ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เเนวข้อสอบ ภาค ข. ก.พ. นิติกรปฏิบัติการ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เเนวข้อสอบ ภาค ข. ก.พ. นิติกรปฏิบัติการ

แชร์กระทู้นี้

1    1. ข้อใดไม่ใช่มูลหนี้อันเกิดแต่นิติเหตุ 
1.  นายแดงใช้ก้อนหินขว้างกระจกบ้าน นายดำเแตกโดยประมาทเลินเล่อ
2.  นายแดงขับรถชนนายดำจนนายดำขาหักเพราะเด็กวิ่งตัดหน้าจึงหักหลบ
3.  นายเอกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้นายโท
4.  นายจันทร์เดินไปชนกระจาดผลไม้ของนายดำเสียหาย เพราะนายดำวางบนทางเท้า
5.  นายเวรแทงนายกรรมจนนายกรรมถึงแก่ความตาย
  2.  ข้อใดเป็นหนี้มีเงื่อนไข
1.  แดงโอนรถยนต์ให้แก่ดำในวันเข้าพรรษาปีนี้
2.  ดำจะยกรถยนต์ให้ขาวในวันที่ขาวสอบไล่ได้
3.  ขาวจะเช่าบ้านเขียวในวันสงกรานต์หน้า
4.  เมื่อวันมาฆบูชามาถึง เขียวก็จะยกบ้านให้ ก
5.  ก จะซื้อรถยนต์ ข แต่ต้องรอให้ถึงวันที่ 5 มิถุนายน ปีนี้ก่อน
  3.  นายแดงเจ้าของที่ดินได้รับเงินจากนายดำ จากการที่ให้นายดำก่อสร้างอาคารบนที่ดิน
ดังกล่าวของนายแดง ต่อมาปรากฏว่า เทศบาลไม่อนุญาตให้นายดำทำการก่อสร้างอาคาร
ดังกล่าว เช่นนี้ ข้อใดถูกที่สุด
1.  นายแดงต้องรับผิด เพราะสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน
2.  นายแดงไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ใช่ความผิดของนายแดง
3.  นายแดงไม่ต้องรับผิด เพราะวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย
4.  นายแดงไม่ต้องรับผิด เพราะการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย
5.  นายแดงไม่ต้องรับผิด เพราะวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง
โดยกฎหมาย
4.  ศาลมีคำพิพากษาบังคับให้นายสมปองโอนขายที่ดิน 14 ไร่ แก่นายสมชาย ถ้าไม่สามารถโอน
ที่ดินดังกล่าวได้ก็ให้ชดใช้เป็นเงิน 1,000,000 บาท  ดังนี้ ข้อใดถูกที่สุด
1.  สมปองเป็นผู้มีสิทธิเลือกชำระหนี้ เพราะสมปองเป็นลูกหนี้
2.  สมปองเป็นผู้มีสิทธิเลือกชำระหนี้ ถ้าสมปองไม่เลือกภายในกำหนดเวลา
3.  การชำระหนี้จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ สมปองและสมชายจะตกลงกัน
4.  ถ้าสมปองไม่เลือกภายในเวลาที่กำหนด คนภายนอกมีสิทธิเลือกแทนได้
5.  ไม่มีผู้ใดมีสิทธิเลือกชำระหนี้
  5.  มนูเป็นเจ้าของตึกแถว ได้ให้มนัสเข้าอยู่อาศัย ต่อมามนูได้ทำสัญญาให้มณีเช่าตึกแถวดังกล่าว
เพื่อทำเป็นร้านค้า หลังจากทำสัญญาเช่าแล้วมณีแจ้งให้มนัสทราบและให้มนัสย้ายออกจาก
ตึกแถว มนัสขออาศัยอยู่ต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะย้ายออก มณีตกลงและได้ทำสัญญากันไว้
ครั้นเมื่อครบกำหนดมนัสไม่ยอมย้ายออกไปตามสัญญา  เช่นนี้ มณีจะฟ้องขับไล่มนัสได้หรือไม่
1.  ฟ้องขับไล่ไม่ได้ เพราะมนัสอยู่โดยอ้างสิทธิอาศัยที่มีต่อมนู
2.  ฟ้องขับไล่ไม่ได้ แต่ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
3.  ฟ้องขับไล่ไม่ได้ เพราะสัญญาระหว่างมณีกับมนัสเป็นโมฆะ เนื่องจากมณีไม่ใช่เจ้าของ
ตึกแถว ไม่มีสิทธิทำสัญญากับมนัส
4.  ฟ้องขับไล่ได้ เพราะถือว่ามนัสได้ทำสัญญากับมณี เมื่อมนัสไม่ปฏิบัติตามสัญญา มนัสจึง
เป็นฝ่ายผิดนัด มณีฟ้องขับไล่มนัสได้
5.  ฟ้องขับไล่ได้ เพราะมณีได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากมนูแล้ว มณีย่อมมีสิทธิที่จะเข้าไปอยู่
ในตึกแถว โดยอาศัยสัญญาเช่าได้
6.  โชติทำสัญญาขายรถยนต์ให้ช่วง ราคา 300,000 บาท   ตกลงจะชำระราคาและส่งมอบ
รถยนต์กันในวันที่ 1 มีนาคม 2531   ครั้นถึงกำหนดเวลาตามที่ตกลงกัน ช่วงนำเงินมาครบ
และพร้อมที่จะชำระราคารถให้แก่โชติ แต่โชติไม่มีรถยนต์ที่จะส่งมอบให้ช่วง  โดยขอส่งมอบ
ในวันที่ 2 เดือนเดียวกัน ช่วงจึงไม่ยอมชำระเงินค่ารถให้แก่โชติ   เช่นนี้ โชติจะเรียกร้องให้
ช่วงชำระเงินให้แก่ตนได้หรือไม่
1.  โชติเรียกร้องให้ช่วงชำระเงินให้ได้ เพราะโชติพร้อมที่จะชำระหนี้ในวันที่ 2 แล้ว
2.  โชติเรียกร้องให้ช่วงชำระเงินให้ได้ เพราะโชติเสนอที่จะชำระหนี้ในวันที่ 2 แล้ว
3.  โชติเรียกร้องให้ช่วงชำระเงินให้ได้ เพราะช่วงก็พร้อมที่จะชำระหนี้แล้ว
4.  โชติเรียกร้องให้ช่วงชำระเงินให้ไม่ได้ เพราะโชติเป็นผู้ผิดนัด
