ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ  กรมธนารักษ์
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ  กรมธนารักษ์

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ

นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ

1. การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมได้แก่ข้อใด

ก. โดยนิติกรรม

ข. โดยอายุความ

ค. โดยผลของกฎหมาย

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอม  มีด้วยกัน ๓ วิธี คือ

๑. โดยนิติกรรมหรือสัญญา คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของสามยทรัพย์โดยการทำสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์

๒. โดยอายุความ คือ เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา ๑๐ ปี  ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส. ๓ ก็ตาม

๓. โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม  เช่น  ผู้ที่ปลูกบ้านรุกล้ำไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต  ย่อมได้ภาระจำยอมในส่วนที่ปลูกรุกล้ำ

2. สิทธิอาศัยหมายถึงข้อใด

ก. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี

ข. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ ปี

ค. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี

ง. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๔๐ ปี

ตอบ       ค.  สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี

                สิทธิอาศัย  คือ สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  โดยจะกำหนดระยะเวลากันไว้ไม่เกิน ๓๐ ปี  หรือกำหนดไว้ให้มีระยะเวลาตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้  และมีสิทธิเฉพาะการอาศัยเท่านั้น  จะทำการค้าไม่ได้  และห้ามโอนให้แก่กันแม้โดยทางมรดก

3. ที่ดินที่งอกริมตลิ่งเป็นของบุคคลใด

ก. กรรมสิทธิ์ของรัฐบาล

ข. กรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

ค. กรรมสิทธิ์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ง. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ       ข.  กรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

                ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง (โดยธรรมชาติ) ที่งอกนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

4. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐  คือใคร

ก. พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์

ข. นายสมัคร  สุนทรเวช

ค. นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์

ง. นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

ตอบ       ก.  พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์

5. ถ้าต้องการรับมรดกที่ดินของมารดาซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่มีผู้จัดการมรดกจะต้องดำเนินการอย่างไร

ก. หลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

ข. หลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม

ค. หลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

                วิธีดำเนินการ  ในการรับมรดกของมารดาให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกนำหลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  หลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม  และหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก  เช่น  มรณบัตร  ทะเบียนบ้าน  บัตรประจำตัว  สูติบัตร  หลักฐานการสมรส ฯลฯ  ไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินที่จะขอรับมรดกตั้งอยู่  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะทำการประกาศมีกำหนด 30 วัน หากไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ประกาศ  พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ได้

6. ค่าธรรมเนียมในการโอนมรดกเฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานคือเท่าใด

ก. ร้อยละ 0.3

ข. ร้อยละ 0.5

ค. ร้อยละ 0.7

ง. ร้อยละ 0.9

ตอบ       ข.  ร้อยละ 0.5

                ค่าธรรมเนียม  การจดทะเบียนโอนมรดกเฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน  หรือระหว่างคู่สมรสจะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.5 (ร้อยละห้าสิบสตางค์) จากราคาประเมินทุนทรัพย์

7. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐  ได้ยกเลิกวรรคใดแห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘

ก. วรรคสองของ มาตรา ๕๔

ข. วรรคสามของ มาตรา ๕๖

ค. วรรคสองของ มาตรา ๕๗

ง. วรรคหนึ่งของ มาตรา ๕๙

ตอบ       ค.  วรรคสองของ มาตรา ๕๗

                มาตรา ๓  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ มาตรา ๕๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ทำเป็นคู่ฉบับรวมสองฉบับมอบให้ผู้มีสิทธิในที่ดินฉบับหนึ่ง  อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน  สำหรับฉบับที่เก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดินนั้นจะจำลองเป็นรูปถ่ายหรือจัดเก็บโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้  ในกรณีเช่นนี้ให้ถือเสมือนเป็นต้นฉบับ

8. ที่ดินใดสามารถขออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์  หรือ น.ส. ๓

ก. เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์

ข. เป็นที่ดินที่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ค. เป็นที่ภูเขา

ง. เป็นที่สงวนหวงห้าม

ตอบ       ก.  เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์

การขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก.)

