ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบธุรการ สค. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบธุรการ สค. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

แชร์กระทู้นี้

1.  หนังสือราชการมีกี่ชนิด

 . 3 ชนิด . 4 ชนิด

 . 5 ชนิด . 6 ชนิด

ตอบ . ชนิดของหนังสือราชการ

1) หนังสือภายนอก ใช้ในการติดต่อราชการทั่วไป

2) หนังสือภายใน ใช้ในการติดต่อราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน

3) หนังสือประทับตรา ใช้ในการติดต่อราชการเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

4) หนังสือสั่งการ ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ

5) หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว

6) หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นเอกสารของทางราชการ ได้แก่ หนังสือรับรองรายงานการ ประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

2. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ใช้กระดาษตราครุฑ ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ .....” คือ หนังสือราชการชนิดใด

 . หนังสือภายนอก . หนังสือภายใน

 . หนังสือประทับตรา . หนังสือประชาสัมพันธ์

ตอบ . หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ใช้กระดาษตราครุฑ เขียนเป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดที่มิใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก

3.  ข้อใด เรียงลำดับโครงสร้างของหนังสือภายนอกได้ถูกต้อง

 . หัวหนังสือ-จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ 

 . หัวหนังสือ-เหตุที่มีหนังสือไป-จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ

 . หัวหนังสือ-เหตุที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ

 . หัวหนังสือ-จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป-เหตุที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ

ตอบ . โครงสร้างหนังสือภายนอกที่ถูกต้อง

1) หัวหนังสือ 2) เหตุที่มีหนังสือไป 3) จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป 4) ท้ายหนังสือ

4. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ อยู่ในส่วนใดในโครงสร้างหนังสือภายนอก

 . หัวหนังสือ . เหตุที่มีหนังสือไป

 . จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป . ท้ายหนังสือ 

ตอบ . หัวหนังสือมีรายละเอียดดังนี้

- ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะ และเลขประจำเจ้าของเรื่อง (ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ) ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง

- ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการ หรือคณะกรรมการที่เป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งด้วย (ส่วนราชการที่ลงในส่วนหัวหนังสือ เป็นส่วนราชการ เจ้าของหนังสือแต่ส่วนราชการที่ลงในส่วนท้ายหนังสือ เป็นส่วนราชการ เจ้าของเรื่องเช่น หนังสือของกรมที่ดิน กรมที่ดินเป็นเจ้าของหนังสือ ถ้าหนังสือนั้นจัดทำโดยกองการเจ้าหน้าที่ กองการเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าของเรื่อง

- วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปี พ.. ที่ออกหนังสือ

- เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความที่สั้นที่สุดของหนังสือนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่อง โดยปกติให้ ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม

- คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ แล้วลงชื่อตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึงหรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีหนังสือถึงตัวบุคคลโดยไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่

- อ้างถึง ถ้ามีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกัน ที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อน ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และเลขที่หนังสือ วันเดือนปี พ.. ของหนังสือนั้น

- สิ่งที่ส่งมาด้วย ถ้ามีสิ่งที่ส่งไปกับหนังสือนั้นด้วย ก็ให้ลงชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปกับหนังสือนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกัน ให้แจ้งว่าส่งไปโดยทางใด

5. หากมีสิ่งที่จะส่งไปกับหนังสือด้วย จะต้องลงชื่อสิ่งของหรือเอกสารนั้นๆ ไว้ในหัวข้อใด

 . คำขึ้นต้น . อ้างถึง

 . สิ่งที่ส่งมาด้วย . สำเนาส่ง

ตอบ  . สิ่งที่ส่งมาด้วย ถ้ามีสิ่งที่จะส่งไปกับหนังสือนั้นด้วย ก็ให้ลงชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปกับหนังสือนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกัน ให้แจ้งว่าส่งไปโดยทางใด

6. เหตุที่มีหนังสือไป จะต้องเป็นข้อความกี่ตอนจึงจะถูกต้อง

 . 1 ตอน . 2 ตอน

 . 3 ตอน  . ถูกทุกข้อ

ตอบ . เหตุที่มีหนังสือไป คือ ข้อความที่ผู้มีหนังสือไปแจ้งเหตุที่ต้องมีหนังสือไปยังผู้รับหนังสือ ซึ่งอาจเป็นข้อความตอนเดียว หรือ 2 ตอน หรือ 3 ตอนก็ได้

7. โครงสร้างของหนังสือภายในมีลักษณะแตกต่างกับหนังสือภายนอกในส่วนใด

 . คำขึ้นต้น . เรื่อง

 . สิ่งที่ส่งมาด้วย . คำลงท้าย

ตอบ . หนังสือภายใน โครงสร้างเช่นเดียวกับหนังสือภายนอก เว้นแต่

 1) ส่วนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ โดยปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)

 2) คำลงท้าย หนังสือภายในไม่มีคำลงท้าย

8.  กรณีใดที่ไม่สามารถใช้หนังสือชนิดหนังสือประทับตราได้

 . การขอรายละเอียดเพิ่มเติม

 . หนังสือที่เป็นกรณีเรื่องสำคัญ

 . หนังสือแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ

 . การเตือนเรื่องค้าง

ตอบ . หนังสือประทับตราคือ หนังสือติดต่อราชการที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบและลงชื่อย่อกำกับตรา ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ หรือกับหน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ และกับบุคคลภายนอก แต่ใช้ได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

