ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบ รวมชุดที่ 4 (ธุรการ รวม ภาวะผู้นำ)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบ รวมชุดที่ 4 (ธุรการ รวม ภาวะผู้นำ)

แชร์กระทู้นี้

ข้อสอบ รวมชุดที่ 4 (ธุรการ รวม ภาวะผู้นำ)
1. ข้อใดถือเป็น องค์ประชุมของ ก.ต.ช.
ก. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ข. ต้องมีกรรมการมาประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ค. ต้องมีกรรมการมาประชุมตั้งแต่หกคนขึ้นไป
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.
2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
ค. สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
3. คณะกรรมการ ก.ต.ช. มีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท
4. บุคคลใด ไม่ใช่ คณะกรรมการ ก.ต.ช. โดยตำแหน่ง
ก. นายอารีย์ วงศ์อารยะ
ข. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ค. พล.ท.
ศิรพงศ์ บุญพัฒน์
ง. นายประกิจ ประจนปัจจนึก
5. ชั้นข้าราชการตำรวจมีกี่ชั้น
ก. 2 ชั้น ข. 3 ชั้น ค. 4 ชั้น ง. 5 ชั้น
6. ข้อใด เขียนถูกต้อง
ก. จ.ส.ต.(ญ)
ข. จ.ส.ต.(หญิง)
ค. จ.ส.ต.หญิง
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
7. ผู้ใด ไม่ใช่ กรรมการข้าราชการตำรวจ โดยตำแหน่ง
ก. เลขาธิการ ก.พ.
ข. เลขาธิการ ก.พ.ร.
ค. จเรตำรวจ
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ข้อ ค.
8. กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑) และผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ได้ร่วมกันสรรหากรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข) โดยสรรหาได้ ร.ต.อ.แดงฯ อายุ 64 ปี อดีตข้าราชการตำรวจซึ่งลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนามาได้ 12 ปี ขอทราบว่า การสรรหา ร.ต.อ.แดงฯ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก. ชอบ
ข. ชอบ ถ้าเป็นมติสองในสาม
ค. ไม่ชอบ
ง. ไม่ชอบ เพราะต้องเป็นข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไป
9. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ใดสามารถเป็นกรรมการใน ก.ต.ช. ในขณะเดียวกันได้
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค. เลขาธิการ ก.พ.
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
10. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ในการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐(๒) (ก)
ก. ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ ขึ้นไปเป็นผู้เลือก
ข. ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ขึ้นไปเป็นผู้เลือก
ค. ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าผู้กำกับการขึ้นไปเป็นผู้เลือก
ง. ถูกทุกข้อ
ตั้งแต่ข้อ 11 ถึง 14 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วน ใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง
11. เลขที่หนังสือออก
12. คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ
13. ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
14. ด่วนมาก
15. การร่างหนังสือคืออะไร
ก.การพิมพ์หรือเขียนอย่างย่อๆ
ข.การกำหนดโครงร่างหนังสืออย่างคร่าวๆ
ค.การเขียนหนังสือด้วยลายมือของตนเอง
ง.การเรียบเรียงชั้นต้นตามเรื่องที่ต้องการติดต่อ
16. เหตุใดจึงต้องให้มีการร่างหนังสือก่อนพิมพ์
ก.ต้องการให้เจ้าของเรื่องได้เห็นต้นร่างก่อน
ข.ต้องการดูว่าใจความจะยาวหรือสั้นเพียงใด
ค.ต้องการให้ผู้ร่างหนังสือมีงานทำและร่างหนังสือด้วยความระมัด ระวัง
ง.ต้องการให้มีการตรวจแก้ให้เหมาะสมตามระเบียบแบบแผนก่อน
17. ในสำเนาคู่ฉบับควรมีลายมือชื่อบุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ใดที่ไม่จำเป็นต้องมี
ก.ผู้ร่าง ข.ผู้พิมพ์ ค.ผู้สั่งพิมพ์ ง.ผู้ตรวจ-ทาน

18. การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
ก.ที่มุมบนขวา
ข.ที่มุมบนซ้าย
ค.ที่มุมล่างซ้าย
ง.ที่มุมล่างขวา
19. โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน
ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน
ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน**
20. ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง
21. อายุการเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.5 ปี ข.10 ปี ค.15 ปี ง.ไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้
22. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแหงชาติ
23. คณะกรรมการทำลายหนังสือจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใดขึ้นไป
ก.ระดับ 2 ข.ระดับ 3 ค.ระดับ 4 ง.ระดับใดก็ได้
24. ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ ผู้ใด
ก.ปลัดจังหวัด
ข.อธิบดี
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด
25. ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ ่มีความสูงเท่าไร
ก. 2.5 ซม. ข. 3.0 ซม. ค. 3.5 ซม. ง. 4.0 ซม.
26. เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำ
ก. รายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ข. ข้อมูลการปฏิบัติราชการ
ค. รายงานผลการปฏิบัติงาน
ง. ถูกทุกข้อ
27. เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทำได้ต่อเมื่อ
ก. ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการนั้น
ข. ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีต้นสังกัด
ค. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ง. ได้รับอนุมัติจาก ก.พ.ร.
28. การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็น
ก. วาจา
ข. ลายลักษณ์อักษร
ค. ทั้งวาจาและลายลักษณ์อักษร
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก.และ ข้อ ข.
29. ในกรณีมีความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งราชการโดย
ก. วาจา
ข. ลายลักษณ์อักษร
ค. ทั้งวาจาและลายลักษณ์อักษร
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก.และ ข้อ ข.
30. ในกรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรี
ก. ให้ขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ
ข. ให้งบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
ค. จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบ
ง. ถูกทุกข้อ
31. นอกจากส่วนราชการต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้แล้ว กฎหมายยังกำหนดให้หน่วยใดจัดทำหลักเกณฑ์อีก
ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข. องค์การมหาชน
ค. รัฐวิสาหกิจ
ง. ถูกทุกข้อ
32. ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก. ก.พ.ร. กำหนด
ข. สำนักงบประมาณกำหนด
ค. ส.ตง.กำหนด
ง. กรมบัญชีกลางกำหนด
33. ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น ตามระยะเวลาที่กำหนด และรายงานให้
ก. ก.พ.ร.
ข. สำนักงบประมาณ
ค. กรมบัญชีกลาง
ง. ถูกทุกข้อ
34. ในกระทรวงมหาดไทย ผู้ใดมีหน้าที่รับผิดชอบจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ก. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. อธิบดีกรมการปกครอง
ค. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. ปลัดประทรวงมหาดไทย
35. การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในระดับจังหวัด เป็นหน้าที่ของผู้ใด
ก. อักษรเลขจังหวัด
ข. ปลัดจังหวัด
ค. สำนักงานจังหวัด
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด

เฉลยธุรการ ชุดที่ 4
1. ง 2. ค 3. ก 4. ค 5. ข
6. ค 7. ง 8. ก 9. ง 10. ง
11. ก 12. ง 13. ค 14. ข 15. ง
16. ง 17. ค 18. ก 19. ง 20. ก
21. ข 22. ง 23. ข 24. ง 25. ข
26. ก 27. ค 28. ข 29. ก 30. ค
31. ง 32. ง 33. ง 34. ง 35. ง
ข้อสอบ รวมชุดที่ 3 (ธุรการ) มีแนว ภาวะผู้นำ
1. “ประธานกรรมการ” หมายความว่า
ก. ประธาน ก.ตร.
ข. ประธาน ก.ตช.
ค. ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ง. ประธาน ตร.
2. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหมายถึงผู้ใด
ก. รอง ผบ.ตร.
ข. จเรตำรวจแห่งชาติ
ค. ผู้ช่วย ผบ.ตร.
