มีพยานก็ลงโทษได้
ค. คำรับสารภาพของนาย ก. นั้นถือว่าเป็นพยานอยู่แล้ว ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต คำตอบที่ถูกที่สุด คือ ยกฟ้อง ดูหลักในข้อ 300
334. การสืบพยานของศาลนั้น สืบได้เฉพาะ
ก. ในศาลเท่านั้น ข. นอกศาลก็ได้
ค. ข้อ ก. และ ข. ผิด ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาหลักการเดียวกัน
335. เอกสารมหาชนนั้นต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบหรือไม่
ก. ต้องมีบุคคลมาสืบประกอบ ข. ให้สืบเช่นกับพยานทั่ว ๆ ไป
ค. ไม่ต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ค.)
336. รูปถ่ายห้องพิพาทเป็นพยานอะไร
ก. พยานเอกสาร ข. พยานวัตถุ
ค. ทั้งพยานเอกสารและพยานวัตถุ ง. ข้อ ข. และข้อ ค. ผิด
ตอบ(ข.)
337. ปัญหาที่ว่ายานพาหนะของจำเลยมีการบรรทุก จนน่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลยานพาหนะอันเข้าหลักเกณฑ์ความผิดอาญา เป็นปัญหา
ก. ข้อเท็จจริง ข. ข้อกฎหมาย ค. ข้อกล่าวหา ง. ข้อโต้เถียง
ตอบ(ข.)
338. ในกรณีที่อ้างว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ใครจะเป็นฝ่ายสืบพยาน
ก. โจทก์ต้องสืบก่อนเพื่อให้จำเลยได้รับโทษ
ข. จำเลยไม่ต้องสืบเพราะถือว่าได้กระทำโดยป้องกัน
ค. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ผิด
ตอบ(ก.)
339. กรณีใดบ้างที่ศาลจะสืบพยานในศาลครั้งเดียวกันสองคนพร้อมกัน
ก. พยานมาพร้อมกันทีเดียวสองคน ข. เมื่อพยานให้การขัดกันในสาระสำคัญ
ค. พยานคู่ ง. ประจักษ์พยานตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ศาลมีอำนาจเรียกพยานสองคนหรือกว่านั้น มาสอบปากคำพร้อมกันได้ ตามมาตรา 119 วิแพ่ง
340. ปัญหาที่ว่าสมควรจะรอการลงโทษจำเลยหรือไม่นั้นเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาลเป็นปัญหา
ก. ข้อกฎหมาย ข. ข้อเท็จจริง
ค. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ผิด
ตอบ(ข.)
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
147.พยานบุคคลที่พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสสอบสวน อัยการโจทก์จะ>
ก. อ้างพยานบุคคลนั้นเป็นพยานมิได้ เพราะยังมิได้มีการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน
ข. อ้างพยานบุคคลนั้นเป็นพยานบุคคลได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากศาล
ค. อ้างเป็นพยานบุคคลได้ แม้พนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนเพราะไม่มีกฎหมายห้าม
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
148. ในคดีอาญา
ก. จำเลยจะต้องให้การว่ารับหรือปฏิเสธ เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองบริสุทธิ์เสมอ
ข. จำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองบริสุทธิ์ก่อน
ค. จำเลยให้การหรือไม่ให้การก็ได้ โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำสืบ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยก่อน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
149. คำให้การของพยานที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ต่อมาพยานได้ตายลงไม่สามารถมาให้การในชั้นศาลได้ คำให้การของเขา
ก. เป็นพยานโดยตรง ข. เป็นพยานบอกเล่า
ค. เป็นพยานชั้นหนึ่ง ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
150. สิ่งใดต่อไปนี้ที่ศาลรับรู้เอง
ก. ถ้อยคำภาษาไทย ข. ธรรมเนียม ประเพณี ที่รู้กันอยู่ทั่วไป
ค. สิ่งธรรมดาธรรมชาติ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
151. คำของผู้ตายที่ยบอกเล่าแก่ผู้อื่นในนข้อใดที่ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ก. สอนป่วยหนักรู้ตัวว่าจะตาย บอกสีว่าได้เห็นจำเลยเป็นคนฆ่านายดำ ต่อมาสอนถึงแก่ความตาย
ข. นางมาลีถูกรถชน พูดกับนายชุมสามีที่โรงพยาบาลว่า “ฉันตายแน่ ๆ ฉันผิดเอง คนขับแท็กซี่เขาไม่
ผิดหรอก” ต่อมานางมาลีก็ตาย
ค. นายแก่นถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนไปให้การต่อพนักงานสอบสวนว่านายเข้มเป็นคนร้ายแล้ว
นายแก่นถึงแก่ความตาย
ง. คดีแดงฆ่าดำ ขาวซึ่งนอนป่วยหนักใกล้จะสิ้นใจ กล่าวว่า “ข้าพเจ้านายขาวเองเป็นผู้ฆ่านายดำ
มิใช่แดง” แล้วขาวก็สิ้นใจตาย
ตอบ ข.
ข้อสังเกต หลักการรับฟังพยาน กรณีนี้มีคือ 1. ต้องเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับการทำให้ผู้กล่าวตาย 2 ผู้ตายต้องเป็นบุคคลที่สามารถเป็นพยานได้หากรอดชีวิต 3. ผู้ตายจะต้องกล่าวในขณะรู้สึกหมดหวัง
152. ข้อใดเป็นสิทธิของพยานที่จะไม่ยอมเบิกวามเนื่องจากคำถามองคู่ความ
ก. เป็นคำถามที่หมิ่นประมาทพยาน ข. เป็นคำถามที่เกี่ยวกับประเด็น
ค. เป็นคำถามที่จะทำให้ผู้พิพากษาตุลาการต้องเบิกความถึงการพิจารณาพิพากษาคดี
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ค.