9. คำใด ไม่ใช้เป็นคำเริ่มต้นแจ้งเหตุที่มีหนังสือไป

 . ด้วย . เนื่องจาก

 . อ้างถึง . อนุสนธิ

 ตอบ . คำเริ่มต้นแจ้งเหตุที่มีหนังสือไป จะเริ่มต้นด้วยคำใดคำหนึ่งใน 5 คำนี้ คือ

 - ด้วย ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น

 - เนื่องจาก ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น และต้องการอ้างเป็นเหตุอันหนักแน่นที่จำเป็นต้องมีหนังสือไป เพื่อให้ผู้รับดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

 - ตาม ตามที่ อนุสนธิ ใช้ในกรณีที่เคยมีเรื่องติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือ ซึ่งจะอ้างเรื่องที่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อนดังกล่าว โดยจะต้องมีคำว่า นั้นอยู่ท้ายตอนแรก และจะต้องมีข้อความซึ่งเป็นเหตุที่มีหนังสือไปอีกตอนหนึ่งเป็นอย่างน้อยเสมอ จะเขียนแจ้งเหตุที่มีหนังสือไปตอนเดียว แล้วเขียนจุดประสงค์ที่มีหนังสือไป (ที่เริ่มด้วยคำว่า จึง”) ไม่ได้

10.  จุดมุ่งหมายของการเขียนชื่อเรื่องคืออะไร

 . เพื่อรู้ใจความย่อของหนังสือ . เพื่อถูกต้องตามหลักการสากลของการหนังสือ 

   . เพื่อสะดวกแก่การแยก เก็บ ค้น อ้างอิง . ข้อ ก และ ค ถูก

ตอบ .  การเขียนชื่อเรื่อง ต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ เพื่อให้ได้รู้ใจความที่ย่อสั้นที่สุดของหนังสือ และเพื่อให้สะดวกแก่การแยก เก็บ ค้น อ้างอิง ชื่อเรื่องที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1) ย่อสั้นที่สุด ไม่ควรให้ยาวเกินกว่า 2 บรรทัด ยิ่งถ้าย่อให้ได้เพียงครึ่งบรรทัดยิ่งดี

2) เป็นประโยคหรือวลี เพราะถ้าเป็นเพียงคำนามหรือคำกริยา จะไม่ได้ใจความ

3) พอรู้ใจความว่าเป็นเรื่องอะไร เพราะผู้รับหนังสือย่อมอยากจะทราบในเบื้องต้นก่อนอ่านละเอียดทั้งฉบับว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สค. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
2 แนวข้อสอบสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
3 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
4 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
5 สรุปสาระสำคัญระเบียบงานสารบรรณ (สูตรและเทคนิคการจำ)
6 แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ
7 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม

เลือกตามตำแหน่งที่สอบ

เจ้าหน้าที่ธุรการ

เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม

นักจัดการงานทั่วไป

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

นักวิชาการเงินและบัญชี

นักวิชาการฝึกอบรมและฝึกวิชาชีพ

นักสังคมสงเคราะห์


ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

ส่งเป็นหนังสือ +MP3 
ระเบียบงานสารบรรณ ราคา 679 บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
 
บิ๊กซีขอนแก่น 
decho pragay  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.    สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีชื่อย่อว่าอย่างไร
ตอบ  สค.
2.    วิสัยทัศน์ของ  สค. คือ
ตอบ   "เป็นหน่วยงานหลักระดับชาติในการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชาย และความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว"
3.    พันธกิจหลัก ของ สค. คือ
ตอบ      1. กำหนด และพัฒนานโยบาย มาตรการ กลไก และกฎหมายด้านการส่งเสริมความเสมอ
                 ภาคหญิงชาย และความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว
         2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและประสานความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
        3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และ
                 ความรุนแรงในครอบครัว
         4. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี

4.    ภารกิจหลัก ของ สค. คือ
ตอบ  การพัฒนาศักยภาพสตรี การส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย และการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
5.    ยุทธศาสตร์ ของ สค. คือ
ตอบ      1. การเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชาย
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว
     3. การพัฒนากลไกการทำงานด้านสตรีและครอบครัว
4. การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร
6.    ภารกิจหน้าที่ ของ สค. คือ
ตอบ      1. พัฒนาและเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมศักยภาพของสตรี ความเสมอภาคของหญิงและชาย และความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว เพื่อความมั่นคงในการดำรงชีวิต
         2. เสริมสร้างและพัฒนามาตรการ กลไกในการส่งเสริมศักยภาพของสตรี ความเสมอภาคของหญิงและชาย และความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัว
         3. ส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการและทรัพยากรในการดำเนินการของเครือข่าย เพื่อส่งเสริม ศักยภาพ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมของหญิงและชาย และความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัว
         4. ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการดำเนินการตามพันธกรณี ข้อตกลง และความร่วมมือระหว่างประเทศ
         5. ส่งเสริมและประสานการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีตามกฎหมาย
         6. วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรมของหญิงและชาย และความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
         7. กำหนดมาตรฐาน กำกับดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการที่กำหนด
         8. ประสานข้อมูลด้านการส่งเสริมศักยภาพ ความเสมอภาค ความเป็นธรรมของหญิงและชาย และความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
         9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

7.    ค่านิยมขององค์กร คือ
ตอบ  " มืออาชีพ จริยธรรม ภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม "
8.    ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวคือ
ตอบ   นายสมชาย เจริญอำนวยสุข
9.    เว็ปไซด์ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ตอบ   www.women-family.go.th
10.    สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว อยู่สังกัดกระทรวงใด
ตอบ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
11.    เว็ปไซด์ของศูนย์ข้อมูลกลางด้านการส่งเสริมและความเสมอภาคหญิงชาย คือ
ตอบ     www.gender.go.th
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้