                หากท่านได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาแล้ว  แต่ที่ดินของท่านยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก.) และท่านต้องการที่จะมีเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว  ท่านจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ดังนี้

๑. เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์

๒. ต้องไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ  ทางหลวง  ทะเลสาบ  ตลิ่ง

๓. ต้องไม่เป็นที่เขา  ที่ภูเขา  หรือที่สงวนหวงห้าม  หรือที่ดินที่ทางราชการเห็นว่าควรสงวนไว้เพื่อทรัพยากรธรรมชาติ

9. ข้อใดมิใช่หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ก. บัตรประจำตัวข้าราชการ  พร้อมสำเนา

ข. บัตรประจำตัวประชาชน  พร้อมสำเนา

ค. แบบแจ้งการครองครอบที่ดิน (ส.ค. ๑)

ง. ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ

ตอบ       ก.  บัตรประจำตัวข้าราชการ  พร้อมสำเนา

                หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในการขออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์

๑. บัตรประจำตัวประชาชน  พร้อมสำเนา

๒. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑)

๓. ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน

๔. ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ

๕. ตราจองเป็นใบอนุญาต

๖. หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นๆ ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองและไม่อยในท้องที่ที่ประกาศเป็นเขตเดินสำรวจ  เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)

10. ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว  ห้ามมิให้บุคคลกระทำการใดต่อไปนี้

ก. เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า

ข. ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน

ค. ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

ประมวลกฎหมายที่ดิน

                มาตรา ๙  ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้น  ถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง  หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว  ห้ามมิให้บุคคลใด

(๑) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า

(๒) ทำด้วยประการใด  ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา  หรือ


เอกสารแนวข้อสอบนักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ กรมธนารักษ์ 

ประกอบด้วย

ความรู้เกี่ยวกับกรมธนารักษ์

- ความรู้เกี่ยวกับเอกสารสิทธิห้องชุดและสรุป พรบ.อาคารชุด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเอกสิทธิที่ดิน

ความรู้เบื้องต้นทางสถิติเบื้องต้น

- แนวข้อสอบ พรบ.ประมวลกฎหมายที่ดิน

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ

ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

- วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 399-

ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ  ราคา 679 บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย 
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี decho  ออมทรัพย์
 