5.  โชติเรียกร้องให้ช่วงชำระเงินให้ไม่ได้ เพราะโชติยังไม่พร้อมที่จะชำระหนี้
7. สุชาติได้ว่าจ้างสุชายปลูกสร้างบ้านของตน กำหนดให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา
ภายหลังจากวันที่ทำสัญญา วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้นถึง 3 เท่า  สุชาย เห็นว่าถ้าตน
ปลูกสร้างบ้านให้สุชาติจะขาดทุน จึงละทิ้งงานก่อสร้าง  สุชาติต้องการปลูกสร้างบ้านให้เสร็จ
สุชาติต้องดำเนินการดังข้อใด
1.  ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้สุชายปลูกสร้างบ้านให้ตามสัญญา
2.  ฟ้องขอศาลบังคับให้สุชายปลูกสร้างบ้านให้  โดยสุชาติต้องเสียค่าวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น
3.  ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้สุชายปลูกสร้างบ้านให้  โดยสุชาติและสุชายต้องเสียค่าวัสดุก่อสร้าง
ที่เพิ่มขึ้นคนละครึ่ง
4.  ฟ้องขอศาลอนุญาตให้บุคคลภายนอกปลูกสร้างบ้านแทนสุชาย โดยให้สุชายเป็นผู้ออก
ค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
5.  ทั้งสองต้องเจรจาตกลงกันใหม่
8.  ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด  โดยมิพักต้องเตือนในกรณีดังข้อใด
1.        ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตาม
2.        หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด
3.        ถ้าจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชำระหนี้ และคำบอกกล่าวได้กำหนดเวลาไว้
อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทิน นับแต่เวลาที่ได้บอกกล่าว)
4.        ข้อ 1 และ 2 เท่านั้น
5.        ข้อ 1 2 และ 3 ข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง 3 ข้อ!
9.  นายมั่งได้จ้างนางสาวรวยซึ่งเป็นนักร้อง ให้มาร้องเพลงในงานฉลองวันเกิดของตน
พอถึงวันงานนางสาวรวยติดธุระไปร้องเพลงในงานกุศลแห่งหนึ่ง ไม่สามารถมาร้องเพลง
ในงานฉลองวันเกิดได้ จึงได้ให้นางสาวจนซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากกว่าตนมาร้องเพลง
ที่งานฉลองวันเกิดแทน แต่นายมั่งไม่ให้นางสาวจนร้องเพลง เช่นนี้ นายมั่งจะฟ้องร้อง
นางสาวรวยได้หรือไม่ อย่างไร"
1.        นายมั่งฟ้องบังคับให้นางสาวรวยมาร้องเพลงได้ และเรียกค่าเสียหายได้ด้วย
2.        นายมั่งฟ้องนางสาวรวยไม่ได้ เพราะนางสาวรวยได้ส่งนางสาวจนผู้มีชื่อเสียงมากมา
ร้องเพลงแทนแล้ว
3.        นายมั่งฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางสาวรวยได้เท่านั้น
4.        นายมั่งฟ้องนางสาวรวยไม่ได้ เพราะนางสาวรวยได้ให้นางสาวจนมาร้องเพลงแทนแล้ว
นายมั่งจึงไม่เสียหาย 
5.        นายมั่งฟ้องนางสาวรวยให้มาร้องเพลงในโอกาสอื่นได้ และฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ด้วยเพราะเหตุที่ไม่มาร้องเพลงตามเวลานัด3
  10. ลูกหนี้จะทำความตกลงยกเว้นมิให้ตนต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนกับของบุคคล
ที่ตนใช้ในการชำระหนี้ได้หรือไม่ เพียงใด
1.        ทำไม่ได้ เพราะลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนของตน และผู้ที่ตนใช้
การชำระหนี้ โดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเอง
2.        ทำความตกลงยกเว้นความรับผิดได้ เฉพาะกรณีที่ตัวแทนหรือผู้ที่ตนใช้ในการชำระหนี้:
กระทำการฉ้อฉล
3.        ทำความตกลงยกเว้นความรับผิดได้ เฉพาะตัวแทนหรือผู้ที่ตนใช้ในการชำระหนี้กระทำ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
4.        ทำความตกลงยกเว้นความรับผิดได้ เฉพาะตัวแทนหรือผู้ที่ตนใช้ในการกระทำผิด
ได้กระทำประมาทเท่า
5.        ทำความตกลงยกเว้นความรับผิดได้ ในกรณีตัวแทนหรือผู้ที่ตนใช้ในการกระทำผิด
กระทำการฉ้อฉล หรือกระทำประมาทอย่างร้ายแรง
11. การเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้นั้น ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
1.        การเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้
2.        การเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่ลูกหนี้คาดเห็นหรือควรจะได้
คาดเห็นล่วงหน้า
3.        การเรียกเอาทรัพย์สินคืนจากลูกหนี้ให้เจ้าหนี้กลับคืนสู่สภาพเดิม
