ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบครู การบริหารบ้านเมืองที่ดี
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบครู การบริหารบ้านเมืองที่ดี

แชร์กระทู้นี้

หมวด 1     การบริหารบ้านเมืองที่ดี
 
มาตรา 6   พระราชกฤษฎีกา มีเป้าหมาย ดังนี้
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
 7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
 
หมวด  2   การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อเกิดความผาสุขและความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวมตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
 
มาตรา 8   กำหนดให้มีแนวทางบริหารราชการ ดังนี้
1) กำหนดภารกิจของส่วนราชการต้องทำไปเพื่อความผาสุขของประชาชนและ
    สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ และแนวนโยบายของรัฐบาล
2)  ต้องปฏิบัติไปโดยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้
3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ต้องศึกษาวิเคราะห์ผลดี และผลเสียให้ครบถ้วน
   ด้วยความโปร่งใส ภารกิจใดมีผลกระทบต่อประชาชน ตั้งรับฟังความคิดเห็นของ
   ประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับ
4) เป็นหน้าที่ต้องรับฟังความคิดเห็น ความพึงพอใจของสังคม และประชาชน
    ที่ได้รับบริการเพื่อนำมาปรับปรุงเสนอแนะผู้มีอำนาจปรับปรุงให้เหมาะสม
5) พบปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ ให้รีบแก้ไขปัญหาอุปสรรคโดยเร็ว หากพบว่า
    ปัญหาอุปสรรคเกิดจากส่วนราชการ ระเบียบ ข้อบังคับ รีบแจ้งให้ส่วนราชการเกี่ยวข้อง
    ทราบเพื่อปรับปรุงโดยเร็ว และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
 
หมวด 3   การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
มาตรา 9   เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังนี้
1) ก่อนดำเนินการ ต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
2) ในแผนปฏิบัติราชการ ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณ
    ที่ต้องใช้เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ
3) ต้องจัดให้มีการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ
4) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ต้องรีบแก้ไขหรือ
    บรรเทาหรือเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
 
มาตรา 10   ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด แนวปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการบูรณาการพร้อมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
 
มาตรา 11   การพัฒนาความรู้ในส่วนราชการ ที่มีลักษณะเป็นองค์แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และเปลี่ยนทัศนคติ ให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน
 
มาตรา 16   ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผน 4 ปี สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน
แต่ละปีงบประมาณให้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้รายจ่ายเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการ
 
หมวด 4   การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
 
มาตรา 20   ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการและงบประมาณที่จะต้องใช้ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบ
 
มาตรา 23   การจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม พิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคาและประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุต้องคำนึงถึงคุณภาพ การดูแลรักษาเป็นสำคัญ ให้สามารถทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
 
มาตรา 24   ภารกิจใด หากจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น
ให้ส่วนราชการนั้นแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
 
มาตรา 25   ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ให้ตั้งคณะกรรมการ หากผู้แทนส่วนราชการนั้นมีความ
คิดเห็นแตกต่างกันให้บันทึกความเห็นของฝ่ายน้อยให้ปรากฏในเรื่องนั้น ห้ามมิให้ใช้บังคับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
 
มาตรา 25   ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ให้ตั้งคณะกรรมการ หากผู้แทนส่วนราชการนั้นมีความ
คิดเห็นแตกต่างกันให้บันทึกความเห็นของฝ่ายน้อยให้ปรากฏในเรื่องนั้น ห้ามมิให้ใช้บังคับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
 
มาตรา 26   การสั่งราชการให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นไม่อาจ สั่งได้ ให้ผู้รับคำสั่งบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อปฏิบัติแล้วให้บันทึกรายงานอ้างคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
 
หมวด 5   การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
 
มาตรา 27   ให้กระจายอำนาจการบริหารตัดสินใจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ
โดยตรง ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการบริการประชาชน
ลดขั้นตอน กลั่นกรองงาน หากใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย
 
มาตรา 28   ให้ส่วนราชการจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการเพื่อให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
 
