ความเป็นผู้นำ
ผู้นำ ( Leader ) หมายถึง บุคคลที่ได้รับมอบหมายโดยการแต่งตั้ง/เลือกตั้ง เป็นที่ยอมรับของสมาชิกให้มีอิทธิพลเหนือกลุ่ม ที่จูงใจ ชี้นำกลุ่ม เพื่อปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ
ภาวะผู้นำ ( Leadership ) เป็นการใช้อิทธิพลของบุคคลหรือตำแหน่งให้ผู้อื่นยินยอมปฏิบัติตามเพื่อที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่มที่กำหนดไว้
ผู้นำกับอำนาจ
ในการบริหารงานนั้น ผู้นำจะต้องใช้อำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ในการใช้อำนาจนั้น ผู้นำจะต้องรู้จักและเข้าใจที่มาของอำนาจ วิธีการใช้อำนาจ และการสร้างอำนาจ
ผู้นำทางทหาร หมายถึง ผู้นำของกองกำลังทหาร
แบบของอำนาจตามความคิดของ Weber
๑. อำนาจด้วยความเสน่หา ( Charismatic Authority ) เป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้บริหาร โดยที่ผู้บริหารมีคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นอยากที่จะยอมรับ อยากที่จะยกย่องนับถือและปรารถนาที่จะเอาเป็นตัวอย่าง มีลักษณะพิเศษที่ทำให้ผู้อื่นคล้อยตามได้ง่าย
๒. อำนาจที่ยอมรับกันมาเป็นประเพณี ( Traditional Authority ) เป็นอำนาจที่เกิดจากการได้ดำรงตำแหน่ง หรือคนอื่นๆในอดีตได้ยอมรับในอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ดังนั้นเมื่อบุคคลได้ดำรงตำแหน่ง จึงกลายเป็นคนมีอำนาจตามประเพณี
๓. อำนาจตามกฎหมาย ( Legal Authority ) เป็นอำนาจที่เกิดจากการมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ รองรับ การที่ผู้อื่นยอมรับในอำนาจตามกฎหมายมิได้เกิดจากบุคลิกของผู้บริหารหรือตำแหน่งของผู้บริหาร แต่เกิดจากการมี กฎหมาย กฎ ระเบียบ ระบุอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งบริหารไว้ซึ่งมีผลให้ผู้อื่นปฏิบัติตามอำนาจนั้นๆ อำนาจชนิดนี้ผูกติดกับตำแหน่ง เมื่อมีตำแหน่งก็มีอำนาจ กำลังพลในกองพันเชื่อฟังผู้บังคับกองพันเพราะมี กฎ ระเบียบ ที่บ่งบอกว่า ผู้บังคับกองพันมีอำนาจอะไรบ้าง อำนาจชนิดนี้เป็น อำนาจตามระบบราชการ
( Bueaucratic Authority )
การใช้อำนาจ
Hoy and Miskel แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้นำใช้อำนาจ ผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่ออำนาจที่ใช้ ใน ๓ ลักษณะ คือ
๑. เกิดความผูกพัน ( Commitment )
๒. ยินยอมปฏิบัติตาม ( Compliance )
๓. ต่อต้าน ( Resistance )
การสร้างอำนาจ
ในองค์กรทุกรูปแบบ ทั้งผู้นำและผู้ตามต่างสร้างอำนาจ หรือสร้างฐานอำนาจขึ้นมา วิธีการที่พบค่อนข้างมาก มีดังนี้
๑. แลกเปลี่ยนประโยชน์ เป็นการเจรจาหรือทำสัญญา ซึ่งอาจเป็นสัญญาที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญญาสุภาพบุรุษ สาระของการเจรจาหรือสัญญานั้นก็คือ แต่ละฝ่ายจะประกันว่าจะให้อะไรแก่อีกฝ่ายหนึ่งบ้าง การแลกเปลี่ยนเป็นการร่วมมือแบ่งประโยชน์ภายในกลุ่ม
๒. การเอามาเป็นพวก เป็นวิธีการสร้างฐานอำนาจให้แก่ตนเองโดยอาจกระทำได้หลายลักษณะ เช่น
๒.๑ ส่งเสริมให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้บริหารในกลุ่มนั้น ด้วยมีความเชื่อมั่นที่ว่า เมื่อเขาได้ดิบได้ดี เขาไม่ควรจะลืมเรา ซึ่งเป็นเรื่องบุญคุณที่ต้องทดแทน
๒.๒ แต่งตั้งให้มาเป็นกรรมการระดับนโยบายที่สูงขึ้น
๒.๓ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหารระดับสูง
๓. การสร้างพันธมิตร เป็นการร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเป็นการรวมทรัพยากรของทั้งสองกลุ่มหรือมากกว่าสองกลุ่มเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะให้มีอำนาจเหนือกลุ่มที่ไม่ได้เข้าเป็นพันธมิตรด้วย
๔. การมีอิทธิพลในการกำหนดเกณฑ์ หากใครมีอำนาจในการกำหนดเกณฑ์ก็ย่อมจะมีอำนาจ
๕. การควบคุมข้อมูล เนื่องจากข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจ ดังนั้นถ้าใครมีข้อมูล ผู้นั้นก็มีอำนาจ
๖. การให้บริการพิเศษ การให้ที่พิเศษกว่าการปฏิบัติตามธรรมเนียมราชการในสภาพปกติ
การพัฒนาผู้นำ ของ Mccauley มี ๔ วิธี คือ
๑. การเรียนรู้จากการทำงาน ( Learn on the job ) การเป็นผู้นำสามารถเรียนรู้ได้จากการทำงาน งานที่ท้าทายมากขึ้นเท่าใดย่อมเรียนรู้มากขึ้นเท่านั้น ในระบบราชการนั้นในแต่ละตำแหน่งเป็นงานที่ท้าทายในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้บริหารจึงเรียนรู้การเป็นผู้นำในระดับที่แตกต่างกันด้วย งานที่ท้าทายจะกระตุ้นให้คนมีความคิดสร้างสรรค์และทำงานดีขึ้น ขณะเดียวกันงานที่ท้าทายจะทำให้ระดับความเครียดสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารได้เรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด การทำงานที่ท้าทายทำให้มีผลงาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ
๒. การเรียนรู้จากคนอื่น เช่น เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น ในองค์กรที่มีหลายระดับนั้น ผู้บังคับบัญชาเป็นแหล่งสำคัญของการเรียนรู้ เพราะจะเป็นแบบของบทบาท ( role model ) ทั้งในด้านดีและด้านไม่ดี และจะเป็นแหล่งให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้บังคับบัญชาสามารถมอบหมายงานที่ท้าทายให้ทำ เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะเป็นแหล่งของข้อมูล เป็นทรัพยากร และให้ข้อมูลย้อนกลับในการทำงาน ดังนั้นการเป็นผู้นำจึงสามารถพัฒนาได้โดยอาศัยการเรียนรู้จากผู้อื่น
๓. การเรียนรู้จากความผิดพลาด หรือ “ผิดเป็นครู” ความผิดพลาดทำให้บุคคลตระหนักถึงข้อจำกัดของตนเอง รู้จักจุดอ่อนของตน สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตน หาทางปรับปรุงและพัฒนาขึ้น
๔. การเรียนรู้จากการฝึกอบรม การฝึกอบรมเป็นผู้นำนั้นจะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจสถานการณ์ และเข้าใจวิธีการที่จะควบคุมกิจกรรมของกลุ่ม การฝึกอบรมจะช่วยให้มีความรู้ รู้จักกระบวนการในการนำ และรู้จักเทคนิคที่จะปรับพฤติกรรมของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
พฤติกรรมของผู้นำ ( Leader Behavior )
๑. ภาวะผู้นำแบบสั่งการ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์ต่ำ เหมาะกับผู้นำที่มีวุฒิภาวะผู้ตามต่ำ ดังนั้นผู้นำจะต้องสั่งเป็น ( อย่างมาก ) โดยสั่งเกี่ยวกับ อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรหรือวิธีใด ใคร และแสดงพฤติกรรมสนับสนุนแค่เพียงเล็กน้อยทั้งด้วยคำพูดและท่าทาง ในพฤติกรรมแบบนี้ผู้นำจะต้องให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
๒. ภาวะผู้นำแบบการแนะ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์สูงด้วย เหมาะกับผู้นำที่มีความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานสูง แต่ความสามารถอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนาผู้นำยังจำเป็นจะต้องแนะนำและชี้นำในระดับมากอยู่ ให้การสนับสนุนและให้ความมั่นใจในระดับสูงด้วย ควรแสดงท่าทางและวาจาที่แสดงการสนับสนุนและยกย่องบ้าง เช่น จับมือ ลูบไหล่ เดินไปพูดคุยที่โต๊ะทำงานของผู้ตามแทนที่จะเรียกเข้ามาสั่ง เป็นต้น ในสถานการณ์แบบนี้ผู้นำจะต้องอธิบายการตัดสินใจตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้ตามได้ซักถามเพื่อความกระจ่าง