4.        ข้อ 1 และ 2 ถูก
5.        ข้อ 1 และ 3 ถูก
12. วิเชียรว่าจ้างวิชัยก่อสร้างอาคารพาณิชย์ โดยให้วิชัยลงมือก่อสร้างไปก่อนที่จะได้รับอนุญาต
จากกรุงเทพมหานคร ต่อมาแบบแปลนที่กรุงเทพมหานครอนุญาตให้ก่อสร้างมีรายการผิดไป
จากที่ได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว จะต้องทุบส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบและก่อสร้างเพิ่มเติม ทำให้
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก  เช่นนี้ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังกล่าว วิเชียรหรือวิชัยจะต้อง
รับผิดชอบ  เพราะเหตุใด
1.        วิเชียรต้องรับผิดเฉพาะส่วนค่าใช้จ่ายที่ผิดแบบ เพราะเป็นคนสั่งให้วิชัยลงมือก่อสร้าง
ก่อนจะได้รับอนุญาต
2.        วิเชียรต้องรับผิดเฉพาะส่วนค่าใช้จ่ายที่ผิดแบบ เพราะเป็นผู้ก่อสร้าง
3.        ทั้งวิเชียรและวิชัยจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะต่างก็เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย
ด้วยกัน 
4.        วิชัยต้องรับผิดเฉพาะส่วนค่าก่อสร้างเพิ่มเติม เพราะเป็นผู้ก่อสร้าง)
5.        วิเชียรต้องรับผิดในค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เพราะเป็นคนสั่งให้วิชัยลงมือก่อสร้าง
ก่อนได้รับอนุญาต
13. การกระทำของลูกหนี้ต่อไปนี้ การกระทำใดที่เจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
1.  ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายคนแต่ลูกหนี้เลือกที่จะหักหลบลบหนี้กับเจ้าหนี้บางรายเท่านั้น
2.  ลูกหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากบุคคลภายนอก
3.  ลูกหนี้ปลดหนี้ให้แก่บุคคลที่เป็นหนี้ตนเองอยู่
4.  ลูกหนี้ลาออกจากการงานที่เคยทำ   มาอยู่บ้านเฉย ๆ
5.  ลูกหนี้ตกลงรับค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดต่ำกว่าที่ควรจะได้
14. ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง
1.  เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้    ในนามของตนเอง
2.  เจ้าหนี้ใช้สิทธิในฐานะเป็นเพียงตัวแทนของลูกหนี้
3.  หนี้ของเจ้าหนี้จะถึงกำหนดชำระหนี้แล้วจึงจะฟ้องได้
4.  การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หมายถึงการใช้สิทธิทางศาลเท่านั้น
5.  ทรัพย์สินซึ่งได้มาจากการใช้สิทธิ   เรียกร้องของลูกหนี้ ย่อมตกได้แก่เจ้าหนี้   
15. สิทธิเรียกร้าองใดต่อไปนี้ที่เจ้าหนี้      จะเข้าใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ไม่ได้
1.  สิทธิเรียกเอาสินสมรสส่วนของตนเอง กรณีหย่า
2.  สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพกรณีหย่า
3.  สิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในกรณีที่บุคคลอื่นมาทำร้ายร่างกายลูกหนี้
4.  สิทธิเรียกคืนทรัพย์จากบุคคลภายนอก
5.  สิทธิเรียกให้ส่งมอบทรัพย์ตามสัญญาซื้อขาย
16. กรณีต่อไปนี้ กรณีใดที่ไม่เป็นการรับช่วงสิทธิ
1.  นายแดงเป็นผู้ค้ำประกันนายดำเข้าใช้หนี้แทนนายดำ
2.  นายแดงซื้อที่ดินซึ่งติดจำนองมาแล้วใช้เงินแก่ผู้รับจำนอง
3.  นายแดงเป็นลูกหนี้ร่วมกับนายดำและนายแดงเข้าใช้หนี้ทั้งหมด
4.  นายแดงทำสัญญากับนายดำให้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนตน
5.  นายแดงเช่าซื้อที่ดินมาจากนายดำและที่ดินจะถูกเจ้าหนี้ยึด นายแดงจึง     เข้าใช้หนี้แก่เจ้าหนี้แทน
   17. บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น หมายถึงค่าภาษีอากรในข้อใด
1.  ค่าภาษีที่ดินที่ลูกหนี้จะต้องชำระใน   1 ปีต่อไป
2.  ค่าภาษีโรงเรือนที่ลูกหนี้ค้างชำระอยู่   5 ปีมาแล้ว
3.  ค่าภาษีเงินได้ปีที่ผ่านมาที่ลูกหนี้ยัง ไม่ชำระ
4.  ค่าภาษีการค้าที่ลูกหนี้ค้างชำระเมื่อ  5 ปีที่่ผ่านมา
5.  ค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระแก่การไฟฟ้าเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา
  18. เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มีสิทธิพิเศษอย่างไร
1.  มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
2.  มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้โดย สิ้นเชิง
