แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้ไว้ ณ วันใด
ก. ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ค. ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ข. ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ง. ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ตอบ ข.๔ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๑๘
2. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ก. 30 วัน ค. 90 วัน
ข. 60 วัน ง. 180 วัน
ตอบ ค. 90
วัน
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
มีกี่ฉบับ
ก. 2 ฉบับ ค. 4 ฉบับ
ข. 3 ฉบับ ง. 5 ฉบับ
ตอบ ค. 4 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ๒๕๑๘ (ฉบับที่ ๑)
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.
๒๕๒๘
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๕
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ.
๒๕๔๓
4. “วัตถุออกฤทธิ์”
หมายความว่าอย่างไร
ก. สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด
ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย
ข. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ
ค. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์
ง. ถูกทั้ง ข และ
ค
ตอบ ง.ถูกทั้ง
ข และ ค
“วัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ
หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด
ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย คืออะไร
ก. วัตถุออกฤทธิ์ ค. วัตถุตำรับ
ข. วัตถุตำรับยกเว้น ง.
ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. วัตถุตำรับ
“วัตถุตำรับ” หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด
ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรม
ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้
“วัตถุตำรับยกเว้น” หมายความว่า วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น
6. ข้อใดคือความหมายของคำว่า
“เสพ”
ก. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ด้วยวิธีการกิน
ข. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ด้วยวิธีการสูดดม
ค. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ด้วยวิธีการฉีด
ง. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด
ตอบ ง.
การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด
“เสพ” หมายความว่า การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด
“ติดวัตถุออทธิ์”หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันจนตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุออกฤทธิ์นั้น
โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ
7. ใครเป็นรักษาการตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ๒๕๑๘
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
8. ใครมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์
ก. ปลัดการกระทรวงสาธารณสุข ค.
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ง.
คณะกรรมกาวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ตอบ ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา
๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๑) ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ว่าวัตถุออกฤทธิ์ใดอยู่ในประเภท
๑ ประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔
(๒) กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณส่วนประกอบคุณภาพ ความบริสุทธิ์
หรือลักษณะอื่นของวัตถุออกฤทธิ์ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษาวัตถุออกฤทธิ์ตาม
(๑)
(๓) เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตาม
(๑)
(๔) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามมิให้ผลิต ขาย
นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง
(๔ ทวิ) ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ซึ่งอนุญาตให้ผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกได้
(๕) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องมีคำเตือนหรือข้อควรระวังเป็นหนังสือหรือเป็นภาพ
ให้ผู้ใช้ระมัดระวังตามความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
(๖) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก
(๗) ระบุวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้น
(๗ ทวิ) กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
๑ หรือประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๐๖ ทวิ
(๘) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้าไปยังประเทศหนึ่งประเทศใดตามมาตรา
๘๓
(๙) ระบุสถาบันของทางราชการตามมาตรา ๑๕ (๒) มาตรา ๑๗ (๒) และมาตรา ๖๓ (๓)
(๑๐) กำหนดสถานพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์
(๑๑) กำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการรักษาพยาบาลและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล