1. หลักราชการ 10 ประการ ของรัชกาลที่ 6 มีอะไรบ้าง
ตอบ หลักราชการ 10 ประการ ของรัชกาลที่ 6 ได้แก่ 1. สามารถ 2. เพียร 3. ไหวพริบ 4. รู้เท่าถึงการ 5. ซื่อตรงต่อหน้าที่ 6. ซื่อตรงต่อคนทั่วไป 7. รู้จักนิสัยคน 8. รู้จักผ่อนผัน 9. มีหลักฐาน 10. จงรักภักดี
2. ธุรการกำลังพล คือ
ตอบ - เหล่าทหารบกที่อยู่นอกความรับผิดชอบของ ทบ. คือ เหล่า ผท. และ เหล่า ธน.
3. ประเภทของนายทหารสัญญาบัตร แบ่งตามพื้นฐานความรู้ หรือแหล่งกำเนิดได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 4 ประเภท ได้แก่ 1. สำเร็จการศึกษาจาก รร.จปร.หลักสูตรประจำ (นร.) วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎ (นพท.) รร.ทหารต่างประเทศที่ กห.รับรองหลักสูตร (นรต.)
2. จากการผลิตด้วยวิธีพิเศษเร่งด่วน ได้แก่ นายร้อยสำรอง (นรส.) นายร้อยพิเศษ (นรพ.)
3. จากนายทหารประทวนเลื่อนฐานะ (นป.)
4. จากพลเรือนสอบบรรจุ (พ.)
4. การเลื่อนยศ ตามเกณฑ์ทั่วไปพิจารณาจากปีรับราชการใดบ้าง
ตอบ - 3 ปี เป็น ร.ท. - 7 ปี เป็น ร.อ.
- 10 ปี เป็น พ.ต. - 13 ปี เป็น พ.ท.
- 16 ปี เป็น พ.อ. - 19 ปี เป็น พ.อ.พิเศษ
- 21 ปี เป็น พล.ต.
5. การศึกษา
ตอบ - ชั้นนายร้อย ต้องมีชั้นเงินเดือน น.1 ชั้น 7 ขึ้นไป ยกเว้น กำเนิด จปร.เรียนได้เลย
- ชั้นนายพัน ต้องมีชั้นเงินเดือน น.1 ชั้น 11 ขึ้นไป
- เสธ.ทบ. ต้องมีเวลารับราชการครบ 7 ปี ยศและเงินเดือนอยู่ระหว่าง ร.อ.เงินเดือน น.1 ชั้น 14 – พ.ต. เงินเดือน น.2 ชั้น 5
- วทบ. พ.อ. – พ.อ.พิเศษ
6. การทดสอบร่างกายของทหารต้องทดสอบกี่ครั้งต่อปี
ตอบ ปีละ 2 ครั้ง เดือน ก.พ. และ ส.ค.ของทุกปี รายงาน ทบ.(ผ่าน สบ.ทบ.) ก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- บุคคลที่จะบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตร ไม่ต่ำกว่า 75%
- นายทหารประทวนเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ไม่ต่ำกว่า 70%
- นายทหารสัญญาบัตรที่ได้รับเงินค่าฝ่าอันตราย ไม่ต่ำกว่า 80% (ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตาม
ความเห็นแพทย์)
- นายทหารสัญญาบัตร พ.อ.ลงมา ไม่ต่ำกว่า 60%(ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์)
- นายทหารสัญญาบัตร พ.อ.ลงมา (ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์) หากไม่ผ่านการ
ทดสอบ 2 ครั้งติดต่อกัน ให้ถือว่าหย่อนสมรรถภาพให้ปรับย้ายเข้าประจำและหากยังไม่ผ่านใน
การทดสอบครั้งต่อมาหลังจากได้ปรับย้ายเข้าประจำแล้ว 1 ปี ให้ปลดเป็นกองหนุน
7. ระเบียบ ทบ.ว่าด้วย ประวัติ พ.ศ.2539 หน่วยส่วนกลาง ประกอบไปด้วย
ตอบ - สำนักงานเลขานุการ ทบ. – กรมฝ่ายเสนาธิการ
- กรมฝ่ายกิจการพิเศษ – กรมฝ่ายยุทธบริการ
- หน่วยข่าวกรองทางทหาร
8. หน่วยส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
ตอบ - ส่วนภูมิภาค
- ส่วนกำลังรบ
- ส่วนสนับสนุนการรบ (เว้นหน่วยข่าวกรอง)
9. ส่วนการศึกษา ประกอบด้วบ
ตอบ - ยศ.ทบ. - กรมรักษาดินแดน - รร.จปร.
- สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง - ศสพ. - ศบบ.
- ศร. - ศม. - ศป.
10. การทำประวัติ ในแบบประวัติรับราชการ ทบ.100-010 และผนวก ก.คำชี้แจง
ตอบ - นักเรียนทหารในประเทศ ทำ 2 ชุด ให้สถานศึกษาจัดทำส่งให้ สบ.ทบ. 1 ชุด ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ. เจ้าของพื้นที่หน่วยต้นสังกัดของเจ้าของประวัติผู้นั้นสังกัดอยู่
- นักเรียนทหารต่างประเทศ ทำ 2 ชุด ให้ สบ.ทบ.จัดทำและเก็บไว้ที่ สบ.ทบ. 1 ชุด ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ. 1 ชุด
- นายทหารประทวนเลื่อนฐานะ ผู้ที่สังกัดหน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ให้หน่วยจัดทำประวัติเพิ่ม 1 ชุด และสำเนาจากฉบับเดิมที่ทำเพิ่ม 1 ชุด รวมเป็น 3 ชุด และให้ หน.แผนก หรือเทียบเท่าลงลายมือชื่อตรวจถูกต้อง และรับรองสำเนา แล้วส่งชุดที่ทำสำเนาแนบเรื่องขอเลื่อนฐานะให้ สบ.ทบ. ส่วนชุดที่จัดทำขึ้นใหม่ให้ส่งหน่วยต้นสังกัดใหม่หรือหน่วยที่ไปบรรจุ ผู้ที่ไม่สังกัดหน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ให้ มทบ.หรือ จทบ.จัดทำประวัติเพิ่ม 1ชุด และสำเนาชุดที่ทำเพิ่ม รวมเป็น 3 ชุด ส่งชุดเดิมและสำเนาให้หน่วยต้นสังกัดที่เลื่อนฐานะ ส่วนที่ทำใหม่ให้ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ.หน่วยต้นสังกัดที่ไปบรรจุ
- การเปลี่ยน ชื่อ – สกุล ให้รายงาน ผบช.ภายใน 30 วัน และต้องแจ้งให้ สบ.ทบ.ทราบ
- เจ้าของประวัติจะต้องตรวจสอบประวัติของตนเองไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
- การบันทึกข้อความในแบบประวัติรับราชการปกติ ให้บันทึกด้วยหมึกน้ำเงิน หรือดำ ยกเว้นยศ ตำแหน่งในหน้าแรก และในหน้าติดรูปถ่าย ให้บันทึกด้วยดินสอดำ
- การบันทึกความสามารถและผลงานดีเด่น ข้อบกพร่อง นายทหารสัญญาบัตรต้องได้รับอนุมัติจาก ผบ.ทบ.หรือผู้รับมอบอำนาจ นายทหารประทวนต้องได้รับอนุมัติจาก หน.ส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพบก
11. เอกสารประกอบประวัติ
ตอบ - บัญชีรับรองเวลาราชการทวีคูณ (ตัวจริง) ต้องให้ หน.แผนกประวัติเป็นผู้รับรองสำเนาเท่านั้น
- สำเนามรณบัตรของทายาท (บิดา มารดา คู่สมรส บุตร)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของทายาท
- สำเนาทะเบียนสมรสของ บิดามารดา
- สำเนาทะเบียนสมรสของเจ้าของประวัติ
- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตร
- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม
- สำเนาทะเบียนการหย่าของบิดามารดา
- สำเนาทะเบียนการหย่าของเจ้าของประวัติ
- สำเนาทะเบียนการเปลี่ยนชื่อ
- หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ
- บันทึกรับรองเวลาราชการที่ กห.ตรวจสอบไม่ได้
- ใบรับรองการเป็นทายาท
- สำเนา สด.43
- สำเนาคำสั่งบรรจุครั้งแรก
- สำเนาใบสมาชิกฌาปกิจ ทบ.