3.  มีสิทธิบังคับเอาทรัพย์สินบางชนิด
4.  มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
5.  มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ทุกคน
  19. การกระทำต่อไปนี้ การกระทำใดทำให้สิทธิยึดหน่วงระงับสิ้นไป
1.  เจ้าหนี้นำทรัพย์ที่ยึดหน่วงนั้นไปให้เช่าโดยลูกหนี้ให้ความยินยอม
2.  หนี้ขาดอายุความเสียแล้ว
3.  เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้
4.  เจ้าหนี้นำทรัพย์ที่ยึดหน่วงให้บุคคลภายนอกดูแลโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ก่อน
5.  บุคคลภายนอกมาแย่งการครอบครองทรัพย์สินที่ถูกยึดหน่วง   
20. สิทธิยึดหน่วงก่อให้เกิดสิทธิในข้อใดแก่เจ้าหนี้
1.  เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จาก  ทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ก่อนอื่นเจ้าหนี้
2.  เจ้าหนี้เป็นเจ้าของดอกผลแห่งทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้
3.  ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
4.  ทำให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์นั้นทันที
5.  เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินทั้งชิ้นได้ แม้จะได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
  21. บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าที่ดินทำกสิกรรม   ครอบไปถึงทรัพย์สินใดของลูกหนี้
1.  รถไถนาของลูกหนี้ที่นำเข้ามาไว้ในที่ดิน
2.  โรงเรียนที่เป็นที่อยู่อาศัยของลูกหนี้
3.  เครื่องมือกสิกรรมทุกอย่างของลูกหนี้
4.  ข้าวในนาที่ลูกหนี้ขายให้ผู้อื่นไปแล้ว
5.  ข้าวของลูกหนี้ที่ปลูกที่อื่น
  22. บุริมสิทธิพิเศษ คืออะไร
1.  สิทธิบังคับชำระหนี้เหนือบุริมสิทธิสามัญ
2.  สิทธิบังคับชำระหนี้เหนือเจ้าหนี้สามัญ
3.  สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นในทรัพย์สินเฉพาะอย่างของลูกหนี้
4.  สิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินทุกชนิดของลูกหนี้
5.  สิทธิได้รับชำระหนี้แม้หนี้จะขาด      อายุความแล้ว
23. คำกล่าวเกี่ยวกับลำดับแห่งบุริมสิทธิต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง   
1.  บุริมสิทธิพิเศษมีสิทธิเหนือทรัพย์ทุกอย่างดีกว่าบุริมสิทธิสามัญ
2.  บุริมสิทธิพิเศษมีสิทธิิเหนือทรัพย์สินเฉพาะอย่างดีกว่าบุริมสิทธิสามัญ
3.  บุริมสิทธิสามัญต้องเอาชำระหนี้จากสังหาริมทรัพย์ก่อน
4.  บุริมสิทธิสามัญบางอย่างอยู่เหนือบุริมสิทธิพิเศษ
5.  บุริมสิทธิพิเศษบางชนิดอยู่ในลำดับเดียวกันคิดจะติวคิดถึงเเอ๊คกรุ๊ป
  24. คำกล่าวเกี่ยวกับผลแห่งบุริมสิทธิต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง
1.  บุริมสิทธิทุกอย่างมีสิทธิต่ำกว่าสิทธิจำนอง
2.  บุริมสิทธิในมูลรับจัดสร้างบ้านบนที่ดินเมื่อได้จดทะเบียนแล้วมีสิทธิดีกว่าสิทธิจำนอง
3.  บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์มีสิทธิดีกว่าสิทธิจำนอง
4.  บุริมสิทธิสามัญเมื่อจดทะเบียนแล้วมีสิทธิดีกว่าสิทธิจำนอง
5.  บุริมสิทธิสามัญเมื่อจดทะเบียนแล้วมีสิทธิเท่ากับสิทธิจำนอง
  25. หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าหนี้ประเภทใดที่การชำระหนี้แบ่งชำระไม่ได้คือ
1.  พิจารณาจากสภาพแห่งหนี้
2.  เป็นไปโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
3.  โดยเจตนาของคู่กรณี
4.  ข้อ 1 2 และ 3 ถูก
5.  ข้อ 1 และ 3 ถูก
  26. นายทองและนายเงินได้ร่วมกันฉัน้ยืมเงินจากนายเพชร จำนวน 20,000 บาท ในสัญญามิได้
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ต่อมา นายเพชรต้องการใช้เงินจึงบอกกล่าวให้นายทองชำระหนี้
20,000 บาท แต่นายทองไม่ยอมชำระ ซึ่งทำให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ย 1,000 บาท
ในการที่ผิดนัด ต่อมานายเงินทราบเรื่องที่นายทองถูกเตือนให้ชำระหนี้จึงได้นำเงินจำนวน
21,000 บาท ไปชำระให้นายเพชร  ดังนี้ นายเงินจะไล่เบี้ยเอาจากนายทองได้หรือไม่เพียงใด
1.  ไล่เบี้ยเอาจากนายทองไม่ได้ เพราะหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
2.  ไล่เบี้ยเอาจากนายทองได้ 11,000 บาท เพราะต้องรับผิดชอบคนละครึ่ง ส่วนดอกเบี้ย
