1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ตราเป็นกฎหมายเมื่อใด
ก. 20 มกราคม 2528 ค. 20 มิถุนายน 2528
ข. 20 มีนาคม 2528 ง. 20 สิงหาคม 2528
ตอบ ง. 20 สิงหาคม 2528
2. การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วยกี่ส่วน
ก. ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ประธานสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข. ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ค. ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ประธานสภากรุงเทพมหานคร , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขต
ง. ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ สภากรุงเทพมหานคร , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต
ตอบ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. ประธานสภา และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร จะดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภากรุงเทพมหานครได้เมื่อใด
ก. เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายชื่อ
ข. เมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครประกาศรายชื่อ
ค. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อ
ง. ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ตอบ ง. ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
4. ในปีหนึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไว้อย่างไรฃ
ก. สมัยประชุมสามัญมีจำนวน 2 สมัย
ข. สมัยประชุมสามัญมีจำนวน 3 สมัย
ค. สมัยประชุมสามัญมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 2 สมัย แต่ต้องไม่เกิน 3 สมัย
ง. สมัยประชุมสามัญมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 3 สมัย แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย
ตอบ สมัยประชุมสามัญมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 3 สมัย แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย
5. คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละกี่ปี
ก. 1 ปี ค. 3 ปี
ข. 2 ปี ง. 4 ปี
ตอบ ข. 2 ปี
6. ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการประจำรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรียกตำแหน่งว่าอย่างไร
ก. เลขนุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค. ผู้ช่วยเลขนุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข. เลขนุการผู้ว่ารองราชการกรุงเทพมหานคร ง. เลขนุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตอบ ค. ผู้ช่วยเลขนุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
7. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจแต่งตั้งประธานที่ปรึกษาและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้จำนวนกี่คน
ก. จำนวน 7 คน ค. จำนวน 9 คน
ข. จำนวนไม่เกิน 7 คน ง. จำนวนไม่เกิน 9 คน
ตอบ ง. จำนวนไม่เกิน 9 คน
8. ผู้บังคับบัญชาในส่วนราชการใดของกรุงเทพมหานครที่มีผู้บังคับบัญชาเป็นข้าราชการการเมือง
ก. สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข. สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ค. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ง. สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร
ตอบ ข. สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
9. ประธานสภาเขต และรองประธานสภาเขต ดำรงตำแหน่งตามวาระได้คราวละกี่ปี
ก. 1 ปี ค. 3 ปี
ข. 2 ปี ง. 4 ปี
ตอบ ก. 1 ปี
10. ใครเป็นผู้นัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกสภาเขตมาประชุมเป็นครั้งแรก
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ค. ประธานสภากรุงเทพมหานคร
ข. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ง. ผู้อำนวยการเขต
ตอบ ง. ผู้อำนวยการเขต
11. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ก. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ข. กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ผู้รักษาราชการแทนคือปลัดกรุงเทพมหานคร
ค. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนได้โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนได้โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ง. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนได้โดยไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
12. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2528 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุผลอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ในเวลาใด
ก. เวลา 06.00 น. ถึง 18.00 น.
ข. เวลา 06.00 น. ถึง 17.00 น.
ค. เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
ง. เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาทำการของสถานที่นั้น
ตอบ ง. เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาทำการของสถานที่นั้น
13. ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครแล้วจะถือใช้เป็นกฏหมายได้ใครเป็นผู้ลงนาม (กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร)
ก. ประธานสภากรุงเทพมหานคร ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ก. ประธานสภากรุงเทพมหานคร
14.ใครเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
ก. ประธานสภากรุงเทพมหานคร ค. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ง. ราษฎร์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
ตอบ ข. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
15. กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติให้เก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครสำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซปิโตรเลียมที่ขายในเขตกรุงเทพมหานครไม่เกินลิตรละกี่สตางค์
ก. ไม่เกินลิตรละ 5 สตางค์ ค. ไม่เกินลิตรละ 25 สตางค์
ข. ไม่เกินลิตรละ 10 สตางค์ ง. ไม่เกินลิตรละ 50 สตางค์
ตอบ ก. ไม่เกินลิตรละ 5 สตางค์
16. ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้โดยมีขั้นตอนอย่างไร
ก. ขออำนาจศาลออกหมายยึดหรือสั่งก่อน
ข. แจ้งให้กรมสรรพากรดำเนินการแทนกรุงเทพมหานคร
ค. แจ้งตำรวจและศาลดำเนินการไปพร้อมๆกัน
ง. ดำเนินการได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
ตอบ ง. ดำเนินการได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
17. ข้อใดเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
ก. ค่าใช้สอย ค. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม
ข. เงินเดือน ง. ค่าสาธารณูปโภค
ตอบ ค. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม
18. หน่วยงานใดเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่นๆของกรุงเทพมหานคร
ก. กรมบัญชีกลาง ค. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ข. สำนักงบประมาณ ง. กรมสรรพากร
ตอบ ค. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
19. ใครเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
ก. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข. อธิบดีกรมการปกครอง ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
20. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีจำนวนกี่คน
ก. 2 คน ค. ไม่เกิน 3 คน
ข. 3 คน ง. ไม่เกิน 4 คน
ตอบ ง. ไม่เกิน 4 คน