พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของ องค์การสวนยางไว้ดังนี้
1. ประกอบเกษตรกรรม ซึ่งมีการทำสวนยางพาราเป็นสำคัญรวมทั้งการสร้างแปลงเพาะและแปลงขยายพันธุ์ยางพารา
2. ผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปขาว น้ำยางข้น ยางผง ยางแท่ง ยางชนิดอื่น ๆ และสารประกอบของยางพารา
3. ประดิษฐ์หรือผลิตวัตถุจากยางพารา
4. ผลิตและจำหน่ายพลังงานเพื่อประโยชน์แก่กสิกรรม และกิจการ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การสวนยาง
5. ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกิจการตามข้อ 1,2,3 และ 4 และเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์เกษตรกรรม
6. อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเกี่ยวกับยางพารา
กระทรวงการคลัง ให้ไปซื้อที่ดินสวนยางในตำบลนาบอน และตำบลช้างกลาง อำเภอทุ่งสง และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏว่าซื้อได้ประมาณ 6 – 7 แห่ง รวมเนื้อที่ประมาณ 450 ไร่ และรับฝากขายอีกหลายแปลงเนื้อที่ประมาณ 170 ไร่ ขณะที่ออกหาซื้อที่ดินสวนยาง พระยาอนุวัติวนรักษ์ ได้สำรวจพบสวนยางปลูกใหม่ อายุประมาณ 1 – 2 ปี เป็นจำนวนหลายพันไร่ ปลูกติดต่อกันอยู่ในพื้นที่ที่บุกเบิกใหม่ ปรากฏว่าต่อมาที่ดินปลูกสร้างสวนยางใหม่เหล่านี้ เป็นที่ดินที่มีการบุกเบิกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพิ่งจะมาหักล้างถางพงบุกเบิกปลูกยางเมื่อ 1-2 ปีมานี้เอง อายุของต้นยางเป็นพยานได้ชัดแจ้ง พระยาอนุวัติ วนรักษ์ จึงได้ร่วมมือกับที่ดินจังหวัด ดำเนินการสอบสวนและขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินเพื่อความเรียบร้อยของที่ดินและป่าแห่งนี้ ทางราชการจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2484 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2484 หวงห้ามที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อการเกษตร รวมเนื้อที่ในเขตพระราชกฤษฎีกาประมาณ 12,000 ไร่ ในเนื้อที่ดังกล่าวปรากฏว่ามีต้นยางอ่อนปลูกอยู่แล้วประมาณ 6,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่ สวนยาง 6,000 ไร่ ดังกล่าวนี้ได้ตกมาอยู่ในความดูแลของกองการยาง กรมป่าไม้ กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่าที่ดินแห่งนี้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ในการขยายกิจการด้านสวนยางให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดแผนงานที่จะดำเนินการในสวนยางแปลงนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรชาวสวนยางเท่าที่จะทำได้ โดยกำหนดแผนงานขึ้นในระยะแรกไว้ดังนี้
1. จะดำเนินการขยายยางพันธุ์ดีไปสู่ราษฎร
2. จะส่งเสริมแนะนำเจ้าของสวนให้ดูแลรักษาสวนยางทั้งการกรีด และการทำยางออกจำหน่ายให้ถูกต้องตามหลักวิชา
3. จะทำการค้นคว้าทดลอง เกี่ยวกับกิจการยางในด้านต่าง ๆ ทำนองเดียวกับสถาบันวิจัยยางในมาเลเซีย
ต่อมาในปลายปี 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น งบประมาณที่จะใช้ตามแผนงานต้องนำไปใช้ด้านการทหาร จึงไม่สามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ได้ กองการยางจึงเพียงแต่ดูแลรักษาสวนยางดังกล่าวภายในวงเงินที่ได้รับมาแต่ละปี จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2488 ในระหว่างสงคราม เจ้าหน้าที่กองการยางคณะหนึ่ง ได้เข้าไปซื้อเครื่องมือทำยางแผ่น และยางเครปจากมาเลเซีย (ที่รัฐมาลัย) มาเป็นจำนวนมากเพื่อติดตั้งเตรียมไว้สำหรับทำยางแผ่นและยางเครปต่อไป เพราะในระยะนั้นมีต้นยางขนาดกรีดได้แล้ว ประมาณ 600-800 ไร่ ในระหว่างปี 2485-2490 กิจการสวนยางได้มารวมอยู่ในสังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ดำเนินงานในด้านการเงินคล่องตัวขึ้น จะได้ดำเนินการค้าได้สะดวก
ในปี 2490 กิจการของสวนยางแปลงนี้ได้โอนไปรวมอยู่กับ บริษัท แร่และยาง จำกัด แต่ยังไม่ทันจะได้ดำเนินการประการใด บริษัทแร่ละยางก็ต้องยกเลิกไป สวนยางแห่งนี้จึงกลับมารวมอยู่กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เช่นเดิม