ง. ถูกทุกข้อ
3. ข้อใด เป็น คุณสมบัติ ของคณะกรรมการ ก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ
ก. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
ข. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นที่ปรึกษาของข้าราชการการเมืองหรือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
ค. เลขาธิการพรรคไทยรักไทย
ง. ถูกทุกข้อ
4. การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดย
ก. ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. ประกาศพระบรมราชโองการ
ง. ประกาศราชกิจจานุเบกษา
5. ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจจำนวนห้าคน ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้ว
ก. ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ข. ไม่น้อยกว่าสองปี
ค. เกินหนึ่งปี ง. เกินสองปี
6. เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้ ก.ตร. ออกกฎ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับเมื่อ
ก. พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. พ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. พ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. นับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข) มีวิธีการคัดเลือกอย่างไร
ก. ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑)เป็นผู้เลือก และให้เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) .
ข. ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑) และผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ค. ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)เป็นผู้เลือก และให้เสนอขอความเห็นชอบจาก กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑).
ง. ถูกทุกข้อ
8. “กองทุน” หมายความว่า
ก. กองทุนเพื่อการสืบสวนคดีอาญา
ข. กองทุนเพื่อการสอบสวนคดีอาญา
ค. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
ง. กองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนและป้องกันปราบปรามคดีอาญา
9. กรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช. จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวันหยุดราชการตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้หรือไม่
ก. ได้ แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ข. ได้ ไม่ต้องขออนุมัติผู้ใด
ค. ไม่ได้ เพราะขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีที่ทุกส่วนราชการต้องถือปฏิบัติตาม
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
10. บุคคลใด ไม่ใช่ คณะกรรมการ ก.ต.ช. โดยตำแหน่ง
ก. นายจรัญ ภักดีธนากุล
ข. นายพงศ์โพยม วาศภูติ
ค. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
ง. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส
11. งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร
ก.ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว
ข.ประหยัดแรงงานและเวลา
ค.ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง
ง.ถูกทุกข้อ
12. หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ
ง.ปฏิบัติโดยเร็วที่สุด
13. ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ
ก.สำเนาต้นฉบับ
ข.สำเนาคู่ฉบับ
ค.สำเนาซ้ำฉบับ
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.
14. หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายนอก
ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือประทับตรา
ง.หนังสือประชาสัมพันธ์
15. ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย
16. หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
ก.แบบฟอร์ม ข.การเก็บหนังสือ
ค.ผู้ส่งและผู้รับ ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง
17. ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน
ก.หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง
ข.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง
ค.หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน
ง.ไม่มีข้อถูก
18. หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด
ก.ใช้กระดาษตราครุฑ
ข.ใช้กระดาษบันทึก
ค.ใช้ประดาษอัดสำเนา
ง.ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน
19. วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
ก.ใต้รูปครุฑ
ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก
ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้
ง .ผิดทุกข้อ
20. หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด
ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน
ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา
ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ
21. รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน
ข.หนังสือสั่งการ
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์
ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
22. หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด
ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา
23. การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรอง ที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ
ก.ระดับ 2 ข.ระดับ 3 ค.ระดับ 4 ง.ระดับ 5
24. การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ
ก.ริมกระดาษด้านบนขวา
ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย
ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย
ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด
25. การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน
ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา
ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ง.ตรงไหนก็ได้
26. ข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามความหมายของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึงข้อใด
ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข. กองทัพบก
ค. กระทรวงมหาดไทย
ง. กรุงเทพมหานคร
27. ผู้รักษาการตามกฎหมายนี้ คือ
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ประธาน คมช.
ค. รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกฯมอบหมาย
ง. เลขาธิการ ก.พ.ร.
