ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : DVD คอร์สติวสอบพนักงานกรุงเทพมหานคร ใหม่ล่าสุด
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

DVD คอร์สติวสอบพนักงานกรุงเทพมหานคร ใหม่ล่าสุด

แชร์กระทู้นี้

DVD เตรียมสอบ กทม ที่กำลังเปิดสอบ ทั่วประเทศ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและการติวสอบต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก
แต่จะดีไหมถ้าท่านสามารถติวสอบเองได้เองหรือบางท่านอาจจะไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ท่านก็สามารถเอาไฟล์ MP3
จากแผ่นนี้ไปลงใน มือถือ ipad iphone ใช้ฟังในรถยนต์ หรือฟังควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆ ท่านก็สามารถจำได้เท่ากับการอ่าน

VCD/MP3 ติวสอบพนักงาน กทม
" ประกอบด้วย เนื้อหา และแบบฝึกหัด 
การันตีได้ผล...วัดจากการมีผู้สอบได้แล้ว
*รับประกันคุณภาพ*

แผ่น DVD ประกอบด้วย
VCD ความรู้ความสามารถทั่วไป
- เลขอนุกรม
- เงื่อนไขทางภาษา
- โจทย์สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- อุปมา-อุปมัยเบื้องต้น
VCD ภาษาไทย
- การใช้ภาษา
- ความเข้าใจภาษา
MP3 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
MP3 พรบ.ระเบียบข้าราชการกทม.และบุคลากร กทม
MP3 พรก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
VCD คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น

หนังสือประกอบด้วย

ราคาชุดละ 2,500 บาท / จัดส่งถึงที่...
คอร์ส DVD
 ชุดเตรียม+ หนังสือแนวข้อสอบ กทม (เลือกตามสาขาที่สอบ)

คลิกถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ กทม.เตรียมสอบกรุงเทพมหานคร สมัครงาน


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบกรุงเทพมหานคร ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
การใช้ภาษา_แนวข้อสอบ
ความเข้าใจภาษา_แนวข้อสอบ
- ความสามารถด้านเหตุผล_แนวข้อสอบ
- ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ_แนวข้อสอบ
- แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการ กทม.และบุคลากร กทม. พ.ศ. 2554
- แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และแก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ.2546
- แนวข้อสอบหลักธรรมมาภิบาล หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักสิทธิมนุษยชน
สรุปเหตุการณ์ เศรษฐกิจ การเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบัน  
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งที่สอบ

เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน.
เจ้าหน้าที่งานรักษาความสะอาดปฏิบัติงาน.
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน.
-นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ
-นายช่างโยธาปฏิบัติงาน.
-ช่างสำเรวจปฏิบัติงาน
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักวิชาการประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ.
นักวิชาการจัดเก็บรายได้




คลิกถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ กทม.เตรียมสอบกรุงเทพมหานคร สมัครงาน



สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

รูปภาพ: กทม (Large).jpg
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
#แนวทางการสอบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
กทม.เป็นส่วนราชการท้องถิ่นที่มีการบริหารงานบุคคลเป็นของตนเอง ในแต่ละปี กทม.จะมีการเปิดสอบบุคคลภายนอกเพื่อเข้ารับราชการ ประมาณ 1 - 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับงบประมาณและอัตราว่าง

ในการสอบแข่งขันข้าราชการกรุงเทพแต่ละครั้งดูจะได้รับความสนใจมากพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับเฮกันมามืดฟ้ามัวดินเหมือนกับการสอบ ก.พ. ทั้งนี้ก็เนื่องจากคนในกรุงเทพเองไม่ค่อยนิยมรับราชการ ส่วนคนในต่างจังหวัดชอบที่จะรับราชการ แต่ก็ติดปัญหาที่ถ้ารับราชการในกรุงเทพค่าครองชีพสูง งานเยอะ คนจึงมักจะหลีกเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น ยกเว้นเจอนักสอบมืออาชีพที่ขอสอบไว้ก่อนติดที่ไหนก็เอา อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ กลุ่มคนเก่งๆ มักจะใช้สนามสอบ กทม.ลองสนามพอสอบติดก็รับราชการไปพลางๆ เพื่อรอสอบส่วนราชการอื่น เป็นต้น ปัจจุบันคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร จึงเน้นการให้สวัสดิการเพื่อเป็นขวัญกำลังใจข้าราชการ กทม. เช่น เงินค่าครองชีพ 2,000 บาท/เดือน เงินค่าเสี่ยงภัย 5,000 บาท/เดือน สำหรับข้าราชการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เงินค่าล่วงเวลา เงินค่าพาหนะ เงินเบี้ยเลี้ยง และเงินพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย รวมไปถึงเงินโบนัสปลายปีอีกประมาณ 1.5 - 2 เท่าของเงินเดือน ทำให้ขวัญกำลังใจข้าราชการ กทม.มีมากขึ้น การสอบแข่งขันก็จึงเริ่มรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ผนวกกับข้อสอบ กทม. ที่ถือว่าเป็นข้อสอบที่มหาหินหน่วยงานหนึ่งที่ใครก็มักจะขยาด โดยเฉพาะการสอบภาค ก. ที่เซียนนักสอบถึงกับยกให้ว่าเป็น ภาค ก. ที่มหาโหดที่สุด <ยกเว้นการสอบครั้งที่ 1/2552> แถมด้วยการสอบ กทม. ที่ได้ชื่อว่า "การสอบข้ามปี" เพราะกระบวนการสอบเริ่มจาก รับสมัครก็ใช้เวลาเกือบเดือนกว่าจะประกาศผังสอบก็อีกเดือน จนถึงวันสอบก็ผ่านไปอีกเดือน ยิ่งรอวันประกาศผลนานไปอีก 2 เดือน กว่าจะได้สัมภาษณ์ สอบสุขภาพจิต สอบพละ (สำหรับป้องกันบรรเทาสาธารณภัย) เปิดเสร็จข้ามปีพอดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ชาวนักสอบมั่นอกมั่นใจกับการสอบของ กทม. ก็คือความยุติธรรม สนามสอบบางสนาม สอบไปพะวงไปเพราะข่าวเรื่องเส้นสายมีจนมั่วไปหมด แต่สำหรับ กทม. แล้วคนสอบสบายใจ ใครเก่งก็ได้ไป

