ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติและประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่พ.ศ. 2541ดิน
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติและประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่พ.ศ. 2541ดิน

แชร์กระทู้นี้

size="2">พระราชบัญญัติ
เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่น
ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการ
และกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการ
และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๔๑
                  
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๑”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาด้วย
“ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
 
มาตรา ๔ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
 
มาตรา ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่น ดังต่อไปนี้
(๑) การประกันสุขภาพ
(๒) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย และอัตราค่าประกันสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ละคณะกำหนด
ระเบียบนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 
มาตรา ๖ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ครบกำหนดออกตามวาระ
(๒) ลาออก
(๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์สำหรับประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ คูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
การนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคหนึ่งนั้น ให้นับตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย การคำนวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นำเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคำนวณให้ใช้ทศนิยมสองตำแหน่ง และให้นำจำนวนที่คำนวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นจำนวนปี
สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
 
มาตรา ๗ ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตายไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวตามเกณฑ์ในมาตรา ๖ โดยให้จ่ายแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
มาตรา ๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๓๑๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๒๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้วแต่กรณี และได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
 
มาตรา ๙ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี



บัญชี
อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                       
 
ตำแหน่ง
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินประจำตำแหน่ง
(บาท/เดือน)
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
๖๔,๐๐๐
๕๐,๐๐๐
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
๖๒,๐๐๐
๔๒,๕๐๐
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
๖๓,๐๐๐
๔๕,๕๐๐
กรรมการการเลือกตั้ง
๖๒,๐๐๐
๔๒,๕๐๐
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
๖๒,๐๐๐
๔๒,๕๐๐
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๖๓,๐๐๐
๔๕,๕๐๐
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๖๒,๐๐๐
๔๒,๕๐๐
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
๖๒,๐๐๐
๔๒,๕๐๐
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
๖๑,๐๐๐
 
๔๑,๕๐๐


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งมาตรา ๒๕๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของประธานศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และประธานศาลปกครองสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญให้เท่าเทียมกับประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด และแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
  
 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๙ ก/หน้า ๓/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๑
๒ มาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖

๓ ช่องบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญของบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน แก้ไขเพิ่มเติมเติมโดยพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๒๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๖




[url=javascript:history.back(1)]« Back
[/url]
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้