โอนเงินแล้วแจ้งที่ 
decho.by@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
11111111111
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.    การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมได้แก่ข้อใด
ก.    โดยนิติกรรม
ข.    โดยอายุความ
ค.    โดยผลของกฎหมาย
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอม  มีด้วยกัน ๓ วิธี คือ
๑.    โดยนิติกรรมหรือสัญญา คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของสามยทรัพย์โดยการทำสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์
๒.    โดยอายุความ คือ เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา ๑๐ ปี  ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส. ๓ ก็ตาม
๓.    โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม  เช่น  ผู้ที่ปลูกบ้านรุกล้ำไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต  ย่อมได้ภาระจำยอมในส่วนที่ปลูกรุกล้ำ
2.    สิทธิอาศัยหมายถึงข้อใด
ก.    สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี
ข.    สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ ปี
ค.    สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี
ง.    สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๔๐ ปี
ตอบ    ค.  สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี
    สิทธิอาศัย  คือ สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  โดยจะกำหนดระยะเวลากันไว้ไม่เกิน ๓๐ ปี  หรือกำหนดไว้ให้มีระยะเวลาตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้  และมีสิทธิเฉพาะการอาศัยเท่านั้น  จะทำการค้าไม่ได้  และห้ามโอนให้แก่กันแม้โดยทางมรดก
3.    ที่ดินที่งอกริมตลิ่งเป็นของบุคคลใด
ก.    กรรมสิทธิ์ของรัฐบาล
ข.    กรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
ค.    กรรมสิทธิ์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ง.    ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ    ข.  กรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
    ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง (โดยธรรมชาติ) ที่งอกนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
4.    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐  คือใคร
ก.    พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์
ข.    นายสมัคร  สุนทรเวช
ค.    นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์
ง.    นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ
ตอบ    ก.  พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์
5.    ถ้าต้องการรับมรดกที่ดินของมารดาซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่มีผู้จัดการมรดกจะต้องดำเนินการอย่างไร
ก.    หลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
ข.    หลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม
ค.    หลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
    วิธีดำเนินการ  ในการรับมรดกของมารดาให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกนำหลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  หลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม  และหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก  เช่น  มรณบัตร  ทะเบียนบ้าน  บัตรประจำตัว  สูติบัตร  หลักฐานการสมรส ฯลฯ  ไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินที่จะขอรับมรดกตั้งอยู่  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะทำการประกาศมีกำหนด 30 วัน หากไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ประกาศ  พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ได้
6.    ค่าธรรมเนียมในการโอนมรดกเฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานคือเท่าใด
ก.    ร้อยละ 0.3
ข.    ร้อยละ 0.5
ค.    ร้อยละ 0.7
ง.    ร้อยละ 0.9
ตอบ    ข.  ร้อยละ 0.5
    ค่าธรรมเนียม  การจดทะเบียนโอนมรดกเฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน  หรือระหว่างคู่สมรสจะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.5 (ร้อยละห้าสิบสตางค์) จากราคาประเมินทุนทรัพย์
7.    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐  ได้ยกเลิกวรรคใดแห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
ก.    วรรคสองของ มาตรา ๕๔
ข.    วรรคสามของ มาตรา ๕๖
ค.    วรรคสองของ มาตรา ๕๗
ง.    วรรคหนึ่งของ มาตรา ๕๙
ตอบ    ค.  วรรคสองของ มาตรา ๕๗
    มาตรา ๓  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ มาตรา ๕๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
    “โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ทำเป็นคู่ฉบับรวมสองฉบับมอบให้ผู้มีสิทธิในที่ดินฉบับหนึ่ง  อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน  สำหรับฉบับที่เก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดินนั้นจะจำลองเป็นรูปถ่ายหรือจัดเก็บโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้  ในกรณีเช่นนี้ให้ถือเสมือนเป็นต้นฉบับ”
8.    ที่ดินใดสามารถขออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์  หรือ น.ส. ๓
ก.    เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์
ข.    เป็นที่ดินที่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ค.    เป็นที่ภูเขา
ง.    เป็นที่สงวนหวงห้าม
ตอบ    ก.  เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์
การขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก.)
    หากท่านได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาแล้ว  แต่ที่ดินของท่านยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก.) และท่านต้องการที่จะมีเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว  ท่านจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ดังนี้
๑.    เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์
๒.    ต้องไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ  ทางหลวง  ทะเลสาบ  ตลิ่ง
๓.    ต้องไม่เป็นที่เขา  ที่ภูเขา  หรือที่สงวนหวงห้าม  หรือที่ดินที่ทางราชการเห็นว่าควรสงวนไว้เพื่อทรัพยากรธรรมชาติ
9.    ข้อใดมิใช่หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ก.    บัตรประจำตัวข้าราชการ  พร้อมสำเนา
ข.    บัตรประจำตัวประชาชน  พร้อมสำเนา
ค.    แบบแจ้งการครองครอบที่ดิน (ส.ค. ๑)
ง.    ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ
ตอบ    ก.  บัตรประจำตัวข้าราชการ  พร้อมสำเนา
    หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในการขออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
๑.    บัตรประจำตัวประชาชน  พร้อมสำเนา
๒.    แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑)
๓.    ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
๔.    ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ
๕.    ตราจองเป็นใบอนุญาต
