ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประวัติ ความเป็นมา " ตำรวจเกณฑ์ "
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประวัติ ความเป็นมา " ตำรวจเกณฑ์ "

แชร์กระทู้นี้

ประวัติ ความเป็นมา " ตำรวจเกณฑ์ "

อีกไม่กี่เดือน เราก็จะมี "ตำรวจเกณฑ์" (อีกครั้ง) แล้ว
ใช่ครับ ... ผมใช้คำว่า อีกครั้ง หมายถึง ตำรวจเกณฑ์ หรือชื่อทางการเรียกว่า ตำรวจกองประจำการ นั้น
เคยมีขึ้นแล้วในแผ่นดินประเทศไทย ซึ่งจะย้อนกลับไปก็ประมาณ 110 ปีพอดิบพอดี

ตำรวจเกณฑ์ไม่ใช่เรื่องใหม่นะครับ แต่เคยมีมาแล้วในอดีต
ดังนั้นแล้วเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรามาย้อนเวลาศึกษาประวัติศาสตร์และประวัติความเป็นมาของตำรวจกันครับ

เบื้องต้นผมได้สืบค้นข้อมูล และรวบรวม สรุปมาเพื่อความเข้าใจง่ายๆ 
และต้องขอขอบคุณท่านเจ้าของข้อมูลทุกๆท่าน ผมจะใส่อ้างอิงที่มาของข้อมูลไว้ให้นะครับ


เริ่มกันเลย ...


บริเวณโรงพักพลตระเวนบางรักเดิม ภาพโดย "เทาชมพู"


กิจการตำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2403 ถึง พ.ศ. 2475 เป็นสมัยที่ได้มีการปฏิรูปการปกครองประเทศไทยอย่างขนาดใหญ่ในทุกๆ ด้าน ตามแบบอย่างอารยประเทศตะวันตก

ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อผลิตนายตำรวจให้ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดรับราชการในกรมตำรวจภูธร




กำลังพลในระยะแรกใช้ตำรวจ แต่ต่อมาเมื่อทางทหารได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทางตำรวจภูธรก็ได้ขออนุมัติใช้กฎหมายฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้เกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อได้จัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแล้ว ก็ได้พยายามขยายการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ เพื่อให้มีกำลังตำรวจสำหรับป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย อำนวยความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ประชาชาชน

ต่อมาได้ขยายกิจการตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น



.......

สอดคล้องกับ บทความ "ความเป็นมาของตำรวจล้านนา"
โดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง chiangmainews

ยุคที่สอง ตำรวจมาจากการเกณฑ์แบบทหาร
พ.ร.บ. การเกณฑ์แบบทหารเริ่มปี พ.ศ.2448 โดยเกณฑ์ทหารและเกณฑ์ตำรวจไปพร้อม ๆ กัน เมื่อครบ 2 ปี ก็ปลดประจำการส่วนผู้ที่มีความรู้ก็จะรับไว้บ้างบางส่วน และเลือกบางคนมาเป็นตำรวจ
ยุคที่สาม คือ ทางราชการเปิดรับสมัครโดยกำหนดคุณวุฒิ
ยุคที่สี่ คือ ตำรวจมาจากโรงเรียนที่ผลิตตำรวจ คือ โรงเรียนนายร้อยตำรวจและโรงเรียนตำรวจ


.......

ตำรวจเกณฑ์ - พลตระเวน - หัวแดงแข้งดำ


การฝึกแถวของตำรวจสมัยรัชกาลที่ 5    ตำรวจพันแข้งสีดำ  แต่เท้าเปล่า ภาพโดย "เทาชมพู"

คำคำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจของเราสมัยก่อนนั่นน่ะครับซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยเหตุที่เรียกด้วยคำคำนี้เพราะในสมัยนั้นตำรวจที่เรียกว่า “พลตระเวน” ซึ่งต่อมาก็คือตำรวจนครบาล ใช้ผ้าพันแข้งสีดำและสวมหมวกสีดำ ตรงกลางหมวกมีจุกสีแดง ชาวบ้านจึงมักเรียกกันว่าพวกหงอนแดงแข้งดำ แล้วเลือนเป็นหัวแดงแข้งดำ

พลตระเวนนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์ทรงพระราชดำริจัดตั้งกองตำรวจเช่นเดียวกับเมืองสิงคโปร์



ประกาศ เรื่องให้รวมการเรียกคนรับราชการตำรวจภูธร พลตระเวน พลชาววัง เข้าในพระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร (ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 3 มกราคม 127 เล่ม 25 หน้า 1182)