28. ข้อใดถือว่าเป็นเป้าหมายของการบริหารราชการตามกฎหมายนี้
ก. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
ข. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
ง. ถูกทุกข้อ
29. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่า
ก. ประชาชนสำคัญที่สุด
ข. ระบบการบริหารสำคัญที่สุด
ค. นโยบายรัฐบาลสำคัญที่สุด
ง. ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ
30. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ
ก. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
ข. การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและ
งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของ
ภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
ค. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติราชการตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
ง. ถูกทุกข้อ
31. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้หน่วยงานใด ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ก. สภาพัฒน์ฯ ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ
32. การเสนอแผนการบริหารตามข้อที่แล้ว ต้องเสนอภายในกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 60 วัน
ค. 90 วัน ง. แล้วแต่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด
33. หน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำนิติบัญญัติ
ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ข. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ค. ก.พ.ร. ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
34. ส่วนราชการใดที่จะต้องจัดทำแผนรองรับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข. กองทัพบก
ค. กระทรวงมหาดไทย ง. ถูกทุกข้อ
35. แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องเสนอ
ก. หัวหน้าส่วนราชการนั้นให้ความเห็นชอบ
ข. รัฐมนตรีต้นสังกัดให้ความเห็นชอบ
ค. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
ง. ก.พ.ร.ให้ความเห็นชอบ

เฉลยธุรการ ชุดที่ 3
1. ค 2. ง 3. ง 4. ค 5. ค
6. ค 7. ข 8. ค 9. ข 10. ค
11. ง 12. ข 13. ข 14. ก 15. ง
16. ก 17. ง 18. ก 19. ข 20. ง
21. ง 22. ค 23. ก 24. ค 25. ค
26. ง 27. ก 28. ง 29. ง 30. ง
31. ง 32. ค 33. ง 34. ง 35. ข

 ข้อสอบ รวมชุดที่ 2 (ธุรการ)
1. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ 2547 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน
ง. วันที่ 14 เม.ย.2547
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่กี่ประการ
ก. 6 ประการ ข. 7 ประการ ค. 8 ประการ ง. 9 ประการ
3. การแบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ ของกองบังคับการ และ กองกำกับการ ให้ทำเป็น
ก. พระราชกำหนด
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
4. การประกาศรายชื่อ คณะกรรมการ ก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องประการใน
ก. พระราชกำหนด
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
5. ข้อใดถือเป็น องค์ประชุมของ ก.ต.ช.
ก. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ข. ต้องมีกรรมการมาประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ค. ต้องมีกรรมการมาประชุมตั้งแต่หกคนขึ้นไป
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.
6. ร.ต.อ.อ่อนฯ กระทำความผิดร้ายแรง จำเป็นจะต้องถูกถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ขอทราบว่าต้องกระทำอย่างใด
ก. การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ข. การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรี และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ค. การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตาม กฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ง. การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตามกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศราชกิจจานุเบกษา
7. ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาใด ที่ไม่ใช่คุณสมบัติจะเป็น ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทไม่เป็นข้าราชการตำรวจ
ก. เศรษฐศาสตร์
ข. รัฐประศาสนศาสตร์
ค. อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
ง. วิทยาศาสตร์
8. ในกรณีที่ ก.ตร. พิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีมติสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติการให้ถูกต้องเหมาะสม ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว ให้ ก.ตร.ดำเนินการอย่างไร
ก. รายงานต่อ ผบ.ตร.เพื่อพิจารณาและสั่งการแก้ไขภายใน 15 วัน หาก ผบ.ตร.ไม่แก้ไขให้รายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
ข. รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
ค. รายงานต่อ ก.ต.ช.เพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
ง. รายงานต่อ ก.ต.ช.เพื่อให้นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
9. การเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ผู้ใดมีหน้าที่รับสมัครบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ประธาน ก.ตร.
ค. ผบ.ตร.
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
10. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีใดเมื่อได้รับการคัดเลือก แล้วต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ก. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)
ข. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข)
ค. กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑)
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
11. ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ เมื่อใด
ก.1 มิถุนายน 2516
ข.1 มิถุนายน 2526
ค.1 ตุลาคม 2526
ง.1 ธันวาคม 2527
12. หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน
ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
13. แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
ก.ประทับตรา ข.สั่งการ
ค.ประชาสัมพันธ์ ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น
14. หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป
ข.หัวหน้าแผนก
ค.หัวหน้าฝ่าย
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย
15. หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
ก.ด้านบนขวา ข.ด้านล่างซ้าย
ค.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด ง.ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด
16. ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม
ข.บอกเรื่องที่จะประชุม
ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
17. การร่างหนังสือราชการต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง เรื่องใดต่อไปนี้จำเป็นน้อยมาก
ก.แบบฟอร์ม
ข.ใจความ
ค.วรรคตอน
ง.ตัวสะกดการันต์
18. การเสนอหนังสือคืออะไร
ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ
ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
19. ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
ก.ทะเบียนรับ
ข.ทะเบียนจ่าย
ค.ทะเบียนส่ง
ง.ทะเบียนเก็บ
20. หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
ก.หนังสือภายนอก
ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือสั่งการ
ง.หนังสือประทับตรา
21. หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในแง่ใด
ก.คำขึ้นต้น ข.คำลงท้าย
ค.การลงชื่อ ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.
22. การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
ก.เรียน ข.กราบเรียน
ค.ถึง ง.นมัสการ
23. ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก.เดินทาง ข.ฟังเทศน์
ค.ทำบุญ ง.ไปวัด
24. การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ ข.ประจำแผนก
ค.หัวหน้าแผนก ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย
25. หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปี พ.ศ.
ก. พ.ศ.2526 ข. พ.ศ.2536
ค. พ.ศ.2546 ง. พ.ศ.2516
26. การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและ
ปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ คือ
ก. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ข. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์ของสังคม
ค. การบริหารราชการเพื่อประชาชน
ง. ถูกทุกข้อ
27. หนังสือราชการคืออะไร
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย
ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ
ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ
ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ
28. แผนการบริหารตามข้อที่แล้ว เป็นแผน
ก. 2 ปี ข. 4 ปี
ค. 8 ปี ง. แล้วแต่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด
29. การจัดทำรายงานตามข้อที่แล้ว เสนอต่อ
ก. หัวหน้าส่วนราชการนั้น ข. รัฐมนตรีต้นสังกัด
ค. คณะรัฐมนตรี ง. ก.พ.ร.
30. ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการ
อื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ
อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายใน
ก. 10 วัน ข. 15 วัน
ค. 30 วัน ง. 60 วัน
31. ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน
ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำ.......เปิดเผยไว้ ณ ที่ทำการของส่วนราชการและในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ
ส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดู
ก. แผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลา ข. แผนภูมิการดำเนินการ
ค. แผนภูมิรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ง. ถูกทุกข้อ
32. การปฏิบัติราชการในเรื่องใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่อง
ก. เปิดเผย ข. เรื่องลับ
ค. ปกติ ง. ถูกทุกข้อ

33. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตามภารกิจ โดยยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ข. ข้าราชการต้องรับฟังความคิดเห็นและบริการให้ประชาชนพึงพอใจ
ค. การดำเนินการที่กระทบต่อประชาชนส่วนราชการต้องจัดทำประชาพิจารณ์
ง. ถูกทุกข้อ
34. การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในเรื่องใด สมควร
ที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ต้องเป็นไปตาม
ก. นายกรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
ข. คณะฐัมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
ค. รัฐสภากำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
ง. ถูกทุกข้อ
35. หน่วยงานใด มีอำนาจเสนอมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ ต่อคณะรับฒนตรี
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. ก.พ.ร.
ค. กระทรวง ทบวง กรม ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยธุรการ ชุดที่ 2
1. ก 2. ข 3. ค 4. ก 5. ง
6.ก 7. ง 8. ข 9. ง 10. ง
11. ข 12. ง 13. ค 14. ง 15. ค
16. ก 17. ก 18. ง 19. ข 20. ง
21. ง 22. ง 23. ค 24. ง 25. ค
26. ก 27. ข 28. ข 29. ค 30. ข
31. ง 32. ก 33. ง 34. ข 35. ข
36. ข 37. ข 38. ก 39. ข 40. ง
41. ก 42. ค 43. ง 44. ก 45. ง
46. ข 47. ง 48. ก 49. ข 50. ค

ข้อสอบ รวมชุดที่ 1 (ธุรการ)
1. การออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นอำนาจของ
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง. คณะรัฐมนตรี
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการออกเป็นกี่ส่วน
ก. 2 ส่วน ข. 3 ส่วน ค. 4 ส่วน ง. 5 ส่วน
3. “ก.ต.ช.” เป็นคำย่อของ
ก. คณะกรรมการเชิงนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ค. คณะกรรมการนโยบายและแผนตำรวจแห่งชาติ
ง. คณะกรรมการนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4. ข้อใด เป็นอำนาจของ ก.ต.ช.