นายทองผิดนัดคนเดียวจึงต้องรับผิดชอบทั้งหมด
3.  ไล่เบี้ยเอาจากนายทองได้ 10,000 บาท เพราะนายทองไม่ต้องรับผิดขอบดอกเบี้ย
4.  ไล่เบี้ยเอาจากนายทองได้ 10,500 บาท เพราะต้องรับผิดชอบคนละครึ่ง รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย
5.  ไล่เบี้ยเอาจากนายทองไม่ได้เลย เพราะนายเงินชำระหนี้โดยไม่ชอบเนื่องจากนายเพชร
ไม่ได้บอกกล่าวให้นายเงินชำระ                                         
  27. สิวเป็นลูกหนี้เงินฉัน้ ฝ้า ด่าง และกรด จำนวน 30,000 บาท ต่อมาสิวถึงแก่กรรม และ
ก่อนถึงแก่กรรมสิวได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของตนให้แก่ฝ้า  ดังนั้น ฝ้า ด่าง และกรด
จะเรียกร้องหนี้จากใครได้บ้าง เพียงใด
1.  ทั้งสามคนเรียกหนี้จากกองมรดกของสิวได้คนละ 10,000 บาท
2.  เฉพาะด่างและกรดเท่านั้นที่เรียกหนี้จากกองมรดกได้คนละ 10,000 บาท
3.  เฉพาะด่างและกรดเท่านั้นที่จะเรียกหนี้จากฝ้าได้คนละ 10,000 บาท
4.  ทั้ง 3 คน เรียกหนี้จากใครไม่ได้เลย เพราะหนี้ระงับไปตามความตายของสิวลูกหนี้
5.  ด่างและกรดเรียกหนี้จากกองมรดกหรือฝ้าได้คนละ 15,000 บาท
  28. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นลูกหนี้   ร่วมกันนั้น ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
1.  ความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้
2.  ความระงับแห่งหนี้
3.  การผิดนัดของเจ้าหนี้
4.  ข้อ 1 และ 2 ถูก
5.  ข้อ 1 2 และ 3 ถูก
  29. ข้อใดถูกในส่วนที่เกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้อง
1.  หนี้เดิมระงับ
2.  เป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้รับโอน
3.  การโอนจะสมบูรณ์เมื่อลูกหนี้ได้รับการบอกกล่าวและยินยอมในการโอนเป็นหนังสือ
4.  สิทธิเรียกร้องทุกชนิดย่อมโอนกันได้
5.  หน้าที่ของลูกหนี้ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
  30. สมชายเป็นเจ้าหนี้เงินฉัน้สมศักดิ์อยู่   1,000,000 บาท  ต่อมาสมชายได้มีจดหมายบอกกล่าวไปยังสมศรีว่าตนต้องการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่สมศรี และสมชายได้ลงชื่อไว้ในจดหมายบอกกล่าวด้วย และพร้อมกันนี้สมชายก็ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปให้สมศักดิ์ผู้เป็นลูกหนี้ทราบด้วย เช่นนี้ข้อใดถูกที่สุด
1.  การโอนดังกล่าวบังคับได้ระหว่างสมชายกับสมศรี
2.  การโอนดังกล่าวไม่สมบูรณ์
3.  การโอนดังกล่าวใช้ยันสมศักดิ์ได้
4.  การโอนดังกล่าวใช้ยันสมศักดิ์ไม่ได้
5.  การโอนดังกล่าวใช้ยันบุคคลภายนอกได้
31. การโอนหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้นข้อใดถูกที่สุด
1.  ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ เว้นแต่ได้ส่งมอบตราสารแก่ผู้รับโอนแล้ว
2.  ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ เว้นแต่บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้แล้ว
3.  ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ เว้นแต่การโอนได้สลักหลังไว้ในตราสาร
4.  ยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่ลูกหนี้ยินยอม
5.  ยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่ส่งมอบตราสารแก่ผู้รับโอน และการโอนได้สลักหลัง
ไว้ในตราสาร
  32. การโอนสิทธิเรียกร้อง จะใช้หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเมื่อใด
1.  ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวเป็นหนังสือ
2.  ลูกหนี้ให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อน
3.  ลูกหนี้ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือกับ     ผู้รับโอนและเจ้าหนี้แล้ว
4.  ลูกหนี้ได้รับประกันจนเป็นที่พอใจแล้ว
5.  ลูกหนี้ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกับ  ผู้รับโอน
  33. ผู้ใดมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้โดยชอบ
1.  ทนายความของลูกหนี้
2.  เจ้าหนี้คนอื่นของลูกหนี้
3.  คู่สมรสของลูกหนี้
4.  นายจ้างของลูกหนี้ชำระค่าภาษีเงินได้แทนลูกหนี้
5.  ผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
  34. ผู้ใดเป็น ?ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิใน มูลหนี้?
