ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : การสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

การสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

แชร์กระทู้นี้

ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (Pharmacy license)

ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (Pharmacy license) เปรียบเสมือน license (ลายเซ็น) ที่บ่งบอกว่าคุณมีความเป็นวิชาชีพติดตัวและถูกต้องตามกฎหมาย สามารถประกอบวิชาชีพหาเลี้ยงตนตามที่ได้เล่าเรียนมาอย่างสุจริต หลายครั้งที่ผลการสอบวิชาชีพ มักเป็นเครื่องมือชี้วัดถึงความสำเร็จของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาชีพเภสัชกรรม แต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกันไม่มากก็น้อยอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การสอบไม่อาจชี้วัดถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่มีวิธีไหนในเวลานี้ที่จะเป็นมาตรฐานเท่ากับการสอบวิชาชีพที่ทางสภาเภสัชกรรมรับรอง และมีการสอบมายาวนาน ลักษณะของข้อสอบมีความเป็นบูรณาการ รวมข้อเขียนและปฏิบัติการไว้ด้วยกัน ประกอบด้วยการผลิตยา ความรู้ทางคลินิก และข้อกฎหมายจริยธรรม เป็นต้น

หากจะทำให้การสอบมีความเป็นมาตรฐาน จึงเป็นงานหนักที่สภาเภสัชกรรมจะต้องหาแนวทางการสอบ โดยการปรับเปลี่ยนการสอบให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนในแต่ละมหาวิทยาลัยไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกัน แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือ สภาเภสัชกรรมจะต้องกำหนดหลักสูตรให้การเรียนการสอนในแต่ละมหาวิทยาลัยมีความคล้ายคลึงหรือเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การสอบมีมาตรฐานและสามารถวัดคุณภาพการเรียนการสอนของคณะเภสัชศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามการที่เราสามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพนั้นก็ไม่อาจหมายความว่าเราจะประสบความสำเร็จในการทำงาน หากล้วนแต่เรามีจริยธรรมในการทำงาน มีความตั้งใจและรักในวิชาชีพ รวมทั้งมองเห็นผลประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นที่ตั้ง นั่นก็หมายความว่าเราเป็นเภสัชกรที่ดีคนหนึ่ง และไม่เสียแรงที่ได้มีการก่อกำเนิดวิชาชีพเภสัชกรรรมนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาโดยไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะ

การที่จะทำให้นิสิตนักศึกษาสามารถสอบผ่านใบประกอบนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคงไม่พ้นตัวนิสิตนักศึกษาเอง หากมีความตั้งใจและเข้าใจในแก่นแท้ของวิชาชีพ การสอบใบประกอบวิชาชีพจะไม่ใช่เรื่องยาก ฉะนั้นการที่เรามีความสนใจ ขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ จะทำให้เรารอบรู้และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
หลายครั้งที่นิสิตนักศึกษาเตรียมตัวการสอบมาอย่างดี แต่ในข้อสอบมีการพลิกแพลงโจทย์ มีการประยุกต์โจทย์เล็กน้อย ก็ทำให้ลนลาน ไม่สามารถตอบคำถามหรือปฏิบัติการได้

อย่างไรก็ตาม การสอบใบประกอบให้ผ่านนั้น ไม่สามารถติวเนื้อหาการสอบแค่เดือนสองเดือนแล้วจะผ่านฉลุย หากแต่เรามีความรู้ความเข้าใจถ่องแท้อยู่แล้ว ฉะนั้นการติวจึงเป็นการทวนเนื้อหาเพื่อจะทำให้เราไม่ลืม ไม่ลนลานก่อนสอบจริงเท่านั้น โดยก่อนสอบหากนักศึกษาหมั่นทำข้อสอบหรือฝึกปฏิบัติตามแนวข้อสอบที่ได้มีการรวบรวมเป็นประจำ สม่ำเสมอ จะทำให้เรามั่นใจ มองเห็นปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาได้

แม้ว่าการสอบใบประกอบในครั้งแรกจะไม่ผ่าน นิสิตนักศึกษาก็ยังสามารถแก้ตัวได้ เนื่องจากสภาเภสัชกรรม ได้จัดให้มีการสอบเพื่อรับรองวิชาชีพปีละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตามนิสิตนักศึกษาก็ไม่ควรชะล่าใจ ถึงแม้จะเห็นข้อสอบหรือผ่านการลองสนามสอบจริงมาแล้ว อาจารย์ได้เห็นตัวอย่างรุ่นพี่บางท่าน(ส่วนน้อย)ที่สอบรอบแล้วรอบเล่าไม่ผ่าน แต่ก็น่าเห็นใจ เพราะยิ่งนานวัน ความรู้ที่เรียนมาจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา รวมทั้งการเรียนการสอนมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการสอบไม่ผ่านหลายครั้งจะทำให้เกิดความท้อแท้หมดกำลังใจที่จะสอบใหม่ ฉะนั้นเราอย่าชะล่าใจ ตั้งใจซะตั้งแต่วันนี้ จะได้ไม่เสียใจภายหลัง