ในเดือนตุลาคมปี 2491 กรมสวัสดิการทหารบก กระทรวงกลาโหม ได้มีคำสั่งให้ พ.ท.พร้อม ณ ห้อมเพชร และ พ.อ.ยง ณ นคร ไปศึกษากูกิจการทำสวนยางในสวนยางแห่งนี้ และตกลงใจที่จะเข้าดำเนินการในสวนยางแห่งนี้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2491 โดยกรมสวัสดิการทหารบกจะติดต่อกับกระทรวงเกษตร ให้โอนสวนยางให้แก่กรมสวัสดิการทหารบก แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป สวนยางแห่งนี้จึงยังคงอยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต่อไปตามเดิม เนื่องจากต้นยางในเนื้อที่ 6,000 ไร่ เติบโตได้ขนาดที่จะทำการกรีดเอาน้ำยางมาขายได้ จำเป็นต้องเตรียมการจัดฝึกและจัดหาคนงานมาทำการกรีดยาง ทำการสร้างโรงงานทำยาง ตลอดจนอาคารบ้านพักต่าง ๆ และจะต้องดำเนินงานด้านการผลิตและการขายยางเพื่อปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องแยกงานมาดำเนินการเป็นเอกเทศ และในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 อนุมัติให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้น เรียกว่าองค์การสวนยางนาบอน” สังกัดสำนักปลัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีมติดังนี้
1. ให้กองการยางซึ่งได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายทำสวนยางนาบอนอยู่แล้ว คงดำเนินการต่อไปภายในจำนวนเนื้อที่และวงเงินที่ได้รับ
2. อนุมัติให้ตั้งองค์การสวนยางขึ้นในกระทรวงเกษตร เพื่อดำเนินการทำสวนยางส่วนที่เหลือจากกองการยางทำ
องค์การสวนยางนาบอน ได้รับทุนจากกระทรวงการคลังมาดำเนินงานในขั้นต้นจากเงินงบประมาณประจำปี 2493 เป็นเงิน 3,400,000 บาท ในการจัดตั้งองค์การสวนยางนาบอนนั้น มีวัตถุประสงค์คือ
ผลิตยางแผ่นรมควันออกจำหน่าย
จำหน่ายน้ำยางสด
ดำเนินกิจการในการผลิตตามหลักวิชาการ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และทำการค้นคว้าทดลองส่งเสริมไปในขณะเดียวกันด้วย
อบรมฝึกเกษตรกรไทยให้มีความรู้ความชำนาญในการผลิตยาง
นับตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา องค์การสวนยางได้ดำเนินการและขยายงานออกไปหลายประการ เช่น ทดลองสร้างสวนโกโก้ในเนื้อที่ 300 ไร่ (แต่ทำได้ 4 ปี ก็ต้องเลิกไปเพราะพื้นที่ไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้) สร้างสวนยางพันธุ์ดีเพิ่มเติมในเนื้อที่ว่างเปล่าประมาณ 5,500 ไร่ สร้างสวนกาแฟ ในเนื้อที่ 700 ไร่ สร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำตก เพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในโรงงานผลิตยางและแสงสว่าง และได้สร้างโรงงานผลิตยางเครปจากเศษยาง
ต่อมาในปี 2504 กระทรวงเกษตรได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง เพื่อให้องค์การสวนยางมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเปลี่ยนซื่อจาก “องค์การสวนยางนาบอน” เป็น “องค์การสวนยาง” ดำเนินกิจการและบริหารงานภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ.2504 เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การสวนยางจำนวน 15 คน ประกอบด้วย |
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระ วงศ์สมุทร) | ประธานกรรมการ | 2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายศุภชัย โพธิ์สุ) | รองประธานกรรมการ | 3. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายจรัลธาดา กรรณสูต) | กรรมการ | 4. อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (นายสมชาย ชาญณรงค์กุล) | กรรมการ | 5. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง | กรรมการ | 6. ผู้แทนกระทรวงการคลัง | กรรมการ | 7. ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (นายชูชาติ ตันอังสนากุล) | กรรมการ | 8. นายทรงกลด จารุสมบัติ ด้านอุตสาหกรรมไม้ยาง | กรรมการ | 9. นายวิจารณ์ วิชชุกิจ ด้านการเกษตร | กรรมการ | 10. นายสมคิด สังขมณี ด้านกฎหมาย | กรรมการ | 11. นางสาวผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์ ด้านการพัฒนาสวนยาง | กรรมการ | 12. นายมาโนช สุวรรณศิลป์ ด้านการพัฒนาสวนยาง | กรรมการ | 13. นายอำนวย ปะติเส ด้านบริหารจัดการภาคเอกชน | กรรมการ | 14. นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ด้านบริหารจัดการเกษตรภาครัฐ | กรรมการ | 15. นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ด้านการตลาดและการจัดการเกษตร | กรรมการ |
|
หมายเลข 1 - 7 เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง หมายเลข 8 - 15 เป็นกรรมการโดยการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1 สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม. ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1 ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
|