ตอบ (ก.) ข้อสังเกต ตามมาตรา 118 วิแพ่ง
153. พยานข้อใดมีสิทธิไม่ต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความ
ก. พราหมณ์ ข. พระไทย ค. บุคคลอายุ 14 ปี ง. ถูกเฉพาะข้อ ข, ค
ตอบ (ข.)
154. ในแง่กระบวนวิธีพิจารณา จำเป็นที่จะต้องมีประเด็นเกิดขึ้นเพื่อวินิจฉัย เมื่อเกิดประเด็น จึงมีปัญหาว่าจำเลยจะยอมรับหรือปฏิเสธในประเด็นนั้น ในคดีอาญา ถ้าจำเลยปฏิเสธหรือเฉย จะถือว่า
ก. จำเลยไม่ยอมรับ โจทก์ต้องนำสืบ ข. จำเลยไม่ยอมรับ แต่ไม่จำเป็นต้องนำสืบอีก
ค. ถือว่าเป็นการยอมรับแล้ว เพราะมีหลักฐานถูกมัดไม่จำเป็นต้องนำสืบอีก
ง. ศาลต้องส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้พยานหลักฐานเพิ่มขึ้นจนพอใจ
ตอบ (ก.)
155. คดีที่ศาลจะต้องพิเคราะห์ทุกคดีเพื่อวินิจฉัยพิพากษานั้น สิ่งที่จะต้องพิเคราะห์คือ
ก. ข้อเท็จจริง ข. ข้อกฎหมาย
ค. ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
156. หลักที่ว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่ศาลต้องรับรู้เองนั้น หมายความเฉพาะกฎหมายไทยเท่านั้น คือ
ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกำหนด
ค. พระบรมราชโองการ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต พระบรมราชโองการ ถือเป็นกฎหมายด้วย ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
157. บุคคลชนิดใด ที่เป็นพยานศาลไม่ได้
ก. บุคคลซึ่งต้องตกเป็นจำเลยในคดีอาญา
ข. บุคคลที่ไม่สามารถเข้าใจคำถามทั้งไม่สมควรจะให้การตามข้อถามได้
ค. เด็กอายุ 3 ขวบ คนชราอายุ 90 ปี ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ (ข.)

ข้อสังเกต มาตรา 95 วิแพ่ง ที่ไม่เลือกข้อ ก. เพราะ จำเลยอาจอ้างตนเองพยานได้
158. พนักงานสอบสวนเมื่อรับคำร้องทุกข์หรือคำแจ้งความกล่าวโทษไว้แล้ว ก็จะดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ เพื่อ
ก. ให้รู้ว่ามีความผิดอาญาเกิดขึ้นจริงหรือไม่
ข. ให้รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิด
ค. ดำเนินการให้ได้ตัวผู้กระทำผิดมาสอบสวนแล้วทำสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ
เพื่อฟ้องผู้กระทำผิดนั้นต่อศาล
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
159. ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดนั้น หมายความว่า
ก. กฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นกฎหมายถือว่าเป็นอย่างนั้นอย่างเดียว
ให้จะนำสืบหักล้างไม่ได้
ข. เป็นข้อสันนิษฐาน ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ แต่อาจหาพยานหลักฐานอื่นนำมาหักล้างก็ได้
ค. เป็นข้อสันนิษฐานโดยเฉพาะของศาล
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ (ก.)
160. ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย คือ
ก. เป็นการรับฟังการกล่าวอ้างของพยาน
ข. การรับฟังข้อเท็จจริงตามเงื่อนไข อันเกิดจากข้อเท็จจริงอีกเรื่องหนึ่ง
ค. เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงของพยาน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
161. ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันหรือถือว่ารับกัน คือ
ก. เป็นคำกล่าวอ้างของคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย
ข. เป็นคำกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดขึ้นมา และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ
ค. เป็นคำกล่าวอ้างของความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ง. เป็นคำกล่าวอ้างของพยานที่ให้การต่อศาล
ตอบ (ข.)
162. ข้อใดที่จัดว่าเป็นเอกสารมหาชน
ก. หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่
ข. พินัยกรรมที่ทำขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย
จ. ใบสุทธิ
ฉ. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ (ค.)
163. ตามปกติศาลจะไม่รับฟัง ในกรณีที่ใดที่มิใช่เป็นผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมาเบิกความในศาลแต่คำเบิกความของพยานในข้อใดต่อไปนี้ ที่ศาลจะรับฟังได้
ก. เป็นความชำนาญพิเศษเฉพาะตัว
ข. เป็นความเห็นเรื่องลายมือเขียนหนังสือ
ค. เป็นผู้รอบรู้ในด้านกฎหมาย
ง. เป็นผู้รอบรู้ในเรื่องจารีตประเพณี
ตอบ (ง.)
164. คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน จะใช้คำถามนำในการซักถาม กับถามติงไม่ได้ แต่มีข้อยกเว้นได้ในกรณีใด
ก. เมื่อศาลถามเอง ข. เมื่อพยานได้ทราบข้อที่ต้องนำสืบ
ค. เมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งยอม ง เมื่อพยานที่อ้างนั้นไม่เป็นปรปักษ์กับตน
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต มาตรา 118 วิแพ่ง กำหนดข้อยกเว้น 2 ข้อ คือ ผู้ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือศาลอนุญาต
165. ต่อไปนี้ข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภทเป็นพยานวัตถุ
ก. ร่างกายมนุษย์ ข. ใบอนุญาตขับขี่
ค. ที่ดิน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ถือเป็นพยานเอกสาร
166. คำว่า “พยาน” นั้น มีความหมายอยู่สองอย่างคือความหมายตามหลักกภาษาไทยและวามหมายตามหลักกฎหมาย ความหมายต่อไปนี้ ข้อใดที่เป็นความหมายตามหลักกฎหมายหรือภาษากฎหมาย
ก. หมายถึงพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
ข. หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อ้างเป็นพยาน
ค. หมายถึงสิ่งที่จะนำไปอ้างต่อศาลในคดีต่าง ๆ
ง. หมายถึงสิ่งซึ่งจะต้องนำมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อศาล
ตอบ (ง.)
167. คำเบิกความของผู้ชำนาญการ
ก. ศาลรับฟังลงโทษจำเลยได้ทันที
ข. ใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ๆ ลงโทษจำเลยได้
ค. ไม่น่าให้ศาลรับฟังเพราะไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ
ง . น่ารับฟังเพราะเป็นผู้มีความรู้หลาย ๆ เรื่อง
ตอบ (ข.)
ระหว่างพิจารณาคดีของศาล เกี่ยวกับพยานวัตถุนั้น
ก. ต้องให้คู่ความหรือพยานตรวจดู ข. ผู้ที่กล่าวอ้างไม่ยอมให้คู่ความตรวจดูก็ได้
ค. ศาลจะอนุญาตให้พยานตรวจดูก็ได้ ง. ศาลจะไม่อนุญาตให้พยานตรวจดูก็ได้
ตอบ (ก.)
169. การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ก. เป็นพยานที่น่าเชื่อถือเพราะพยานไม่กลัวจำเลย กล้าพูดความจริง
ข. ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เพราะขัดกับหลักกฎหมาย
ค. ศาลอนุญาตได้เสมอ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 172 วิอาญา
170. พยานไม่ต้องตอบคำถาม ในกรณี
ก. อาจจะทำให้เขาถูกฟ้องคดีอาญา ข. ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ค. ทำให้พยานเสียหาย ง. เป็นที่น่าอับอาย
ตอบ (ก.)
171. ในคดีที่มีโทษจำคุกสูงเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป
ก. ศาลต้องยึดคำรับสารภาพของจำเลยเป็นหลักวินิจฉัย
ข. ศาลต้องยึดสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นหลัก
ค. ศาลต้องยึดถือคำเบิกความของโจทก์เป็นหลัก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ง.)
172. หมายเรียกพยาน ต้องมีข้อความ
ก. ชื่อและตำบลที่อยู่ของพยาน
ข. ชื่อคู่ความ และศาล สถานที่และวันเวลาซึ่งพยานจะต้องไป
ค. กำหนดโทษที่จะต้องรับในกรณีที่ไม่ไปตามหมายเรียก
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
173. บุคคลที่เจ็บป่วย
ก. ไม่ต้องไปศาลตามหมายเรียกก็ได้ ข. ต้องไปเป็นพยานศาลให้ได้
ค. ไม่ไปศาลก็ต้องแจ้งเหตุให้ศาลทราบแล้ว และศาลอนุญาต ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 108 วิแพ่ง
174. ถ้าพยานไม่ไปศาล
ก. ศาลต้องงดการสืบพยาน
ข. ศาลต้องออกหมายจับตัวมา
ค. ศาลจะสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีไปก็ได้
ง. ศาลจะออกคำสั่งอย่างไรต้องถามโจทก์ก่อน
ตอบ (ค.)
175. ในคดีอาญา
ก. ศาลมีอำนาจเรียกพยานสืบเองได้
ข. ศาลไม่มีอำนาจเรียกพยานหลักฐานอื่นนอกกจากที่คู่ความยื่นระบุบัญชีพยานไว้
ค. ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบได้อีกหลังจากพิพากษาคดีแล้ว
ง. ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบได้ตลอดเวลา
ตอบ (ก.)
176. ในการส่งประเด็นไปสืบยังศาลอื่น
ก. จำเลยต้องไปฟังการพิจารณาด้วยเสมอ
ข. จำเลยจะสมัครใจไปฟังการพิจารณาด้วยก็ได้
ค. จำเลยไม่มีสิทธิติดตามประเด็นไป
ง. จำเลยจะต้องยื่นคำถามเป็นหนังสือ
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 230 วิอาญา
177. ผู้มีอำนาจไปเดินเผชิญสืบพยาน
ก. จ่ากอง ข. จ่าศาล
ค. เสมียนศาล ง. เจ้าพนักงานศาล
ตอบ (ข.)
178. ข้อเท็จจริงที่ว่าคู่ความรับกันหรือถือได้ว่ารับกัน คือ
ก. การรับกันหรือถือว่ารับกันในศาล ข. การรับกันนอกศาล
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
179. ในกรณีที่จำเลยอ้างว่าได้กระทำผิดจริง แต่กระทำไปเพื่อป้องกันตัวเองหรือป้องกันทรัพย์สินของตน ใน
กรณีเช่นนี้หน้าที่นำสืบตกอยู่กับ
ก. พนักงานสอบสวน ข. พนักงานอัยการ
ค. จำเลย ง. โจทก์
ตอบ (ง.)
