๑. ดาบตำรวจแดงได้ไปหลอกนางสายและสามีว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อในบัญชีดำเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ หากให้เงินจำนวน ๓๐๕.๐๐๐ บาท แก่ดาบตำรวจแดง จะไม่มีชื่อในบัญชีดำและไม่ถูกดำเนินคดี นางสายจึงได้มอบเงินจำนานดังกล่าวให้ดาบตำรวจแดง นางสายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาดาบตำรวจแดงหรือไม่
ก. ฟ้องได้ เพราะนางสายเป็นผู้เสียหาย
ข. ฟ้องไม่ได้ เพราะนางสายมิใช่ผู้เสียหาย
ค. ฟ้องได้ เพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
ง. ฟ้องไม่ได้ เพราะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ต้องร้องทุกข์ก่อน
๒. ความผิดใดที่ราษฎรอาจเป็นผู้เสียหาย
ก. ความผิดตามประมวลรัษฎากร
ข. ความผิดฐานขัดขืนหมายหรือคำสั่งศาลให้มาให้ถ้อยคำ
ค. ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาหาร
ง. ความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
๓. บุตรของนายขาวถูกนายเสียขับรถชนตาย นายขาวจึงได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายเสือ ร.ต.ต.ดำ ได้จดบันทึกคำให้การของพยานที่เห็นเหตุการณ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง เจตนาช่วยให้นายเสือซึ่งเป็นญาติของตนได้รับโทษน้อยลง นายขาวจึงได้ยื่นฟ้อง ร.ต.ต.ดำ ตาม ป.อ.มาตรา ๑๕๗,๒๐๐ นายขาวมีอำนาจฟ้องหรือไม่
ก. ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะผุ้เสียหายที่แท้จริงตายเสียก่อนร้องทุกข์
ข. ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะมิใช่ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้บุตรของนายขาวตาย
ค. มีอำนาจฟ้อง เพราะนายขาวเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ง. มีอำนาจฟ้อง เพราะนายขาวเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนบุตร
๔. นาย ก. ได้กระทำผิดฐานฆ่าผุ้อื่น เหตุเกิดที่จังหวัดนนทบุรี จากนั้น นาย ก. ได้หลบหนีไปอยู่จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมนาย ก. ได้ที่จังหวัดปทุมธานี ปรากฏว่านาย ข. เพื่อนของนาย ก. ได้มาขัดขวางเจ้าหน้าที่ตำรวจมิให้จับกุมนาย ก. การกระทำของนาย ข. จึงเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ดังนี้ พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องนาย ก. ฐานฆ่าผู้อื่น และยื่นฟ้องนาย ข. ฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ต่อศาลใดจะสะดวก
ก. ยื่นฟ้องนาย ก. และนาย ข. ต่อศาลจังหวัดปทุมธานี
ข. ยื่นฟ้องนาย ก. ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี และยื่นฟ้องนาย ข. ต่อศาลจังหวัดปทุมธานี จากนั้น
ขอให้ศาลจังหวัดปทุมธานีโอนคดีมาพิจารณารวมกันที่ศาลจังหวัดนนทบุรี
ค. ยื่นฟ้องนาย ก. และนาย ข. ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี
ง. ยื่นฟ้องนาย ก. ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี และยื่นฟ้องนาย ข. ต่อศาลจังหวัดปทุมธานี
๕. ความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือ
ก. พนักงานสอบสวนกองปราบปราน
ข. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ค. อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน
ง. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๖. ใครเป็นผู้มีอำนาจออกหมายเรียก
ก. พนักงานสืบสวนและพนักงานสอบสวน
ข. พนักงานสืบสวนและตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ค. พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่และพนักงานสอบสวน
