ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สถานธนานุบาลของกรมปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดสอบพนักงาน 20 อัตรา รับสมัคร 18 - 1 มิถุนายน 2558
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สถานธนานุบาลของกรมปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดสอบพนักงาน 20 อัตรา รับสมัคร 18 - 1 มิถุนายน 2558

แชร์กระทู้นี้

รายละเอียด
สถานธนานุบาลของกรมปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดสอบพนักงาน 20 อัตรา รับสมัคร 18 - 1 มิถุนายน 2558 

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการจัดการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานบัญชี ประจำปี 2558

http://korpor.udon-job.com/wp-content/uploads/2015/05/job.png

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครสอบดังนี้
1.พนักงานบัญชีสถานธนานุบลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.พนักงานบัญชีประจำ จ.ส.ท.

อัตราค่าจ้าง 9,210 บาท หรือตามที่ สำนักงาน จ.ส.ท. กำหนด

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาบัญชี ที่ ก.พ. รับรอง โดยจะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาภายในวันปิดรับสมัครสอบ

วัน เวลา และสถานที่สมัครสอบ
สมัครทาง Website http://lgp.job.thai.com/ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 - 1 มิถุนายน 2558 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ

รายละเอียดเพิ่มเติม


จำหน่ายหนังสือแนวข้อสอบสถานธนานุบาลของกรมปกครองส่วนท้องถิ่น

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความสามารถทางด้านเหตุผล
- แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
- แนวข้อสอบความรู้การเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประชาคมอาเซียน
- แนวข้อสอบหลักการบัญชีเบื้องต้น
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505
สรุป + แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกา บ้านเมืองที่ดี 2546 
- สรุป + แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
- แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบกฎกมายท้องถิ่น

สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 399-

ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 กฎหมายท้องถิ่น  ราคา 679 บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
 
 สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี 
decho  ออมทรัพย์ 

โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com

decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบ ระเบียบมหาดไทยว่าด้วยการงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1. ระเบียบฉบับนี้ให้ยกเลิกระเบียบฉบับใด
ก. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
ข. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณของเทศบาล พ.ศ. 2528
ค. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณของสุขาภิบาล พ.ศ. 2531
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
  2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณของเทศบาล พ.ศ. 2528
3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณของสุขาภิบาล พ.ศ. 2531
4. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณของเมืองพัทยา พ.ศ. 2531
5. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538
2. ผู้รักษาตามระเบียบฉบับนี้คืออะไร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  ข้อ 4 ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา ยกเว้นการปฏิบัติการตามระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ปลัดกระทรวงมหาดไทย อาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคแรกให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้
3. คณะผู้บริหารท้องถิ่น หมายความว่า
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. คณะเทศมนตรี
ค. ประธานกรรมการสุขาภิบาล ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
“คณะผู้บริหารส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารงานส่วนจังหวัด คณะเทศมนตรี ประธานกรรมการสุขาภิบาล ปลัดเมืองพัทยา และคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
4. เจ้าหน้าที่งบประมาณ หมายความว่า
ก. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข. ปลัดเทศบาล, ปลัดสุขาภิบาล
ค. หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา, ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
“เจ้าหน้าที่งบประมาณ” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาลปลัดสุขาภิบาล หัวหน้าปลัดเมืองพัทยา และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่งบประมาณ
ก. เรียกให้หน่วยงานต่างๆ เสนองบประมาณรายรับและรายจ่ายตามแบบและหลักเกณฑ์พร้อมด้วยรายละเอียดที่กำหนดตามระเบียบ ข้อบังคับ  คำสั่งหรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยด้วยรายละเอียดที่กำหนดตามระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย
ข. วิเคราะห์งบประมาณ และการจ่ายเงินของหน่วยงานต่างๆ
ค. สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสาร งบประมาณและรวบรวมเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 8 ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณมีอำนาจหน้าที่จัดทำงบประมาณกับปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานงบประมาณ ดังต่อไปนี้
1. เรียกให้หน่วยงานต่างๆ เสนอประมาณรายรับ และรายจ่ายตามแบบ และหลักเกณฑ์พร้อมด้วยรายละเอียดที่กำหนดไว้ตามระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย
  2. วิเคราะห์งบประมาณ และการจ่ายเงินของหน่วยงานต่างๆ
3. สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสาร งบประมาณและรวบรวมเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี
6. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาจทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด
ก. กระทรวงมหาดไทย
ข. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. สภาท้องถิ่น
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ ค. สภาท้องถิ่น
ข้อ 11 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น
7. เงินงบประมาณประเภทใดที่อาจต้องจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้
ก. งบประมาณรายจ่ายทั่วไปกับงบประมาณกลาง
ข. งบประมาณเพิ่มเติมกับงบประมาณเฉพาะการ
ค. งบประมาณเฉพาะการรับงบประมาณรายจ่ายทั่วไป
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค. งบประมาณเฉพาะการรับงบประมาณรายจ่ายทั่วไป
  ข้อ 12 งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ อาจต้องจ่ายช่วยเหลือระหว่างกันได้
8. รายจ่ายตามแผนจำแนกเป็นสองลักษณะลักษณะที่ 1 เป็นลักษณะรายจ่ายประจำ อยากทราบว่ารายจ่ายลักษณะที่สองคือรายจ่ายเพื่อการลงทุนประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. หมวดค่าครุภัณฑ์ ข. ค่าที่ดิน
ค. ค่าสิ่งก่อสร้าง ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 14 รายจ่ายตามแผนจำแนกเป็นสองลักษณะ คือ
1. รายจ่ายประจำ ประกอบด้วย
ก. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
  ข. หมาดค่าจ้างชั่วคราว
ค. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ
ง. หมวดค่าสาธารณูปโภค
จ. หมวดเงินอุดหนุน
ฉ. หมวดรายจ่ายอื่นๆ
2. รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และก่อสร้างรายละเอียดประเภทรายจ่ายงบกลาง หมวดรายจ่ายต่างๆ และเงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามที่กรมการปกครองกำหนด
9. ประมาณรายนับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยเงินหมวดใดบ้าง
ก. หมวดภาษีอากร  ข. หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต
ค. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 17 ประมาณรายนับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยรายได้ที่จำแนกเป็น
1. หมวดภาษีอากร
2. หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต
3. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน
4. หมวดรายได้จากสาธารณูปโภค และกิจการพาณิชย์
5. หมวดเงินอุดหนุน
6. หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด
10. รายละเอียดประเภทรายได้ และรายจ่ายตามงบประมาณ เฉพาะการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่หน่วยงานใดกำหนด
ก. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ข. กรมการปกครอง
ค. สภาท้องถิ่น ง. กระทรวงมหาดไทย
ตอบ ข.
ข้อ 18 รายละเอียดประเภทรายได้ และรายจ่ายตามงบประมาณ เฉพาะการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กรมการปกครองกำหนด
11. การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ต่อเมื่อ
ก. งบประมาณรายจ่ายประจำปีได้รับอนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย
ข. มีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่
ค. ถูกทั้ง ก และ ข
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค. ถูกทั้ง ก และ ข
ข้อ 21  การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จะกระทำได้ต่อเมื่องบประมาณรายจ่ายประจำปีได้รับอนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย หรือมีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ ทั้งนี้ต้องแสดงให้ปรากฏในลบประมาณรายจ่ายดังกล่าวด้วยว่า จะจ่ายเงินรายได้ที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ หรือจากเงินรายได้ที่เกินยอดรวมทั้งสินของประมาณการรับประจำปี
12. เมื่อคณะกรรมการผู้บริหารท้องถิ่น ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปี ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรายจ่าย และจัดทำร่างงบประมาณรายจ่านเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งเพื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่นภายในวันที่เท่าใดของเดือนสิงหาคาม
ก. 15 สิงหาคม ข. 20 สิงหาคม
ค. 25 สิงหาคม ง. 30 สิงหาคม
ตอบ ก. 15 สิงหาคม
ข้อ 22 ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำงบประมาณรายจ่าย และให้หัวหน้าหน่วยงานคลังรวบรวมการเงินสถิติต่างๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ
ข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณทำการพิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไขงบประมาณในขั้นต้น แล้วเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น
เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปีแล้ว ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวม และจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่น ภายใน 15 สิงหาคม
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
สรุปพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ  พ.ศ. 2505