180. “ภาระการพิสูจน์” หมายถึง
ก. หน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะพิสูจน์หาข้อเท็จจริงต่าง ๆ เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
ข. หน้าที่ของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลเพื่อให้ศาลเห็น
จริงตามที่อ้าง
ค. หน้าที่ของอัยการที่จะต้องพิสูจน์ว่าตามที่พนักงานสอบสวนดำเนินการมานนั้นมีข้อเท็จจริง
เพียงใด
ง. หน้าที่ของศาลที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้ที่กระทำความผิดนั้นได้กระทำความผิดจริงหรือไม่
ตอบ (ข.)
181. “หน้าที่นำสืบก่อน” หมายถึง
ก. หน้าที่ของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบจริง ๆ ในคดีก่อนคู่ความ
ฝ่ายหนึ่ง
ข. หน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องนำนืบในคดีก่อนที่จะส่งสำเนาไปยังอัยการ
ค. หน้าที่ของอัยการที่จะต้องนำสืบก่อนที่จะนำสำนวนคดีส่งต่อศาล
ง. หน้าที่ของศาลในการพิจารณาคดีในชั้นศาลชั้นต้น
ตอบ (ก.)
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
เหตุที่ว่า กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ศาลจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อได้ความว่า จำเลยได้กระทำผิดและมีหลักที่ว่าผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นมีหน้าที่นำสืบทั้งนี้เพราะเหตุว่าตามปกติโจทก์จะต้องกล่าวอ้างความผิดที่ได้ฟ้องพร้อมทั่งการกระทำทั้งหลายอันที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด คือ
ก. ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น
ข. บุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาคดีได้ดี
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
183. ในคดีอาญานั้น โดยหลักกแล้วโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์เสมอไปเว้นแต่
ก. จำเลยจะยกข้อต่อสู้เพื่อให้ตนได้รับการยกเว้นโทษหรือลดโทษภาระการพิสูจน์จึงจะตกอยู่กับ
จำเลย
ข. เมื่อจำเลยรับสารภาพ
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
184. กรณีที่การกระทำความผิดมีจำเลยหลายคน จำเลยบางคนเบิกความต่อศาลขออ้างตนเป็นพยานเพื่อประกอบการปฏิเสธการที่ถูกกล่าวหา ดังนี้จะกระทำได้หรือไม่
ก. จำเลยไม่สามารถจะอ้างได้ ข. ไม่มีกฎหมายบัญญัติได้โดยเฉพาะ
ค. เป็นการอ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ง. นักกฎหมายยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่
ตอบ (ค.)
185. เอกสารซึ่งโจทก์ได้อ้างเป็นพยานนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่สามทารถนำมาแสดงต่อศาลได้ กฎหมายจึงให้โจทก์ปฏิบัติดังนี้
ก. แจ้งลักษณะที่อยู่ของเอกสารเพื่อขอให้ศาลออกหมายเรียกมาส่งโจทก์
ข. ขอให้ศาลออกหมายจับผู้ยึดถือ
ค. แจ้งลักษณะและที่อยู่ของเอกสารเพื่อขอให้ศาลออกหมายจับผู้ยึดถือเอกสาร
ง. แจ้งลักษณะที่อยู่ของเอกสารเพื่อขอให้ศาลออกหมายจับผู้ยึดถือเอกสาร
ตอบ (ค)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 239 วิอาญา
186. พยานผู้ชำนาญการพิเศษ จะต้องทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลเสมอไปหรือไม่
ก. พยานผู้ชำนาญการพิเศษต้องทำเป็นหนังสือเสมอ
ข. หากไม่ทำเป็นหนังสือต้องไปเบิกความต่อศาล
ค. จะทำเป็นหนังสือต่อเมื่อศาลสั่งและต้องเบิกความประกอบความเห็น
ง. หากได้ทำความเห็นเป็นหนังสือแล้วไม่ต้องเบิกความประกอบความเห็นต่อศาลก็ได้
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต มาตรา 243 วิอาญา
187. คำเบิกความของพยานที่เคยเห็นลายมือชื่อของจำเลยเสมอมาเป็นเวลาสิบปีและจำเลยก็ได้ทำงานอยู่ใต้บังคับบัญชาของพยานด้วย ดังนี้ศาลรับฟังเป็นพยานได้หรือไม่
ก. รับฟังไม่ได้
ข. เป็นประจักษ์พยานไม่ถือว่าเป็นพยานผู้ชำนาญการพิเศษ
ค. รับฟังได้และถือเสมือนว่าเป็นพยานผู้ชำนาญการพิเศษ
ง. หากมีพยานแวดล้อมกรณีประกอบความเห็นเป็นหนังสือก็รับฟังได้
ตอบ (ค.)
188. ปกติศาลจะรับฟังพยานผู้ชำนาญการพิเศษเสมอไปหรือไม่
ก. ศาลไม่จำเป็นต้องรับฟังเสมอไปแม้เป็นพยานชั้นหนึ่ง
ข. ศาลต้องรับฟังเสมอเพราะถือว่าเป็นพยานชั้นหนึ่ง
ค. เป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับ ศาลต้องรับฟังเสมอ ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
ตอบ (ก.)
