ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบวิศวกรเหมืองแร่
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบวิศวกรเหมืองแร่

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

 

  1. ข้อใดคือความหมายของแร่  ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

ก. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุมีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอน

ข. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอินทรียวัตถุมีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอน

ค. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุมีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์ที่ไม่แน่นอน

ง. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอินทรียวัตถุมีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์ที่ไม่แน่นอน

ตอบ   ก. ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุมีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอน

*"แร่หมายความว่า ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ไม่ว่าจะต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จาก           โลหกรรม

  1. ข้อใดคือความหมายของ น้ำเกลือใต้ดิน ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

ก. น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติและมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณน้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง

ข. น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติและมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง

ค. น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติและมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณเท่ากับที่กำหนดในกฎกระทรวง

ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ  ข. น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติและมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง

*"น้ำเกลือใต้ดินหมายความว่า น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติและมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

 

  1. การเจาะหรือขุด หรือกระทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี เพื่อให้รู้ว่าในพื้นที่มีแร่อยู่หรือไม่เพียงใด   คือความหมายของอะไร

ก. ทำเหมือง                                                                      ค. สำรวจแร่                                                         

ข. ร่อนแร่                                                                           ง. แต่งแร่

ตอบ  ค. สำรวจแร่

  1. ข้อใดคือความหมายของการ “ทำเหมือง” ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

ก. การกระทำแก่พื้นที่เฉพาะที่เป็นบกเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี

ข. การกระทำแก่พื้นที่เฉพาะที่เป็นน้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี

ค. การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี

ง. การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำเกลือใต้ดิน

ตอบ  ค. การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี

*"ทำเหมืองหมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี แต่ไม่รวมถึงการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตามหมวด ๕ ทวิ และการขุดหาแร่รายย่อยหรือการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  1. การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ คือความหมายของอะไร

ก. ทำเหมือง                                                                      ค. ขุดหาแร่รายย่อย            

ข. ร่อนแร่                                            ง. ถูกทั้ง  ข และ ค

ตอบ  ง. ถูกทั้ง  ข และ ค

"ขุดหาแร่รายย่อยหมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายในท้องที่และวิธีการขุดหาแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

“ร่อนแร่” หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายในท้องที่และวิธีการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

  1. ข้อใดคือความหมายของ  “แต่งแร่” ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

ก. การกระทำอย่างใดๆ เพื่อทำแร่ให้สะอาด

ข. การกระทำอย่างใดๆ เพื่อให้แร่ที่ปนกันอยู่ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปแยกออกจากกัน

ค. การบดแร่ หรือคัดขนาดแร่

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

"แต่งแร่หมายความว่า การกระทำอย่างใด ๆ เพื่อทำแร่ให้สะอาด หรือเพื่อให้แร่ที่ปนกันอยู่ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปแยกออกจากกันและหมายความรวมตลอดถึงบดแร่ หรือคัดขนาดแร่

  1. "ซื้อแร่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หมายความว่าอย่างไร

ก. การโอนแร่ด้วยประการใดไปยังบุคคลอื่น

ข. การรับโอนแร่ด้วยประการใดจากบุคคลอื่นนอกจากการตกทอดทางมรดก

ค. การซื้อแร่ การมีไว้ การยึดถือ หรือการรับไว้ด้วยประการใดซึ่งแร่ ทั้งนี้ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ  ข. การรับโอนแร่ด้วยประการใดจากบุคคลอื่นนอกจากการตกทอดทางมรดก

  1. "ขายแร่ " ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หมายความว่าอย่างไร

ก. การโอนแร่ด้วยประการใดไปยังบุคคลอื่น

ข. การรับโอนแร่ด้วยประการใดจากบุคคลอื่นนอกจากการตกทอดทางมรดก

ค. การซื้อแร่ การมีไว้ การยึดถือ หรือการรับไว้ด้วยประการใดซึ่งแร่ ทั้งนี้ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ   ก. การโอนแร่ด้วยประการใดไปยังบุคคลอื่น

  1. ข้อใด คือความหมาย ของ “โลหกรรม” ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

ก. การถลุงแร่                                                                    ค.  การทำโลหะให้บริสุทธิ์

ข. การทำแร่ให้เป็นโลหะ                                               ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

