ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : คู่มือเตรียมสอบราชการ เตรียมสอบ นิติกร รัฐสภา 2554
mr.one ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

คู่มือเตรียมสอบราชการ เตรียมสอบ นิติกร รัฐสภา 2554

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ ระบบงานของรัฐสภา และการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา

 

1. ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่

 ประธานรัฐสภาได้ ให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทน

 ก. ผู้อาวุโสที่สุด ข. มติในที่ประชุม

 ค. ประธานวุฒิสภา ง. รองประธานวุฒิสภา

 ตอบ  ค. ประธานวุฒิสภา

  ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา (มาตรา 89)

 ในกรณีที่ไม่มีประธานผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน

 ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณี

ประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ

 ประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

 รองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย

2. ร่าง พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญและร่าง พรบ. จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ต้องได้รับคำแนะนำและยินยอม

 ของผู้ใด

 ก. ส.ว. ข. วุฒิสภา

 ค. รัฐสภา ง. สส.

 ตอบ  ค. รัฐสภา

 ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็แต่โดย คำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา  และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

(มาตรา 90)

3.  อำนาจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนเท่าใดมีสิทธิลงชื่อถอดถอน สส. หรือสมาชิกวุฒิสภา

 ก. หนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

 ข. หนึ่งในเจ็ดของสมาชิกทั้งหมด

 ค. หนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด

 ง. หนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมด

 ตอบ  ก. หนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา 106 (3) (4) (5) (6) (7) (8) (10) หรือ (11) หรือมาตรา 119 (3) (4) (5) (7) หรือ (8) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ (มาตรา 91)

4. ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนปัจจุบันคือใคร

 ก. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

 ข.  นายยงยุทธ ติยะไพรัช

 ค. นายชัย ชิดชอบ

  ง. นายพิชัย รัตตกุล

 ตอบ   ก. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

  นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 2 สิงหาคม 2554

5. ประธานรัฐสภา  คนปัจจุบันคือใคร

 ก. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

 ข. นายยงยุทธ ติยะไพรัช

 ค. นายชัย ชิดชอบ

  ง. นายพิชัย รัตตกุล

 ตอบ   ก. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

  นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 2 สิงหาคม 2554

แนวข้อสอบ พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551

 1.  พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่เป็นฉบับที่เท่าใด พ.ศ. ใด

 ก. ฉบับที่ 4, พ.ศ. 2535 ข. ฉบับที่ 4 , พ.ศ. 2538

 ค. ฉบับที่ 5, พ.ศ. 2535 ง. ฉบับที่ 6 , พ.ศ. 2551

 ตอบ   ง.  ฉบับที่ 6 , พ.ศ. 2551

  พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 

2. พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 ประกาศใช้เมื่อใด 

 ก. วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.  2551

 ข. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551

 ค. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550

 ง.  วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

 ตอบ  ข.  31 มกราคม พ.ศ. 2551

  ให้ไว้ ณ 31 มกราคม พ.ศ. 2551

3. พรบ. ระเบียบบริหารรายการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

 ก. นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

 ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 ค. 3 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 ง. 7 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 ตอบ   ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  พ.ศ. 2551 มาตรา  2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

4. บุคคลซึ่งได้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการ

 สังกัดรัฐสภา หมายถึงผู้ใดใน พรบ.ฉบับนี้

 ก. ข้าราชการฝ่ายนิติบัญญัติ ข. ข้าราชการฝ่ายพลเรือน

ค. ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ง. รัฐสภา

 ตอบ   ค. ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 

   ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงิน

 งบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

5. ผู้ใดรักษาการตาม พรบ. ฉบับนี้

 ก. ประธานรัฐสภา ข. ประธานวุฒิสภา

 ค. ประธานสภา ง. นายกรัฐมนตรี

 ตอบ   ก. ประธานรัฐสภา
  มาตรา 5 ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

6. ก.ร. หมายถึงข้อใด

 ก. คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา

 ข. คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 ค. กรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 ง. คณะกรรมการรัฐสภา

 ตอบ  ข.  คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

  พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง

 เรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  เรียกโดยย่อว่า ก.ร. ประกอบด้วยประธาน

 รัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ.

 เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกิน

 แปดคน เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน ให้ประธาน

 รัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา หรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ร.