189. คำพยานผู้เชี่ยวชาญ หากเบิกความขัดกับคำประจักษ์พยานโดยตรง ศาลจะฟังคำพยานใด
ก. พยานผู้เชี่ยวชาญเพราะเป็นพยานตามหลักวิชาการ
ข. ศาลย่อมฟังคำพยานโดยยตรงยิ่งกว่าของผู้เชี่ยวชาญเพราะได้รู้เห็นมาเอง
ค. รับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญเพราะเป็นพยานชั้นหนึ่ง
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค.
ตอบ (ข.)
190. ลายมือชื่อในเอกสารไม่ตรงกับลายมือชื่ออันแท้จริงของจำเลย แต่โจทก์มีพยานเห็นจำเลยเซ็นชื่อลงในเอกสารนั้น ศาลจะฟังคำพยานใด
ก. ศาลย่อมเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเพราะเป็นพยานตามหลักวิชาการ
ข. พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานชั้นหนึ่ง
ค. ศาลย่อมเชื่อพยานโดยตรงถ้าหากว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นที่เชื่อถือได้
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
ตอบ (ค.)
191. การถามติงทั้งในคดีอาญาหรือคดีแพ่ง มีข้อห้ามกำหนดไว้ คือ
ก. ห้ามใช้คำถามนำ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอม
ข. ห้ามใช้คำถามที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ถามค้างไว้
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.) ข้อสังเกต มาตรา 118 วิแพ่ง
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลจะรับฟังได้ คือ
ก. ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตาม ป. วิ. แพ่ง ม. ๙๙ และ ม. ๑๒๙
ข. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญคือ พยานบุคคลซึ่งคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระบุว่ามาเป็นพยาน
. ค. ผู้เชำนาญพิเศษหรือบุคคลซึ่งถูกเรียกหรืออ้างเอามาเป็นพยานให้การไต่สวนมูลฟ้อง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
193. ตาม ป. วิ. แพ่งมาตรา ๔๔ บัญญัติว่า เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงหห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีใด
ก. ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
ข. ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้ว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
194. คำรับของบุคคลอื่นสามารถนำมาใช้ยันคู่ความเสมือนคำรับของคู่ความเองได้ในกรณี คือ
ก. คำรับของผู้เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายพิพาทมาก่อน
ข. คำกล่าวรับของตัวแทนซึ่งกระทำการไปในขอบอำนาจย่อมผูกพันตัวการ
ก. คำกล่าวรับของผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งกระทำไปภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นย่อม
ผูกพันนิติบุคคล
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
195. การถามค้าน หมายความว่า
ก. การถามพยานคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายที่อ้างพยานเป็นผู้ซักถาม
ข. การถามเพื่อทำลายน้ำหนักคำพยานที่ได้ตอบคำถามองคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานไปแล้ว
ค. คือการถามพยานคู่โดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานบุคคลนั้น
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ(ง.)
196. การถามติง คือ
ก. การถามพยานคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายที่อ้างพยานเป็นผู้ซักถาม
ข. การถามเพื่อทำลายน้ำหนักคำพยานที่ได้ตอบคำถามของคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นไปแล้ว
ค. คือการถามพยานคู่โดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานบุคคลนั้น
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ(ค.)
197. พยานคู่ หมายถึง
ก. พยานที่นำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ที่เห็นเหตุการณ์อันเดียวกันหรืออยู่ในที่เดียวกันในที่เกิดเหตุ
ข. พยานที่โจทก์และจำเลยอ้างรวมกัน
ค. พยานที่คู่ความอ้างเป็นพยานและคู่ความสามารถนำพยานมาสืบต่อศาลโดยความสมัครใจ
ของพยาน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ก.)
198. พยานร่วม หมายถึง
ก. พยานที่นำสืบตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ที่เห็นเหตุการณ์อันเดียวกันหรืออยู่ในที่เดียวกันในที่เกิดเหตุ
ข. พยานที่โจทก์และจำเลยอ้างร่วมกัน
ค. พยานที่คู่ความอ้างเป็นพยานและคู่ความสามารถนำสืบต่อศาลโดยความสมัครใจของพยาน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
199. พยานนำ หมายถึง
ก. พยานที่นำสืบตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปที่เห็นเหตุการณ์อันเดียวกันหรืออยู่ในที่เดียวกันในที่เกิดเหตุ
ข. พยานที่โจทก์และจำเลยอ้างร่วมกัน
ค. พยานที่คู่ความอ้างเป็นพยานและคู่ความสามารถนำสืบต่อศาลโดยความสมัครใจของพยาน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
200. พยานบุคคลซึ่งมีสิทธิไม่ต้องไปศาล เมื่อได้รับหมายเรียก
ก. พระมหากษัตริย์ ข. พระราชินี
ค. ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
201. พยานบุคคลที่ไม่ต้องสาบานและปฏิญาณตัว มีดังนี้
ก. บาทหลวงคาทอลิก ข. พราหมณ์อินเดีย ค. พระสงฆ์พม่า ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
202. นายดำ ถูกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ ในชั้นพิจารณาคดีนายดำให้การรับสารภาพต่อศาล คำรับ
สารภาพของนายดำ มีผลอย่างไรในการพิจารณาพิพากษาคดี
ก. ศาลจะพิพากษาคดีได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้
ข. ศาลต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปจนกว่าเชื่อแน่ว่ากระทำผิดจริงหรือไม่
ค. ถ้าในชั้นสอบสวนนายดำให้การปฏิเสธศาลต้องสืบพยานหลักฐาน
ง. คดีอาญาทุกคดี เมื่อจำเลยรับสารภาพในชั้นพิจารณาคดี ศาลจะพิพากษาคดีได้เลยโดยไม่ต้องสืบพยาน