"โลหกรรมหมายความว่า การถลุงแร่หรือการทำแร่ให้เป็นโลหะด้วยวิธีอื่นใดและหมายความรวมตลอดถึงการทำโลหะให้บริสุทธิ์ การผสมโลหะ การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ โดยวิธีหลอม หล่อ รีด หรือวิธีอื่นใด

 

  1. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อสำรวจแร่ภายในท้องที่ซึ่งระบุในหนังสือสำคัญนั้น  คือ

ก. อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่                     ค. ประทานบัตรชั่วคราว

ข. อาชญาบัตรพิเศษ                                        ง. อาชญาบัตรสำรวจแร่

ตอบ  ง. อาชญาบัตรสำรวจแร่

  1. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อผูกขาดสำรวจแร่ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น คือ

ก. อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่                     ค. ประทานบัตรชั่วคราว

ข. อาชญาบัตรพิเศษ                                        ง. อาชญาบัตรสำรวจแร่

ตอบ ก. อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่            

  1. หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อผูกขาดสำรวจแร่เป็นกรณีพิเศษภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น คือ

ก. อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่                     ค. ประทานบัตรชั่วคราว

ข. อาชญาบัตรพิเศษ                                        ง. อาชญาบัตรสำรวจแร่

ตอบ  ข. อาชญาบัตรพิเศษ


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบวิศวกรเหมืองแร่ 

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

ความรู้เกี่ยวกับกระทรวงอุตสาหกรรม

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

รวมกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่

การจัดการและบริหารทรัพยากรแร่

การบริหารจัดการทรัพยากรธรณี และทรัพยากรเหมืองแร่

ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมเหมืองแร่

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

หนังสือ +MP3 
พระราชบัญญัติแร่ ราคา  679  บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่   decho.by@hotmail.com