ต่อมาถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้โปรดฯให้ตั้งกรมกองตระเวนขึ้น มีตราหน้าหมวกติดหน้าหมวกเป็นโลหะสีเงินรูปกลีบบัวหงาย มีรูปช้างสามเศียรอยู่ตรงกลาง ขอบมีอักษรไทยว่ากรมกองตระเวน ส่วนผ้าพันแข้งและหมวกของพลตระเวนก็ยังเป็นหงอนแดงแข้งดำ ไม่สวมรองเท้าอยู่อย่างเดิม เว้นแต่เลิกจ้างแขกมาเป็นพลตระเวนเปลี่ยนเกณฑ์พลเมืองตามพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารสมัยนั้น เมื่อโปรดเกล้าฯ ตั้งกรมกองตระเวนขึ้นแล้วก็โปรดฯให้ตั้งโรงพักพลตระเวน มีนายหมวดพลตระเวนเป็นหัวหน้า

พลตระเวนมีหน้าที่ดังนี้คือในเวลากลางวันอยู่ประจำถนนที่เป็นทางแยกซึ่งมีม้า มีรถม้า รถลาก ราษฎรเดินไปมามาก อยู่ประจำตรอก ประจำสถานที่ต่างๆที่มีผู้คนโคจรอยู่เสมอ จับโจรผู้ร้ายระงับการวิวาท ดับเพลิง ฯลฯ สุดแท้แต่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามถนนหนทางบ้านเรือนในกรุงเทพฯ แล้วยังมีการลาดตระเวนรักษาท้องที่ลำน้ำ โดยใช้เรือสำปั้นเป็นพาหนะ เวลากลางวันมีพลตระเวนลงเรือลำละ 3-4 คนพายเลียบไปตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง เพราะสมัยก่อนยังใช้แม่น้ำลำคลองสัญจรไปมา โรงเรือนแพต่างๆมักอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง จึงมีตลาดท้องน้ำ มีแพบ่อน มีโรงงิ้วโรงเล่นประจำ ตลาดท้องน้ำเหล่านั้นในเวลากลางคืนเรือลาดตระเวนจึงต้องเพิ่มพลตระเวนเป็น 6-8 คน นอกจากหน้าที่ลาดตระเวนรักษาความสงบเรียบร้อย หน้าที่สำคัญของพลตระเวนก็คือจับกุมผู้กระทำผิดต่างๆ เมื่อให้พลตระเวนมีอำนาจกรมกองตระเวนจึงบัญญัติข้อห้ามต่างๆ ให้พลตระเวนเป็นโปลิศหรือตำรวจที่ดี เป็นที่พึ่งของราษฎรได้



ภาพวาดพลตระเวน เรียกว่าพวก "หงอนแดง แข้งดำ" ภาพโดย "เทาชมพู"

สำหรับข้อห้ามต่างๆ ว่าพลตระเวนหรือ “หัวแดงแข้งดำ” นั้นจะต้องนำไปสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้การทำหน้าที่บริการพี่น้องประชาชนเป็นไปอย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุดว่ามีอะไรบ้างซึ่งข้อห้ามเหล่านั้นเท่าที่สืบค้นพบจะมีดังนี้ครับ

ห้ามรับสินบน ถ้าพลตระเวนคนใดรับสินบนให้ไล่ออกเสียจากกรมกองตระเวนทันที

ห้ามใช้กระบองตีจำเลยในกรณีจำเลยไม่ต่อสู้และยอมให้จับโดยดี และถึงแม้ว่าจำเลยจะด่าว่าหยาบคายต่อพลตระเวน พลตระเวนที่ดีก็ไม่ควรใช้กระบองตีจำเลย เพราะจำเลยก็มีความผิดทางอาญาอยู่แล้ว

ห้ามลั่นกุญแจมือจำเลยที่เป็นหญิง คนชรา และคนพิการ

ห้ามไม่ให้ไถลเชือนแชหรือไปคุยกับราษฎรเวลาอยู่ยาม

ห้ามเดินก้มหน้าหรือหลังค่อมอันจะทำให้เสียความสง่าผึ่งผายของพลตระเวนไป

ห้ามเอาชื่อของผู้แจ้งเหตุ (ผู้กล่าวหาหรือเจ้าทุกข์) และเรื่องที่แจ้งเหตุไปบอกหรือพูดกับผู้หนึ่งผู้ใด ตลอดจนบอกแก่พวกหนังสือพิมพ์และบอกทนายความเป็นอันขาด เพราะหนังสือพิมพถ้ารู้เรื่องก็ย่อมจะตีพิมพ์เรื่องราวเป็นที่เอิกเกริกทำให้คนร้ายรู้ตัวหนีไป ส่วนพวกทนายความรู้ก็จะทำให้เป็นผู้ได้เปรียบในทางคดี