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต คดีลักทรัพย์มีโทษจำคุกต่ำกว่า 5 ปี
203. นาย ก. ได้ใช้อาวุธมีดแทงที่ท้องของนาย ข. ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน นาย ค. ได้เห็นเหตุการณ์โดยยืนดูอยู่ห่างระยะประมาณ ๑๐ เมตร หลังจากที่นาย ก. แทงนาย ข. แล้ว ได้ถืออาวุธมีดที่แทงนาย ข. วิ่งผ่านหน้านาย ง. ไป โดยนาย ง. เห็นเพียงนาย ก. ถืออาวุธมีดวิ่งผ่านหน้าไปในทันทีหลังจากที่เกิดเหตุ อุทาหรณ์ดังกล่าว
ก. นาย ค. เป็นพยานโดยตรง นาย ง. เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี
ข. ทั้งนาย ค. และนาย ง. เป็นพยานโดยตรง
ค. นาย ค. เป็นประจักษ์พยาน ส่วนนาย ง. เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก
ตอบ (ก)
ข้อสังเกต พยานต้องเบิกความโดยไม่มีการจูงใจการให้คำมั่นสัญญา
การที่นาย ก. เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐบาลแห่งหนึ่ง ได้ทำการตรวจรักษาผู้บาดเจ็บจากการถูกทำร้าย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งไปให้ตรวจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสสอบสวนปปากคำนายแพททย์ผู้ตรวจไว้โดยละเอียดเรียบร้อยแล้ว
ก. ในชั้นพิจารณาของศาลนั้น นายแพทย์ ก. ไม่ต้องมาเบิกความที่ศาลก็ได้เพราะถือเอาคำให้การของ นายแพทย์ ก.
ข. นายแพทย์ ก. ต้องมาเบิกความประกอบคำให้การนั้นเพราะถือเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ
ค. คำให้การของนายแพทย์ ก. ซึ่งมาให้การในศาลนั้น ไม่ถือเป็นผู้ชำนาญการพิเศษเพราะยังไม่ได้รับการแต่งตั้งจากศาล
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก
ตอบ (ค.)
205. ในการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายนั้น ถ้าเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายนั้น ถ้าเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด คู่ความฝ่ายหนึ่งจะนำสืบ เพื่อหักล้างไม่ได้ การสังเกตดูว่าเป็นข้สันนิษฐานเด็ดขาดหรือไม่นั้นมัจะมีคำเหหล่านนี้อยู่ด้วย คือ
ก. ให้ถือว่าหรือเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ข. “ให้ถือว่า” หรือ “ต้องถือว่า”
ค. “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า” หรือ “ให้ถือว่า” หรือ “ต้องถือว่า”
ง. “ให้ถือว่า” หรือ “ต้องถือว่า” หรือ “เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า”
ตอบ(ข.)
206. ในคดีอาญาหลักในการนำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลังนั้น
ก. ในคดีอาญาโจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบก่อนเสมอ
ข. จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนได้
ค. แล้วแต่ประเด็นในการนำสืบ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ก.)
207. พยานที่ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ คือ
ก. พยานที่เกิดจากการให้คำมั่นสัญญา ข. พยานบุคคล
ค. พยานชั้นที่หนึ่ง ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต พยานต้องเบิกความโดยไม่มีการจูงใจการให้คำมั่นสัญญา
208. กรณีใดที่ถือว่าเป็นการส่งเอกสารถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ก. ส่งให้เพื่อนของพยานรับไปแล้ว ข. ส่งไปรษณีย์แล้ว
ค. ส่งเอกสารนั้นให้บุคคลใด ๆ ที่มีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งอยู่ในบ้านเรือนของพยาน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ค.)
209. พยานที่ศาลจะรับฟังต้อง
ก. มิได้เกิดจากการจูงใจ ข. มิได้เกิดขึ้นจากการหลอกลวง
ค. มิได้เกิดขึ้นจากการขู่เข็ญ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
210. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน จำเลยให้การว่าได้เอาทรัพย์นั้นไปจริง แต่โจทก์มอบให้เป็นการชำระหนี้ ถ้าท่านเป็นศาลจะถือว่า จำเลยให้การรับแค่ไหนเพียงไร
ก. ถือเป็นคำรับสารภาพเพราะการที่จำเลยให้การว่าโจทรก์มมอบทรัพย์ให้เป็นการชำระหนี้นนั้น
เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลย ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องนำพยานเข้าสืบ
ข. ถือว่าเป็นการปฏิเสธ การที่จำเลยให้การว่าโจทก์มมอบทรัพย์ให้เป็นการชำระหนี้สินนั้นเป็นการ
ปฏิเสธว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์โจทก์ โจทก์ต้องนำพยานมาสืบให้ได้ความแน่ชัดจึงลงโทษจำเลยได้
ค. ถือว่าเป็นการปฏิเสธ เพราะเป็นคำให้การที่รับข้อเท็จจริงบางส่วน ไม่สามารถจะฟังได้ว่าผู้ต้อง
หากระทำความผิดตามข้อกล่าวหาได้ โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ ให้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามฟ้อง
ง. ยังฟังเป็นคำรับไม่ได้ต้องถามใหม่จนได้ความแน่ชัดว่าจำเลยให้การอย่างใดแน่

211. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร จำเลยให้การว่า “ขอรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ไม่ขอสู้คดี” และโจทก์ไม่ขอนำสืบต่อไปให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย ถ้าท่านเป็นศาลจะแปลคำรับของจำเลยในคดีนี้อย่างไร
ก. จำเลยมิได้รับในข้อหารับของโจรซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อปรากฏโดยชัด
แจ้งในคำให้การจำเลยจะลงโทษจำเลยในข้อหาที่หนักกว่าไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดฐานลักทรัพย์
ข. จำเลยรับสารภาพทั้งสองกระทงความผิด ลงโทษจำเลยทั้งสองข้อหาเรียงกระทงความผิด
ค. คำรับของจำเลยไม่ชัดเจนพอจะชี้ขาดว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานให้ได้
ความชัดถึงการกระทำผิดของจำเลย ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
ง. อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานใด
ตอบ (ค.)
