ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ล่าสุด
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ล่าสุด

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ  ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

ว่าด้วยพนักงานราชการ  พ.ศ. ๒๕๔๘

1. ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหมายถึงหน่วยงานใด

ก.  สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา                                      ข.  สำนักงานกฎหมายและระเบียบส่วนราชการ

ค.  สำนักงานส่วนราชการฝ่ายรัฐสภา                            ง.  สำนักงานกฎหมายส่วนราชการ

ตอบ       ก.  สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

                ข้อ ๓   ในระเบียบนี้

ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หมายความว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา หรือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หมายความว่า เลขาธิการวุฒิสภา หรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างพนักงานราชการ

พนักงานราชการ หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น

สัญญาจ้าง หมายความว่า สัญญาจ้างพนักงานราชการตามระเบียบนี้

2. หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหมายถึงหน่วยงานใด

ก.  หัวหน้าพนักงานราชการ                                            ข.  เลขาธิการวุฒิสภา

ค.  เลขาคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา               ง.  เลขาคณะกรรมการฝ่ายรัฐสภา

ตอบ       ข.  เลขาธิการวุฒิสภา

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

3. “ก.ร.”  ย่อมาจากข้อใดต่อไปนี้

ก.  คณะกรรมการฝ่ายรัฐสภา                                           ข.  คณะกรรมการข้าราชการ

ค.  คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา                        ง.  คณะกรรมการรักษาการ

ตอบ       ค.  คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

                คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  มีชื่อย่อว่า  ก.ร.

4. คุณสมบัติของผู้ซึ่งจะได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการคือข้อใด

ก.  มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี                                             ข.  มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี

ข.  มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบสามปี                                           ง.  มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี

ตอบ       ก.  มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี

                ข้อ ๘   ผู้ซึ่งจะได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการ  ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี

(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

(๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

(๖) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เพราะกระทำความผิดอาญาเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๗) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

(๘) ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือส่วนราชการอื่น พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนท้องถิ่น

(๙) ) คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดไว้ในประกาศการสรรหาหรือการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปเพื่อความจำเป็นหรือเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น

ความใน (๑) ไม่ให้ใช้บังคับกับพนักงานราชการชาวต่างประเทศซึ่งส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจำเป็นต้องจ้างตามข้อผูกพันหรือตามความจำเป็นของภารกิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

ในกรณีที่เห็นสมควร ก.ร. อาจประกาศกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามเพิ่มขึ้นหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในการจ้างพนักงานราชการเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการกำหนดให้มีพนักงานราชการตามระเบียบนี้

5. คุณสมบัติข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของพนักงานราชการ

ก.  มีสัญชาติไทย                                                                ข.  อายุต่ำกว่าสิบแปดปี

ค.  ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย                                               ง.  ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตอบ       ข.  อายุต่ำกว่าสิบแปดปี

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

6. ระเบียบฉบับนี้ประกาศไว้ ณ วันที่เท่าใด

ก.  วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘                              ข.  วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘

ค.  วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘                                                ง.  วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘

ตอบ       ค.  วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

7. ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันคือใคร

ก.  นายโภคิน  พลบุตร                                                      ข.  นายโภคิน  พลกุล

ค.  นายภาคิน  พลบุตร                                                      ง.  นายภาคิน  พลกุล

ตอบ       ข.  นายโภคิน  พลกุล

8. ในระหว่างสัญญาจ้าง  พนักงานราชการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากการปฏิบัติงานให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อบุคคลใด

ก.  ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา                                           ข.  ประธานรัฐสภา

ค.  คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา                        ง.  หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

ตอบ       ง.  หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

                ข้อ ๒๙  ในระหว่างสัญญาจ้าง  พนักงานราชการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากการปฏิบัติงานให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด

9. การกระทำความผิดในข้อใดถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

ก.   กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

ข.   จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ค.  ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ง.   ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

ตอบ       ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข.  และ  ค.