ทีนี้มาดูเรื่องการสอบกัน อันดับแรกดูที่ ภาค ก. จอมโหดด่านสกัดดาวรุ่ง ภาค ก. ประกอบด้วยข้อสอบ 100 ข้อ โดยแยกสอบคือ

1. วิชาความคิดวิเคราะห์เหตุผล คำนวณ 50 ข้อ เริ่มสอบเวลา 09.00 น. - 10.30 น.

2. วิชาภาษาไทย 50 ข้อ เริ่มสอบเวลา 10.30 น. - 12.00 น.ตกไม่ตกก็ดูกันที่ 2 วิชานี้แหละ

วิชาแรกประกอบด้วย

1. การบริหารงานราชการกรุงเทพมหานคร สรุปก็คือ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ข้อสอบไม่ยาก ออก 5 ข้อ ถามพื้นๆ อ่านสรุปจะดีที่สุด

2. คอมพิวเตอร์พื้นฐาน 5 ข้อ ไม่ว่าสอบกี่ครั้ง คอมพิวเตอร์จะออกประเภทถ้าจะออกเรื่องไวรัสก็ออกไวรัสมันทั้ง 5 ข้อเลย อย่างคราวสอบ 1/2552 ออกเรื่องอินเตอร์เน็ต เขาก็ออกอินเตอร์เน็ตทั้ง 5 ข้อ จะเปลี่ยนเรื่องออกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ต้องเก็งข้อสอบให้ถูก

3. สดมภ์ A กับสดมภ์ B เป็นการเปรียบเทียบสดมภ์ทั้งสองว่าอันไหนน่าเชื่อถือกว่ากัน หรือมีค่ามากกว่า หรือข้อมูลไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบ ในสดมภ์จะมีทั้งการให้ข้อมูลมาเพื่อเปรียบเทียบหารให้คำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบข้อสอบแบบสดมภ์ สมัยก่อนจะออก 10 ข้อ ช่วงหลังๆ มามีแค่ 5 ข้อ

4. คณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 ข้อ เช่นการหาความเร็วเฉลี่ย การหาความยาวจากสามเหลี่ยมพิธากอรัส การหาค่าในสมการ ร้อยละ เป็นต้น

5. การนำข้อมูลมาเขียนในรูปของเซตวงกลม เช่น โจทย์ให้มาว่า (ก๊าซธรรมชาติ) (แอลพีจี) (เอ็นจีวี) (ก๊าซหุงต้ม) แล้วให้เรานำไปเขียนในรูปเซตวงกลม มีทั้งหมด 5 ข้อ

6. กราฟ ตาราง แผนภูมิ 5 ข้อ โดยโจทย์จะให้ตารางแสดงข้อมูลต่างๆ ของกรุงเทฑมหานคร เสร็จแล้วให้ตอบคำถามคล้ายๆ ข้อสอบ ก.พ. โจทย์แบบนี้ไม่ค่อยยาก เพียงแต่ต้องรู้จักปัดตัวเลขให้เป็นตัวเลขลงตัว จะได้นำมาคำนวณโดยประมาณเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการคิดหาคำตอบ

7. เงื่อนไขทางภาษา เหมือนกับข้อสอบของ ก.พ. เราต้องรู้จักเขียนตารางเพื่อนำเงื่อนไขเหล่านั้นไปลงตาราง ข้อสอบแบบนี้ถ้าลงตารางถูกก็ถูกหมดทุกข้อ แต่ถ้าลงผิดก็เรียบร้อยทั้งหมด ข้อสอบมี 10 ข้อ แต่บางครั้งก็จะมีเงื่อนไขสั้นๆ ซึ่งเราต้องนำไปเขียนเป็นกราฟเป็นเซต หรือเขียนเป็นรูปภาพเพื่อหาคำตอบ โจทย์จะให้เงื่อนไขทางภาษามาเป็นชุดๆ ชุดละ 3-5 ข้อ แต่รวมแล้วก็ 10 ข้อ

8. การวิเคราะห์ข้อมูลเพียงพอ โดยให้ข้อมูล A กับข้อมูล B มา จะคล้ายสดมภ์ มีวิธีคิดลักษณะเดียวกัน มี 5 ข้อ

9. การสรุปความเชิงตรรกวิทยา 5 ข้อ

10. อุปมา - อุปไมย 5 ข้อ เช่น โจทย์ ขยะ : ปุ๋ย คำตอบคือ ? : ?