รูปภาพ: วิศวกรเหมืองแร่ (Large).jpg
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ถาม – ตอบ
ความรู้พื้นฐานวิศวกรเหมืองแร่
1.   จงอธิบายการกำหนดแหล่งแร่ ให้ละเอียด
    ตอบ    การกำหนดแหล่งแร่โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจในภาพกว้างๆ เช่น ข้อมูลจากแผนที่ธรณีวิทยาที่ได้จากการแปรความหมายภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลการสำรวจธรณีฟิสิกส์บนผิวดินที่ได้จากการสำรวจธรณีฟิสิกส์แบบแรงโน้มถ่วง (Gravity Survey) การสำรวจธรณีฟิสิกส์แบบคลื่นแม่เหล็ก (Magnetic Survey)และการสำรวจธรณีฟิสิกส์แบบคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic Survey) หรือข้อมูลจากการสำรวจธรณีเคมี ซึ่งสามารถทำให้กำหนดพื้นที่ที่เชื่อได้ว่ามีสายแร่วางตัวอยู่ โดยที่ขอบเขตของแหล่งแร่ยังเป็นอาณาบริเวณกว้าง หรือยังไม่ทราบขอบเขตที่แน่นอน ดังนั้นการดำเนินการเพื่อที่จะหาขอบเขตที่แน่นอนในเชิงความลึกและในแนวบริเวณจึงจำเป็นต้องมีการเจาะสำรวจเพิ่มเติม
2.   การเจาะสำรวจสามารถแบ่งได้เป็นกี่ขั้นตอน และให้อธิบายวิธีการเจาะอย่างละเอียด
    ตอบ    การเจาะสำรวจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
     ขั้นตอนที่ 1 เป็นการเจาะสำรวจแบบสุ่ม โดยเป็นการสุ่มเจาะเก็บตัวอย่างเพื่อกำหนดพื้นที่แหล่งแร่ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยที่การสุ่มเจาะอาศัยข้อมูลจากการสำรวจธรณีวิทยาที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและโครงสร้างของชั้นหิน เพื่อให้ได้ข้อมูลจากหลุมเจาะมากที่สุด
     ขั้นตอนที่ 2 เป็นการเจาะอย่างละเอียด เป็นการเจาะเก็บตัวอย่างเพื่อหาข้อมูลของแหล่งแร่ในอาณาบริเวณขอบเขตที่กำหนดจากการเจาะสำรวจแบบสุ่ม ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปคำนวณหาปริมาณและความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ได้
     การเจาะสำรวจสามารถกระทำได้ 3 วิธี คือ การเจาะสำรวจแบบหัวเพชร (Diamond Drilling) การเจาะสำรวจแบบหมุน (Auger หรือ Roller – Bit Rotary) และการเจาะแบบกระแทก (Percussion)
     1) การเจาะสำรวจแบบหัวเพชร (Diamond Drilling) เป็นการเจาะสำรวจที่เหมาะสำหรับหินที่มีความแข็งมากและการเจาะที่ระดับความลึกปานกลางถึงลึกมาก โดยตัวอย่างที่ได้จะเป็นแท่งตัวอย่าง (Core) ซึ่งยังคงรักษาสภาพดั้งเดิมทั้งลักษณะทางกายภาพของชั้นหินและโครงสร้างของชั้นหินมากที่สุด ประโยชน์ของแท่งตัวอย่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถนำแท่งตัวอย่างไปทดสอบด้านกลศาสตร์หินได้ การเจาะแบบนี้ชั้นหินจะถูกเจาะโดยหัวเจาะที่มีเพชรหรือทังสเตนคาร์ไบน์ติดอยู่ เศษชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ถูกกัดโดยหัวเจาะจะถูกนำพาขึ้นมาบนผิวดินโดยน้ำ อากาศ หรือน้ำโคลน ขณะที่แท่งตัวอย่างจะถูกเก็บไว้ในแท่งเก็บ ตัวอย่าง (Core Barrel) ที่ต่อจากหัวเจาะ และเมื่อตัวอย่างเต็มแท่งเก็บตัวอย่างแล้ว แท่งเก็บตัวอย่างจะถูกชักขึ้นมาโดยไม่มีการถอนก้านเจาะออกมาจากหลุม การเจาะสำรวจแบบนี้สามารถเจาะได้ถึงระดับลึกมาก
     2) การเจาะแบบหมุน (Rotary Drilling) การเจาะสำรวจแบบนี้ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการแท่งตัวอย่าง (Core) โดยชั้นหินที่เจาะผ่านจะถูกกัดออกมาเป็นเศษตัวอย่าง (Cutting) และถูกนำพาขึ้นมายังปากหลุมเจาะผ่านก้านเจาะโดยน้ำโคลน เนื่องจากชั้นหินจะถูกกัดออกมาเป็นชิ้นๆ เศษตัวอย่างที่ได้จะให้ข้อมูลชนิดหินโครงสร้างของชั้นหินและความต่อเนื่องของชั้นหินได้ไม่ดีเท่าแท่งตัวอย่าง การเจาะแบบนี้นิยมใช้กับหลุมที่ไม่ลึกมากนักและชั้นหินมีความแข็งอยู่ในระดับปานกลาง หรือใช้ในกรณีที่ต้องการเจาะผ่านชั้นหินที่รองรับอยู่ชั้นบนของแหล่งแร่ (Overburden)