ง. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และศาล
๗. พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนนายแดงที่บ้านของนายแดงเอง จะเรียกนายแดงมาสอบปากคำไว้เป็นพยานโดยไม่ต้องออกหมายเรียกได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะพนักงานสอบสวนเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ข. ได้ เพระพนักงานสอบสวนไปสอบสวนทำการสอบสวนด้วยตนเอง
ค. ไม่ได้ เพราะต้องออกหมายเรียกเสมอ
ง. ไม่ได้ เพราะพนักงานสอบสวนมิใช่นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่
๘. หมายอาญาได้แก่หมายดังต่อไปนี้
ก. จับ ขัง ควบคุม ค้น จำคุก
ข. จับ เรียก ค้น จำคุก และปล่อยตัวชั่วคราว
ค. จับ ควบคุม ค้น ขัง และปล่อย
ง. จับ ขัง จำคำ และค้น
๙. ใครเป็นผู้มีอำนาจค้นตาม ป.วิ อาญา
ก. พนักงานอัยการและศาล
ข. พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ
ค. พนักงานฝ่ายปกครองและพนักงานอัยการ
ง. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจและพนักงานสอบสวน
๑๐. ในกรณีที่ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้งแต่ละครั้งสามารถสั่งขังได้ครั้งละกี่วัน
ก. ๒๔ วัน ข. ๘๔ วัน
ค. ๔๘ วัน ง. ไม่เกิน ๑๒ วัน
๑๑. ผู้มีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวได้แก่ใคร
ก. ผู้เข้ามามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนเพราะมีข่าวทางหนังสือพิมพ์ว่าถูกดำเนินคดี
ข. ผู้ต้องหาที่ปรากฏตัวต่อพนักงานสอบสวน
ค. ผู้ต้องหาที่ถูกจับแล้วหรือจำเลย
ง. ผู้ต้องหาแม้ยังไม่ถูกจับก็ขอให้ปล่อยชั่วคราวได้
๑๒. สาระสำคัญประการหนึ่งของคำร้องทุกข์คืออะไร
ก. บุคคลอื่นได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้นซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ตน
ข. ผู้เสียหายได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้นซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ตน
ค. ผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ตน
ง. บุคคลอื่นกล่าวหาโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
๑๓. เจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งจะเป็นผู้รับคำร้องทุกข์กฎหมายกำหนดไว้คือบุคคลใด
ก. พนักงานสอบสวนเท่านั้น
ข. พนักงานสืบสวนสอบสวนและตำรวจ
ค. พนักงานสอบสวนและตำรวจ
ง. พนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจ
๑๔. ในการสอบสวนคดี ถ้าการใดในการสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจ พนักงานสอบสวนจะกระทำได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะกฎหมายบังคับไว้เด็ดขาด
ข. ไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน
ค. ได้ โดยส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนซึ่งมีอำนาจทำการนั้นจัดการให้
ง. ได้ โดยเฉพาะไปสอบสวนประเด็นใดซึ่งเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวน
๑๕. ในการดำเนินการสอบสวน กฎหมายกำหนดให้ดำเนินการสอบสวนไว้อย่างไร
ก. โดยมิชักช้า ข. โดยทันที
ค. โดยพลัน ง. ตามที่เห็นสมควร
๑๖. ก่อนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบ กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงเรื่องอะไรก่อน
ก. ฐานความผิดตามที่มีผู้กล่าวหา
ข. การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ต้องหากระทำผิด
ค. ตัวบุคคลที่ได้รับความเสียหาย