มาตรา 30   ให้มีศูนย์บริการประชาชนรวมทั้งประจำจังหวัด อำเภอ
 
หมวด 6   การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
มาตรา 33   ส่วนราชการต้องจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตน มีความจำเป็นหรือสมควร
ดำเนินการต่อไป โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบาย คำสั่ง
งบประมาณ ความคุ้มค่าของภารกิจ ทั้งนี้ ก.พ.ร.จะกำหนดหากมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงต้องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
 
มาตรา 36   ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศ ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ให้แนะนำส่วนราชการนั้นดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
 
หมวด 7   การอำนวยความสะดวกและการสนองความต้องการของประชาชน
 
มาตรา 37   ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้องตรวจสอบให้การปฏิบัติงานแล้วเสร็จตามกำหนดไว้
 
มาตรา 38   เมื่อส่วนราชการได้รับติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือส่วนราชการด้วยกัน ต้องตอบคำถามหรือแจ้งดำเนินการให้ทราบภายใน 15 วัน หรือตามกำหนดไว้ในมาตรา 37
 
มาตรา 39   ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน สามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น
 
มาตรา 41   เมื่อได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ พบปัญหาอุปสรรค ปัญหาจากบุคคล เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นต้องพิจารณาดำเนินการปรับปรุง แล้วแจ้งให้บุคคลที่ร้องเรียนทราบด้วยหากสามารถติดต่อได้ หรือแจ้งผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ
 
มาตรา 44   ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อ/จัดจ้าง และสัญญาใดที่มีการอนุมัติให้จัดซื้อ/จัดจ้าง ให้ประชาชนสามารถขอดู /ตรวจสอบได้ ณ ที่ทำการหรือระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งนี้ต้องไม่เกิดความได้ เปรียบเสียเปรียบแก่บุคคลเกี่ยวข้อง หรือกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อห้าม/ตกลงไว้ในสัญญาต้องได้รับความคุ้มครอง
 
หมวด 8   การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
 
มาตรา 45   ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ
 
มาตรา 46   จัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้ ต้องกระทำเป็นความลับและเป็นประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
 
มาตรา 47   การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลให้คำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานผู้นั้นสังกัดปฏิบัติงาน
 
มาตรา 48   ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งความพึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบ หรือนำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน
 
มาตรา 49   ส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์ โดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าภารกิจ สามารถลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร.กำหนด ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรี จัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น
 
หลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีชื่อย่อ
 ก.   ก.พ.                               ข.  ก.พ.ร.               
ค. กพ. รร.                                ง.  ก.ร.ร.                 
จ. ไม่มีข้อใดถูก
2. ก.พ.ร. ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่เกิน
ก.  11  คน                                ข.  12  คน              
ค.  13  คน                                ง .  14  คน              
จ.  15  คน
3. สำนักงาน ก.พ.ร. ในปัจจุบันมีฐานะอย่างไร
      ก. ไม่เป็นส่วนราชการ ไม่มีฐานะเป็นกรม
      ข. ไม่เป็นส่วนราชการ แต่มีฐานะเทียบเท่ากรม
      ค. เป็นส่วนราชการอิสระ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม
      ง. เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานะเป็นกรม
      จ. เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม
4. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
   ก. เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ การพัฒนาระบบราชการ
      ข. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม
      ค. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการ
          ที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
      ง. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
      จ. เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบ การพิจารณา
5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ
ก.  2  ปี                    ข.  3  ปี                   
ค.  4  ปี                    ง.  5  ปี                   
จ.   6  ปี
6 .เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็น
      ก. ข้าราชการการเมือง
      ข. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
      ค. ข้าราชการวิสามัญ
      ง. พนักงานราชการ
      จ. พนักงานของรัฐ
7. ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ
      บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการ
      บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยต้องคำนึงถึง
      ก. ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน
      ข. การมีส่วนร่วมของประชาชน
      ค. การเปิดเผยข้อมูล
      ง.  การติตามตรวจสอบและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน
      จ. ถูกทุกข้อ
8. ข้อใดถูกต้อง
            ก. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2545
      ข. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
      ค. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2545
      ง. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
      จ. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสร้างหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
9. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกา
      ก. ประชาชนได้รับความอำนวยสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
      ข. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
      ค. การบริการประชาชนด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์
      ง. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
      จ. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
10. การดำเนินการโดยถือว่า ?ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะได้รับการบริการจากรัฐ? อยู่ในหลักการบริหาร
      กิจการบ้านเมืองที่ดี ข้อใด
      ก. ประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
      ข. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
      ค. การบริการประชาชนด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์
      ง. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
      จ. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
11. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงบประมาณจะต้องร่วมกันจัดทำแผน
      การบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน
ก.  30  วัน                                ข.  45  วัน              
ค.  60  วัน                                ง.  90  วัน               
จ.  120  วัน
12. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ทำแผนนิติบัญญัติ
      ก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
      ข. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
      ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
      ง. ถูกทั้งข้อ ก.  และ ข.
   จ. ถูกทั้งข้อ ก.  ข.  และ  ค.
13. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดทำเป็นแผน
ก.  1  ปี                                    ข.  2  ปี                   
ค.  3  ปี                                    ง.  4  ปี                   
จ.  5  ปี
14. ให้ส่วนราชการจัดทำ...................... ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
      ก. แผนการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการ
      ข. แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
      ค.แผนปฏิบัติราชการเพื่อของบประมาณ
      ง .แผนพัฒนาการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
      จ. ไม่มีข้อใดถูก
15. สาระสำคัญในแผนปฏิบัติราชการประจำปี คือ
      ก. นโยบายการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการ
      ข. เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
      ค. ประมาณการรายได้และรายจ่าย
      ง. ทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้
      จ. ถูกทุกข้อ
16. หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ ?บัญชีต้นทุน? ในงานบริการสาธารณะ
      ก. กรมบัญชีกลาง
      ข. สำนักงบประมาณ
      ค. กระทรวงการคลัง
      ง. ธนาคารแห่งประเทศไทย
      จ. สำนักงาน ก.พ.ร.
17. ใครบ้างที่ต้องดำเนินการเรื่อง ศูนย์บริการร่วม
      ก. ปลัดกระทวง
      ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
      ค. นายอำเภอ
      ง. ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
      จ. ถูกทุกข้อ
18. สิ่งใดบ้างที่ส่วนราชการต้องทำและเปิดเผยให้ประชาชนทราบ
      ก. แผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ
      ข. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน
      ค. ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ รายจ่ายแต่ละปี
      ง. เป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงาน
          หรือโครงการ
      จ. ถูกทุกข้อ
19.ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการจะประเมินเกี่ยวกับ
      ก. ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
      ข. คุณภาพการให้บริการ
      ค. ความพึงพอใจของประชาชนผุ้รับบริการ
      ง.ความคุ้มค่าในภารกิจ
      จ. ถูกทุกข้อ
 