ก. คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้นไป
ค. คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจขึ้นไป
ง. คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บังคับการตำรวจขึ้นไป
5. ยศตำรวจมีกี่ยศ
ก. 12 ยศ ข. 13 ยศ ค. 14 ยศ ง. 15 ยศ
6. การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน เป็นอำนาจของผู้ใด
ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. ผู้บังคับบัญชาระดับผู้บัญชาการขึ้นไปซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค. ผู้บังคับการขึ้นไป เฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
7. ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ แบ่งออกกี่ประเภท มีจำนวนเท่าใด
ก. 2 ประเภท คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
ข. 2 ประเภท คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
ค. 2 ประเภท คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
ง. 2 ประเภท คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
8. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.ตร. ในการออกกฎ ก.ตร.
ก. กำกับดูแล ตรวจสอบ และแนะนำ เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ข. รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อเราลอื่นสำหรับข้าราชการตำรวจให้เหมาะสม
ค. กำหนดชั้นยศที่ควรบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับสำหรับวุฒิปริญญาหรือประกาศนียบัตรต่างๆ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
9. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ ผู้ใดเป็นผู้วินิจฉัย
ก. ก.ตร. ข. ก.ต.ช. ค. นายกรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ
10. เมื่อได้รายชื่อผู้สมัครตามข้อ 57 แล้ว ให้จัดส่งบัญชีรายชื่อบุคคลดังกล่าวโดยเรียงลำดับตามตัวอักษรไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๕ (๑) ก่อนวันเลือกเป็นระยะเวลา
ก. ไม่น้อยกว่าสิบวัน
ข. ไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
ค. ไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน
ง. ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่วัน
11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ
ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร
12. ลักษณะในข้อใดที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ
ก.มีความรู้ภาษาไทย
ข.มีความสุขุม ละเอียด รอบคอบ
ค.ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. ประกอบกัน
13. หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา
ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 14 ถึง 17
ก.แถลงการณ์ ข.ข้อบังคับ ค.คำสั่ง ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.
14. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย ข
15. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน ก
16. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย ค
17. บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน ง
18. หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ
ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติหลักฐาน
ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน
19. การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
ก.5 ปี ข.10 ปี ค.15 ปี ง.20 ปี
20. ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี
ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
ค.การท้าวความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.
21. การเสนอหนังสือที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร
ก.ต้องเสนอเรื่องที่ไม่มีปัญหาก่อนเสมอ
ข.ต้องเสนอเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ
ค.ต้องแยกเรื่องเสนอเป็นประเภทๆ ไป
ง.ต้องเรียงลำดับเรื่องเสนอก่อน-หลัง ตามวัน เดือน ปี ที่ได้รับ
22. การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ
ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ
ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
23. ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง
ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก
ง.กระทรวง กรม กอง แผนก
24. ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
ก.แดง ข.ดำ ค.น้ำเงิน ง.เขียว
25. ถ้าอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำงานแทนเมื่อลงนามในหนังสือจะต้องใช้คำว่าอย่างไร
ก.ใช้ตำแหน่งของผู้ทำงานแทน
ข.ทำงานแทน
ค.รักษาราชการแทน
ง.ปฏิบัติราชการแทน
26. ผู้นำ คือ
ก. ผู้ที่ไม่ได้รับมอบอำนาจทางสายงาน แต่มีอำนาจโดยวิธีอื่น
ข. ผู้ที่มีตำแหน่งที่กำหนดขึ้นในองค์การ มีอำนาจโดยตำแหน่ง
ค. ผู้ที่มียศ และตำแหน่งที่ชัดเจน
ง. ถูกทุกข้อ
27. ภาวะผู้นำในปี ค.ศ. 1930- 1940 มาจากแนวคิดทฤษฎีใด
ก. ทฤษฎีการนำของเทพ (God Theory of Lleadership)
ข. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
ค. ทฤษฎีมหาบุรุษ (Greatman Theory of Lleadership)
ง. ทฤษฎีอัตถนิยม (Autocratic Theories Leaders)
28. แนวคิดหลักของทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories) เป็นอย่างไร
ก. ให้มองในสิ่งที่ผู้นำปฏิบัติ
ข. ชี้ให้เห็นว่าทั้งผู้นำและผู้ตามต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
ค. ผู้นำต้องมีตำแหน่งและอำนาจ
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

29. การบังคับบัญชาแบบขู่เข็ญมากกว่าการชมเชย เป็นลักษณะของผู้นำประเภทใด
ก. แบบใช้อำนาจ (Explortive – Authoritative)
ข. แบบใช้อำนาจเชิงเมตตา (Benevolent – Authoritative)
ค. แบบปรึกษาหารือ (Consultative – Democratic)
ง. แบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Participative – Democratic)
30. ความแตกต่างระหว่างผู้นำ กับ ผู้บริหาร คือ
ก. ตำแหน่ง
ข. ที่มาของอำนาจหน้าที่
ค.บทบาท
ง. ถูกทุกข้อ
31. ทฤษฎีมหาบุรุษ (Greatman Theory of Lleadership) เป็นของประเทศใด
ก. กรีก ข. โรมันโบราณ ค. อียิปต์ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
32. ผู้นำในยุคของทฤษฎีมหาบุรุษ (Greatman Theory of Lleadership) ได้แก่
ก. พระเจ้านโปเลียน ฮิตเลอร์
ข. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ค. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช
ง. ถูกทุกข้อ
33. Likert’s Michigan Studies แบ่งลักษณะผู้นำเป็นกี่แบบ
ก. 2 แบบ ข. 3 แบบ ค. 4 แบบ ง. 5 แบบ
34. การบริหารแบบไหน ที่ Likert พบว่า จะทำให้ผู้นำประสบผลสำเร็จและเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และยังพบว่าผลผลิตสูงขึ้นด้วย ซึ่งความสำเร็จขึ้นกับการมีส่วนร่วมมากน้อยของผู้ใต้บังคับบัญชา
ก. แบบใช้อำนาจ (Explortive – Authoritative)
ข. แบบใช้อำนาจเชิงเมตตา (Benevolent – Authoritative)
ค. แบบปรึกษาหารือ (Consultative – Democratic)
ง. แบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Participative – Democratic)
35. Blake and Mouton’s managerial Grid กำหนดปัจจัยการมีภาวะผู้นำที่ดีมีกี่ปัจจัย อะไรบ้าง
ก. 2 ปัจจัย คือ คน (People) และเงิน (Anoey)
ข. 2 ปัจจัย คือ คน (People) และผลผลิต (Product)
ค. 2 ปัจจัย คือ เงิน (Anoey) และผลผลิต (Product)
ง. 2 ปัจจัย คือ คน (People) และกระบวนการ (Process)
36. ตามข้อ 33 มีอะไรบ้าง
ก. แบบใช้อำนาจ (Explortive – Authoritative) และ แบบใช้อำนาจเชิงเมตตา (Benevolent – Authoritative)
ข. แบบปรึกษาหารือ (Consultative – Democratic) และ แบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Participative – Democratic)
ค. แบบใช้อำนาจ (Explortive – Authoritative) , แบบใช้อำนาจเชิงเมตตา (Benevolent – Authoritative) และ แบบปรึกษาหารือ (Consultative – Democratic)
ง. แบบใช้อำนาจ (Explortive – Authoritative) ,แบบใช้อำนาจเชิงเมตตา (Benevolent – Authoritative) แบบปรึกษาหารือ (Consultative – Democratic) และ แบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Participative – Democratic)
37. Leadership หมายถึง ผู้ใด
ก. ผู้บริหาร ข. ผู้นำ ค. ผู้นำมาบริหาร ง. ถูกทุกข้อ
38. ทฤษฎีมหาบุรุษ (Greatman Theory of Lleadership) มีความเชื่อว่า