212. พยานของจำเลยที่ ๑ ซัดทอดจำเลยที่ ๒ โจทก์อ้างพยานดังกล่าว ศาลจะรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยที่ ๒ ได้หรือไม่
ก. ศาลรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยที่ ๒ ได้ ข. ศาลรับฟังเพื่อลงโทษาจำเลยที่ ๒ ไม่ได้
ค. ถ้าจำเลยที่ ๒ ไม่คัดค้านศาลก็รับฟังลงโทษจำเลยที่ ๒ ได้
ง. ศาลรับฟังได้ถ้าคดีมีอัตราโทษอย่างสูงไม่เกิน ๕ ปี
ตอบ (ข.)
213. คำให้การชั้นสอบสวนของผู้ที่ไปกระทำผิดด้วยกันซึ่งซัดทอดคนอื่นนั้น ถ้าผู้ให้การมิได้ถูฟ้อง
คำให้การนั้น
ก. ใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยที่ถูกซัดทอดได้
ข. ใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยที่ถูกซักทอดไม่ได้
ค. ถ้าผู้ให้มาให้การชั้นศาลจึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยที่ถูก
ซักทอดได้
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ง.)
214. คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยคนหนึ่งที่ให้การซัดทอดจำเลยอีกคนหนึ่งนั้น
ก. ใช้ยันได้เฉพาะผู้ให้การ ข. ใช้ยันจำเลยคนอื่นในคดีเดียวกันได้
ค. ใช้ประกอบการลงโทษจำเลยคนอื่นไม่ได้ ง. ข้อ ก. และข้อ ค. ถูก
ตอบ(ง.)
พยานบอกเล่านั้น
ก. ศาลไม่ยอมรับฟังโดยเด็ดขาดไม่ว่าในกรณีใด ๆ เพราไม่ใช่พยานที่เห็นมาเอง
ข. ในคดีแพ่งศาลรับฟังได้ ส่วนในคดีอาญาศาลไม่รับฟัง
ค. ในคดีอาญาศาลรับฟังได้ ส่วนในคดีแพ่งศาลไม่รับฟัง ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ง.)
216. คำกล่าวของเจ้ามรดกก่อนตายนั้น
ก. ในเรื่องพินัยกรรมรับฟังไได้เฉพาะเป็นเรื่องการแปลเจตนาของเจ้ามรดกในพินัยกรรมว่าเพียงใด
ก. เจ้ามรดกกล่าวก่อนตายว่าได้ยกเลิกพินัยกรรมฉบับหลังสุดแล้ว รับฟังได้เพราะเป็นความประสงค์
ผู้ตาย
ค. รับฟังได้ทั้งข้อ ก. และข้อ ข. ง. ในคดีแพ่งศาลไม่รับฟังคำกล่าวของผู้ตายไปแล้ว
ตอบ (ก)
ข้อสังเกต หลักเกณฑ์ฟังพยานชนิดนี้ 1. ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ 2. มีคำกล่าวภายหลังการทำพินัยกรรม 3. คำกล่าวทำความถึงข้อความในพินัยกรรม 4. ต้องปรากฏเมื่อเกิดคดีว่า พินัยกรรมนั้นไม่อาจนำมาเป็นพยานได้
217. คำบอกเล่าที่เป็นคำรับของจำเลยในคดีนั้นมีผลเพียงใด
ก. คำบอกเล่าที่เป็นคำรับของจำเลยในคดีอาญานั้น โจทก์นำมากล่าวอ้างได้
ข. คำบอกกเล่าที่เป็นคำรับของจำเลยในคดีอาญานั้น จำเลยนำมากล่าวอ้างได้
ค. คำบอกเล่าที่เป็นคำรับของจำเลยในคดีอาญานั้น ทั้งโจทก์และจำเลยนำมากล่าวอ้างได้
ง. คำบอกเล่าเป็นคำรับของจำเลย ใช้ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น จะนำมาใช้กับคดีอาญาไม่ได้
ตอบ(ค.)
