ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม

แชร์กระทู้นี้

อ้างอิง: กระทำโดย admin โดยการย้ายจากกระดานข่าว รวมพระราชบัญญัติ ในการสอบรับราชการ เมื่อเวลา(2013-02-16)

1. พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 บังคับใช้วันที่

. 5 กันยายน 2534  .18 กันยายน 2534

. 23 กุมภาพันธ์ 2534 . 2 ตุลาคม 2534

ตอบ . 5 กันยายน 2534

2. พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) .. 2550 บังคับใช้วันที่

. 5 กันยายน 2550 . 2 ตุลาคม 2550

. 18 พฤศจิกายน 2550  . 16 กันยายน 2550

ตอบ . 16 กันยายน 2550

3. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีอะไรบ้าง

. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง  . ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  . ถูกทุกข้อ

ตอบ . ถูกทุกข้อ

4. การแบ่งส่วนราชการออกเป็นส่วนต่าง ๆ ให้มีการกำหนดตำแหน่งโดยคำนึงถึงอะไรบ้าง

. คุณภาพ  . ปริมาณงาน

. คุณภาพและปริมาณงาน . ถูกทุกข้อ

ตอบ . ถูกทุกข้อ

5. ใครเป็นผู้รักษาการ ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534

. นายกรัฐมนตรี  . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  . ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ . นายกรัฐมนตรี

6. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

. สำนักนายกรัฐมนตรี  . ทบวง

. จังหวัด  . กรม

ตอบ . จังหวัด

7. สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็น

. กระทรวง . ทบวง

. กรม . มูลนิธิ

ตอบ . กระทรวง

 8. ข้อใดมีฐานะเป็นนิติบุคคล

. สำนักนายกรัฐมนตรี  . ทบวง

. กรม  . ถูกทุกข้อ

ตอบ . ถูกทุกข้อ

9. การจัดตั้ง การรวมหรือ การโอน สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ออกเป็นกฎหมายใด

. พระราชบัญญัติ  . พระราชกฤษฎีกา

. กฎกระทรวง . ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ . พระราชบัญญัติ

10. การจัดตั้ง การรวมหรือ การโอน ทบวง ให้ออกเป็นกฎหมายใด

. พระราชบัญญัติ  . พระราชกฤษฎีกา

. กฎกระทรวง  . ประกาศทบวง

ตอบ . พระราชบัญญัติ

11. การรวม หรือการโอน กระทรวง ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ให้ออกเป็นกฎหมายใด

. พระราชบัญญัติ  . พระราชกฤษฎีกา

. กฎกระทรวง  . ประกาศกระทรวง

ตอบ . พระราชกฤษฎีกา

12. การรวม หรือการโอน ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ให้สำนักงาน ก.. และสำนักงบประมาณตรวจสอบมิให้มีการกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกี่ปี

. 3 ปี . 5 ปี

. 7 ปี  . 10 ปี

ตอบ . 3 ปี 

13. การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ ของ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง หรือกรม ให้ออกเป็นกฎหมายใด

. พระราชบัญญัติ  . พระราชกฤษฎีกา

. กฎกระทรวง  . พระราชกำหนด

ตอบ . กฎกระทรวง  

 14. การยุบส่วนราชการ ของ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง หรือกรม ให้ออกเป็นกฎหมายใด

. พระราชบัญญัติ  . พระราชกฤษฎีกา

. กฎกระทรวง  . พระราชกำหนด

ตอบ . พระราชกฤษฎีกา

15. การแบ่งส่วนราชการภายใน สำนักนายกรัฐมนตรี กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎหมายใด

. พระราชบัญญัติ  . พระราชกฤษฎีกา

. กฎกระทรวง  . พระราชกำหนด

ตอบ . กฎกระทรวง  

16. ส่วนราชการใดต่อไปนี้ไม่ได้ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา . สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

. สำนักงบประมาณ  . สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตอบ . สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