๖.    หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นๆ ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองและไม่อยู่ในท้องที่ที่ประกาศเป็นเขตเดินสำรวจ  เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
10.    ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว  ห้ามมิให้บุคคลกระทำการใดต่อไปนี้
ก.    เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
ข.    ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน
ค.    ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
ประมวลกฎหมายที่ดิน
    มาตรา ๙  ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้น  ถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง  หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว  ห้ามมิให้บุคคลใด
(๑)    เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
(๒)    ทำด้วยประการใด  ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา  หรือ
(๓)    ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
11.    เมื่อประชาชนทั่วไปมีความประสงค์ขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน  โดยไม่มีการขอคัดสำเนาหรือขอให้ออกหนังสือรับรองสามารถขอดูได้ที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน (อาคารตลิ่งชัน)  ซึ่งผู้ขอไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินท้องที่แต่มีข้อจำกัดในเรื่องใดต่อไปนี้
ก.    ผู้ขอดูต้องเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นๆ เท่านั้น  ไม่สามารถมอบสิทธิ์ให้ผู้ใดได้
ข.    ผู้ขอดูต้องสามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงของตนอยู่ตำแหน่งที่ตั้งใด
ค.    ผู้ขอดูต้องมีอายุไม่น้อยกว่า ๓๕ ปี และไม่เกินกว่า ๗๐ ปี
ง.    ผู้ขอดูต้องมีพยานในการขอดูราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน
ตอบ    ข.  ผู้ขอต้องสามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงของตนอยู่ตำแหน่งที่ตั้งใด
    การที่ประชาชนทั่วไปซึ่งมีความประสงค์เพียงเพื่อขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน  โดยไม่มีการขอคัดสำเนาหรือขอให้ออกหนังสือรับรองก็อาจขอดูได้ที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน (อาคารตลิ่งชัน) ซึ่งมีบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินทั่วประเทศไว้บริการ  โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินท้องที่  แต่การบริการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ราคาประเมินที่ดินแบบรายบล็อก  เพราะหากผู้ขอไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินที่แน่นอนว่าอยู่ในบล็อคใดและหน่วยใดแล้ว  ก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงนั้นมีราคาประเมินทุนทรัพย์เท่าใด  ฉะนั้นในกรณีนี้ ผู้ขอดูหรือขอทราบราคาประเมินจำเป็นจะต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นๆ เป็นอย่างดีด้วยจึงจะสามารถทราบราคาที่ดินที่ถูกต้องได้
12.    ราคาประเมินทุนทรัพย์ของทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ก.    เพื่อวัตถุประสงค์ในการทราบราคาของที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
ข.    เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกลาง
ค.    เพื่อวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีในระหว่างการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นสำคัญ
ง.    ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ    ค.  เพื่อวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีในระหว่างการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นสำคัญ
    ราคาประเมินทุนทรัพย์ของทางราชการได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีในระหว่างการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นสำคัญ  และโดยที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้มุ่งเน้นเก็บภาษีจากที่ดิน  ประกอบกับทางราชการจัดทำราคาดังกล่าวทุก ๔ ปี ในขณะที่สถานการณ์ราคาที่ดินโดยเฉพาะในช่วง “บูม” เพิ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทุกระยะราคาประเมินทางราชการจึงต่ำมาก  อีกประการหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับ “การเมือง” ด้วยคือ ท้องถิ่นต่างๆ ก็ไม่อยากปรับเพิ่มราคาประเมินมากนัก  เพราะเกรงจะกระทบ “ฐานเสียง”  เป็นต้น
13.    เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แล้ว  ให้ดำเนินการประเมินราคาโดยใช้วิธีใดต่อไปนี้
ก.    วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด
ข.    วิธีคิดจากรายได้
ค.    วิธีต้นทุนทดแทน
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ
ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ และ ฉบับที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๘
    มาตรา ๒๖  เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลตาม มาตรา ๒๕ เสร็จแล้ว  ให้ดำเนินการประเมินราคาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีประกอบกัน ดังนี้
(๑)    ให้ใช้วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด  กรณีที่มีข้อมูลราคาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน  และตั้งอยูบริเวณใกล้เคียงกัน
(๒)    ให้ใช้วิธีคิดจากรายได้  กรณีที่มีข้อมูลค่าเช่าห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน  และตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
(๓)    ให้ใช้วิธีต้นทุนทดแทน  กรณีข้อมูลใน (๑) หรือ (๒) ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้
14.    บรรษัทบริหารสินทรัยพ์ไทย (บสท.) จัดตั้งตามพระราชกำหนดตามข้อใด
ก.    พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๓
ข.    พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
ค.    พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๕
ง.    พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๖
ตอบ    ข.  พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย  ขอบเขตงานประเมินราคาทรัพย์สินรอการขาย  และทรัพย์รอรับโอนสำหรับอสังหาริมทรัพย์  บัญชีผู้สำรวจทรัพย์สิน (Terms of Reference)
    บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ซึ่งจัดตั้งตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินต่างๆ  โดยฝ่ายจัดการและดูแลทรัพย์สินรอการขาย  มีความประสงค์จะจัดจ้างผู้สำรวจทรัพย์สินเพื่อประเมินราคาทรัพย์สินรอการขาย  และทรัพย์สินรอรับโอนสำหรับอสังหาริมทรัพย์  เนื่องจากทรัพย์ทั่วไปเหล่านี้เป็นทรัพย์สินรอการขาย  และบางส่วนได้รับโอนจากลูกหนี้  ดังนั้นจึงต้องการทราบมูลค่าทรัพย์สิน  เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาตั้งราคาขายทรัพย์สิน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
sannam5 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ถ้าโอนเงินให้แล้ว
จะส่งให้ทันที่เลยไหมครับ
zychinin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบความรู้เี่กี่ยวกับเอกสารสิทธิห้องชุด