สรุปข้อสอบความคิดวิเคราะห์เหตุผล มี 50 ข้อ 1 ชั่วโมง 30 นาที

ข้อสอบวิชาภาษาไทย 50 ข้อ 1 ชั่วโมงครึ่ง

1. การเรียงลำดับข้อความ 5 ข้อ เป็นการให้ข้อความมาในตัวเลือก 1-5 แล้วถามว่าข้อความใดอยู่ลำดับที่เท่าไร เช่นถามว่า ข้อความใดอยู่ในลำดับที่ 3 เป็นต้น วิธีคิด ก็ต้องหาประโยคแรกให้เจอก่อน (ส่วนมากแล้วจะขึ้นต้นด้วยคำนาม) หลังจากนั้นก็เริ่มเรียงตามลำดับของประโยคที่มีทั้งภาคประธานและภาคแสดง

2. คำและกลุ่มคำ 5 ข้อ โดยโจทย์จะให้ข้อความมาแล้วเว้นช่องว่างไว้ 2 ช่อง ให้เรานำคำหรือกลุ่มคำไปเติมเพื่อให้ประโยคถูกต้องสมบูรณ์ เราต้องศึกษาความหมายของคำให้เยอะๆ เช่นคำว่า "ผุด" กับ "พลุด" ต่างกันอย่างไร หรือคำว่า "ชาติ" , "ชาด" ใช้ต่างกันอย่างไรเป็นต้น

3. การหาว่าตัวเลือกใดใช้ประโยครัดกุม ถูกต้องตามหลักภาษา 10 ข้อ ในแต่ละตัวเลือกจะให้ประโยคมาแล้วเราก็ต้องพิจารณาว่าตัวเลือกไหนถูกต้องรัดกุม ซึ่งเราต้องเข้าใจเรื่องประโยคภาษาต่างประเทศ การใช้คำกำกวม การใช้ระดับของภาษาอย่างถูกต้อง สุดท้ายก็ต้องเข้าใจหลักไวยากรณ์ของภาษาไทย และบางครั้งโจทย์ก็จะถามในทางตรงกันข้ามว่า ข้อใดไม่ถูกต้องรัดกุมตามหลักภาษา

4. การตีความสรุปความโดยให้อ่านบทความยาว แล้วสรุปความและตอบคำถาม บทความยาวหนึ่งบทความใช้ตอบคำถาม 2-3 ข้อ ฉะนั้นจึงต้องอ่านแล้วจับใจความให้ดีด้วยความเร็ว ไม่งั้นทำไม่ทันแน่นอน ข้อสอบตีความ สรุปความมีทั้งหมด 10 ข้อ

5. การหาคำตรงข้าม 5 ข้อ เขาจะให้ข้อความสั้นๆ แล้วขีดเส้นใต้คำแล้วให้หาคำตรงข้าม นอกจากเราจะต้องรู้ความหมายของคำแล้ว เรายังต้องเข้าใจข้อความนั้นๆ ด้วย เพราะที่อยู่ของคำต่างกัน จะทำให้ความหมายของคำต่างกันด้วย

6. การหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน 5 ข้อ จะคล้ายๆ กับเรื่องที่ 5 ก็คือรู้ความหมายของคำและตำแหน่งของคำในข้อความนั้นๆ

7. การตีความสรุปความจากประโยคหรือข้อความสั้นๆ 10 ข้อ ก็คือ โจทย์ให้ข้อความสั้นๆ มา เราต้องสรุปความหมายให้ได้ว่าตรงกับตัวเลือกใด

วิชาเฉพาะตำแหน่ง กรุงเทพมหานคร

1. ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 2 (ข้อสอบ 100 ข้อ 3 ชั่วโมง เริ่มสอบ 13.00 - 16.00 น.)

1.1 หลักการบัญชีและงบประมาณ

เป็นวิชาที่ออกเยอะที่สุด อย่างน้อย 60 ข้อ ข้อสอบมีทั้งความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี การจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท การจัดทำรายงานการเงิน ทะเบียนคุมเงิน ทะเบียนคุมฎีกา การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีและเงินฝากธนาคาร การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การตั้งฎีกาเบิกเงินและตรวจสอบใบสำคัญเบิกเงินบางหมวดรายจ่าย

1.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ

- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ

- ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน

- ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดประเภท รายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ

- ระเบียบงานสารบรรณ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และ ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ.2546)

2. ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุ 2 (ข้อสอบ 100 ข้อ 3 ชั่วโมง เริ่มสอบเวลา 13.00 - 16.00 น.)

2.1 ข้อบัญญัติว่าด้วยการพัสดุกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2538 และ ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง การตรวจรับ การจัดทำทะเบียนพัสดุ การเบิกจ่าย การนำส่ง การเก็บรักษา การควบคุมทะเบียนพัสดุ (ตามระบบเกณฑ์คงค้าง) การซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญ หลักฐาน และ เอกสารเกี่ยวกับพัสดุ การจำหน่าย และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง (ออกรวมแล้วประมาณ 80 ข้อ)

2.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ. 2546 (ออกประมาณ 20 ข้อ)

3. ตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2 (ข้อสอบ 100 ข้อ 3 ชั่วโมง เริ่มสอบเวลา 13.00 - 16.00 น.)

3.1 พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 การสำรวจตรวจตราเพื่อป้องกันและระงับอัคคีภัย การป้องกันและบรรเทาอันตรายจากอุทกภัย วาตภัย และภัยอื่นๆ

3.2 พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

3.3 การฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย

3.4 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ.2546

การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง

1. ทดสอบสุขภาพจิต หรือ การทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่งก่อนการสัมภาษณ์โดยการสอบข้อเขียน 30 คะแนน

เป็นการทดสอบสภาพของจิตว่าเหมาะสมที่จะรับราชการซึ่งถือว่าเป็นผู้รับใช้ประชาชน ฉะนั้น การทดสอบสุขภาพจิตจึงเป็นการทดสอบเพื่อให้รู้ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่จะเข้าสู่ระบบราชการไม่ใช่เป็นการทดสอบว่าบ้าหรือไม่บ้า มีการสอบหลายรูปแบบ คือ