218. คำเบิกความของพยานที่ได้รับคำบอกเล่าจากผู้ที่กระทำผิดร่วมกับจำเลย ซัดทอดถึงจำเลยนั้น
ก. ใช้ยันลงโทษจำเลยได้
ข. ใช้ยังลงโทษจำเลยได้เฉพาะกรณีที่ศาลเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อโจทก์
ค. ใช้ยันลงโทษจำเลยไม่ได้
ง. ใช้ยันลงโทษจำเลยได้หรือไม่แล้วแต่ดุลพินิจของศาล
ตอบ(ค.)
219. น.ส. สวย และนายจน ถูกนายหล่อ ฟ้องฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายหล่อต่อมานายหล่อสงสาร น.ส.สวย จึงถอนฟ้อง น.ส. สวย และขอให้ น.ส. สวย เป็นพยานในคดดีที่ฟ้องนายจน ฐานลักทรัพย์ ดังนี้
ก. นายหล่อ อ้าง น.ส. สวย เป็นพยานได้
ข. นายหล่อ อ้าง น.ส. เป็นพยานได้ต่อเมื่อศาลอนุญาต
ค. นายหล่อ อ้าง น.ส. สวย เป็นพยานไม่ได้ ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
ตอบ(ก.)
220. คำซัดทอดของจำเลยในคดีอาญานั้น ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยในคดีเดียวกันได้หรือไม่
ก. ได้เสมอ ข. ได้ถ้าจำเลยคนที่ถูกซัดทอดยินยอม
ค. ได้เฉพาะคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงกว่า ๓ ปี ง. ไม่ได้
ตอบ (ง.)
221. ในคดีแพ่งถ้าจะอ้างพยานเอกสารผู้ครอบครองต้องส่งนำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและแก่ศาล
ก. ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๓ วัน ข. ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ค. หลังวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๓ วัน ง. หลังวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก
ข้อสังเกต หลักการ หากเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเป็นตาม ม.88 วิแพ่ง และ การยื่นสำเนาเอกสารตาม 90 วิแพ่ง ซึ่งจะต้องพิจารณาว่ามีการชี้สองสถานหรือไม่
222. กฎหมายยอมให้สืบพยานเพิ่มเติมได้ หมายถึง
ก. พยานบุคคล ข. พยานเอกสาร
ค. พยานวัตถุ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
223. วันสืบพยานเป็นวันที่ ๑๐ การยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องยื่นอย่างช้า
ก. วันที่ ๕ ข. วันที่ ๖ ค. วันที่ ๗ ง. วันที่ ๘
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก
ข้อสังเกต หลักการเช่นเดียวกับข้อ 221
224. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
ก. คำรับสารภาพของผู้ต้องหาาต่อพนักงานสอบสวนนั้นศาลรับฟังแต่เพียงเป็นพพยานประกอบ
คดีเท่านั้น
ข. แม้พยานหลักฐานโจทก์ไม่มี มีแต่เพียงคำรับสารภาพของผู้ต้องหา ศาลก็ลงโทษได้
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต ถือว่าเป็นพยานบอกเล่าแต่ศาลรับฟังได้ ศาลถือเป็นบรรทัดฐานเสมอว่าคำให้การขั้นสอบสวนของผู้ต้องหาเท่านั้นจะลงโทษจำเลยไม่ได้ โจทก์จะต้องสืบพยานอื่นประกอบ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 43/121, 1116/131 และ 140/2463 แก่หากมีพนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบ ด้วยลงโทษจำเลยได้ ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 480/2496
225. ในคดีอาญาถ้าจำเลยรับสารภาพตามฟ้องแล้ว
ก. ศาลต้องสืบพยานประกอบทุกคดี
ข. ศาลไม่ต้องสั่งให้สืบพยานประกอบพิพากษาไปได้เลยทุกคดี
ค. เป็นดุพินิจของศาลในทุกคดีว่าจะสั่งให้สืบพยานประกอบหรือไม่ก็ได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต ต้องเป็นตามหลักมาตรา 176 วิอาญา
226. ต่อไปนี้ข้อใดที่ต้องนำพยานมาสืบให้ศาลรับฟัง
ก. ประเพณีท้องถิ่นที่ไม่แพร่หลาย ข. ตราของกระทรวงมหาดไทยมีรูปร่างอย่างไร
ค. ปัจจุบันใครเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ก.)
227. นาย ก ถูก นาย ข. ใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย แล้วนาย ข. ได้วิ่งหลบหนีไป ขณะเกิดเหตุนาย ค. เห็นเหตุการณ์โดยตลอด นาย ง. เห็นเหตุการณ์ขณะที่นาย ข. ถือปืนวิ่งหนีออกมาจากกที่เกิดเหตุทั้งนาย ค. และนาย ง. ได้เล่าเหตุการณ์ที่พบเห็นให้นาย จ.ฟัง ดังนี้ นาย ค. นาย ง. และนาย จ. เป็นพยานประเภทใด
ก. นาย ค. เป็นประจักษ์พยาน นาย ง. เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี นาย จ. เป็นพยานบอกเล่าที่ศาลรับฟัง
ข. นาย ค. และนาย ง. เป็นประจักษ์พยาน นาย จ. เป็นพยานบอกเล่าที่ศาลรับฟัง
ค. นาย ค. และนาย ง. เป็นประจักษ์พยาน นาย จ. เป็นพยานบอกเล่าที่ศาลไม่รับฟัง
ง. นาย ค. เป็นประจักษ์พยาน นาย ง. เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี นาย จ. เป็นพยานบอกเล่าที่ศาลไม่รับฟัง
ตอบ(ง.)
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้