1.  เจ้าหนี้ผู้ครอบครองสัญญาฉัน้
2.  เจ้าหนี้เงินฉัน้ซึ่งยึดถือโฉนดที่ดินของ  ลูกหนี้ไว้เป็นประกัน
3.  ผู้ทรงเช็ค
4.  ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งยึดถือทะเบียน   รถยนต์ซึ่งให้เช่าซื้อไว้
5.  เจ้าหนี้เงินค่าซ่อมรถซึ่งยึดหน่วงรถที่นำมาซ่อมไว้เป็นประกันค่าซ่อม
  35. ข้อใดถูกในข้อความต่อไปนี้
1.  การชำระหนี้บางส่วนย่อมกระทำได้หากเจ้าหนี้ยินยอม
2.  การชำระหนี้โดยการส่งมอบทรัพย์      เฉพาะสิ่งต้องส่งมอบ ณ ภูมิลำเนาของ     เจ้าหนี้
3.  ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้นั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องออกเท่า ๆ กัน
4.  การชำระหนี้ที่จะมีผลสมบูรณ์นั้น          ผู้รับชำระหนี้ต้องออกใบเสร็จให้ผู้ชำระหนี้ทุกครั้ง
5.  การวางทรัพย์เป็นวิธีการชำระหนี้     อย่างหนึ่ง ซึ่งลูกหนี้มีสิทธิเลือกปฏิบัติ ได้เสมอ      
  36. การปลดหนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร
1.  เจ้าหนี้และลูกหนี้ทำสัญญาระงับหนี้ที่มีต่อกัน
2.  เจ้าหนี้ตกลงยกหนี้ให้ลูกหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยลูกหนี้ยอมกระทำการอย่างอื่น
ทดแทนให้
3.  เจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ยกหนี้ให้ โดยลูกหนี้ยินยอม
4.  เจ้าหนี้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวต่อลูกหนี้ยกหนี้ให้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากลูกหนี้
5.  เจ้าหนี้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งยกหนี้ให้ลูกหนี้ แต่ไม่จำต้องแสดงเจตนาโดยตรงไปยังลูกหนี้
  37. กรณีใดที่อาจมีการหักกลบลบหนี้กันได้
1.  ดำเป็นหนี้เงินฉัน้แดง 500 บาท แดงเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าจากดำ 1,000 บาท
2.  สวาทต้องส่งมอบม้าชื่อ ?ลอยลม? ให้สมศรี สมศรีต้องส่งมอบม้าชื่อ ?เหินฟ้า? ให้สวาท
3.  จำปีต้องชำระค่าเช่าบ้านให้กุหลาบ 500 บาท กุหลาบต้องส่งมอบลูกสุนัขราคา 500 บาท
ให้จำปี
4.  ชมพู่ต้องส่งมอบแจกันลายครามราคา 12,000 บาทให้มะม่วง  มะม่วงต้องชำระค่าเช่าซื้อ
เครื่องพิมพ์ดีดราคา 12,000 บาทให้ชมพู่
5.  สายจิตต้องชำระค่าจ้างร้องเพลงให้พุ่มพวง 5,000 บาท  พุ่มพวงต้องทำงานบ้านให้สายจิต
เป็นเวลา 10 วัน โดยคิดค่าแรงงานวันละ 500 บาท
  38. ข้อใดเป็นการเปลี่ยน ?สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้? ในการแปลงหนี้ใหม่
1.  เปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกัน
2.  เปลี่ยนหนี้ขายฝากเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อ
3.  เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฉัน้
4.  เปลี่ยนหลักประกันในหนี้
5.  เปลี่ยนเวลาชำระหนี้ใหม่
  39. การแปลงหนี้ใหม่ในกรณีใดที่ทำให้ประกันแห่งหนี้เดิมโอนไปเป็นประกันหนี้ใหม่ด้วย
แม้คู่กรณีมิได้ตกลงกัน
1.  การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้
2.  การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้
3.  การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนลักษณะแห่งหนี้
4.  การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนเงื่อนไขในหนี้
5.  การแปลงหนี้ใหม่โดยเพิ่มเติมเงื่อนไขในหนี้ที่ปราศจากเงื่อนไข                  
  40. ข้อใดถูกในข้อความต่อไปนี้
1.  การแปลงหนี้ใหม่กระทำได้โดยเจ้าหนี้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวต่อลูกหนี้โดยไม่ต้องได้รับ
ความยินยอมจากลูกหนี้