 ถาม กรณีมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดสองคนร่วมกันจะขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในห้องชุดออกจากกันจะกระทำได้หรือไม่
 ตอบ ไม่ได้ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้ว่า กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจะแบ่งแยกไม่ได้

 ถาม เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดอย่างไร
 ตอบ เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลที่เป็นของตนและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง

 ถาม อะไรคือทรัพย์ส่วนบุคคล
 ตอบ ทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ 
               (1) 
ห้องชุด
               (2) สิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินที่จัดไว้เป็นของห้องชุดแต่ละรายโดยระบุไว้ในคำขอจดทะเบียนอาคารชุดให้เป็นทรัพย์ส่วนบุคคล ซึ่งอาจจะอยู่ติดต่อเป็นอันเดียวกับห้องชุดหรือแยกไปอยู่อีกส่วนหนึ่งของห้องชุดก็ได้ เช่น ห้องใต้ถุน ที่จอดรถ ที่ดินสำหรับทำสวนหย่อม 

      
ถาม ผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้องชุดเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลหรือทรัพย์ส่วนกลาง
 ตอบ ถ้าไม่ได้รับน้ำหนักจากชั้นบน ถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของร่วมระหว่างห้องชุดนั้น การคำนวณเนื้อที่ของห้องชุด จึงคิดเนื้อที่ครึ่งหนึ่งของผนังเป็นเนื้อที่ของห้องชุด ถ้าทำหน้าที่รับน้ำหนักจากชั้นบน ตกเป็นทรัพย์ส่วนกลาง

 ถาม ผนังกั้นห้องระหว่างห้องชุดกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลหรือทรัพย์ส่วนกลาง
 ตอบ ถ้าไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากชั้นบน เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของห้องชุดนั้น ให้คิดคำนวณเนื้อที่ผนังทั้งหมดรวมเป็นเนื้อที่ของห้องชุด

 ถาม ผนังที่อยู่ริมอาคารและผนังห้องชุดที่ล่วงล้ำไปในอากาศ ซึ่งเป็นผนังอยู่ริมอาคารเช่นเดียวกัน เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลหรือทรัพย์ส่วนกลาง
 ตอบ ถือเป็นโครงสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด เป็นทรัพย์ส่วนกลาง

 ถาม ทรัพย์ส่วนบุคคลตั้งอยู่นอกที่ตั้งอาคารชุดได้หรือไม่
 ตอบ ได้ อาทิเช่น ที่จอดรถยนต์ 