1.1 การมองจุดให้เป็นรูปภาพ 10 ภาพ

เมื่อเราเข้าไปในห้องประชุมชั้น 6 โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เขาก็จะเริ่มอธิบายการสอบสุขภาพจิต หลังจากนั้นเขาก็จะเริ่มฉายภาพขึ้นบนจอขนาดใหญ่ ในจอภาพเราจะเห็นเป็นจุดๆ เต็มไปหมด เขาก็จะถามว่าเรามองเห็นเป็นภาพอะไร และภาพก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีทั้งหมด 10 ภาพ

1.2 ให้วาดภาพตามคำสั่ง

เช่น มีกระดาษ 2 แผ่น เขาจะสั่งให้เอาแผ่นที่ 1 ขึ้นมา แล้วสั่งว่าจงวาดรูปคน ผ่านไปสักครู่เขาจะสั่งให้เอากระดาษแผ่นที่ 2 ขึ้นมา แล้วสั่งว่าจงวาดรูปคนที่เป็นเพศตรงข้ามที่วาดครั้งแรก สรุปก็คือ จุดประสงค์เขาจะดูว่าภาพแรกเราวาดเพศใด ที่ถูกคือ ภาพที่ 1 ควรวาดคนเพศเดียวกับเรา แล้วเขาต้องการดูว่าภาพสมดุลกับกระดาษหรือไม่ คนยิ้มแย้มแจ่มใสหรือเปล่า ใส่เสื้อผ้าให้รูปภาพหรือเปล่า มีองค์ประกอบร่างกายครบไหม เพื่อประกอบการพิจารณาทางจิต หรือเขาอาจสั่งวาดรูปต้นไม้ ใครวาดต้นตาล ต้นมะพร้าวก็เสร็จเลยเพราะข้าราชการต้องเป็นที่พึ่งพิงของคนอื่นได้ จะอยู่โดดเดี่ยวเหมือนต้นตาล ต้นมะพร้าวไม่ได้ ต้องวาดภาพต้นไม้ใหญ่มีกิ่งก้านสาขา มีต้นไม้แวดล้อม มีนกมาเกาะ วาดภาพให้สมดุลกับกระดาษ

1.3 ทำข้อสอบ 187 ข้อให้เวลา 1 ชั่วโมง ข้อสอบมี 3 ตัวเลือก คือ 1. ใช่ 2. ไม่แน่ใจ 3. ไม่ใช่ ข้อสอบจะถามความเป็นตัวของเราไม่มีวิชาการ ถามคำภามคล้ายๆกัน เพื่อให้เรางง เหมือนคนถูกสอบสวนนั่นล่ะ เช่น ข้อสอบถามว่าคุณเป็นคนใจเย็นใช่หรือไม่ แล้วเราตอบว่าใช่ สักครู่เขาจะถามว่า เวลามีคนขับรถปาดหน้าคุณจะตอบโต้ทันที แล้วตอบใช่อีกรับรองมีโอกาสตกสูง สรุปแล้วข้อสอบสุขภาพจิต เราต้องตอบให้เราเป็นคนดี เป็นคนใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส รักการบริการ อดทน ขยัน มองโลกในแง่ดี รักครอบครัว พูดจาดี สรุปอะไรดีๆ นั่นล่ะถึงจะผ่าน แต่ดีจนกรรมการอ้วกก็เกินไป แต่ที่จะตกก็ตรงให้การขัดแย้งบ่อยๆ นั่นล่ะ แล้วก็ต้องทำให้ทันถ้าไม่ทันอย่าเดาเพราะข้อท้ายๆ เขาจะถามว่า เท่าที่คุณให้การมาทั้งหมดคุณให้การเท็จใช่หรือไม่ เผอิญเดา "ใช่" หมดเลยก็จบกันพอดี

2. การสอบสัมภาษณ์ 70 คะแนน

ไม่มีอะไรมากคำถามส่วนใหญ่เป็นเรื่องส่วนตัว จะมีคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งที่สอบบ้าง เช่น การเงิน การบัญชี เขาก็จะถามว่า ได้ขึ้นไปดูกองคลังหรือยัง ถ้าดูแล้วเห็นบอร์ดข้างหน้าไหม เขาเขียนว่าอะไร แล้วใครเป็นหัวหน้ากองคลัง รู้ไหมว่าถ้าได้ทำงานจะทำงานยังไง จะย้ายกลับบ้านหรือเปล่า (ใครตอบว่าย้ายก็เตรียมตัวซวย) ถ้าเจอการทุจริตในหน่วยงานจะทำอย่างไร หรือถ้าเป็นคำถามส่วนตัวเขาก็มักจะถามานเดิม (อย่าดูถูกงานเดิมเด็ดขาด) แต่ก็พอสรุปการให้คะแนนได้ดังนี้

1. การแต่งกาย

2. บุคลิกท่าทาง

3. กริยามารยาท

4. ท่วงทีวาจา

5. การตอบคำถาม

อย่าตื่นเต้น ให้ยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าไว้ มั่นใจในตนเอง ใช้น้ำเสียงหนักแน่น แต่ก็สุภาพเรียบร้อย