2.  หนี้อันมีมูลมาจากการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ใดจะนำมาหักกลบลบกันไม่ได้
3.  หนี้ย่อมไม่อาจเกลื่อนกลืนกันได้หากมูลหนี้เกิดจากนิติเหตุ
4.  สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่จะนำมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
5.  การหักกลบลบหนี้มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่มีการแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้
41. ความเคลื่อนไหวของบุคคลในเวลาหลับ จะถือว่าเป็นการกระทำหรือไม่
1.  เป็นการกระทำ
2.  ไม่เป็นการกระทำ
3.  ถ้าบุคคลอื่นเสียหาย ก็เป็นการกระทำ
4.  ถ้าเป็นความเคลื่อนไหวของเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำ
5.  ถ้าเป็นความเคลื่อนไหวของบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำ
  42. จำเลยเป็นนายอำเภอ มีหน้าที่จดทะเบียนการซื้อขายที่ดิน แต่ไม่จดให้ตามที่โจทก์ผู้ซื้อ
ได้ร้องขอ  ดังนี้ เป็นการกระทำละเมิดหรือไม่
1.  ไม่เป็นการกระทำละเมิด เพราะจำเลยมิได้กระทำการอันใดต่อโจทก์
2.  ไม่เป็นการกระทำละเมิด เพราะมิได้กระทำการใดอันเป็นการผิดกฎหมายต่อโจทก์
3.  เป็นการกระทำละเมิด เพราะจำเลยงดเว้นไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับ
4.  ไม่เป็นการกระทำละเมิด เพราะจำเลยมิได้กระทำโดยจงใจต่อโจทก์
5.  เป็นการกระทำละเมิด เพราะจำเลยกระทำ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน
  43. ก เช่าซื้อรถยนต์มาจากบริษัทไทยยานยนต์ แต่ยังส่งค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์
ยังไม่โอนมาเป็นของ ก  ข  ลักรถที่ ก เช่าซื้อไป  ดังนี้ ก มีอำนาจฟ้อง ข ฐานละเมิดหรือไม่
1.  ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะ ก ยังส่งเช่าซื้อไม่ครบถ้วน
2.  มีอำนาจฟ้องเท่ากับเป็นการฟ้องแทนบริษัทไทยยานยนต์เจ้าของรถ
3.  ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเพียงสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย
4.  ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะกรรมสิทธิ์ในรถยังไม่โอนมาเป็นของ ก  ก ไม่ได้รับความเสียหาย
5.  มีอำนาจฟ้อง เพราะ ก ได้รับความเสียหายต่อสิทธิของ ก แล้ว               
  44. จำเลยขับรถบรรทุกชนรถยนต์นั่งที่โจทก์ขับ โจทก์สลบไป สิ่งของในรถของโจทก์ถูกคนร้าย
ลักไป  ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สิ่งของถูกลักไปหรือไม่
1.  ไม่ต้องรับผิด เพราะจำเลยมิได้เอาไป
2.  ไม่ต้องรับผิด เพราะการที่คนร้ายลักทรัพย์ของโจทก์ไปมิใช่ผลธรรมดาจากการกระทำ
ละเมิดของจำเลย
3.  ต้องรับผิด เพราะจำเลยขับรถชนรถโจทก์ โจทก์สลบ ไม่มีโอกาสดูแลทรัพย์สินของโจทก์ได้
4.  ต้องรับผิด เพราะเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยขับรถชนรถโจทก์
5.  ไม่ต้องรับผิด เพราะคนร้ายเป็นผู้ลักไป
  45. ก ใช้ให้ ข นำเอาห่อระเบิดเวลาไปให้ ค โดยที่ ข ไม่รู้ว่าเป็นระเบิดเวลา ค รับไว้ ระเบิดเกิด
ระเบิดขึ้น  ค บาดเจ็บ  ดังนี้ ความรับผิดของ ก ต่อ ค เป็นความรับผิดในการกระทำของ
บุคคลอื่นหรือไม่
1.  เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะ ข ไม่รู้ว่าเป็นระเบิดเวลา
2.  เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะมีการกระทำของ ข ที่เอาห่อระเบิด
เวลาไปให้ ค
3.  ไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะ ข มิได้กระทำละเมิด
4.  ไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะ ก เป็นผู้กระทำละเมิดด้วยตนเอง
5.  ข้อ 3 และ 4 ถูกต้อง
