ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สรุป พ.ร.บ.ส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สรุป พ.ร.บ.ส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521

แชร์กระทู้นี้

นโยบายเยาวชน

ประเทศไทยมีแนวคิดที่จะพัฒนาพลังเยาวชนของชาติ  ตั้งแต่ปี   พ.ศ. 2454  เมื่อรัชกาลที่  6  ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย   ด้วยทรงมีแนวคิดและนโยบายเกี่ยวกับเยาวชนว่า   ?เยาวชนเป็นสมาชิกสำคัญของครอบครัวและสังคมประเทศชาติ   มีความต้องการที่จะสร้างเยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้วยการพัฒนาตนเอง   พัฒนากลุ่มและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น?

 22   พฤศจิกายน  2516  ประกาศใช้นโยบายเยาวชนแห่งชาติฉบับแรก   มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีคุณลักษณะที่ศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย   มีระเบียบวินัย  ยึดมั่นในความสามัคคี  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  มีความซื่อสัตย์สุจริต   มีความคิดริเริ่ม   นิยมและภูมิใจในความเป็นไทย   ตลอดจนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ

 รัฐธรรมนูญ   พ.ศ. 2521 มาตรา  62  ระบุว่า ?รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนแห่งชาติให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  และสติปัญญา  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม   และเพื่อความมั่นคงของรัฐ?   และออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ  พ.ศ. 2521   พร้อมกับประกาศตั้ง   ?สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ?   ให้เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดนโยบาย   ประเมินผล  และส่งเสริมและประสานงานและพัฒนาเยาวชน

นโยบายและแผนพัฒนาเยาวชนระยะยาว   ครอบคลุมการพัฒนาในช่วง  20  ปี  พ.ศ. 2540-2544  มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและเร่งรัดให้ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน   และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชนที่มีต่อสังคม  และเข้าใจกระบวนการพัฒนาเยาวชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2534  มาตรา  69  ระบุว่า  ?รัฐพึงสนับสนุนส่งเสริมพลเมืองของชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก และเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมและจริยธรรม

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชน

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชน   เกิดขึ้นในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6  ที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นปัจจัยในการพัฒนา

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ   ฉบับที่  5-7  (พ.ศ.2525-2539)  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  ?สนองตอบสภาวะความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้วยการขยายการจัดบริการและแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชน   ทั้งนี้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและการจัดบริการทั้งร่างกาย   สติปัญญา  และความสามารถขั้นพื้นฐาน   การเตรียมให้มีอาชีพด้านสังคม   วัฒนธรรม   จริยธรรม   ด้านการเมืองการปกครอง  และได้กำหนดหน้าที่ของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ซึ่งได้แก่ครอบครัว  ชุมชน  สถาบันทางศาสนา  ภาคธุรกิจ  องค์กรเอกชน  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น?

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ  ฉบับที่  8 (พ.ศ. 2540-2544)  มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กและเยาวชนแบบองค์รวม   ดำเนินการอย่างรอบด้าน   ครอบคลุมการพัฒนาครอบครัว  ชุมชนและระบบบริหารจัดการของหน่วยงาน  องค์กรที่เกี่ยวข้อง   และกำหนดคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ไว้  ได้แก่  การครอบครัวอบอุ่น  เจริญเติบโตสมวัย  คิดเป็น  สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร  มีส่วนร่วนในกิจกรรมของชุมชนและสังคม  และรู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ  ฉบับที่  9 (พ.ศ. 2545-2549).......................

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ  ฉบับที่  10 (พ.ศ. 2550-2554).......................

การจัดบริการ

รัฐให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษา   การพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะในการประกอบอาชีพ   ในรูปแบบของการจัดบริการทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและ  ระดับอุดมศึกษา  มีการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการส่งเสริมการใช้เวลาว่าง  เช่น  ออกค่าย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  ท่องเที่ยว  การแข่งขันทักษะเฉพาะทาง  การอบรม  พร้อมทั้งการฝึกอาชีพระยะสั้นสำหรับเยาวชน

 พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ให้ความหมายของเยาวชนว่าเป็นบุคคลอายุไม่เกิน 25 ปี

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม มาตรา 80 (1) กำหนดให้รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ....ส่งเสริมความเสมอภาคของชายหญิง เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน.....[/
b]


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า ?เยาวชน? ไว้ดังนี้ (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๗๓)

         เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส

         องค์การสหประชาชาติ (สุภักดิ์ อนุฉันล วันสำคัญของไทย, หน้า ๘๒) ได้ให้ความหมายสากลของคำว่า ?เยาวชน? หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง ๑๕ - ๒๕ ปี

คำขวัญวันเยาวชนแห่งชาติ

      องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี 2528 เป็นปีเยาวชนสากล โดยใช้คำขวัญ ?Participation, Development and Peace? ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ และมอบคำขวัญที่ถอดความเป็นภาษาไทยว่า ?ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ?


คุณสมบัติเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ 6 ประการ

 
มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะในอาชีพและการดำรงชีวิตที่รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
     2. มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรงและรู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด
     3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบตามวัย
     4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจในการทำงานสุจริต
     5. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
     6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐ ? ๒๕๕๙


หลักการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในการดำเนินงานพัฒนาเด็ก
และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร สรุปได้ดังนี้
๑. โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา ทั้งนี้เพราะสถานศึกษา
(๑) เป็นสถานที่
ที่รวมเด็กในวัยเรียนของชุมชน ทำให้เข้าถึงเด็กได้ง่ายและครอบคลุมได้ทั้งหมด ง่ายต่อการดำเนินงาน
(๒) เป็นสถานที่ที่มีผู้มีความรู้ คือครู ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการถ่ายทอดให้เด็กได้พัฒนาความรู้ และทักษะ
ต่างๆ และ
(๓) เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้
๒. การพึ่งตนเอง ทรงเน้นให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รับความ
รู้และฝึกฝนทักษะทั้ง ๔ ด้าน คือพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ซึ่งเป็นความรู้และ
ทักษะที่นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง และในที่สุดสามารถดำเนินการพัฒนาได้ด้วยตนเอง
๓. การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการให้ประชาชนในชุมชนเข้าร่วมในทุกกิจกรรมของโรงเรียน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากการลงมือปฏิบัติ ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ จะถูกถ่ายทอดลงสู่ชุมชน
นำไปใช้พัฒนาชุมชนของตนเองได้ เป็นการเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งของชุมชน นำไปสู่การพึ่ง
ตนเอง ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
๔. การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ในการดำเนินการพัฒนา
ในบางครั้งจำเป็นต้องเสริมหรือสนับสนุนในส่วนต่างๆ ที่ชุมชนขาดแคลน ดังเช่น เทคโนโลยี ความรู้ วัสดุ
อุปกรณ์ งบประมาณดำเนินการบางส่วน ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลภายนอก
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะต้องมีการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกันแต่
สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้
ในการดำเนินงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารนั้น เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีทรงขยายขอบเขตของงานเพื่อให้ครอบคลุมสภาพปัญหาต่างๆ ของเด็กและเยาวชน
ในพื้นที่ และตามสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งพื้นที่ในการทรงงานก็เพิ่มขึ้นเพื่อให้
ครอบคลุมถึงคนที่มีความขาดแคลนหรือมีภาวะยากลำบากมากขึ้น พร้อมกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ให้
การสนับสนุนงานพัฒนาของพระองค์ท่านก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารีจึงโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำ
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางให้ทุกภาคส่วนสามารถ
ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน๒ โดยได้เริ่มจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมกันนี้
ได้จัดทำระบบข้อมูล๓ เพื่อใช้ในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลความสำเร็จของงานพัฒนา
อีกทั้งยังใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการทำงานต่อไปด้วย เพื่อให้งานพัฒนาของพระองค์บรรลุผล
สูงสุดต่อเด็กและเยาวชน รวมทั้งประชาชนในถิ่นทุรกันดารให้ได้อย่างเท่าเทียมกันทุกคน

 

นโยบายเยาวชนแห่งชาติ
และแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว  พ.ศ. 2545-2554


ทิศทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชน
1.ช่วงเวลาของนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว 10 ปี ครอบคลุมช่วง พ.ศ. 2545-2554 ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลมีความทันสมัย สามารถคาดการณ์ได้ และสอดคล้องกับช่วงเวลา ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) และฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)
2.แนวคิดในการจัดบริการตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชน ต้องมีลักษณะองค์รวม คือ เด็ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชน และมุ่งไปที่ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานสากล
3.ครอบครัวโดยเฉพาะบิดามารดา และผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กและเยาวชนจะมีบทบาทหลัก และภาระหน้าที่ในการดูแลขัดเกลารับผิดชอบเด็กและเยาวชนขนานไปกับ องค์กรสังคมอื่น ๆ
4.กระจายความรับผิดชอบไปยังท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนอย่างใกล้ชิด
5.ให้สื่อมวลชนซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งที่มีอิทธิพลสูงต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ร่วมรับผิดชอบต่อการพัฒนาครอบครัว ตัวเด็กและเยาวชน
6.มีกฎหมายและมีการใช้กฎหมายเป็นกรอบในการพัฒนา การคุ้มครอง การป้องกัน และการลงโทษเด็กและเยาวชน รวมทั้งการลงโทษผู้ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
7.มีการปรับแนวคิดของผู้ให้บริการโดยเฉพาะภาครัฐให้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็น ภารกิจหลักในการจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชน ให้มีการทำงานที่โปร่งใสทุกด้าน พร้อมให้ตรวจสอบได้ รวมทั้งมีมาตรการการติดตามและประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้