17. ส่วนราชการในสำนักนายักรัฐมนตรีมีฐานะเป็น

. กระทรวง  . กรม

. หน่วยงาน . ทบวง

ตอบ . กรม

18. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายในสำนักนายกรัฐมนตรี

. นายกรัฐมนตรี  . ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี . ถูกทุกข้อ

ตอบ . นายกรัฐมนตรี

19. เมื่อนายกรัฐมนตรี ตาย, ขาดคุณสมบัติ, จำคุก, สภาลงมติไม่ไว้วางใจ, ศาลวินิจฉัยความเป็นนายกสิ้นสุดลง

. ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทน

. ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน

. ให้นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทน

. ให้นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน

ตอบ . ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทน

 20. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

ก. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง

ข. บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

ค. แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

ง. บริหารราชการตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการ

ตอบ .บริหารราชการตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการ

21. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคือ

.ปลัดกระทรวงมหาดไทย  .ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

. นายกรัฐมนตรี  . รองนายกรัฐมนตรี

ตอบ .ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

22. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

. ควบคุมข้าราชการประจำในสำนักนายก

. อำนาจเกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์

. บังคับบัญชาข้าราชการองจาก นายกรัฐมนตรี รองนายก รมต.ประจำสำนักนายก

. บังคับบัญชาข้าราชการใน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ . อำนาจเกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์

23. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี . เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

. เลขานุการนายกรัฐมนตรี . นายกรัฐมนตรี

ตอบ . เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

24. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี  . เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี . นายกรัฐมนตรี

ตอบ . เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

25. บุคคลใดเป็นข้าราชการเมือง

. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี  . รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

. ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  . เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ตอบ . เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ.  2534  และทีแก้ไขเพิ่มเติม
1.    ข้อใดเป็นหลักการในการบริหารราชการ ตาม พรบ.  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
ก.  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ข.  เพื่อลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
ค.  เพื่อกระจายอำนาจตัดสินใจ
ง.  เพื่อให้มีหน่วยงานที่จำเป็นเพิ่มขึ้น
จ.  ข้อ ก. ,ข.  และ ค. ถูก
ตอบ   (ข้อ จ.)
         ม.  3 /1  แห่ง ตาม พ.ร.บ.  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545  กำหนดให้การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ความมีประสิทธิภาพ  ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การลดภารกิจและการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้ท้องถิ่น  การกระจายอำนาจตัดสินใจ  การอำนวยความสะดวก  และการตอบสนองความต้องการของประชาชน  ทั้งนี้ โดยผู้รับผิดชอบต่อผลงาน  อนึ่งสำหรับการเพิ่มหน่วยงานที่จำเป็นไม่ใช่หลักการในการบริหารราชการตาม พ.ร.บ. นี้
2.    การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าตำแหน่ง  หรือปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2545  จะต้องเป็นไปตามหลักการใด
ก.  ความยุติธรรม    ข.  ความเสมอภาค
ค.  ความเท่าเทียม    ง.  ความมีประสิทธิภาพ
จ.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  (ข้อ ง.)
       ม.3/1  แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2545  กำหนดให้การจัดสรรงบประมาณ  และการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องบคำนึงหลักการตามวรรคหนึ่ง  คือ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  หรือเพื่อความมีประสิทธิภาพ เป็นต้น  สำหรับ ข้อ ก,ข. และ ค.  ไม่ใช่หลักการบริหารราชการดังกล่าว
3.    การจัดระเบียบราชการแผ่นดิน  มีรูปแบบการจัดอย่างไร
ก.  กระทรวง  ทบวง กรม    ข.  จังหวัด  อำเภอ  กิ่งอำเภอ
ค.  จังหวัด  อำเภอ  กิ่งอำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน    ง.  ส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  ส่วนท้องถิ่น
จ.  ผิดทุกข้อ
ตอบ  (ข้อ ง.)
               ม. 4  แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2534  กำหนดให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  ออกเป็น ส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น
4.    การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน  ของส่วนราชการต่างๆ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นพ.ศ. 2534 จะต้อวงคำนึงถึงอะไร
ก.  บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้ง
ข.  ความต้องการของหน่วยงาน
ค.  คุณภาพและปริมาณของส่วนราชการนั้นๆ
ง.  ประสิทธิภาพของหน่วยงานนั้นๆ
จ.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  (ข้อ ค.)
         ม. 5  แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2534  กำหนดให้การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของส่วนราชการต่างๆ ต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้นๆด้วย
5.    ข้อใดเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง
ก.  กระทรวง
ข.  ทบวง
ค.  ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม  แต่ไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง
ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก
จ.  ถูกทุกข้อ
ตอบ (จ.)
          ม. 7 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 กำหนดให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางออกเป็น 1)  สำนักนายกรัฐมนตรี  2)  กระทรวง หรือ ทบวง ซึ่งมีฐานะเทียวเท่ากระทรวง  3)  ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือ
           กระทรวง  4) กรม  หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม  ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี  กระทรวงหรือทบวง
6.    ส่วนราชการใด  มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก.  สำนักงานนายกรัฐมนตรี    ข.  ทบวง  ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.  กรม    ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  (ข้อ จ.)
            ม.  7 วรรคสาม  แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 กำหนดให้ส่วนราชการตามข้อ ก. ถึง ค.  มีฐานะเป็นนิติบุคคล
7.    โดยทั่วไปการจัดตั้ง  กระทรวง  ทบวง  กรม  จะต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.  พระราชบัญญัติ    ข. พระราชกำหนด
ค.  พระราชกฤษฎีกา    ง.  กฎกระทรวง
จ.  ระเบียบกระทรวง
ตอบ  (ข้อ ก.)
             ม. 8 วรรคแรก  แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 กำหนดให้การจัดตั้ง  กระทรวง  ทบวง  กรม  ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ  ส่วนกรณีพิเศษที่มีการรวมหรือโอน  กระทรวง  ทบวง  กรม  เข้าด้วยกัน  เป็นส่วนราชการเดียวกัน  หรือรวมหรือโอนเพื่อจัดตั้งเป็นส่วนราชการใหม่  โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นนั้น ม. 8 ทวิกำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
8.    กรณีที่มีพระราชกฤษฎีการวมกระทรวงเข้าด้วยกันเป็นส่วนราชการใหม่  ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
ก.  ห้ามมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังเพิ่มอย่างเด็ดขาด
ข.  ห้ามมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังเฉพาะของข้าราชการเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี
ค.  ห้ามมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังเฉพาะของลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี
ง.  ห้ามมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี
จ.  ผิดทุกข้อ
ตอบ  (ข้อ ง.)  
              ม. 8  ทวิ  วรรคสาม  แห่ง พ.ร.บ.  ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534  กำหนดกรณีที่มีการรวมหรือโอนส่วนราชการต่างๆ  เช่น  กระทรวง  ทบวง กรม  เข้าด้วยกัน โดยตราเป็นพระราช กฤษฎีนั้น ห้ามมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