3. การสอบพละ

สำหรับตำแหน่งป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2 ต้องสอบพละเป็นของแถม มีการสอบหลายรายการแต่ไม่ต้องกลัว เพราะรายการโหดๆ มีแค่ 2 รายการ คือ วิ่ง 1,000 เมตร ภายใน 5 นาที กับ ว่ายน้ำ 50 เมตร ภายใน 1 นาที 20 วินาที นอกนั้นไม่ต้องกังวลผ่านอยู่แล้ว แต่ไอ้ 2 รายการที่ว่านี่ซิ ถ้าไม่ซ้อมมามีหวังตายกับตาย สรุปก็คือ ซ้อมมาเยอะๆ อย่าได้ไปซ้อมยกแก้วให้มากเท่านั้นก็ผ่านสบาย ขอให้โชคดีกับการสอบครับ
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หลักสูตรการสอบ ภาค ก. กทม. แนวใหม่ วิเคราะห์ได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 (50 ข้อ) ในส่วนของวิชาความสามารถในการวิเคราะห์สรุปเหตุผล
1. วิเคราะห์ปริมาณสดมภ์ 5 ข้อ
2. วิเคราะห์ข้อมูลน่าเชื่อถือ 5 ข้อ
3. เงื่อนไขภาษาและการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง 18 ข้อ
4. แผนภูมิตรรกวิทยา 2 ข้อ
5. ตรรกวิทยา 5 ข้อ
6. กฎหมาย กทม. และกฎหมายระเบียบพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ 10 ข้อ
7. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น 5 ข้อ
ส่วนที่ 2  เป็นวิชาภาษาไทย 50 ข้อ ออกเรื่อง
1. การเลือกใช้คำ กลุ่มคำ
2. การเรียงลำดับข้อความ
4. การอ่านบทความยาว
5. การอ่านสรุปความตีความ
เรื่องที่ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (สถิติออก 10 ข้อ)
M  กรุงเทพมหานคร
       l    การจัดตั้ง
     กรุงเทพมหานคร  มีวิวัฒนาการมาจากการรวมจังหวัดพระนคร  และจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็น  "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี"  ตามประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  24  และ  25  ลงวันที่  21  ธันวาคม  2514  รูปการปกครองนครหลวงธนบุรีแบ่งเป็น  2  ระดับ  ระดับภูมิภาคนั้นถือว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรี  เป็นจังหวัดหนึ่ง  ระดับท้องถิ่นเป็นการรวมเอาเทศบาลนครกรุงเทพ  และเทศบาลนครธนบุรีเป็นเทศบาลนครหลวง
     ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  335  ลงวันที่  13  ธันวาคม  2515  เปลี่ยนรูปนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร  ซึ่งยังคงเป็นจังหวัด  แต่ในขณะเดียวกันก็มีสภากรุงเทพมหานครเป็นลักษณะของหน่วยการปกค รองท้องถิ่น  ได้มีการปรับปรุงแก้ไขการปกครองในรูปกรุงเทพมหานครอีก  2  ครั้ง  ตาม  พ.ร.บ.  ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร  พ.ศ. 2518  และ  พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร  พ.ศ. 2528  ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน  และกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  แต่เพียงอย่างเดียว  มิได้เป็นจังหวัดอีกต่อไป
        l    รูปแบบและการบริหาร
     กรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วยสภากรุงเทพมหานคร  และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
     1)    สภากรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วยสมาชิก  ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรตามเกณฑ์ราษฎร  100,000  บาท  ต่อสมาชิก  1  คน  วาระ  4  ปี
         สภากรุงเทพมหานครจะเลือกตั้งสมาชิกเป็นประธานสภา  1  คน  และรองประธานสภาไม่เกิน  2  คน  ดำรงตำแหน่งคราวละ  2  ปี
     2)    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากราษฎร  อยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  และมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกิน  4  คน  โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
     ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  และบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย  บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตี  นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย  วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย  รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  และอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
     กรุงเทพมหานคร  ได้มีการจัดระเบียบการบริหารราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  โดยการแบ่งเป็น "สำนักงานเขต" (ปัจจุบันมี  50  สำนักงานเขต)  
     สำนักงานเขต  จะมีผู้อำนวยเขต  และสภาเขต  สภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎร  เขตละอย่างน้อย  7  คน  สำหรับเขตที่มีราษฎรเกิน  100,000  คน  ให้มีสมาชิกสภาเขตเพิ่มขึ้นโดยถือเกณฑ์ราษฎร  100,000  คนต่อสมาชิกหนึ่งคน  สมาชิกอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี
     สภาเขตทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการเขต  มิใช่ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติ
       l    อำนาจหน้าที่
     กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้  คือ  การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  การทะเบียน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง  การผังเมือง  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  และทางระบายน้ำ  การวิศวกรรม  จราจร  การขนส่ง  การจัดให้มี  และควบคุมตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้าม  และที่จอดรถ  การดูแลรักษา  ที่สาธารณะ  การควบคุมอาคาร  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด  และจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  การป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  การสาธารณูปโภค  การสาธารณสุข  การจัดการศึกษา  การส่งเสริมการศึกษา  การส่งเสริมการประกอบอาชีพ  การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร  และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ  เทศบาลนครหรือตามที่คณะรัฐมนตรี  นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย  หรือมีกฎหมายระบุเป็นหน้าที่ ของกรุงเทพมหานคร
      l    ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
     กรุงเทพมหานครอาจตราข้อบัญญัติขึ้นในกรณีดังนี้
     1)    เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
     2)    มีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานคร  มีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติ  กรุงเทพมหานคร
     3)    การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
     4)    การคลัง  การงบประมาณ  การเงิน  การทรัพย์สิน  การจัดหาผลประโยชน์จาก  ทรัพย์สิน  การจ้าง  และการพัสดุ
     จะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไว้ด้วยก็ได้เป็นโท ษจำคุกไม่เกิน  6  เดือน  และหรือปรับไม่เกิน  10,000  บาท
       l    การควบคุมส่งเสริม
     1.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแล  การปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งมีอำนาจในการสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครโดยอนุมัติของคณะรั ฐมนตรี  หรือโดยข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  และสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  พ้นจากตำแหน่ง  ตามมติคณะรัฐมนตรี
     2.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ควบคุมส่งเสริมการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร  ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)
     3.    กระทรวง  ทบวง  กรม  อาจส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานคร  เพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง  ทบวง  กรมนั้น  โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร  หรืออาจจะมอบอำนาจให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
     4.    รัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนให้กรุงเทพมหานครโดยตรง    
     5.    สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการเงิน  และการบัญชีของกรุงเทพมหานคร
ต่อเรื่องที่ 6

หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
     ในการปฏิรูประบบราชการ  ได้มีการตรา  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี  พ.ศ. 2546  ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  9  ตุลาคม  พ.ศ. 2546  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่  วันที่  10  ตุลาคม  พ.ศ. 2546  เป็นต้นไป  โดยพระราชกฤษฎีกานี้เป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎห มาย  ดังนี้
     1.    มาตรา  221  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
     2.    มาตรา  3/1  และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
M  ขอบเขตและความหมาย
     “ส่วนราชการ”  หมายความว่า  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม  และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร  แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     “รัฐวิสาหกิจ”  หมายความว่า  รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
     “ข้าราชการ”  หมายความรวมถึงพนักงาน  ลูกจ้าง  หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
     หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ได้แก่  การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย  7  ประการ  ดังต่อไปนี้
     1.    เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
     2.    เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
     3.    มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในชิงภารกิจของรัฐ
     4.    ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
     5.    มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
     6.    ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
     7.    มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
M  การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
     การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  หมายถึง  การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็ นอยู่ที่ดีของประชาชน  ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม  ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
     ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะได้รับการบริการจากรัฐ  และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
     1.    การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการ  ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามหลักของการบริหารราชการเพื่อประ โยชน์สุขของประชาชนและสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ   และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
     2.    การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดย  ซื่อสัตย์สุจริต  สามารถตรวจสอบได้  และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถ ิ่น
     3.    ก่อนเริ่มดำเนินการ  ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้ วนทุกด้าน  กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส  มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน  ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน  ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจง ทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะ ได้รับจากภารกิจนั้น
     4.    ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและคว ามพึงพอใจ  ของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการเพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะ ต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เห มาะสม    
     5.    ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากากรำเนินการ  ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว  ในกรรีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น  หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น  ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ  เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป  และให้แจ้ง  ก.พ.ร. ทราบด้วย
     การดำเนินการข้างทั้ง  5  ข้อ  ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง  ทั้งนี้  ก.พ.ร.  จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไป ตามนี้ด้วยก็ได้
M  การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
     1.    การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ให้ส่วนราชการปฏิบัติ  ดังต่อไปนี้
         (1)    ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
         (2)    การกำหนด  แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ  ตามข้อ 1 ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน  ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการำเนินการของแต่ละขั้นตอน  เป้าหมายของภารกิจ  ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
         (3)    ส่วนราชการต้องจัดให้มี  การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น  ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
         (4)    ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ  หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้เป็ นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระท บนั้น  หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
     2.    ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ  หรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกันให้ส่วนราชการที่เก ี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหาร ราชการแบบบูรณาการร่วมกัน  โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
         ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชกา รจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ   เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ  แล้วแต่กรณี  สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชกา รได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3.    ส่วนราชการมีหน้าที่  พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ  เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ  โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์  รวมทั้ง  ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ  สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ  ในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกั น  ทั้งนี้  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับกา รบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
     4.    เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์  ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ  โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร  หรือโดยวิธีการอื่นใดเพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
     5.    ให้คณะรัฐมนตรี  จัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
     เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว  ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และสำนักงบประมาณ  ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน  90  วัน  นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ วให้มีผลผูกพัน  คณะรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  และส่วนราชการ  ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแ ผ่นดิน  นั้น
     การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  ให้จัดทำเป็นแผน  4  ปี  โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดค ล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งร าชอาณาจักรไทย  และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้  อย่างน้อยจะต้งอมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤ ทธิ์ของงาน  ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ  ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้  ระยะเวลาการดำเนินการ  และการติดตามประเมินผล
     6.    เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว  ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญั ติ  โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่หรือก ฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกให้สอดคล้องกับแผนกา รบริหารราชการแผ่นดิน  ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ  และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ
         แผนนิติบัญญัตินั้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกร รมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว   ให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไ ปตามนั้น
         ในกรณีที่เห็นสมควร  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลัก เกณฑ์การจัดทำแผนนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบั ติงานก็ได้
     7.    ให้ส่วนราชการจัดทำ  แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ  โดยจัดทำเป็นแผน  4  ปี  ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามข้อ  5
         ในแต่ละปีงบประมาณ  ให้ส่วนราชการจัดทำ  แผนปฏิบัติราชการประจำปี  โดยให้ระบุสาระสำคัญรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใ ช้  เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
         เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล ้ว  ให้สำนักงบประมาณดำเนินการ  จัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจตา มแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
         ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใด  หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี  มิให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
         เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำ  รายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปี  เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร

1.    กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกว่าอะไร
ก.    เมืองบางมะกอก                ค. เมืองบางโคก
ข.    เมืองบางกอก                ง. เมืองบางเกาะ
ตอบ   ข. เมืองบางกอก
2.    ข้อใด คือที่มาของคำว่า  บางกอก
ก.    บางเกาะ                    ค. บางมะกอก
ข.    บางโคก                    ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ
3.    พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองอะไร
ก.    เมืองธนบุรีศรีสมุทร                ค. เมืองธนบุรี
ข.    เมืองธนบุรีศรีสุนทร                ง. เมืองศรีธนบุรี
ตอบ   ก.  เมืองธนบุรีศรีสมุทร
4.    บริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกว่าอะไร
ก.    นิวอัมสเตอร์                    ค. นิวอัมสตรอง
ข.    นิวอัมสเตอร์ดัม                ง. นิวอัมสตรองดัม
ตอบ    ข. นิวอัมสเตอร์ดัม
5.    บริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทยมีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่อำเภอใด
ก.    อำเภอพระนคร                ค.  อำเภอพระประแดง
ข.    อำเภอบางกอกน้อย                ง. อำเภอทุ่งครุ
ตอบ    ค. อำเภอพระประแดง

6.    การเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นในรัชสมัยใด
ก.    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข.    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ค.    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง.    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ   ก. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
7.     ใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศใด
ก.    เวียดนาม                    ค. จีน
ข.    สิงคโปร์                    ง. มาเลเซีย
ตอบ   ข.  สิงคโปร์    
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
คู่มือเตรียมสอบ  กทม.
แนวข้อสอบ  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
1.    พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528  ตราเป็นกฎหมายเมื่อใด
ก.    20  มกราคม  พ.ศ. 2528
ข.    20  มีนาคม  พ.ศ. 2528
ค.    20  มิถุนายน  พ.ศ. 2528
ง.    20  สิงหาคม  พ.ศ. 2528
ตอบ    ง.  20  สิงหาคม  พ.ศ. 2528
2.    พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปรับปรุงมาแล้วกี่ฉบับ
ก.    3 ฉบับ
ข.    4 ฉบับ
ค.    5 ฉบับ
ง.    6ฉบับ
ตอบ    ค.  5 ฉบับ
    ฉบับล่าสุด คือฉบับที่ 5  ปรับปรุงเมื่อ   แก้ไขถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2550
     (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534   (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539  (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
3.    กรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดระเบียบการบริหารราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยการแบ่งเป็น “สำนักงานเขต” ปัจจุบันมีทั้งหมดกี่เขต
ก.    45 เขต
ข.    48 เขต
ค.    50 เขต
ง.    55 เขต
ตอบ    ค.  50 เขต
    กรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดระเบียบการบริหารราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยการแบ่งเป็น “สำนักงานเขต” (ปัจจุบันมี 50 สำนักงานเขต)
สำนักงานเขต จะมีผู้อำนวยเขตและสภาเขต สภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรเขตละอย่างน้อย 7 คน สำหรับเขตที่มีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีสมาชิกสภาเขตเพิ่มขึ้นโดยถือเกณฑ์ราษฎร 100,000 คนต่อสมาชิกหนึ่งคน สมาชิกอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