๓. ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์ต่ำ ผู้ตามต้องการสนับสนุนเป็นอย่างมาก แต่ปรารถนาพฤติกรรมชี้นำแต่เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะวุฒิภาวะเกี่ยวกับงานของผู้ตามได้พัฒนาขึ้นแล้ว ผู้นำควรจะแสดงกิริยาท่าทางที่เห็นว่าให้การสนับสนุนผู้ตามและมีความเชื่อมั่นในผู้ใต้บังคับบัญชา ในสถานการณ์แบบนี้ผู้นำจะต้องให้ผู้ตามได้แสดงความคิดเห็นและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจ
๔. ภาวะแบบการมอบอำนาจ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานต่ำและมุ่งสัมพันธ์ต่ำด้วย ผู้นำแสดงพฤติกรรมชี้นำและให้การสนับสนุนน้อยที่สุด ผู้ตามมีวุฒิภาวะทางจิตวิทยาและวุฒิภาวะเกี่ยวกับงานในระดับสูง เป็นผู้ที่ตระหนักในภารกิจและจุดประสงค์ของงาน สามารถจะปฏิบัติงานได้เอง จึงไม่ต้องการการตรวจสอบงานหรือต้องการการตรวจสอบก็แต่เล็กน้อย ในสถานการณ์แบบนี้ผู้นำควรจะให้ผู้ตามรับผิดชอบในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเอง
ประสิทธิผล ( Effectiveness ) ขึ้นอยู่กับ
๑. ผลผลิตและการปฏิบัติงาน
๒. สภาพของทรัพยากรมนุษย์
๓. การบรรลุเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
หลักการภาวะผู้นำ
๑. รู้จักและค้นหาตัวเองเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้รู้จักตัวเอง ต้องเข้าใจคุณสมบัติของผู้นำ ค้นหาจุดอ่อนและปรับปรุงให้เป็นจุดแข็ง ด้วยการอ่าน เรียนรู้ และศึกษา
๒. เป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ผู้นำต้องรู้จักงานในหน้าที่ของตน และเข้าใจ รู้จักงานของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเป็นอย่างดี
๓. แสวงหาความรับผิดชอบและรับผิดชอบต่อการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว ผู้นำจะแสวงหาแนวทางใหม่ๆให้กับองค์กร และเมื่อผิดพลาดไม่ควรโทษผู้อื่น ต้องวิเคราะห์สถานการณ์และแก้ไขการปฏิบัติ และมุ่งสู่ความท้าทายใหม่ๆต่อไป
๔. ตัดสินใจถูกต้องและทันเวลา ใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดี ตกลงใจ และมีเครื่องมือในการวางแผน
๕. การแสดงตัวอย่าง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่เพียงแต่ไม่ต้องบอกผู้ใต้บังคับบัญชาวาวเขาไม่ต้องทำอะไร แสดงให้เขาดูตัวอย่างเลย
๖. รู้จักลูกน้องและเฝ้าดูการปฏิบัติที่ดีของลูกน้อง รู้จักธรรมชาติของคน และให้ความสำคัญต่อการดูแลพวกเขาอย่างจริงใจ
๗. ดำรงให้ข้อมูลข่าวสารแก่ลูกน้อง รู้จักวิธีที่จะสื่อสารกับลูกน้อง ผู้อาวุโสกว่า และบุคคลอื่นๆในองค์กร
๘. พัฒนาสำนึกในความรับผิดชอบของกำลังพล พัฒนาคุณลักษณะที่ดีให้กับกำลังพล เพื่อช่วยเขาให้รับราชการในอาชีพต่อไป
๙. แน่ใจที่งานที่มอบหมาย กำลังพลเข้าใจ มีการกำกับดูแลจนบรรลุภารกิจ
๑๐. ฝึกการทำงานเป็นทีม
๑๑. ใช้ศักยภาพทั้งหมดในการทำงาน พัฒนาการทำงานเป็นทีม จะทำให้การทำงานในองค์กร กอง แผนก ได้อย่างเต็มความสามารถ
คุณลักษณะผู้นำ
๑. วางตัวเหมาะสม ๘. ดุลยพินิจ
๒. กล้าหาญ ๙. ความรู้
๓. เด็ดขาด ๑๐. จงรักภักดี
๔. ไว้วางใจได้ ๑๑. แนบเนียน
๕. กระตือรือร้น ๑๒. ไม่เห็นแก่ตัว
๖. ริเริ่ม ๑๓. ซื่อสัตย์
๗. ยุติธรรม ๑๔. อดทน
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com