20. ข้อใดถูกต้องในการสั่งราชการ
      ก. โดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร
      ข. กรณีมีความจำเป็นผู้บังคับบัญชาอาจสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้
      ค. ถ้ามีการสั่งการด้วยวาจา ผู้รับคำสั่งต้องบันทึกคำสั่งนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
      ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
      จ. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. 
เฉลย
1.ข               2.ค           3.ง           4.ง           5.ค           6.ข          7.จ           8.ง           9.ค           10.จ
11.ง                12.ง         13.ง         14.ข        15.จ         16.ก         17.จ         18.จ         19.จ         20.จ
ชุดที่ 3
1.  ในกรปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน   อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่ส่วนราชการควรกำหนดและประกาศให้ประชาชนทราบ
        ก.  ระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละงาน                                     ข.  จำนวนเงินงบประมาณของแต่ละงาน
        ค.  จำนวนบุคลากรของแต่ละงาน                                            ง.  วัตถุประสงค์ของแต่ละงาน
        ตอบ  ก.  (หมวดที่ 7 มาตรา 37)
2.  ผู้ใดมีหน้าที่ตรวจสอบ ว่างานเสร็จตามเวลาที่กำหนดหรือไม่
        ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                                         ข.  ปลัดกระทรวง
        ค.  นายกรัฐมนตรี                                                                        ง.  อธิบดี
        ตอบ  ก. ผู้บังคับบัญชา (หมวดที่ 7 มาตรา 37 วรรคสอง)
3.  เมื่อส่วนราชการใด ได้ติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นต้องตอบ        คำถามหรือแจ้งให้ทราบภายในกี่วัน
        ก.  15 วัน                                                                                       ข.  ภายในกำหนดเวลาที่กำหนด
        ค.  ทั้งข้อ ก และ ข                                                                            ง.  30 วัน
4.  การจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ต้องจัดตามระบบเดียวกับหน่วยงานใด
        ก.  ระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและกานสื่อสาร
        ข.  ระบบเดียวกับที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศใช้
        ค.  ระบบเดียวกับคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ
        ง.  ระบบเดียวกับที่กระทรวงคมนาคมรับรอง
        ตอบ  ก.  (หมวดที่ 7 มาตรา 39)
5.  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ได้จัดการอย่างไร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชน     ในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง
        ก.  จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
        ข.  จัดให้มีระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์กลางขึ้น
        ค.  จัดให้มีระบบศูนย์เครือข่ายบริการประชาชนกลางขึ้น
        ง.  จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศภาคประชาชนขึ้น
        ตอบ  ก.  จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น (หมวดที่ 7 มาตรา 40)
6.  ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ให้ทำอย่างไร
        ก.  ให้กระทรวงต้นสังกัดของหน่วยงานจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ
        ข.  ให้สำนักงานพัฒนาระบบราชการไทยดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ
        ค.  ร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีฯ ดำเนินการจัดระเบียบเครือข่ายสารสนเทศ
        ง.  ร้องขอให้สำนักงบประมาณจัดงบประมาณให้จัดระบบเครือข่ายสารสนเทศ
        ตอบ  ค. (หมวดที่ 7 มาตรา 40)
7.  กรณีที่ส่วนราชการ ได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ เป็นหน้าที่ของใคร ที่จะต้องพิจารณาดำเนินการ
        ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                                         ข.  นายกรัฐมนตรี
        ค.  ส่วนราชการนั้น                                                                     ง.  ปลัดกระทรวง
        ตอบ  ค.  ส่วนราชการนั้น (หมวดที่ 7 มาตรา 41)
8.  กรณีได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ จากข้าราชการ หรือส่วนราชการอื่น ให้ผู้ออกกฎระเบียบ พิจารณาชี้แจงให้ทราบภายในกี่วัน
        ก.  5 วัน                                                                                         ข.  10 วัน
        ค.  15 วัน                                                                                       ง.  20 วัน
        ตอบ  ค.  15 วัน (หมวดที่ 7 มาตรา 42(2) )
9.  ตามข้อ 8 การร้องเรียน หรือเสนอแนะ ส่วนราชการ จะแจ้งผ่านหน่วยงานใดได้อีก
        ก.  แจ้งผ่าน ก.พ.ร. ได้
        ข.  แจ้ง ผ่านสำนักนายกฯ ได้
        ค.  แจ้งผ่าน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้
        ง.  แจ้งผ่าน คมช. ได้
        ตอบ  ก.  แจ้งผ่าน ก.พ.ร. ได้ (หมวดที่ 7 มาตรา 42 วรรคสาม)
10.  การปฏิบัติราชการในเรื่องใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่ข้อใด
        ก.  เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ
        ข.  เพื่อความจำเป็นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
        ค.  การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงกำหนดให้เป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น
        ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 43)
      ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 43)
11.  เรื่องใด ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผย
        ก.  ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี
        ข.  รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อ หรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น