ง. รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
๑๗. สำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าสอบสวนเสร็จแล้ว แต่ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด จะต้องทำความเห็นในสำนวนอย่างไร
ก. สั่งไม่ฟ้อง
ข. สั่งยุติ
ค. งดการสอบสวนหรือให้งดการสอบสวน
ง. สั่งสอบสวนเพิ่มเติม
๑๘. หลังจากได้มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานฆ่าคนโดยเจตนาแล้ว นายคงประจักษ์พยานเข้าพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าตนถูกพวกผู้ต้องหาจับตัวไปคุมขังไว้ในเซฟเฮาส์แห่งหนึ่งเพิ่งปล่อยตัวมา เมื่อมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาแล้ว เช่นนี้ จะทำการสอบสวนผู้ต้องหาใหม่ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องงแล้ว
ข. ไม่ได้ เพราะคำให้การของนายคงมิใช่พยานหลักฐานใหม่
ค. ไม่ได้ เพราะกรณียังเป็นที่น่าสงสัยว่านายคงจะเป็นพยานหลักฐานใหม่หรือไม่
ง. ได้ เพราะนายคงเป็นประจักษ์พยาน และเป้นพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำ
ให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาได้
๑๙. ตอนเช้ามืดมีผู้พบศพชายคนหนึ่งนอนคว่ำหน้าอยู่บนลานดินกลางหมู่บ้าน ไม่มีใครรู้จักชายคนนี้และไม่ปรากฏร่องรอยบาดแผลตามร่างกาย การตายแบบนี้ต้องทำการชันสูตรพลิกศพหรือไม่
ก. ไม่ต้อง เพราะไม่เป็นการตายผิดธรรมชาติ
ข. ไม่ต้อง เพราะไม่ได้เกิดจากการกระทำผิดอาญา
ค. ต้อง เพราะถือว่าเป็นการตายโดยมิปรากฏเหตุ
ง. ต้อง เพราะผู้ตายอาจมีประกันชีวิตไว้
๒๐. นักโทษชายดำเป็นโรคกระเพาะอักเสบก่อนติดคุก อาการกำเริบต้องเข้านอนโรงพยานบาลของเรือนจำ ในที่สุดก็ตายที่โรงพยาบาล การตายนี้ต้องทำการชันสูตรพลิกศพหรือไม่
ก. ไม่ต้อง เพราะไม่เป็นการตายผิดธรรมชาติ
ข. ไม่ต้อง เพราะไม่มีใครทำร้ายตาย
ค. ต้อง เพราะเป็นการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน
ง. ต้อง เพราะต้องรายงานให้ศาลทราบ
๒๑. ศาลที่จะรับฟ้องคดีอาญานั้นโดยหลักการ หมายถึงศาลใด
ก. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีโดยเฉพาะเท่านั้น
ข. ศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่จำเลยถูกสอบสวน
ค. ศาลชั้นต้นที่มีเขตท้องที่และมีอำนาจเหนือคดีอาญาเรื่องนั้น
ง. ศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่จำเลยถูกจับ
๒๒. หลักสำคัญของคำฟ้องคดีอาญา คืออะไร
ก. คำฟ้องคดีอาญาจะต้องทำเป็นหนังสือแต่ไม่ต้องทำตามแบบเพราะกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้
ข. ฟ้องคดีอาญาจะต้องทำเป็นหนังสือและต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย
ค. คำฟ้องคดีอาญาจะทำเป็นหนังสือหรือฟ้องด้วยวาจาก็ได้
ง. คำฟ้องคดีอาญาจะต้องใช้แบบพิมพ์คำฟ้องของศาลเท่านั้น
๒๓. ข้อใดคือหลักเกณฑ์ในการที่พนักงานอัยการจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย
ก. ต้องเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว
ข. ต้องเป็นคดีความผิดต่อแผนดิน
ค. ต้องยื่นก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด
ง. ต้องเป้นคดีความผิดต่อแผ่นดินและต้องยื่นก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด
๒๔. คดีอาญาเลิกกัน อาจเกิดขึ้นในกรณีใด
ก. เมื่อผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย
ข. กรณีที่เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้สิทธิการฟ้องคดีอาญาระงับ
ค. เมื่อมีการชำระค่าปรับขึ้นสูงหรือตามจำนวนที่เปรียบเทียบปรับ