                ข้อ ๒๔  การกระทำความผิดดังต่อไปนี้  ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(๑) กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

(๒) จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดให้ปฏิบัติจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๓) ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๔) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา หรือขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตาม ข้อ ๒๒ จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๕) ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๖) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวัน สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดวันเวลาการมาทำงาน

(๗) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานจนทำให้งานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดการทำงานตามเป้าหมาย

(๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดอาญาโดยมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือหนักกว่าโทษจำคุก

(๙) ดูหมิ่น เหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง

(๑๐) การกระทำอื่นใดที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
แนวข้อสอบ  ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาของไทย
แนวข้อสอบระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ 2548
แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน  การเมืองเศรษฐกิจและ สังคม
การสอบสัมภาษณ์
แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เลือกตามตำแหน่งที่สอบ
  • พนักงานบริการ
  • พนักงานพัสดุ,
  • พนักงานเรียงพิมพ์,
  • เจ้าหน้าที่ด้านการเงินและ สวัสดิการ,
  • พนักงานสนับสนุนการประชุม,
  • ช่างภาพ,
  • พนักงานซ่อมบำรุง(ช่าง ไฟฟ้า,อิเล็กทรอนิกส์,โยธา)
  • ผู้สื่อข่าว,นักสื่อสารมวลชน,นักวิชาการผลิตสื่อ โสตทัศน์,
  • นักวิชาการจัดการระบบข้อมูล,
  • นักวิชาการด้านการเงินและสวัสดิการ, 
  • นักเอกสารสนเทศ,นักจดหมายเหตุ,
  • นักวิชาการสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร,
  • นักวิชาการสนับสนุนงานด้านกฎหมาย,
  • นักวิชาการสนับสนุนงานนิติบัญญัติ ด้านกฎหมาย,
  • นักวิชาการสนับสนุนงานนิติบัญญัติด้านวิชาการ
สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 399- 

หนังสือ+ MP3  ราคา 679  บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ  เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย 
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี 
เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่ 
decho.by@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

๒๑. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.. ๒๕๔๑ ในการ

นับคะแนนเลือกตั้ง หากพบว่ามีบัตรเสีย คณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจะต้องทำการสลักหลังในบัตรว่า เสียและลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน

. หนึ่งคน

. สองคน

. สามคน

. สี่คน

ตอบ ข้อ ค

๒๒. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ ง พ.. ๒๕๔๑ เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินสอบบัญชี ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้วให้ทำรายงานเสนอผลการสอบ บัญชีต่อองค์กรใด โดยไม่ชักช้า

. สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

. วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี

. รัฐสภา และคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตแห่งชาติ

. รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี

ตอบ ข้อ ง

๒๓. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.. ๒๕๔๑ ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ

. คณะกรรมการประจำที่ออกเสียงแต่ละแห่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน

. “ที่ออกเสียงหมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้มีการลงคะแนน

ออกเสียงประชามติ

. บัตรออกเสียงประชามติที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนในทางใด

ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย

. เมื่อปิดการออกเสียงประชามติแล้ว การนับคะแนนต้องกระทำ ณ ที่

ที่คณะกรรมการประจำที่ออกเสียงกำหนดให้เป็นที่นับคะแนน

ตอบ ข้อ ง

๒๔. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของร ัฐสภา พ.. ๒๕๔๒ ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง

. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี

. ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจำนวนไม่เกิน ๓ คน

. การร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องทำเป็น

หนังสือการร้องเรียนด้วยวาจาต้องทำตามระเบียบที่ผู้ตรวจการ

แผ่นดินของรัฐสภากำหนด

. ให้ประธานรัฐสภานำรายชื่อผู้ได้รับความเห็นชอบให้สมควรเป็น

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจากวุฒิสภาขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อ

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

ตอบ ข้อ ง

๒๕. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.. ๒๕๔๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมายกั นเอง ต่อมาได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในการเข้าชื่อเสนอกฎห มายเรียบร้อยแล้วและประธานรัฐสภาได้จัดให้มีการปิดประกาศรายชื่ อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ หากนาย ก.พบว่าตนมิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับนั้น นาย ก. จะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อประธานรัฐสภาหรือบุคคลที่ประธานรัฐส ภาแต่งตั้ง เพื่อให้ขีดฆ่าชื่อตนเองออกจากบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหม ายภายในกี่วัน นับแต่วันปิดประกาศ

. ๑๕ วัน ข. ๒๐ วัน

. ๓๐ วัน ง. ๔๕ วัน

ตอบ ข้อ ข

๒๖. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.. ๒๕๔๒ ในกรณีที่มีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งดำเนิน การกันเอง
ไม่ถึงห้าหมื่นคนหรือมีผู้คัดค้านการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จนทำให้มีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายรวมกันไม่ถึงห้าหมื่นคน ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพิ่มเติม ให้ครบห้าหมื่นคน
ภายในเวลากี่วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานรัฐสภา

. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน

. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน

ตอบ ข้อ ข

๒๗. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.. ๒๕๔๑ เมื่อ นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศการจัดทำประชามติเพื่อประกาศในราชกิจจ านุเบกษาแล้ว องค์กรใดมีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ

. รัฐสภา

. คณะรัฐมนตรี

. คณะกรรมการการเลือกตั้ง

. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ ข้อ ค

๒๘. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
.. ๒๕๔๒ ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

. นายกรัฐมนตรี

. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

. ประธานรัฐสภา

. ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ตอบ ข้อ ค

๒๙. ร่างพระราชบัญญัติใดที่เสนอโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห ้าหมื่นคน ซึ่งรัฐสภาชุดที่แล้วยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบและคณะรัฐมนตรีชุด ปัจจุบันได้ร้องขอให้พิจารณาต่อไป โดยรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย

. ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.. ….

. ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.. ….

. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) .. ….

. ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.. ….

ตอบ ข้อ ข

๓๐. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีคนแรก คือใคร

. นางแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ

. นางอรพิน ไชยกาล

. นางยุพา อุดมศักดิ์

. คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์

ตอบ ข้อ ข

๓๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด ที่กำหนดให้วุฒิสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติได้

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

ตอบ ข้อ ก

๓๒. บุคคลใดต่อไปนี้ เป็นประธานคณะกรรมการประสานงาน

สภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน (วิปรัฐบาล)

. นายเสนาะ เทียนทอง

. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา

. นายสุธรรม แสงประทุม

. นายพายัพ ชินวัตร

ตอบ ข้อ ข

๓๓. รัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใด ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการ

การเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘

. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

ตอบ ข้อ ค

๓๔. ในปี พ.. ๒๕๓๗ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ทำหน้าที่ศึกษาแนวทางใน
การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) คือใคร และ
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในขณะนั้น คือใคร

. นายชุมพล ศิลปอาชา, นายมารุต บุนนาค

. นายชุมพล ศิลปอาชา, นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

. นายแพทย์ประเวศ วะสี, นายมารุต บุนนาค

. นายแพทย์ประเวศ วะสี, นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

ตอบ ข้อ ค

๓๕. บุคคลใดต่อไปนี้ มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน

. พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ

. นายสมชาย สุนทรวัฒน์

. นายอดิศัย โพธารามิก

. นายอนุทิน ชาญวีรกุล

ตอบ ข้อ ค

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อมูลการเตรียมตัวสอบของรัฐสภา...โพสไว้เมื่อเดือนเมษาฯที่ผ่านมา

1. เรื่องข้อสอบภาค ก. รัฐสภา 200 คะแนน
- ข้อสอบแบบเลือกตอบ 50 ข้อ เป็นข้อสอบรวมๆ เน้นรัฐธรรมนูญ 50 (60%) + ที่เหลือเป็น ข้อบังคับ + พรบ.รัฐสภา + กฎ ก.ร. ข้อละ 2 คะแนน รวม 100 คะแนน
- วิชาภาษาไทยค่ะ
ข้อสอบเลือกตอบ 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ให้อ่านหนังสือชื่อ " ภาษาไทย สอบบรรจุ" ของ สนพ. Hi-Ed
ข้อสอบเรียงความ (เขียนเรื่องทั่วไป เช่น ประชาธิปไตย, การชุมนุมสาธารณะ ,ความสมานฉันท์) 50 คะแนนค่ะ หรือให้ย่อความค่ะ
- การสอบภาค ก. ต้องได้ร้อยละ 60 จึงผ่าน ทั้งระดับ 1 - 3 เป็นข้อสอบเหมือนๆ กัน แต่ระดับ 3 จะยากส์และมีประเด็นมากกว่า

2. ข้อสอบ ภาค ข. สำหรับนิติกร 3 เป็นข้อสอบเขียนตอบ น่าจะมี 6 ข้อ เลือกทำ 4 ข้อ (สัดส่วนคะแนนไม่แน่ใจ แต่จะมีข้อนึงคะแนนมากสุด) ควรเน้นเรื่อง
1. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (จำ รธน.มาตรา 291)
2. การตราพระราชบัญญัติ 138 -141
3. การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 142-153
4. การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ 265 - 269
5. หนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ม. 190
- เรื่องกฎหมายมหาชน คืออะไร มีอะไรบ้างเป็นกฎหมายมหาชน ให้อธิบาย + แตกต่างจากกฎหมายเอกชนอย่างไร ประมาณนี้ค่ะ
6. ป.พ.พ. 420 ละเมิด หลัก + พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ฟ้องหน่วยงานของรัฐ เน้นมาตราหลักๆ)
7. ป.อาญา ถามว่าลักทรัพย์หรือยักยอก + ผู้กระทำเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผิดฐานใดบ้าง เช่น เจ้าหน้าที่ขับรถราชการ ดูดน้ำมันไปขาย ผิดอะไร
ดูความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตาม ป.อ. เน้นมาตรา หลักๆ
8. กฎหมายปกครอง เรื่อง คำสั่งทางปกครอง และสัญญาทางปกครอง คือต้องรู้นิยาม และวินิจฉัยได้ว่าเป็นหรือไม่เป็น ?
9. อำนาจหน้าที่ของ ส.ส. + ส.ว. อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
10. ประเด็นเรื่องการชุมนุมสาธารณะ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การยุบสภา แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ ก็ควรศึกษา+ เตรียมความคิดเห็นไว้บ้าง เพราะหากทำข้อที่เป็นหลักกฎหมายไม่ได้ ก็อาจต้องเลือกทำข้อที่แสดงความเห็น
เรื่องอื่นๆ ก็อ่านรัฐธรรมนูญ 50 น่ะค่ะ ออกสอบ 100% เน้นๆ ทุกประเด็น

และ

1. วันแรก สอบภาค ก. โดย ภาค ก. ของรัฐสภา คือ
- รัฐธรรมนูญ 2550 +
- ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551
- ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551
- พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
- พรบ.จัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
- กฎ ก.ร. หลายฉบับ (จะพยายามรวบรวมข้อมูล มาให้)

ส่วนแรกก็ถามเรื่องทั่วไป ซึ่งเป็นข้อกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญฯ 50 มีกี่หมวด กี่มาตรา ... ข้อใดไม่ใช่สิทธิ/เสรีภาพ/หน้าที่ตามรัฐ ให้อ่านธรรมนูญฯ ทั้งเล่ม แล้วจับประเด็น **เน้น หมวด 6 รัฐสภา** (พอดีตอนนี้ ไม่มี รธน. อยู่ใกล้มือซะด้วย เดี๋ยวว่างๆ จะทำสรุปย่อมาให้)

เป็นข้อสอบปรนัย (กา/เลือกตอบ ก ข ค ง)
เช่น มี 75 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวมเป็น 150 คะแนน

- ย่อความ (มีบทความให้อ่าน ให้ย่อความเหลือ 1 หน้า) หรือ ให้เขียนเรียงความ 1 ข้อ (เช่น ให้แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยหรือำม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) อีก 50 คะแนน

(คะแนนรวม ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เช่น ต้องได้ 120 จาก 200 คะแนน)

ซึ่งถ้าท่าน สอบภาค ก. ไม่ผ่าน จะไม่มีสิทธิสอบภาค ข.
คือ สอบภาค ก. เสร็จแล้ว ก็จะตรวจ + ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ข.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ 

การเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ 

สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับ 

แต่งตั้งภายในกี่วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก 

และต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่าเท่าใด 

ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร 

๑๕ วันหนึ่งในสาม 

๓๐ วันหนึ่งในห้า 

๔๕ วันหนึ่งในสาม 

๖๐ วันหนึ่งในห้า 

ตอบ ข้อ ข 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ข้อใด 

ต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง 

ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ 

แต่งตั้งประธานองคมนตรี 

ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม 

ราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 

ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ 

แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 

ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ 

แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 

ตอบ ข้อ ค 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สมัย 

ประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลา ๑๒๐ วันแต่ 

พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายเวลาออกไป 

ก็ได้ ส่วนการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา ๑๒๐ วัน 

จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบตาม ข้อใดดังต่อไปนี้ 

คณะรัฐมนตรี 

นายกรัฐมนตรี 

รัฐสภา 

ประธานรัฐสภา 

ตอบ ข้อ ค 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในระหว่าง 

สมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือ 

เงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ 

ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตรา...……….…………………..ให้ใช้ 

บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ และต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร 