        ค.  สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างแล้ว
        ง.  ถูกทุกข้อ
        ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 44)
12.  ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมีข้อความใดบ้าง
        ก.  ห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว
        ข.  ควรเปิดเผยสัญญา
        ค.  ควรเปิดเผยข้อตกลงในสัญญา
        ง.  ไม่มีข้อห้ามทุกข้อ
      ตอบ  ก. (หมวดที่ 7 มาตรา 44)
13.  ส่วนราชการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ งบประมาณรายจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง และสัญญาใด เว้นแต่
        ก.  เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย
        ข.  เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ กฎ ระเบียบ
        ค.  เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองความลับทางราชการ
        ง.  ถูกทุกข้อ 
        ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 44)
14.  การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน การจัดระบบสารสนเทศ เป็นการบริหารราชการแบบใด
        ก.  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
        ข.  การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
        ค.  การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
        ง.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
        ตอบ  ค. (หมวดที่ 7 มาตรา 37 - 40)
15.  การรับฟังข้อร้องเรียน การเปิดเผยข้อมูล เป็นการบริหารราชการแบบใด
        ก.  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
        ข.  การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
        ค.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
        ง.  การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
        ตอบ  ง.  (หมวดที่ 7 มาตรา 41 - 44)
 16.  การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวข้องกับข้อใด
        ก.  เกิดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
        ข.  คุณภาพการให้บริการ
        ค.  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
        ง.  ถูกทุกข้อ
        ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 8 มาตรา 45)
17.  ตามข้อ 16 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ผู้ใดกำหนด
        ก.  ก.พ.ร                    ข.  ครม.
    ค.  คมช                                    ง.  รมว
        ตอบ  ก.พ.ร. (หมวดที่ 8 มาตรา 45)
18.  การประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาและละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการจะต้องกระทำในลักษณะ ใด
        ก.  ต้องกระทำเป็นความลับ
        ข.  ต้องกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
        ค.  ต้องเปิดเผย
        ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก
        ตอบ  ง.  ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก (หมวดที่ 8 มาตรา 46)
19.  การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่ออะไร
        ก.  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล
        ข.  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบราชการ
        ค.  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
        ง.  ถูกหมดทุกข้อ
        ตอบ  ก.  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล (หมวดที่ 8 มาตรา 47)
20.  ในกรณีที่ส่วนราชการ ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายกำหนด ให้ผู้ใด เสนอ ครม. จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษให้ส่วนราชการ
        ก.  ก.พ.ร                             ข.  ครม.
    ค.  คม                                    ง.  รมว.
   ตอบ  ก.  ก.พ.ร. (หมวดที่ 8 มาตรา 48)
21.  การจัดสรรเงินรางวัล ให้ข้าราชการในสังกัด เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ผู้ใดกำหนด
        ก.  ก.พ.ร                             ข.  ครม.
    ค.  คมช                              ง.  รมว.
    ตอบ  ก.  ก.พ.ร. (หมวดที่ 8 มาตรา 48)
22.  ตามข้อ 21 โดยความเห็นชอบของผู้ใด
        ก.  ก.พ.ร                              ข.  ครม.
    ค.  คมช                                 ง.  รมว.
    ตอบ  ข.  ครม. (หมวดที่ 8 มาตรา 49)
23.  เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินการไปตามเป้าหมายโดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ ก.พ.ร. กำหนด    แล้ว ก.พ.ร. สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรสิ่งใดให้หน่วยราชการนั้น
        ก.  เพื่อจัดสรรรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น
        ข.  เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการนั้นใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น
        ค.  ข้อ ก. และ ข. ถูก
        ง.  ข้อ ก. และ ข. ผิด
        ตอบ  ค.  ข้อ ก. และ ข. ถูก (หมวดที่ 8 มาตรา 49)
จำหน่ายเอกสารติวแนวข้อสอบครูผู้ช่วย ครู สอศ. สพฐ. กทม. ครูเทศบาล ทั่วประเทศ ที่กำลังเปิดสอบ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือ
สนใจสั่งซื้อมาที่   decho.by@hotmail.com
รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก รวมแนวข้อสอบวิชาเอกต่างๆที่ออกบ่อยมาก
และแนวข้อสอบครูย้อนหลัง 10 ปี มากกว่า 3000 ข้อ พร้อมเฉลย ให้ท่านรู้ทุกแง้ ทุกมุมข้อข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยที่จะออกข้อสอบ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


ตัวอย่างไฟล์ข้อสอบ
วิชาการศึกษา ชุดที่ 1
http://www.ziddu.com/download/9538484/180-90.pdf.html
วิชาชีพครู ชุดที่ 2
http://www.ziddu.com/download/9538515/2143-147.pdf.html
วิชาเอกวิทย์ ชุด 1
http://www.ziddu.com/download/9538538/1263-271.pdf.html
รายละเอียดไฟล์

แนวข้อสอบบรรจุครู


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้