ห้ามไม่ให้พลตระเวนและภริยากู้ยืมเงินคิดดอกเบี้ยซึ่งกันและกันเป็นอันขาด ถ้าห้ามไม่ฟังให้ไล่ออกเสียจากกรมกองตระเวน ซึ่งข้อห้ามสุดท้ายนี้ชอบกลอยู่แต่ก็เป็นเรื่องราวในสมัยนั้นน่ะครับ สมัยนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ


......

ข้ามมาที่ ...

วันที่ 30 ตุลาคม 57  (ครม.เห็นชอบร่างหลักการ 'ตำรวจเกณฑ์'ทดแทนกำลังพลขาดแคลน)
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง ผบ.ตร.ได้เปิดเผยว่า ด้วยจากที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้ประสบปัญหาขาดแคลนกำลังพลไม่สมดุลกับภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบในปัจุปันอีกทั้งสถานการณ์ด้านอาชญากรรมและความมั่นคงของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ทาง ตร.จึงได้คิดหาแนวทางในการแก้ไขในปัญหาดังกล่าวโดยเห็นว่า "เรื่องตำรวจ กองประจำการ" เป็นแนวทางการสรรหากำลังพลที่เคยได้ดำเดินการมาแล้วในอดีตในลักษณะเดียวกับการคัดตรวจเลือกบุคคลเข้าทหารกองประจำการตรม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจุบัน ทาง ตร.จึงได้ขอเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติหลักการร่างเป็น พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ(ตำรวจกองประจำการ)ต่อ ครม.เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

โดยให้ตำรวจกองประจำการที่ทาง ตร.จะนำมาทดแทนกำลังพลที่ขาดแคลน และใช้ปฏิบัติภารกิจที่มีความเหมาะสมเพื่อจะให้ข้าราชการตำรวจที่ผ่านการอบรมด้านการปราบปราม สืบสวนสอบสวนได้ไปปฏิบัติหน้าที่หลักของตำรวจเต็มประสิทธิภาพทั้งสามารถประหยัดงบประมาณในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับการบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการตำรวจ เพราะตำรวจกองประจำการจะมีค่าใช้จ่ายคงที่ทุกปีสามารถประเมินและบริหารงบประมาณได้อย่างชัดเจน ส่วนการบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการตำรวจนั้นต้องมีการปรับอัตราเงินเดือนการเลื่อนขึ้นเงินเดือนสิทธิกำลังพลต่างๆ ที่จะต้องจ่ายไปจนกว่าจะเกษียณอายุราชการประโยชน์ทางอ้อมก็จะเป็นการพัฒนาคุณภาพประชาชนที่ผ่านการฝึกอบรมและส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและหากเมื่อปลดประจำการบุคคลกลุ่มนี้ก็จะเป็นแนวร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในชุมชนและสังคมต่อไป

พล.ต.อ.สมยศ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ผลการประชุม ครม.นัดล่าสุด(28 ต.ค.)นั้นได้มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีตำรวจกองประจำการโดยได้มีข้อสังเกตในเรื่องดังกล่าวแล้วให้ทาง ตร.พิจารณาเพิ่มเติมในรายละเอียดพร้อมทั้งกำชับไม่ให้มีผลผูกพันกับกระทรวงกลาโหมรวมทั้งเรื่องโครงสร้าง อัตรากำลัง ภาระงบประมาณหลักเกณฑ์การเลื่อนชั้นยศและการพัฒนาบุคลากร

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมานี้ผลการประชุมของอนุกรรมการข้าราชการตำรวจ(อนุ ก.ตร.)พัฒนาทรัพยากรบุคล ครั้งที่ 9/2557 ที่มี พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร.เป็นประธานฯ ก็ได้มีมติให้รับดำเนินการตามขั้นตามข้อสังเกตของ ครม.เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมให้ ตร.ในการดำเนินการต่อไป