      
ถาม สำนักงานของนิติบุคคลเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล
 ตอบ ก่อนพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ให้พิจารณาจากข้อบังคับว่าระบุไว้อย่างไร หลังจากพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ใช้บังคับ สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องตั้งอยู่ในอาคารชุด และเป็นทรัพย์ส่วนกลาง 

      
ถาม อะไรบ้างที่เป็นทรัพย์ส่วนกลาง
 ตอบ ทรัพย์ส่วนกลาง หมายความว่า ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม "มาตรา 15 ทรัพย์สินต่อไปนี้ให้ถือว่า เป็นทรัพย์ส่วนกลาง 
               (1) 
ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด
               (2) ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 
               (3) 
โครงสร้างและสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด
               (4) อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
               (5) เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
               (6) สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนรวมแก่อาคารชุด
               (7) ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
               (8) สำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุด
               (9) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาตามมาตรา 48 (1) 
               (10) 
สิ่งก่อสร้างหรือระบบที่สร้างขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัยหรือสภาพแวดล้อมภายในอาคารชุด เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย การจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ การปรับอากาศ การระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย หรือการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
               (11) ทรัพย์สินที่ใช้เงินตามมาตรา 18 ในการดูแลรักษา"

 ถาม เจ้าของห้องชุดมีสิทธิในทรัพย์ส่วนบุคคล แค่ไหน เพียงไร 
      
ตอบ เจ้าของห้องชุดมีสิทธิใช้สอยในทรัพย์ส่วนบุคคล ทำให้เจ้าของสามารถจำหน่ายจ่ายโอน ใช้สอย ให้เช่า หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ก็ได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ตามหลักของกรรมสิทธิ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิต่าง ๆ ย่อมมีข้อจำกัดเสมอ และในเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของห้องชุดก็เช่นกัน กลาวคือ ตามมาตรา 13 วรรคท้าย บัญญัติว่า "เจ้าของห้องชุดจะกระทำการใด ๆ ต่อทรัพย์ส่วนบุคคลของตน อันอาจจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างความมั่นคง การป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคาร หรือการอื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมิได้" ซึ่งหมายความว่า เจ้าของห้องชุดถูกจำกัดสิทธิในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลไว้รวม ประการ คือ 
               (1) 
จะกระทำการใด ๆ ต่อทรัพย์ส่วนบุคคลของตน อันอาจจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างความมั่นคง การป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารมิได้
               (2) กระทำการอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมิได้ 

      
ถาม เจ้าของห้องชุดมีสิทธิในทรัพย์ส่วนกลาง แค่ไหน เพียงไร 
      
ตอบ เจ้าของห้องชุดทุกคนมีสิทธิใช้สอยในทรัพย์ส่วนกลาง แต่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และตามที่กำหนดในข้อบังคับ ซึ่งตามมาตรา 17 บัญญัติว่า "การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และตามข้อบังคับ" สิทธิของเจ้าของห้องชุดแต่ละคนในทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ สิทธิในการใช้สอยแต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัด เช่น ต้องใช้สิทธิให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทรัพย์ และไม่ขัดขวางการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์คนอื่น ๆ และเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น ๆ 

      
ถาม เจ้าของร่วมจะถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ในกรณีใดบ้าง
 ตอบ เจ้าของร่วมจะถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
               1. ฝ่าฝืนมาตรา 17/1 "มาตรา 17/1 ในกรณีที่มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุด เพื่อประกอบการค้าต้องจัดระบบการเข้าออกในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ไม่ให้รบกวนความเป็นอยู่โดยปกติสุขของเจ้าของร่วม
 ห้ามผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด เว้นแต่ เป็นการประกอบการค้าในพื้นที่ของอาคารชุดที่จัดไว้ตามวรรคหนึ่ง"
 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
               2. ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว ไม่ว่าคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าวจะมีสิทธิถือกรรมสิทธิในห้องชุดตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               3. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามมาตรา 60/1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้