  46. ข เป็นลูกจ้างของ ก  ก ใช้ให้ ข ขับรถยนต์ไปส่งคืน ค ลูกค้า ด้วยความไม่พอใจนายจ้าง
ข แกล้งขับรถตกหลุมบ่อทำให้รถลูกค้าเสียหาย ดังนี้ ก ต้องร่วมกับ ข รับผิดต่อ ค ลูกค้าหรือไม่
1.  ต้องรับผิด เพราะ ก เป็นนายจ้าง
2.  ไม่ต้องรับผิด เพราะ ข กระทำไปโดยแกล้ง
3.  ต้องร่วมรับผิด เพราะเหตุละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
4.  ไม่ต้องรับผิด เพราะ ข กระทำละเมิดโดยจงใจ
5.  ต้องรับผิด เพราะ ก นายจ้างใช้ให้เอารถไปส่งคืนลูกค้า
  47. ที่ว่าผู้ว่าจ้างทำของเป็นผู้ผิดตาม ปพพ. มาตรา 428 หมายความว่าอย่างไร
1.  กระทำโดยจงใจ
2.  กระทำละเมิดตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
3.  กระทำโดยประมาท
4.  ผิดต่อกฎหมาย
5.  ผิดข้อตกลงที่วางไว้ตามสัญญาจ้างทำของ
      - 13 -        41212  กฎหมายแพ่ง 2 : หนี้ ละเมิด
  48. ระหว่างที่บิดาของเด็กชายนิดอยู่ต่างจังหวัด เด็กชายนิดอยู่ในความดูแลของมารดา
ที่กรุงเทพมหานคร เด็กชายนิดไปชกต่อยเด็กชายน้อยโดยละเมิด  ดังนี้บิดาของเด็กชายนิด
ต้องรับผิดร่วมด้วยหรือไม่
1.  ไม่ต้องรับผิด เพราะบิดาอยู่ต่างจังหวัด
2.  ไม่ต้องรับผิด เพราะเด็กชายนิดไม่ได้อยู่ในความดูแล
3.  ต้องรับผิด เพราะเป็นบิดาของเด็กชายนิด
4.  ต้องรับผิด เพราะถือว่ามารดาดูแลแทนบิดา
5.  ไม่ต้องรับผิด เพราะมีมารดารับผิดร่วมด้วยกับเด็กชายนิดอยู่แล้ว
  49. ก สอนลิงของ ข ให้ลักมะพร้าวของ ค  ดังนี้ ใครต้องรับผิดต่อ ค
1.  ข ต้องรับผิดต่อ ค เพราะเป็นเจ้าของลิง
2.  ก ต้องรับผิดต่อ ค เพราะเป็นผู้สอนลิง
3.  ก ต้องรับผิด แล้วไล่เบี้ยเอาจาก ข ได้อีกทีหนึ่ง
4.  ข ต้องรับผิด แล้วไล่เบี้ยเอาจาก ก ได้อีกทีหนึ่ง
5.  ก และ ข ต้องร่วมกันรับผิดต่อ ค
  50. สะพานข้ามคลองอยู่ในความครอบครองของจำเลย ราวสะพานชำรุดเป็นช่องโหว่โจทก์ตกลงไปในคลองได้รับบาดเจ็บ ดังนี้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
1.  ต้องรับผิด เพราะสะพานซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างบำรุงรักษาไม่ดีพอ
2.  ไม่ต้องรับผิด เพราะโจทก์ตกลงไป   ในคลองเอง
3.  ไม่ต้องรับผิด เพราะสะพานข้ามคลอง มิใช่โรงเรียน
4.  ต้องรับผิด เพราะจำเลยเป็นผู้ครอบครองสะพานซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
5.  ข้อ 1 และ 4 ถูก
51. ก ไปเยี่ยม ข ที่บ้านที่ ข เช่าและครอบครองอยู่  ก ทิ้งก้นบุหรี่ทางหน้าต่างบ้านไปที่ถนนหน้าบ้านถูกศีรษะ ค ที่เดินผ่านมาพอดี โดยที่ ก ไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ   ดังนี้ ก หรือ ข ต้องรับผิดต่อ ค หรือไม่
1.  ก และ ข ต่างคนต่างรับผิดต่อ ค     ไม่ร่วมกัน
2.  ข ต้องรับผิดแล้วไล่เบี้ยเอาจาก ก
3.  ก ต้องรับผิด เพราะเป็นผู้ทิ้งก้นบุหรี่
4.  ข ซึ่งเป็นผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิด
5.  ก หรือ ข ไม่ต้องรับผิด เพราะต่างมิได้กระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
  52. ก ขับรถบรรทุกนำเสาขนาดใหญ่ไปส่งลูกค้าด้วยความระมัดระวัง แต่บังเอิญโซ่เหล็ก
ที่ผูกมัดเกิดขาดเสาหลุดลงมาถูกหลังคารถยนต์นั่งของ ข ที่จอดข้างทางรถเสียหาย
ดังนี้ ก ต้องรับผิดต่อ ข หรือไม่
1.  ไม่ต้องรับผิด เพราะเป็นอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัย ก ไม่อาจป้องกันได้
2.  ไม่ต้องรับผิด เพราะ ก ขับรถบรรทุกด้วยความระมัดระวัง
3.  ต้องรับผิด เพราะ ก เป็นผู้ขับรถบรรทุก
4.  ไม่ต้องรับผิด เพราะ ก มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
5.  ต้องรับผิด เพราะ ก เป็นผู้ครอบครองหรื
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้