สตช.เตรียมคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นตำรวจเกณฑ์
Thai PBS News
จากปัญหาการขาดแคลนกำลังพลเพื่อปฏิบัติภาร­กิจ ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเตรียมคัดเลือก­บุคคลชายทั่วไปเข้าเป็นตำรวจกองประจำการ หรือตำรวจเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนงานด้านการป้องปรามอาชญากรรม ซึ่งจะมีระเบียบคล้ายกับการคัดเลือกทหารกอ­งประจำการ หรือทหารเกณฑ์

สตช.เตรียมใช้ 'ตำรวจเกณฑ์' แก้ปัญหาขาดแคลนกำลังพล โดยใช้วิธีเดียวกับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งจะเริ่มใน เดือนพฤษภาคม ปี 2558 

"ตำรวจเกณฑ์"  โดยชายไทยที่มีอายุ ครบ 20 ปี จะต้องเข้าเกณฑ์ทหาร ซึ่งมี 3 เหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ก็จะเพิ่ม ตำรวจ เข้าไป 

"ตำรวจเกณฑ์" เมื่อครบ 2 ปี ก็จะปลดประจำการ แต่ถ้าระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ มีผลงานดี ก็จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนต่อไป 

หลัง ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่าง พรบ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับใหม่ ให้มีตำรวจกองประจำการ เหมือนการเกณฑ์ทหาร เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังพล ในการดูแลทุกข์สุขประชาชน โดยวันนี้จะพาไปดูรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญ ของร่าง พรบ. นี้

จากสถานการณ์ด้านอาชญากรรม และความมั่นคงของประเทศ ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ดูแลความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร ประสบปัญหาขาดแคลนกำลังพลข้าราชการตำรวจ ไม่สมดุลกับภารกิจอันหลากหลาย ร่าง พรบ.ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ จึงกำหนดให้มีตำรวจกองประจำการ ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ได้รับคัดเลือก ตลอดจนการยกเว้นและปลด ในลักษณะเดียวกันกับ ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำความตกลงกับกระทรวงกลาโหม 

โดย พล.ต.ท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ขั้นตอนการคัดเลือก ตำรวจประจำการหรือตำรวจเกณฑ์ จะใช้วิธีเดียวกับการเกณฑ์ทหาร โดยจากเดิม ชายไทยที่มีอายุ ครบ 20 ปี จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งมี 3 เหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ก็จะเพิ่มตำรวจ เข้าไป โดย จะเริ่มในเดือน พ.ค ปี 58 เบื้องต้นต้องการกำลังพล 5 พัน ถึง หมื่นนาย ขึ้นอยู่กับงบประมาณ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทน 9 พันบาท ต่อเดือน  2 ปี ปลดประจำการ และจะมีโควต้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน โดยดูจากการปฎิบัติงานและพฤติกรรมในการเป็นตำรวจกองประจำการ 

สำหรับภารกิจ ของตำรวจกองประจำการ จะใช้ในภารกิจที่ต้องใช้กำลังพลเป็นจำนวนมาก เช่น การควบคุมดูแลการชุมนุม หรือดูแลความปลอดภัยงานเทศกาลต่างๆ โดยจะให้ประจำอยู่ที่ศูนย์ฝึก เช่น ตชด. หรือ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ทั้งนี้ปัจจุบันสัดส่วนการดูแลประชาชนของตำรวจไทย 1 ต่อ 600  ขณะที่ประเทศตะวันตก 1 ต่อ 200 


....

ล่าสุด ( 20 มีนาคม 2558)
มีหนังสือบันทึกข้อควา่ม "สำรวจข้อมูลสถานภาพของหน่วยฝึกอบรม" เพื่อเตรียมดำเนินการใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม "ตำรวจเกณฑ์"





สรุป

เหตุผลความจำเป็นของ ตำรวจเกณฑ์ คือ
1. ตำรวจ มีภารกิจด้านถวายความปลอดภัยฯ (ถปภ.) , งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม , การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน , งานด้านความมั่นคงและการให้บริการประชาชน
2. ลักษณะงานบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรบด้านการสืบสวนสอบสวนป้องกันปราบปรามโดยตรง
3. ปัจจุบันมีปัญหาการขาดแคลนกำลังพล และกำลังพลที่มีอายุสูงขึ้น

สำหรับชายไทย ที่จะต้องเกณฑ์ทหารในปีนี้ เดิมมีเหล่าทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ
สำหรับในปีนี้ จะมี "ตำรวจ" เพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งเหล่าครับ
โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทน 9 พันบาท ต่อเดือน  2 ปี ปลดประจำการ และจะมีโควต้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน โดยดูจากการปฎิบัติงานและพฤติกรรมในการเป็นตำรวจกองประจำการ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้