12. โครงสร้างหมาเลข ชกท.
ตอบ หมายเลข ชกท.สำหรับนายทหารสัญญาบัตร ประกอบด้วยตัวเลข 4 ตัว
- ตัวแรก ประเภทงานใน ทบ. มี 10 ประเภท ( 0 – 9 )
- 0 ตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นกรณีพิเศษ งานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและการขนส่ง
- 1 การบังคับบัญชาและการรบ
- 2 ธุรการ การบริการและการฝึก
- 3 การแพทย์ และสุขาภิบาล
- 4 จัดหา ส่งกำลัง ซ่อมบำรุง
- 5 สวัสดิภาพและสวัสดิการ
- 6 การเงิน การบัญชีและการงบประมาณ
- 7 งานทางเทคนิคด้านวิศวกรรม
- 8 งานวิชาชีพ งานด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
- 9 การป้องกันอันตราย การข่าวกรอง และการสืบสวน
- ตัวเลข 3 ตัวหลังแสดงถึงขีดความชำนาญของงานแต่ละประเภทงานนั้น ๆ
- นอกจากตัวเลข 4 ตัวดังกล่าว ยังกำหนดให้มีตัวเลขเพิ่มเติมสำหรับงานบางตำแหน่ง ซึ่งต้องบรรจุผู้มีคุณวุฒิพิเศษ
- 1 จนท.สงครามจิตวิทยา - 2 จนท.ข่าวกรองทางเทคนิค
- 3 จนท.การรบพิเศษ - 4 จนท.วิจัยและพัฒนาการรบ
- 5 จนท.อาวุธปรมณู - 6 จนท.ปฏิบัติการบนเครื่องบิน
- 7 พลร่ม - 8 ครู
13. ตัวอย่าง ผู้บังคับหน่วยทหารราบ ชกท.1542
ตอบ นักบิน ชกท.6-1981
14. การให้หมายเลข ชกท. กระทำได้ 2 วิธี
ตอบ 1. เข้ารับการศึกษาอบรม
2. การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ของ ชกท.ใหม่ ผบ.หน่วยตั้งแต่ชั้น ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ และให้มีระยะเวลาในการฝึกอย่างน้อย 3 เดือน
15. กำลังพลผู้ใดมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งใน ชกท.ที่ได้รับติดต่อกันกี่ปี จึงจะหมดสภาพหมายเลข ชกท.
ตอบ ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
16. ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนใดสามารถปฏิบัติงานได้ทุก ชกท.
ตอบ รร.สธ.ทบ.และ วทบ.สามารถปฏิบัติงานได้ทุก ชกท.
17. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ.2502
การบรรจุ และปลด
ตอบ - ต่ำกว่าสัญญาบัตร ผบ.พล หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง
- ชั้นสัญญาบัตร รมว.กห.เป็นผู้สั่ง เว้นแต่ตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป พระมหากษัตริย์
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่ถ้าเป็นการลาออกหรือเกษียณ รมว.กห.เป็นผู้สั่ง
การย้าย เลื่อน และลดตำแหน่ง
ตอบ - ต่ำกว่าสัญญาบัตร ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนพรรคเหล่า จำพวก หรือวิทยาการ ในหน้าที่ ต้องได้รับอนุมัติจาก เลขา รมว.กห. ปลัด กห. สมุหราชองครักษ์ ผบ.สส. ผบ.ทบ.หรือเทียบเท่าก่อน
- ชั้นสัญญาบัตร
- ตั้งแต่ ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าลงไป ให้ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง (ยกเว้นเปลี่ยนเหล่า)
- ตั้งแต่ชั้น ผบ.กรม หรือเทียบเท่าลงไป และการเปลี่ยนพรรคเหล่า จำพวก หรือวิทยาการในหน้าที่ หรือการเลื่อนหรือลดตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าลงไป ให้ ปลัด กห. สมุหราชองค์รักษ์ ผบ.สส. ผบ.ทบ. เป็นผู้สั่ง
- ตั้งแต่ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
- การย้ายระหว่างกำลังศึกษาอยู่ ให้ผู้นั้นศึกษาให้จบหลักสูตรก่อนแล้วจึงเดินทางไปรับตำแหน่ง
- นายทหารประทวนจะทำหน้าที่นายทหารได้ ต้องผ่านการคัดเลือก และเข้ารับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่ ทบ.กำหนด เว้นบางกรณี หน่วยอาจสั่งให้ทำหน้าที่ฯ ก่อนได้แต่ผู้นั้นต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 ปี และต้องเป็น จ.ส.อ.มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
18. ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการลา พ.ศ.2536
ตอบ - การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวณวันลาให้นับต่อเนื่องกัน โดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับลากิจ และวันพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ
- ลาป่วย
- ลาได้ไม่เกิน 90 วัน
- เจ็บป่วยเนื่องจากไปราชการในที่กันดาร ในท้องที่ซึ่งมีโรคภัยชุกชุม หรือประสบอันตรายจากการปฏิบัติราชการ ลาได้ 180 วัน
- เจ็บป่วยเนื่องจากการกระทำการตามหน้าที่อันเนื่องจากไอพิษวัตถุธาตุที่เป็นพิษ วัตถุระเบิด เชื้อโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ลาได้ 270 วัน
- เจ็บป่วยเนื่องจากการกระทำการตามหน้าที่ในอากาศ ใต้น้ำ ใต้ดิน กระทำหน้าที่พิเศษฝ่าอันตรายตามที่ได้รับอนุมัติหรือมอบหมายจาก รมว.กห. กระทำหน้าที่การรบการสงคราม การปราบจลาจล หรือหน้าที่ตามกฎอัยการศึก ลาได้ 365 วัน
- ผู้ป่วยต้องเสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จะให้ผู้อื่นทำใบลาเสนอแทนก็ได้ ถ้าลาเกิน 3 วัน ต้องมีใบความเห็นแพทย์แนบมาด้วย
- ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่สถานพยาบาลของทหารไม่ต้องทำใบลา ให้หน่วยต้นสังกัดของผู้ป่วยกับสถานพยาบาลทำหลักฐานการส่งผู้ป่วย และหลักฐานการส่งคืนหน่วยต้นสังกัดให้ไว้ต่อกัน
- ลาคลอดบุตร
- ลาได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือน และไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
- ผู้ลาให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ผบ.กรม ขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
- ลากิจ
- ลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการ
- ลาพักผ่อนประจำปี
- ลาได้ไม่เกิน 10 วันทำการ
- ผู้ลาให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ผบ.กรม ขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
- ผู้ใดมิได้ลา หรือลาแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 20 วันทำการ
- ผู้ใดรับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี มีสิทธิสะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
- ลาอุปสมบท และลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- ลาได้ไม่เกิน 120 วัน
- ผู้ลาต้องรับราชการติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันอุปสมบท
- นายทหารสัญญาบัตร ต้องเสนอใบลาอุปสมบทตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ. เพื่อวินิจฉัยอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอ รมว.กห. ก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า 30 วัน
- นายทหารประทวน ต้องเสนอใบลาอุปสมบทตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.พัน. เพื่อวินิจฉัยอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอ ผบ.พล. เป็นผู้อนุญาตก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า 30 วัน
- ผู้ได้ลาอุปสมบทต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา ลาสิกขาเมื่อใดต้องรายงานให้ ผบช.โดยตรงทราบ และเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน
- หากไม่สามารถอุปสมบทได้ตามที่ลา ให้ถือว่าวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจ
- ผู้ใดจะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ.เพื่อวินิจฉัย เมื่อเห็นสมควรจะอนุญาตแล้ว จึงรายงานเสนอ รมว.กห. ก่อนถึงกำหนดวันลาไม่น้อยกว่า 30 วัน
เอกสารแนวข้อสอบ ยศ.ทบ. ทหารประทวนเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ- แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
- แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
- แนวข้อสอบวิชาศาสนาและศิลธรรม
- แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน การเมืองเศรษฐกิจ สังคม และการทหาร
ข้อสอบเฉพาะตำแหน่ง (เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)
-
ยศ.ทบ. สายงานสารวัตรทหาร
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com