ก. ภาวะผู้นำเกิดขึ้นโดยการยกย่องของประชาชน
ข. ภาวะผู้นำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือโดยกำเนิด (Born leader) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แต่สามารถพัฒนาขึ้นได้
ค. ภาวะผู้นำเกิดขึ้นตามคำสั่งของเทพเจ้า (God leader) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ง. ภาวะผู้นำเกิดขึ้นตามสถานการณ์ ( Case leader) และสามารถเปลี่ยนแปลงได้
39. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories) เกิดขึ้นในปีใด
ก. ค.ศ.1940 – 1960
ข. ค.ศ.1960 – 1980
ค. ค.ศ.1980 – 1990
ง. ค.ศ.2000 – 2005
40. ลักษณะผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงตามทฤษฎีมหาบุรุษ (Greatman Theory of Lleadership)จะประกอบด้วย
ก. ความเฉลียวฉลาด
ข. บุคลิกภาพซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้นำ
ค. ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถด้วย
ง. ถูกทุกข้อ
41. หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตราเป็น
ก. พระราชบัญญัติ
ข. พระราชกำหนด
ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. กฎกระทรวง
42. ข้อใดถือว่าเป็นเป้าหมายของการบริหารราชการตามกฎหมายนี้
ก. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ง. ถูกทุกข้อ
43. การเสนอมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ ต่อคณะรับฒนตรี ต้องทำเป็น
ก. ลายลักษณ์อักษร
ข. วาจา
ค. โดยวิธีอื่นใด
ง. ถูกทุกข้อ
44. แผนการบริหารตามส่วนราชการ เป็นแผน
ก. 2 ปี
ข. 4 ปี
ค. 8 ปี
ง. แล้วแต่นโยบายที่ส่วนราชการกำหนด
45. เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่
ก. นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ
ข. ตามที่ เลขาธิการ ก.พ.ร.แจ้งมา
ค. ตามที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งมา
ง. สรุปทันที โดยไม่รอสั่งการ
46. เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ให้หน่วยงานใดจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก
ก. สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข. สำนักงบประมาณ
ค. กรมบัญชีกลาง
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
47. ความคุ้มค่าตามข้อที่แล้ว หมายถึง
ก. ประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม
ข. ประโยชน์หรือผลเสียอื่นๆ
ค. ประโยชน์หรือผลเสียซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ง. ถูกทุกข้อ
48. เพื่อประโยชน์ในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน หน่วยงานใดที่สามารถเสนอหลักเกณฑ์ และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
ก. ก.พ.ร.
ข. สำนักงบประมาณ
ค. กรมบัญชีกลาง
ง. ถูกทุกข้อ
49. ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนะต่อส่วนราชการให้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น แต่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วย กับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อหน่วยงานเป็นผู้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. เลขาธิการ กพ.
ค. เลขาธิการ ก.พ.ร.
ง. ถูกทุกข้อ
50. เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ หรือสามารถดำเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรี
ก. ให้ขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ
ข. ให้งบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
ค. จัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย
1.ก / 2.ก / 3.ข / 4.ก / 5.ค /6.ง / 7.ข / 8.ง / 9 ก /10. ข
11 ค / 12ง / 13 ง / 14.ข /15 ก /16 ค/ 17 ง /18 ค /19 ข/ 20ง
21 ค / 22.ก/ 23ง / 24ก / 25ค / 26ก /27 ค /28ง / 29ก / 30ก
31ง / 32ง / 33 ค / 34ง / 35ข / 36ง / 37ข / 38ข / 39ก / 40ง
41ค / 42ง / 43 ง / 44ข / 45ก / 46ง / 47ง / 48ก /49ก /50ค
testthau1 จัดให้

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
oishizero ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ทำไมเฉลยธุรการ ชุดที่ 2 มี50ข้อละคับ  ขอคุณคับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้