การรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ตาม ISO/IEC Guide 65
ISO/IEC Guide 65 คืออะไร
ISO/IEC Guide 65 คือข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการด้านตรวจสอบและรับรอง (ISO Committee on Conformity Assessment; CASCO) ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ภายใต้คณะกรรมการสากลด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission; IEC) โดยได้มีการประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1996 และได้ประกาศเป็นมาตรฐาน มอก. 5065-2540 ของไทย เมื่อปี พ.ศ.2540
ข้อกำหนดของ ISO/IEC Guide 65
ข้อ1. ขอบข่าย
ข้อ2. เอกสารอ้างอิง
ข้อ3. บทนิยาม
ข้อ4. หน่วยรับรอง
ข้อ5. บุคลากรของหน่วยรับรอง
ข้อ6. การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการรับรอง
ข้อ7. การอุทธรณ์ การร้องเรียน และการโต้แย้ง
ข้อ8. การยื่นขอรับการรับรอง
ข้อ9. การเตรียมการประเมิน
ข้อ10. การประเมิน
ข้อ11. รายงานการประเมิน
ข้อ12. การตัดสินการรับรอง
ข้อ13. การตรวจติดตามผล
ข้อ14. การใช้การรับรอง/การอนุญาต ใบรับรอง และเครื่องหมายรับรอง/อนุญาต
ข้อ15. ข้อร้องเรียนต่อองค์กร
ขอบข่ายที่ให้การรับรอง
ขอบข่ายที่จะเปิดให้การรับรอง มี 4 ขอบข่าย ได้แก่
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) พ.ศ. 2553
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลปลานิล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงปลานิล ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) พ.ศ. 2553
มาตรฐานโค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่มีการผลิตตามมาตรฐานโค้ด ออฟ คอนดัค (CoC)
มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (มกษ.7401-2552) ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
GAP คืออะไร และ สำคัญอย่างไร
การปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (Good Aquaculture Practice)
มาตรฐาน การปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (GAP สำหรับสัตว์น้ำ) เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานและหลักเกณฑ์สำหรับกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้ถูกประกาศไว้ใน ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อให้กระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงของผู้ประกอบการประมงเป็นไปตามมาตรฐานสากล ดังนั้นกรมประมงจึงได้ประกาศกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์สำหรับกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงขึ้น
ดังนั้นสินค้าทางการเกษตรที่ผ่านการรับรองว่า ได้รับมาตรฐาน GAP ก็เป็นที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่งว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อ การบริโภค เพราะสถานที่ผลิต วิธีการและขั้นตอนการผลิต ได้ผ่านการตรวจสอบมาแล้วจากทางราชการ
สำหรับมาตรฐาน และหลักเกณฑ์สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประกาศโดยกรมประมงประกอบด้วย
1. มาตรฐานการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ(GAP )
มาตรฐานดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งในโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำด้านสุขอนามัยฟาร์มและวัตถุดิบซึ่งต้องไม่มียาปฏิชีวนะตกค้าง ปัจจุบันกรมประมงได้มีการจัดทำมาตรฐานGAP สำหรับสัตว์น้ำดังนี้
- การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐาน GAP
2. มาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ
มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้ผลผลิตสัตว์น้ำจากฟาร์มมีความปลอดภัย ปัจจุบันกรมประมงได้มีการจัดทำร่างมาตรฐานขั้นปลอดภัยสำหรับสัตว์น้ำ ดังนี้
- มาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ
การตรวจสอบมาตรฐาน จีเอพี แบ่งเป็น 2 หัวข้อ
1. สุขอนามัยฟาร์ม (พิจารณาตามหัวข้อ 1-7)
2. การตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง
ยาต้านจุลชีพในกลุ่มต่อไปนี้
- เตรตร้าซัยคลิน (Tetracyclin)
ออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline)
- ออกโซลินิก แอซิด (Oxolinic acid)
- ซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide)
- คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenical)
- ไนโตรฟูแรนส์ (Nitrofurans)
- ฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)
- นอฟลอกซาซิน (Norfloxacin)
การยื่นขอรับการรับรอง
การยื่นขอรับการรับรองระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้
1. การขอรับการรับรองรายฟาร์มโดยผู้ผลิตซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา คลอบคลุมผู้ผลิตแต่ละรายที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP และ CoC
2.การขอรับการรับรองรายฟาร์มโดยนิติบุคคล คลอบคลุมนิติบุคคลแต่ละรายที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP และ CoC
3.การขอรับการรับรองแบบกลุ่ม คลอบคลุมกลุ่ม/องค์กร ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP และ CoC และ/หรือมีการจัดการระบบการผลิต หรือควบคุม บริหารจัดการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกลุ่มร่วมกัน
การรับรอง
ดำเนินการให้การรับรองระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC ตามขอบข่ายที่กรมประมงประกาศเท่านั้น
ก่อนการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง ผู้ยื่นคำขอรับการรับรองต้องมีการนำระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC ปฏิบัติแล้ว รวมทั้งมีการดำเนินกิจกรรมในทุกข้อกำหนดในมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง ได้แก่ มาตรฐาน โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct; CoC) หรือ ซี โอ ซี หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) หรือ จี เอ พี หรือมาตรฐานอื่นๆที่กรมประมงและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติประกาศใช้ หรือให้การยอมรับ
การตรวจติดตามผล (Surveillance) และการตรวจต่ออายุการรับรอง (Re-assessment)
ผู้ตรวจประเมินจะสุ่มตรวจติดตามผลเพื่อติดตามการรักษาระบบการผลิตและผลผลิตสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC ที่ได้รับการรับรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยนับจากการตรวจประเมินเพื่อการรับรองครั้งแรกเสร็จสิ้น
การตรวจต่ออายุการรับรองจะดำเนินการทุก 2 ปี โดยตรวจประเมินระบบทั้งหมด
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com