     3) การเจาะแบบกระแทก (Percussion Drilling) การเจาะสำรวจแบบนี้จะคล้ายกับการเจาะ
สำรวจแบบหมุนคือ ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการแท่งตัวอย่าง โดยที่ชั้นหินที่เจาะผ่านจะถูกกระแทกและเศษ
ตัวอย่างที่หลุดออกมาจากชั้นหินจะถูกนำพาขึ้นมายังปากหลุมเจาะ การเจาะสำรวจแบบนี้มีค่าใช้จ่าย
ค่อนข้างถูก เมื่อเปรียบเทียบกับการเจาะแบบหัวเพชร และสามารถเจาะได้ที่ความลึกไม่มากนัก เศษตัวอย่างให้ข้อมูลชนิดของหิน โครงสร้างและความต่อเนื่องไม่ชัดเจนเท่ากับแท่งตัวอย่าง
     การเลือกวิธีการเจาะสำรวจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจเป็นสำคัญ เช่น ในกรณีที่การเจาะสำรวจเพื่อหาความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ หรือเพื่อต้องการตัวอย่างไปทดสอบด้านกลศาสตร์หินสมควรเจาะสำรวจแบบหัวเพชร ในขณะเดียวกันถ้าวัตถุประสงค์การเจาะสำรวจเพื่อกำหนดขอบเขตของแหล่งแร่ การเจาะสำรวจแบบหมุนหรือแบบกระแทกก็จะเพียงพอ ทั้งนี้ปัจจัยอื่นๆ ที่นำมาพิจารณาประกอบในการเลือกวิธีการเจาะสำรวจด้วยเช่น ความลึกของหลุมเจาะ พื้นที่การเจาะสำรวจและงบประมาณ
3.   ให้อธิบายการเก็บตัวอย่างแร่ที่เหมาะสมสำหรับแหล่งแร่แบบต่างๆ ให้ละเอียด
    ตอบ    การเจาะสำรวจเป็นการเจาะผ่านชั้นหิน ตัวอย่างหินที่ได้เป็นแท่งตัวอย่าง (Core) หรือเศษตัวอย่าง (Cutting) ซึ่งบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงทางด้านธรณีวิทยาในเชิงลึก เช่น การเปลี่ยนแปลงชนิดของชั้นหินโครงสร้างและการวางตัวของชั้นหิน ในกรณีที่การเจาะสำรวจผ่านชั้นแร่ สามารถนำตัวอย่างแร่ไปวิเคราะห์หาปริมาณและความสมบูรณ์แหล่งแร่ได้ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างแร่ที่เหมาะสมสำหรับแหล่งแร่แบบต่างๆ มี ดังนี้
     1) แหล่งแร่ที่อยู่ใกล้ผิวดิน (Surfacial Deposit) ในกรณีที่แหล่งแร่อยู่ใกล้ผิวดิน การเก็บ
ตัวอย่างสามารถทำได้โดยใช้การเจาะสำรวจแบบหมุนหรือแบบกระแทก ซึ่งตัวอย่างที่ได้เป็นเศษแร่ที่เก็บ
จากปากหลุม ในกรณีที่ต้องการข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น การเจาะสำรวจแบบหัวเพชร ซึ่งให้ตัวอย่างที่เป็น
แท่งตัวอย่างจะบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงทางด้านธรณีวิทยาและความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ได้ดีที่สุด
     2) แหล่งแร่ลาน (Alluvial Deposit) การเก็บตัวอย่างสามารถทำได้โดยการขุดเป็นหลุม
(Pitting) หรือขุดเป็นร่อง (Trenching) และเก็บตัวอย่างในหลุมและตามแนวร่องเพื่อวิเคราะห์หาความ
สมบูรณ์ของแหล่งแร่ ในกรณีที่แหล่งแร่อยู่ลึกเกินกว่าที่สามารถขุดเป็นหลุมหรือร่องได้ สามารถใช้การเจาะสำรวจแบบหมุนและแบบกระแทกเพื่อเก็บเศษตัวอย่างได้
     3) แหล่งแร่ที่อยู่ลึกจากผิวดิน (Deep Deposit) การเก็บตัวอย่างจากแหล่งแร่ที่อยู่ลึกจากผิวดินนิยมใช้วิธีการเจาะสำรวจ ซึ่งการเจาะสำรวจอาจจะเริ่มจากการเจาะสำรวจแบบกระแทกและแบบหมุนผ่านชั้นดิน ชั้นหินที่วางตัวอยู่ชั้นบน (Overburden) ของชั้นแร่ และเมื่อถึงชั้นแร่จะใช้การเจาะสำรวจแบบหัวเพชร เพื่อเก็บแท่งตัวอย่างแร่ การเจาะสำรวจแบบหัวเพชร สามารถทำได้ดีที่ความลึกมากๆ
     4) แหล่งแร่ใต้ดินที่มีหน้างานเปิดอยู่แล้ว (Existing Underground Mine) ในกรณีที่บริเวณ
แหล่งแร่มีหน้างานใต้ดินเปิดอยู่แล้ว เช่น อุโมงค์สำรวจ (Prospecting Shaft) อุโมงค์ระบายอากาศ