4.    บุคคลใดเป็นผู้รักษาพระราชบัญญัติฉบับนี้
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ค.    ประธานสภากรุงเทพมหานคร
ง.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ตอบ    ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
    มาตรา 5  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
5.    พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานคร เป็น…..
ก.    ทบวงการเมือง
ข.    เมืองหลวงของประเทศ
ค.    ศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน
ง.    นิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ตอบ    ง.  นิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
    มาตรา 6  ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
    การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
6.    การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วยกี่ส่วน
ก.    ประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ  ประธานสภากรุงเทพมหานคร  และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข.    ประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ  สภากรุงเทพมหานคร  และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ค.    ประกอบด้วย 3 ส่วน  คือ  ประธานสภากรุงเทพมหานคร  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  และผู้อำนวยการเขต
ง.    ประกอบด้วย 3 ส่วน  คือ  สภากรุงเทพมหานคร  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  และสมาชิกสภาเขต
ตอบ    ข.  ประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ  สภากรุงเทพมหานคร  และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
    มาตรา 9  การบริหารกรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วย
(1)    สภากรุงเทพมหานคร
(2)    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
7.    ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อใด
ก.    มีสัญชาติไทย
ข.    อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
ค.    มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
ง.    ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.
ตอบ    ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.
    มาตรา 12  บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(1)    มีสัญชาติไทย  แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(2)    มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง  และ
(3)    มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  ในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้ง  ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
[มาตรา 12  แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบรืการราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539]
8.    บุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคือ
ก.    เป็นหูหนวกหรือเป็นใบ้
ข.    บุคคลล้มละลาย
ค.    บุคคลวิกลจริต
ง.    ติดยาเสพติดให้โทษ
ตอบ    ค.  บุคคลวิกลจริต
    มาตรา 13  บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร  คือ
(1)    วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(2)    [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539]
(3)    ภิกษุ  สามเณร  นักพรต  หรือนักบวช
(4)    ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(5)    อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
9.    ก.ก.  เป็นคำย่อของอะไร
ก.    คณะกรรมการกำหนดระเบียบข้าราชการ
ข.    คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ค.    คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ง.    คณะกรรมการกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตอบ    ข.  คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
    มาตรา 15  ให้มีคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร  เรียกโดยย่อว่า  “ก.ก.”  ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วย
(1)    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
(2)    กรรมการโดยตำแหน่งประกอบด้วย  ปลัดกระทรวงมหาดไทย  เลขาธิการ ก.พ.  เลขาธิการ ก.ค.  และอธิบดีกรมบัญชีกลาง
(3)    กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานครจำนวนห้าคนโดยประกอบด้วย  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ปลัดกรุงเทพมหานคร  ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ  ซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนสองคน  และผู้แทนข้าราชการครูกรุงเทพมหานครซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน
(4)    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคน  ซึ่งกรรมการตาม (1)  (2) และ (3)  ประชุมร่วมกันคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานส่วนท้องถิ่น  ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ  ด้านบริหารและการจัดการ  หรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริการงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบ  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
1.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ไว้ ณ วันที่เท่าใด
ก.    ๒๓  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๔
ข.    ๒๓  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔
ค.    ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔
ง.    ๒๓  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔
ตอบ    ค.  ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔
2.    ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.    ทันทีที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.    หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งวัน
ค.    หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งอาทิตย์
ง.    หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งเดือน
ตอบ    ข.  หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งวัน
มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3.    พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศยกเลิก
ก.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ข.    พระราชบัญญัติระเบียบบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ค.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ง.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๕
ตอบ    ก.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
    มาตรา ๓  ให้ยกเลิก
(๑)    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
(๒)    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
4.    “ข้าราชการกรุงเทพมหานคร”  หมายความว่า
ก.    ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาตามที่ ก.ก. กำหนด
ข.    บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร
ค.    ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งรับราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร  แต่ไม่รวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
ง.    บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร
ตอบ    ง.  บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร
    มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
    “ข้าราชการกรุงเทพมหานคร”  หมายความว่า  บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
5.    บุคคลใดเป็นผู้รักษาพระราชบัญญัติฉบับนี้
ก.    นายกรัฐมนตรี
ข.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค.    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ง.    ประธานสภากรุงเทพมหานคร
ตอบ    ก.  นายกรัฐมนตรี
    มาตรา ๖  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัติ
6.    ก.ก.  เป็นคำย่อของอะไร
ก.    คณะกรรมการกำหนดระเบียบข้าราชการ
ข.    คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ค.    คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ง.    คณะกรรมการกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตอบ    ข.  คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
    มาตรา ๗  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า  “คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร”  เรียกโดยย่อว่า  “ก.ก.”  ประกอบด้วย
(๑)    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เป็นประธานกรรมการ
(๒)    กรรมการโดยตำแหน่ง  จำนวนห้าคน  ได้แก่  ปลัดกระทรวงมหาดไทย  เลขาธิการ ก.พ.  เลขาธิการ ก.พ.ร.  เลขาธิการ ก.ค.ศ.  และเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา
(๓)    กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร  จำนวนสี่คน  ได้แก่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย  ปลัดกรุงเทพมหานคร  ผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔)    กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครโดยข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง  จำนวนห้าคน  ได้แก่
(ก)    ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ  จำนวนสองคน
(ข)    ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร  จำนวนสองคน
(ค)    ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา  จำนวนหนึ่งคน
(๕)    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ซึ่งกรรมการตาม (๑)  (๒)  (๓) และ (๔)  ประชุมร่วมกันคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้  ความเชี่ยวชาญ  และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารงานส่วนท้องถิ่น  ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล  ด้านระบบราชการ  ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย  ด้านการศึกษา  หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร  จำนวนห้าคน
7.    ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคือใคร
ก.    นายกรัฐมนตรี
ข.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค.    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ง.    ปลัดกรุงเทพมหานคร
ตอบ    ค.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
8.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้ในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีจำนวนเท่าใด
ก.    จำนวน  ๙  คน
ข.    จำนวน  ๗  คน
ค.    จำนวน  ๕  คน
ง.    จำนวน  ๓  คน
ตอบ    ค.  จำนวน  ๕  คน
    ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
9.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  ยกเว้นข้อใด
ก.    มีสัญชาติไทย
ข.    อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
ค.    ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ง.    มีเงินเดือนประจำ
ตอบ    ง.  มีเงินเดือนประจำ
    มาตรา ๘  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)    มีสัญชาติไทย
(๒)    มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(๓)    ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย  คนไร้ความสามารถ  หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๔)    ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕)    ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ฯลฯ

10.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.    ๑  ปี
ข.    ๒  ปี
ค.    ๓  ปี
ง.    ๔  ปี
ตอบ    ง.  ๔  ปี
    มาตรา ๙  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
    เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง  หากยังมิได้มีการคัดเลือกกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับคัดเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ครั้งที่ 1/2557
 
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) กำหนดดำเนินการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
ตำแหน่งที่เปิดสอบบรรจุแต่งตั้ง
ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
1) สัตวแพทย์ปฏิบัติงาน...................................จำนวน  2 อัตรา
2) เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน...............จำนวน 20 อัตรา
3) เจ้าหน้าที่งานรักษาความสะอาดปฏิบัติงาน.....จำนวน 30 อัตรา
4) เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน..........................จำนวน 10 อัตรา
5) นายช่างโยธาปฏิบัติงาน..............................จำนวน 10 อัตรา
6) ช่างสำเรวจปฏิบัติงาน.................................จำนวน 25 อัตรา
 
ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
1) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ.................จำนวน  4 อัตรา
2) นักวิชาการประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ..............จำนวน 15 อัตรา
3) นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ.........................จำนวน  1 อัตรา
4) นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ..........จำนวน  2 อัตรา
5) นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ............จำนวน  1 อัตรา
6) นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ...............จำนวน 35 อัตรา
7) นักวิเคราะห์ผังเมืองปฏิบัติการ.......................จำนวน  2 อัตรา
8) นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ.........................จำนวน  1 อัตรา
 
กำหนดการรับสมัคร
เปิดรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557
โดยผู้สนใจสมัครสอบแข่งขันฯ สามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครสอบได้จากเว็บไซต์ http://ksb.bangkok.go.th หรือ http://www.bangkok.go.th/exam 
 
ข้อมูลการติดต่อ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) 
ที่อยู่ 173 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ติดต่อ กลุ่มงานดำเนินการสอบ กองสรรหาบุคคล สำนักงาน ก.ก. โทร 02 225 6894
     
ดาวน์โหลดรายละเอียดประกาศรับสมัคร

คลิกไฟล์แนบ : http://203.155.220.217/exam/1_57/pre.pdf
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้