ถึงแม้ว่า บประกอบวิชาชีพ อาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต แต่การไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ก็เปรียบเสมือนเภสัชกรเถื่อน ไม่สามารถประกอบวิชาชีพเพื่อหาเลี้ยงตนตามที่เล่าเรียนได้


มุมมองของผู้เขียน ภก.จิรวัฒน์ รวมสุข

 

เทคนิคพิชิตใบประกอบ

Photobucket
 
กำลังอัพเดตเนื้อหา.........โปรดติดตาม
 

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2552

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 95.3% (ผ่าน 142 ตก 7)
อันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 88.9% (ผ่าน 144 ตก 18)
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 82.8% (ผ่าน 111 ตก 23)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 80.4% (ผ่าน 41 ตก 10)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล 79.8% (ผ่าน 83 ตก 21)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 76.3% (ผ่าน 100 ตก 31)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 74% (ผ่าน 74 ตก 26)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยนเรศวร 67.4% (ผ่าน 95 ตก 46)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยศิลปากร 65.4% (ผ่าน 89 ตก 47)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 50 % (ผ่าน 25 ตก 25)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยรังสิต 38.1% (ผ่าน 67 ตก 109)
อันดับ 12มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 27.9 % (ผ่าน 50 ตก 129)


มีนักศึกษาเภสัชศาสตร์จาก 12 มหาวิทยาลัยเข้าสอบรวมทั้งสิ้น 1,473 คน โดยสอบผ่าน 1,036 คน คิดเป็น ร้อยละ 70.3

----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2551

อันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.3% (ผ่าน 143 ตก 12)
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 89.7% (ผ่าน 130 ตก 15)
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 88.6% (ผ่าน 70 ตก 9)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร 87.8% (ผ่าน 72 ตก 10)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 84.8% (ผ่าน 39 ตก 7)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 84.6% (ผ่าน 121 ตก 22)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยมหิดล 75.3% (ผ่าน 64 ตก 21)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยศิลปากร 73.9% (ผ่าน 119 ตก 42)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 71.3% (ผ่าน 82 ตก 33)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 45.1% (ผ่าน 37 ตก 45)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 44.1% (ผ่าน 49 ตก 62)
อันดับ 12 มหาวิทยาลัยรังสิต 15% (ผ่าน 25 ตก 142)

----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2550

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 90.09% (ผ่าน 91 ตก 10)
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 87.22% (ผ่าน 116 ตก 17)
อันดับ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 83.33% (ผ่าน 100 ตก 20)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 80% (ผ่าน 40 ตก 10)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยนเรศวร 76.32% (ผ่าน 58 ตก 18)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยมหิดล 71.25% (ผ่าน 57 ตก 23)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยศิลปากร 60.9% (ผ่าน 98 ตก 63)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 55.3% (ผ่าน 83 ตก 67)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 44.21% (ผ่าน 42 ตก 53)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 30.30% (ผ่าน 10 ตก 23)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 27.21% (ผ่าน 40 ตก 107)
อันดับ 12 มหาวิทยาลัยรังสิต 16.67 % (ผ่าน 25 ตก 125)

----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2549

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.26
ม.เชียงใหม่ 89.66
ม.นเรศวร 87.80
ม.มหาสารคาม 84.78
ม.สงขลานครินทร์ 83.22

ม.มหิดล 75.29
ม.ศิลปากร (รวม) 73.91
ม.อุบลราชธานี 71.30

ม.ขอนแก่น (รวม) 49.65
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 45.12
ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 44.14
ม.รังสิต 14.29


----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2548

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬา ) สอบผ่าน 97.75 %
2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) สอบผ่าน 92.86 %
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)สอบผ่าน 90.85 %
4. มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) สอบผ่าน 86.32 %
5. มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)สอบผ่าน 82.76 %
6. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) สอบผ่าน 81.36 %
7. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) สอบได้ 75.61 %
8. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก. )สอบได้ 74.65 %
9. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข. )สอบได้ 66.92 %
10. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก. )สอบได้ 28.57 %
11. มหาวิทยาลัยรังสิต (มรส.) สอบได้ 18.93 %


----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2547

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) สอบได้ 100%
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) สอบได้ 97%
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) สอบได้ 89%
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) สอบได้ 81%
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จฬ.) สอบได้ 80%
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สอบได้ 80%
มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) สอบได้ 77%
มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) สอบได้ 51%
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ (มฉก.) สอบได้ 29%

Ref; http://www.pharmacafe.com/
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้