(Ventilation Shaft) Drift Adit หรือ Cross Cut โดยตัวอย่างจะเก็บตามแนวของหน้างาน เช่น เก็บตัวอย่างเป็นร่อง (Groove หรือ Channel Sample) ตลอดแนวหรือเป็นช่วงๆของอุโมงค์เอียง (Inclined Shaft) การเก็บตัวอย่างแบบสุ่มโดยเลือกเก็บตัวอย่างเป็นจุดๆ (Chip Sample) หรือขุดตัวอย่างจากบริเวณหน้างาน (Grab Sample) โดยที่รูปร่างของตัวอย่างส่วนมากจะเป็นแบบไม่แน่นอน (Irregular Shape) ในบางกรณีอาจมีการเจาะเก็บแท่งตัวอย่าง (Coring) บริเวณหน้างานเพื่อนำ ไปทดสอบด้านกลศาสตร์หิน ซึ่งขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางของแท่งตัวอย่างขึ้นกับชนิดการทดสอบ หรือการเก็บตัวอย่างเป็นจำนวนมาก (Bulk
Sample) เพื่อนำมาทดลองด้านการแต่งแร่
     การเก็บตัวอย่างครอบคลุมพื้นที่แหล่งแร่ทั้งหมดเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะขอบเขตของแหล่งแร่และการเปลี่ยนแปลงของความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ ซึ่งสามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของความสมบูรณ์แร่ในแนวระนาบและแนวดิ่ง (Horizontal and Vertical Variation) ในแต่ละระดับ (Level) และตอน (Section) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ใช้เป็นข้อมูลในการควบคุม หรือออกแบบการขุดทำเหมืองต่อไป
     การกำหนดปริมาณและตำแหน่งของตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของแหล่งแร่ขอบเขตแหล่งแร่ การเข้าถึงพื้นที่ งบประมาณและอื่นๆ เช่น จำนวนของตัวอย่างของแหล่งแร่ที่มีการกระจายตัวที่ต่อเนื่องและมีความสมบูรณ์ที่สม่ำเสมอ จะน้อยกว่าของแหล่งแร่ที่มีการกระจายตัวไม่ต่อเนื่องและมีความสมบูรณ์ของแร่ที่มีความแปรปรวนสูง
4.  บอกเป้าหมายสูงสุดในการกำหนดตำแหน่งหลุมเจาะเก็บตัวอย่าง และให้อธิบายขั้นตอนการสำรวจ
    ตอบ    เป้าหมายสูงสุดในการกำหนดตำแหน่งหลุมเจาะเก็บตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดจากจำนวนหลุมเจาะที่น้อยที่สุด ซึ่งการกำหนดตำแหน่งหลุมเจาะอาศัยข้อมูลด้านธรณีวิทยาแหล่งแร่ เช่นตำแหน่งแหล่งแร่ รูปร่างและการวางตัวของแหล่งแร่ ข้อมูลเศรษฐ์ศาสตร์ และจากข้อมูลบันทึกสถิติที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนการสำรวจแหล่งแร่ โดยทั่วไปแล้วเริ่มต้นจากการกำหนดหลุมเจาะเพียงไม่กี่หลุมที่อยู่ห่างกันเป็นระยะค่อนข้างมาก ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจขั้นต้นจะนำไปใช้ในการวางแผนการเจาะสำรวจในขั้นรายละเอียด หลังจากการตรวจสอบและวิเคราะห์แล้วพบว่า มีความน่าเชื่อถือและชัดเจนเพียงพอสำหรับใช้ในการควบคุมหรือออกแบบการทำเหมือง ถือว่าการสำรวจเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว แต่ถ้าในกรณีที่ข้อมูลจากการสำรวจในรายละเอียดยังมีความขัดแย้งกันอยู่หรือมีความชัดเจนไม่เพียงพอสำหรับการใช้ในการควบคุมหรือการออกแบบการทำเหมือง การเจาะสำรวจขั้นรายละเอียดจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป โดยการเพิ่มจำนวนหลุมเจาะในตำแหน่งข้อมูลมีความแปรปรวนมากที่สุด ซึ่งแบ่งขั้นตอนการเจาะสำรวจเป็น 4 ขั้นตอน
     โดยขั้นตอนที่1 (a) การเจาะสำรวจขั้นต้น (Information Drilling) ซึ่งประกอบด้วยหลุมเจาะจำนวน 5 หลุม เพื่อยืนยันการมีอยู่และการกระจายตัวของแหล่งแร่อย่างคร่าวๆ
     ขั้นตอนที่ 2 (b) เป็นการเจาะสำรวจเพื่อหาขอบเขตของแหล่งแร่ (Outline Drilling) ซึ่ง
ประกอบด้วยหลุมเจาะจำนวน 15 หลุม
     ขั้นตอนที่ 3 (c) เป็นการเจาะสำรวจเก็บตัวอย่างแร่ (Sample Drilling) เป็นการเจาะสำรวจเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ ซึ่งประกอบด้วย หลุมเจาะจำนวน 31 หลุม ตามตำแหน่งของกริดที่มีระยะห่างที่แน่นอน (Regular Grid Spacing) ที่ได้ถูกออกแบบไว้
     ขั้นตอนที่ 4 (d) เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาใช้ประกอบในการกำหนดขอบเขตแหล่งแร่ที่แน่นอน และขอบเขตพื้นที่ทำเหมือง
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้