ภายใน …….………วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

พระราชกำหนด๓ วัน 

พระราชกำหนด๗ วัน 

พระราชกฤษฎีกา๓ วัน 

พระราชกฤษฎีกา๗ วัน 

ตอบ ข้อ ก 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ 

ตำแหน่งใดต่อไปนี้ ก่อนเข้ารับหน้าที่ต้องปฏิญาณตนใน 

ที่ประชุมรัฐสภา 

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 

องคมนตรี 

รัฐมนตรี 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ตอบ ข้อ ก 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ผู้ที่ 

เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง 

เป็นสมาชิกวุฒิสภา ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

มาแล้วเป็นเวลาเท่าใด นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง 

ไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน 

ไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน 

ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี 

เกินกว่าหนึ่งปื 

ตอบ ข้อ ง 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในการ 

เสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 

ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องมากที่สุด 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ต้องให้นายกรัฐมนตรี 

รับรองเสียก่อน 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ต้องมีสมาชิก 

สภาผู้แทนราษฎรพรรคเดียวกันไม่น้อยกว่ายี่สิบคนรับรอง 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ 

เกี่ยวด้วยการเงินได้เมื่อพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ผู้นั้นสังกัดมีมติให้เสนอได้ และต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ไม่น้อยกว่ายี่สิบคนรับรอง 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ในพรรคเดียวกันเท่านั้นจำนวนยี่สิบคนขึ้นไปเป็นผู้ร่วมเสนอ 

ตอบ ข้อ ค 

คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. …. ต่อ 

สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประธานสภาผู้แทนราษฎรได้วินิจฉัย 

ว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็กตามรัฐธร รมนูญ 

แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๙๐ ต่อมา
สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการ และให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 

พิจารณาจำนวน ๓๕ คน คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะนี้ จะต้องประกอบ 

ด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับเด็กมีจำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน 

๘ คน 

๙ คน 

๑๑ คน 

๑๒ คน 

ตอบ ข้อ ง 

ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.๒๕๔๔ ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ 

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้า ชื่อเสนอกฎหมาย 

ของสภาผู้แทนราษฎร 

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ให้ตัวแทนของผู้เข้าชื่อเสนอ 

กฎหมายเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อที่ประชุม 

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น คณะรัฐมนตรีจะขอรับ 

ร่างพระราชบัญญัตินั้นไปพิจารณาก่อนที่สภาจะลงมติรับหลักการไม่ ได้ 

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น สภาจะให้คณะกรรมาธิการ 

พิจารณาก่อนที่สภาจะลงมติรับหลักการไม่ได้ 

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าสภามีมติรับหลักการให้ตั้ง 

คณะกรรมาธิการวิสามัญโดยมีตัวแทนของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายนั้น 

เป็นกรรมาธิการด้วย ตามจำนวนที่ประธานเห็นสมควร 

ตอบ ข้อ ก 

๑๐ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.๒๕๔๔ เมื่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ได้มีมติเห็นชอบด้วยกับรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิก ารของรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ และ ประธานรัฐสภาได้ส่งรายงานพร้อมข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีเมื่อว ันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ถามว่าคณะรัฐมนตรีต้องแจ้งถึงการได้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้ อสังเกตนั้น เพื่อให้ประธานรัฐสภาทราบและแจ้งต่อที่ประชุมเมื่อพ้นกำหนดระยะ เวลากี่วันและนับแต่เมื่อใด 

กี่วันก็ได้ เพราะมิได้มีการกำหนดไว้ตามข้อบังคับการประชุม 

รัฐสภา พ.๒๕๔๔ 

๖๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ 

๖๐ วัน นับแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ 

๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ 

ตอบ ข้อ ง 

๑๑ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.๒๕๔๔ เมื่อได้เลือกประธาน 

วุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาแล้ว บุคคลใดต่อไปนี้จะเป็นผู้แจ้งไปยัง 

นายกรัฐมนตรีเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรง 

แต่งตั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา 

เลขาธิการสำนักพระราชวัง 

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 

เลขาธิการวุฒิสภา 

ตอบ ข้อ ง 

๑๒ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการจัดลำดับระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาที่ถูกต้อง ตามข้อบังคับ 

การประชุมรัฐสภา พ.๒๕๔๔ 

เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม / รับรองรายงานการประชุม /

เรื่องที่ค้างพิจารณา / เรื่องที่เสนอใหม่ / เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณา 

เสร็จแล้ว / เรื่องอื่น ๆ 

เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม / รับรองรายงานการประชุม /