ง. คดีขาดอายุความ
๒๕. ความผิดอาญาเรื่องหนึ่งเป็นกรณีไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัด จะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หากมีปัญหาเช่นนี้ต้องให้ผู้ใดเป็นผู้ชี้ขาด
ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง
ง. อัยการสูงสุดหรือผู้ทำการแทน
๒๖. ข้อใดไม่ใช่ที่สาธารณสถาน
ก. ห้องโถงในสถานการค้าประเวณีผิดกฎหมาย เวลารับแขกมาเที่ยว
ข. รถยนต์โดยสารสาธารณะขณะที่รับส่งคนโดยสาร
ค. สถานที่ราชการในเวลาเปิดทำการ
ง. ห้องพักในโรงแรม
( เฉลย ง )
๒๗. คดีเรื่องหนึ่ง พนักงานสอบสวนเห็นว่าพยานกลัวอันตราย จึงได้นัดพยานไปทำการสอบสวนอยู่ในโรงแรม พนักงานสอบสวนมีอำนาจทำได้หรือไม่
ก. ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่สถานที่ราชการ
ข. ทำไม่ได้ เพราะต้องสอบสวนโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ต้องหา
ค. ทำได้ เพราะพนักงานสอบสวนจะทำหารสอบสวนที่ใดก็ได้
ง. ทำได้ หากโรงแรมนั้นอยู่ในเขตอำนาจตน
๒๘. นางสาวเหมียวอายุ ๑๖ ปี ถูกนายจอมภพข่มขืนกระทำชำเรา (ยอมความได้) จึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้นางอารีย์ มารดาตนฟัง นางอารีย์จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายจอมภพ ต่อมานายจอมภพทราบว่านางอารีย์ติดการพนันมีหนี้สินมาก จึงได้เสนอเงินให้นางอารีย์จำนวนสงแสนบาท เพื่อให้นางอารีย์ไปถอนคำร้องทุกข์ นางอารีย์ถามนางสาวเหมียวแล้ว นางสาวเหมียวไม่ยอมเพราะต้องการให้นายจอมภพได้รับโทษ แต่นางอารีย์กลับไปถอนคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนได้ให้ถอนคำร้องทุกข์ไป การถอนคำร้องทุกข์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก. ชอบ เพรานางอารีย์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาวเหมียวซึ่งเป็นผู้เยาว์ ย่อมมีอำนาจ
จัดการแทนผู้เสียหาย
ข. ชอบ เพราะนางอารีย์เป็นผู้ร้องทุกข์
ค. ไม่ชอบ เพราะขัดการความประสงค์ของนางสาวเหมียว
ง. ชอบ เพราะเป้นความผิดต่อส่วนตัว
๒๙. กรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดแล้ว ข้อใดต่อไปนี้ถูก
ก. ผู้เสียหายไม่อาจนำคดีนั้นไปฟ้องต่อศาลได้
ข. ห้ามมิให้สอบสวนเกี่ยวกับผู้ต้องหาในเรื่องเดียวกันนั้นอีก
ค. ผู้เสียหายอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่ออัยการสูงสุดได้
ง. พนักงานสอบสวนฟ้องคดีนั้นเองในฐานะผู้เสียหายก็ได้
๓๐. ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์หลงลืม ตัวโจทก์เองและทนายโจทก์ไม่ได้ไปศาล หากท่านเป็นศาลจะดำเนินกระบวนการพิจารณาอย่างไร
ก. จำหน่ายคดี
ข. ต้องเลื่อนคดีอย่างเดียว
ค. ยกฟ้อง
ง. ไม่มีข้อถูก
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำรวจ สายป้องกันปราบปราม ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ประกอบด้วย
- แนวข้อสอบกฎหมายวิอาญา
- แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- แนวข้อสอบกฎหมายลักษณะพยาน
- แนวข้อสอบ พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553
- แนวข้อสอบ กฏ ก.ตร. การสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2556
- แนวข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
- แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ (พร้อมอธิบายคำตอบ)
- แนวข้อสอบความสามารถทางด้านตัวเลข + ความสามารถด้านเหตุผล
- แนวข้อสอบตำรวจสายปราบปราม ที่ออกบ่อยๆ
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com