9.    หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแล  ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชกฤษฎีกา  มิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี
ก.  กรมบัญชีกลาง
ข.  สำนักงานงบประมาณ
ค.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ง.  ข้อ ก. และ ค.
จ.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  (ข้อ ง.)
              ม. 8 วรรคสาม  แห่ง พ.ร.บ.  ระเบียบราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534  กำหนดให้สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  มีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแลส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่  โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกานั้น  มิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการและลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปีนับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
1. รูปแบบของรัฐของไทยเป็นแบบ
ตอบ รัฐเดี่ยว
2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ไว้ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2534
โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น
ตอบ 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
3. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้แก่
ตอบ ปลัดกระทรวง (ตาม ม.56 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2535 -ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทนถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทนไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่งแล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทนถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโส ตามแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน)
4. คณะกรมการจังหวัด ได้แก่
ตอบ คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัดอัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวงต่าง ๆเว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
5. การมอบอำนาจของอธิบดีให้รองอธิบดีเรียกว่า …… เช่นเดียวกับกรณีของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า ……..
ตอบ ปฏิบัติราชการแทน …….
6. ลัทธิการเมืองและการปกครองของไทยเราเป็นแบบ
ตอบ ลัทธิประชาธิปไตย
7. ระบอบการปกครองของไทยเป็นแบบ
ตอบ ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา
8. ถ้านายอำเภอไปราชการแทนแล้วประสบอุบัติเหตุ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ตามมาตรา 64 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนไว้ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
9. ข้าราชการประเภทใดที่ไม่อยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู
10.การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ การมอบอำนาจตามมาตรา 38 ให้มอบเป็นหนังสือเท่านั้น
11. ถ้ามีกฎหมายอื่นกำหนดวิธีการมอบอำนาจเป็นอย่างอื่นแล้ว จะมอบอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
12. นายอำเภอมอบอำนาจให้เสมียนตราอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
13. ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา สามารถมอบอำนาจให้ปลัดอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เพราะตำแหน่งปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาไม่ได้เป็นตำแหน่งตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
14.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น ส่วนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง  สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการอิสระ
15.การรวมกรมสองกรมเข้าด้วยกันโดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา ขรก.ลูกจ้างเพิ่มขึ้น ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
16.การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการระดับกรม ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
17.การยุบส่วนราชการระดับกระทรวงต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
18. พัฒนาการจังหวัด เป็นกรมการจังหวัด หรือไม่
ตอบ ไม่เป็น เพราะ ตามมาตรา 53 ในจังหวัดหนึ่งมีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวง
ต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมากกว่าหนึ่งคนให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
19.  การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินราชการบริหารส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
ตอบ  จังหวัด  อำเภอ
20. ถ้ากฎหมายมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะให้เป็นหน้าที่ของใคร ที่จะต้อง ... ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
ตอบ นายอำเภอ รักษาการ
21. การรับราชการเป็นหน้าที่ของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบ ไม่ แต่รับราชการทหารเป็นหน้าที่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การปฏิบัติตามกฎหมายการเสียภาษีอากร การรับการศึกษาอบรม เป็นหน้าที่ของชนชาวไทย
22. การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ
ตอบ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ
23. ราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง
ตอบ  กระทรวง ทบวง กรม
24. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายถึง
ตอบ จังหวัด อำเภอ
25. ราชการบริหารส่วนกลาง เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ รวมอำนาจ
26. ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ กระจายอำนาจ
27. สำนักงานอำเภอมีผู้ใดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ
ตอบ นายอำเภอ
28. จังหวัด แบ่งส่วนราชการเป็น
ตอบ สำนักงานจังหวัด และส่วนราชการประจำจังหวัด
29.การเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระทำโดย
ตอบ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
30.ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการอาจมอบอำนาจให้
ตอบ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
31. อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น
32.ผู้ว่าราชการจังหวัดป่วย ไม่สามารถปฏิบัติงานได้รองผู้ว่าราชการจังหวัดจึงทำหน้าที่แทน การปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการจังหวัดคือประการใด
ตอบ รักษาราชการแทน