1.       โรงรับจำนำสถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน
-  หนึ่งแสนบาท
2.       คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ ประกอบด้วย
-  ปลัดกระทรวงมหาดไทย  อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมอัยการ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์  และหัวหน้ากองทะเบียนกรมตำรวจ
3.        การประชุมคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำต้องมีกรรมการมาประชุม
-  น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
4.       การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม
- ให้ถือเสียงข้างมาก
5.       กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
-  ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
6.       ตามมาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงรับจำนำ เว้นแต่
-  เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ
7.       ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีโดยยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายใน
-  สามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการไม่อนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
8.       ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำให้ใช้ได้ถึงวันที่
-  วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต
9.       ผู้รับจำนำต้องจัดให้มีป้ายคำว่า
-  โรงรับจำนำ  ตามลักษณะที่เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตกำหนด แสดงไว้ในที่เปิดเผยหน้าโรงรับจำนำ
10.    ในกรณีเทศบาลหรือทางราชการตั้งโรงรับจำนำ เทศบาลหรือทางราชการอาจใช้คำอื่นแทนคำว่า “โรงรับจำนำ” ก็ได้แต่ต้องเป็นคำที่ได้รับความเห็นชอบจาก
-  คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ
11.    ผู้รับจำนำเรียกหรือรับดอกเบี้ยเกินอัตราเงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ร้อยละ
-  2 ต่อเดือน
12.    การคิดดอกเบี้ยสำหรับกรณีที่ไม่ครบเดือน ถ้าไม่เกินสิบห้าวัน ให้คิดเป็นครึ่งเดือน ถ้าเกินสิบห้าวัน
-  ให้คิดเป็นหนึ่งเดือน เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง
13.    ห้ามมิให้ผู้รับจำนำกระทำการรับจำนำหรือให้ไถ่ทรัพย์จำนำในระหว่างเวลาตั้งแต่
-  18.00 น – 8.00 น.
14.    ในกรณีที่ผู้จำนำไม่ต้องมีบัตรประชาชนตามกฎหมาย
-  ให้จดแจ้งรายการเกี่ยวกับเอกสารแสดงชื่อที่อยู่ของผู้จำนำแทนบัตรประชาชน
15.    ผู้รับจำนำทำบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลา ยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต  
-  สี่เดือน
16.    ผู้รับจำนำมิได้ขอไถ่ภายในกำหนดเวลา
-  สามสิบวันนับแต่วันประกาศ
17.    ให้ผู้รับจำนำทำบัญชีงบเดือนยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในระยะเวลา
-  ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนปฏิทิน
18.    คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำมีกำหนดไม่เกิน
-  สามเดือน
19.    ผู้รับจำนำมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำโดยยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายใน
-  ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
20.     ผู้รับจำนำผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการรับจำนำก็ให้กระทำได้จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตทราบก่อนเลิกกิจการโรงรับจำนำไม่น้อยกว่า
-  เจ็ดวัน
21.    ในกรณีไม่มีผู้ขอเป็นผู้รับจำนำแทนผู้รับจำนำที่ตายจนล่วงเลยกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับจำนำตาย หรือมีผู้ขอเป็นผู้รับจำนำแทน แต่ไม่ได้รับอนุญาต
- ให้เลิกกิจการโรงรับจำนำ และให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตเข้าควบคุมโรงรับจำนำ
22.    ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 31 ต้องระวางโทษ
-  ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
23.    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
-  จอมพล ส. ธนะรัชต์
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้