แนวข้อสอบครูผู้ช่วย (ความรอบรู้ ชุดที่ 4)
วัฒนธรรมไทย และประเพณีท้องถิ่น
1. สิ่งที่ดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกว่า
ก. คุณธรรม
ข. จริยธรรม
ค. วัฒนธรรม
ง. ค่านิยม
2. ข้อใดคือวัฒนธรรมไทย
ก. การเคารพพระสงฆ์
ข. สงกรานต์
ค. ฮีตสิบสอง
ง. การไหลเรื่อไฟ
3. การกราบครั้งที่สองของการกราบแบบเบญจางค์ประดิษฐ์ หมายถึงกราบใคร
ก. กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
ข. กราบพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า
ค. กราบพระสงฆ์ตัวแทนพระพุทธเจ้า
ง. กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
4. ข้อใดเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ก. เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านให้ไหว้โดยให้ปลายนิ้วมือจรดตีนผม
ข. ผู้ชายให้ถวายของให้พระต่อมือพระสงฆ์โดยตรงและคุกเข่ากราบไม่แบมือครั้งเดียว
ค. การตักบาตรควรถอดรองเท้าก่อน
ง. ผู้หญิงไปหาพระต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อย ไม่ควรอยู่ตามลำพังกับพระสงฆ์
5. เป็นครูควรมีมารยาททางใจ โดยนำหลักธรรมพรหมวิหาร 4 มายึดและปฏิบัติ
ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ค. ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค์
ง. สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
6. ข้อใดคือมารยาททางใจที่ถูกต้อง
ก. ในงานมงคลควรแสดงสีหน้าเบิกบานสดชื่นอยู่เสมอ
ข. การไปเยี่ยมคนป่วยควรใช้คำพูดที่อ่อนโยนปลอบใจผู้ป่วย
ค. ในงานเผาศพควรแสดงกริยาสงบสงวนความรื่นเริงเอาไว้
ง. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดเป็นมารยาททางกายที่ไม่เหมาะสม
ก. ถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่กับพื้นให้นั่งพับเพียบ หันหน้าไปหาผู้ใหญ่ในลักษณะเงยหน้า
ข. ไม่ถือวิสาสะใช้หรือรับประทานของที่เขาจัดไว้สำหรับผู้อื่นโดยเฉพาะ
ค. ล้วง แคะ แกะเกา หาว เรอหากจำเป็น
ง. เห็นของผู้ใหญ่ตก หรืออาจจะเสียหายโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ควรจะบอก
8. การับไหวในขณะที่ยืนและเราอยู่ในฐานะที่อาวุโสกว่า
ก. พนมมือระดับอก
ข. พนมมือเหนือระดับอก นิ้วจรดคาง
ค. พนมมือระดับอก ก้มศรีษะเล็กน้อย
ง. พนมมือระดับอกและพยักหน้าเล็กน้อย
9. หากเราจะผ่านผู้คนมากๆและมีผู้ที่อาวุโสนั่งอยู่กับพื้นควรใช้วิธีการใด
ก. เดินก้มหน้า
ข. เดินย่อตัว
ค. หมอบ
ง. คลาน
10. เมื่อใดควรยืนตรง
ก. เมื่อเห็นคนเชิญธงชาติผ่านหน้า
ข. เมื่อเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงบริเวณพิธี
ค. เมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
ง. ถูกทุกข้อ
11. ข้อใดคือมารยาทแบบสากลทางกายแสดงการทักทาย
ก. การยิ้ม
ข. การไหว้
ค. การคำนับ
ง. การจับมือ
12. ข้อใดคือมารยาทในการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง
ก. ให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อนเราจึงรับประทาน
ข. ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหาร และนั่งตัวตรง
ค. แตะต้องหรือหยิบอาหารให้ผู้อาวุโสกว่าตามสมควร
ง. ควรถือช้อนด้วยมือขวาและส้อมด้วยมือซ้าย
13. มารยาทในการใช้วาจาที่ถูกต้องได้แก่ข้อใด
ก. ต้องระวังมิใช้วาจาเท็จ ยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกร้าว
ข. ไม่พูดเสียงดังเกินไปหรือพูดพลางหัวเราะพลาง
ค. รู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและเป็นนักฟังที่สนใจ
ง. ถูกทุกข้อ
14. “ฮีตสิบสอง” จัดไว้ในข้อใด
ก. วัฒนธรรมไทย
ข. ประเพณี
ค. ความเชื่อ
ง. ค่านิยม
15. เทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดใด
ก. กาฬสินธุ์
ข. มหาสารคาม
ค. ขอนแก่น
ง. อุดรธานี
16. ประเพณีไหลเรื่อไฟของจังหวัดนครพนม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อของประเทศใด
ก. จีน
ข. อินเดีย
ค. เนปาล
ง. อียีป
17. ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งของจังหวัดบุรีรัมย์จัดในเดือนใด
ก. ธันวาคม
ข. มกราคม
ค. เมษายน
ง. กรกฎาคม
18. ประเพณีบวชลูกแก้วนิยมจัดในภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. ภาคกลาง
ง. ภาคใต้
19. ประเพณีท้องถิ่นที่นิยมจัดทุกภาคของไทย
ก. บวชนาค
ข. สงกรานต์
ค. ลอยกระทง
ง. ถูกทุกข้อ
20. หากจะรักษาประเพณีไทยโดยการทำบุญ ควรปฏิบัติตามข้อใด
ก. การให้ทาน
ข. การรักษาศีล
ค. ภาวนา
ง. ถูกทุกข้อ
21.ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีแต่งงาน
ก. ขึ้นหอ
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมาก
ง. หมั้น
22.” ไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร” สัมพันธ์กับประเพณีใด
ก. แต่งงาน
ข. บวช
ค. ลอยกระทง
ง. สงกรานต์
23. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญมักพบอยู่ทุกจังหวัดทั้งภาคเหนือและอีสาน คำว่า “บายศรี”หมายถึงสิ่งใด
ก. ดอกไม้
ข. พาน
ค. ข้าว
ง. ด้ายขาว
24. ความเชื่อตามประเพณีบุญป้องไฟสัมพันธ์กับอาชีพใด
ก. ค้าขาย
ข. ทำนา
ค. อุตสาหกรรม
ง. ทุกอาชีพที่กล่าว
25. ประเพณีผีตาโขนเป็นของจังหวัดใด
ก. ลำปาง
ข. พะเยา
ค. อุบลราชธานี
ง. เลย
26. “วันเนา” ของประเพณีสงกรานต์ตรงกับวันใด
ก. 12 เมษายน
ข. 13 เมษายน
ค. 14 เมษายน
ง. 15 เมษายน
27.เหล้า ต้นกล้วย ต้นอ้อย จัดอยู่ในส่วนใดของประเพณีแต่งงาน
ก. ค่าดอง
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมากเอก
ง. ขันหมากโท
28. ประเพณีชักพระหรือลากพระมักนิยมจัดในภูมิภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. ภาคกลาง
ง. ภาคใต้
29. ประเพณีอุ้มน้ำดำพระเป็นของจังหวัดใด
ก. ตาก
ข. เพชรบูรณ์
ค. ปัตตานี
ง. นครศรีธรรมราช
30. ประเพณีท้องถิ่นต่อไปนี้ข้อใดต่างจากกลุ่ม
ก. สู่ข้าวขวัญ
ข. ก่อพระเจดีย์ทราย
ค. ทอดกฐิน
ง. บุญเบิกฟ้า