33. กฎหมายซึ่งเป็นแม่บทในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก่อนพ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันมีผล
บังคับใช้ ประเทศไทยมีกฎหมายในข้อใดเป็นแม่บท
ตอบ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218  
34. ฐานะของส่วนราชการใดที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ
35. ฐานะของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นส่วนราชการที่เหมือนกับ
ตอบ กระทรวง
36. ส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นเช่นไร                         ตอบ กรม
37. สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายใน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีได้กรณี
ตอบ 1. จัดทำนโยบายและแผน 2. กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย 3.ติดตามแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบาย
38. ใครมีอำนาจบังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และกำกับโดยทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ นายกรัฐมนตรี
39. หน่วยงานใดทำหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง และไม่มีฐานะเป็นกรม
ตอบ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
40. หากมีความจำเป็นต้องมีส่วนราชการทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัดและติดตามนโยบายจะต้องรับการอนุมัติจากใคร
ตอบ คณะรัฐมนตรีโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นเป็นผู้บังคับบัญชา
41. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
ตอบ ปลัดกระทรวง
42. ในกระทรวงหนึ่ง ๆ จะมีตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงได้หรือไม่
ตอบ มีหรือไม่มีก็ได้
43. ในกระทรวงหนึ่ง ๆหน่วยงานใดรับผิดชอบราชการทางการเมือง
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
44. กรณีที่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
45. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
46. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่าที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง
47. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง
48. กรณีที่อธิบดี รองอธิบดี ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
49. ผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งต่างๆมีอำนาจหน้าที่เพียงใด
ตอบ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
50. การตั้งจังหวัดใหม่กระทำได้โดยกฎหมายใด
ตอบ พระราชบัญญัติ
51. ใครเป็นกรมการจังหวัด
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัดอัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด และ หน.ส่วนราชการประจำจังหวัดกระทรวงละ 1 คน และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
52. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงต่างๆถ้ามีหลายตำแหน่งจะเป็นกรมการจังหวัดได้กี่ตำแหน่ง
ตอบ เป็นได้ 1 คนตามที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
53. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงใดที่เป็นกรมการจังหวัดได้มากกว่ากระทรวงอื่น
ตอบ กระทรวงมหาดไทย
54. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคเป็นกรรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
ตอบ เพิ่มได้โดยทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยเฉพาะ
55. การตั้งอำเภอใหม่ต้องทำอย่างไร
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
56. ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงกี่กระทรวง
ตอบ 20 กระทรวง
57. ฐานะของส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล (ม.7)
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ
58. ใครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ม.13)
ตอบ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการบริหาร
59. ตำแหน่งใดไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ ผู้ช่วยนายอำเภอ
60. นายอำเภออาจมอบอำนาจให้ใครปฏิบัติราชการแทนได้บ้าง (ม.38)
ตอบ ปลัดอำเภอ,เกษตรอำเภอ,สาธารณสุขอำเภอ,พัฒนาการอำเภอ
61. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน (ม.43)
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง
62. ในกรมการจังหวัดจะมีข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยอยู่จำนวนเท่าใด (ม.53)
ตอบ 4 คน (ผวจ. รองผวจ.ที่ ผวจ. แต่งตั้ง ปจ. หน.สนง.จว.)
63. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดอาจจะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ (ม.54)
ตอบ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
64. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้ข้อใดรับผิดชอบในการวางแผน
ตอบ สำนักงานจังหวัด
65. อำเภอแบ่งส่วนราชการออกเป็น (ม.66)
ตอบ สำนักงานอำเภอและส่วนราชการประจำอำเภอ
66. การจัดการปกครองนอกจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วให้เป็นไปตาม      (ม.68)
ตอบ  พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
67. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายแบ่งเป็นกี่ประเภท (ม.70)
ตอบ 4 (อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล และการปกครองท้องถิ่นอื่น ที่ กม.จัดตั้งขึ้น)
68. “ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด” หมายถึง (ม.70)
ตอบ กรุงเทพมหานคร/พัทยา / อบต.
69. ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน ,สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
70. ส่วนราชการใดที่มิได้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน
71. การจัดระเบียบราชการของกระทรวง มีดังนี้
ตอบ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี,สำนักงานปลัดกระทรวง,กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
72. การแบ่งส่วนราชการในกรมสามารถแบ่งออกเป็น ดังนี้
ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม,กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
73. การมอบอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้วผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปได้หรือไม่โดยไม่รวมเรื่องมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ไม่ได้
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้