เรื่องที่เสนอใหม่ / เรื่องที่ค้างพิจารณา / เรื่องอื่น ๆ 

เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม / รับรองรายงานการประชุม /

เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว / เรื่องที่ค้างพิจารณา /

เรื่องที่เสนอใหม่ / เรื่องอื่น ๆ 

เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม / รับรองรายงานการประชุม /

เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว / เรื่องที่เสนอใหม่ /

เรื่องที่ค้างพิจารณา / เรื่องอื่น ๆ 

ตอบ ข้อ ค 

๑๓ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.๒๕๔๔ ในหมวด 

กระทู้ถามข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง 

การบรรจุกระทู้ถามให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ 

สภาผู้แทนราษฎร 

การบรรจุกระทู้ถามด่วนให้เป็นไปตามมติของที่ประชุม 

ให้จัดกระทู้ถามสดก่อนและตามด้วยกระทู้ถามทั่วไป 

ให้จัดกระทู้ถามทั่วไปก่อนและตามด้วยกระทู้ถามสด 

ตอบ ข้อ ค 

๑๔ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.๒๕๔๔ ข้อใด 

เป็นลักษณะต้องห้ามของกระทู้ถาม 

เป็นการให้ออกความเห็น 

เป็นปัญหาเร่งด่วน 

เป็นปัญหาข้อเท็จจริง 

เป็นปัญหาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ราชการ 

ตอบ ข้อ ก 

๑๕ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

และกรรมาธิการ พ.๒๕๔๒ จะใช้บังคับกับบุคคลใดต่อไปนี้ 

ประธานสภาผู้แทนราษฎร 

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 

กรรมาธิการวิสามัญที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งขึ้นจากบุคคล 

ที่มิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ถูกทุกข้อ 

ตอบ ข้อ ง 

๑๖ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.๒๕๔๔ ในการประชุมวุฒิสภา 

หากสมาชิกวุฒิสภาประสงค์จะประท้วง กรณีที่เห็นว่า มีการฝ่าฝืน 

ข้อบังคับการประชุม จะต้องปฏิบัติอย่างไร 

ให้ยืนขึ้น เมื่อประธานอนุญาตแล้ว ให้ชี้แจงเหตุผลของการประท้วง 

ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว ให้ชี้แจงเหตุผลของ 

การประท้วง 

ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว ให้ชี้แจง 

เหตุผลของการประท้วง 

ให้ยืนขึ้นพร้อมกับเดินมาที่หน้าบัลลังก์ เพื่อกล่าวแสดงตน และชี้แจง 

เหตุผลของการประท้วง 

ตอบ ข้อ ค 

๑๗ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 

.๒๕๔๑ในการรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ ให้พรรคการเมืองที่จะรวมกันนั้น จะต้องขอความเห็นชอบจาก………..

คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองของแต่ละพรรคการเมือง 

ที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมือง 

หัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละพรรคการเมือง 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง 

ตอบ ข้อ ข 

๑๘ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 

.๒๕๔๑ ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการเลิกและยุบพรรคการเมือง 

มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึงสิบห้าคน 

มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง 

มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น 

มีคำสั่งศาลฎีกายุบพรรคการเมือง 

ตอบ ข้อ ง 

๑๙ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.๒๕๔๑ บุคคล 

ในข้อใดต่อไปนี้ที่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ 

นายภุมเรศ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุ ๒๐ ปี ปัจจุบันบวชเป็นภิกษุ 

โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี 

นางแว่นแก้ว มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ โดยได้สัญชาติไทย 

มาแล้ว ๖ ปี อายุ ๒๕ ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต 

นายนครา มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ โดยได้สัญชาติไทยมาแล้ว 

๕ ปี อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ปัจจุบันเป็นคนขายต้นไม้ที่ตลาดนัดจตุจักร 

นางสาวชิดชนก มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุ ๒๑ ปี ปัจจุบันเป็นบุคคล 

ล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี 

ตอบ ข้อ ง 

๒๐ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก 

สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.๒๕๔๑ ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประ กาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครรับ เลือกตั้งผู้นั้นยื่นคำร้องต่อ…………….…ภายใน……....วัน นับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 

ศาลชั้นต้น๑๐ วัน 

ศาลปกครองสูงสุด๗ วัน 

ศาลฎีกา๗ วัน 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง๑๐ วัน 

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้