7. ในกรณีมีเพียงสภาเดียวนั้น ก.ร. จะประกอบด้วยผู้ใดบ้าง

 ก. ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการวุฒิสภา,

 เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ

 ข. ประธานกรรมการ, เลขานุการวุฒิสภา, เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ

 ค. ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการวุฒิสภา และ

 ทรงคุณวุฒิ

ง. ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและ

ผู้ทรงคุณวุฒิ

ตอบ ก. ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการวุฒิสภา,

  เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ

 คำอธิบายดังข้อข้างต้น

8. ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียวนั้น กรรมการใน คณะกรรมการ

ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา นั้นมีจำนวนเท่าใด

 ก. ไม่เกิน 4 คน ข. ไม่เกิน 6 คน

 ค. ไม่เกิน 8 คน ง. ไม่เกิน 12 คน

 ตอบ   ค. ไม่เกิน 8  คน

 คำอธิบายดังข้อข้างต้น

 

9. ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา คือผู้ใด

 ก. ประธานรัฐสภา ข. ประธานวุฒิสภา

ค. นายกรัฐมนตรี ง. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือก

ตอบ  ก.  ประธานรัฐสภา

 คำอธิบายดังข้อข้างต้น 

10. ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา

 ก. ประธานรัฐสภา ข. ประธานวุฒิสภา

 ค. นายกรัฐมนตรี  ง. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือก

 ตอบ   ก.  ประธานรัฐสภา

  คำอธิบายดังข้อข้างต้น

11. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติต้องห้ามของผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 ก. ข้าราชการการเมือง ข. สมาชิกรัฐสภา

 ค. เคยรับราชการในตำแหน่งอธิบดี  ง. รับราชการมีเงินเดือนประจำ

 ตอบ  ค. เคยรับราชการในตำแหน่งอธิบดี

 มาตรา 7 ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 6 ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

 (1) เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้ว หรือเคย

ดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว

 (2) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการ

รัฐสภา ฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

12. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี

 ก. 2 ปี ข. 3 ปี

 ค. 4 ปี ง. 5 ปี

 ตอบ  ข.  3 ปี

  พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 มาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี

13. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายในกี่วัน

 ก. 7 วัน ข. 15 วัน

ค. 30 วัน ง. 45 วัน

 ตอบ  ค.  30 วัน

  พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 มาตรา 9  เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 8 หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11 ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภาแล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ หรือถูกยุบให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11 อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้

14. ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ใดเป็นผู้กำหนด

 ก. ประธานรัฐสภา

 ข. มติในที่ประชุมรัฐสภา

 ค. เสียงข้างมากในรัฐสภา 

 ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

 ตอบ  ก. ประธานรัฐสภา

 พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551  มาตรา  10 ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด

15. การประชุม ก.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด จึงจะสามารถเปิดประชุมได้

 ก. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน  3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด 

 ข. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 2 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

 ค. ไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

 ง. ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

 ตอบ  ข. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 2 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

 พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.  2551  มาตรา 12  การประชุมของ ก.ร. ต้องมี

กรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร. อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ องค์ประชุมของ ก.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่

16. ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบตำแหน่งใดที่ต้องปฏิบัติงานต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งใหม่

 ก. ประธาน ก.ร. 

 ข. ประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.

 ค. ประธาน ก.ร. , รองประธาน ก.ร. และผู้ทรงคุณวุฒิ

 ง. ประธาน ก.ร., รองประธาน ก.ร., รองเลขานุการวุฒิสภา, ผู้ทรงคุณวุฒิ

 ตอบ  ข. ประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.

  คำอธิบายดังข้อข้างต้น

17. ข้อใดมิใช่อำนาจหน้าที่ของ ก.ร.

 ก. ออกกฎ ก.ร.

 ข. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใน พรบ.นี้

 ค. รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 ง. ควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในสภา

 ตอบ   ง. ควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในสภา

  พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551 มาตรา 13 นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ

 (1) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

 (2) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้

 (3) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร. เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับ

 (4) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

 (5) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 (6) ควบคุมเกษียณอายุราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

18. อ.ก.ร. หมายถึงข้อใด

  ก. อนุกรรมการรัฐสภา

  ข. อนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 ค. อนุกรรมการฝ่ายรัฐสภา

 ง. คณะอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

  ตอบ  ข. อนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

  พรบ. ระเบียบข้าราชารฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.  2551 มาตรา 14  มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร. เพื่อทำการใดๆ แทนได้ ให้นำความในมาตรา 12 มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม

19. ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา มีกี่ประเภท

 ก. 2 ประเภท คือ ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง  ข. 2 ประเภท คือ ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ

 ค. 3 ประเภท คือ ข้าราชการรัฐสภาสามัญ , ข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

 ง. 3 ประเภท คือ ข้าราชการรัฐสภาสามัญ , ข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ และข้าราชการรัฐสภาพิเศษ

 ตอบ ก.  2 ประเภท, ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

 พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  พ.ศ. 2551  มาตรา 15 ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี 2 ประเภท

 (1) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3

(2) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา

20. หมวด 3 ใน พรบ. ฉบับนี้ได้กล่าวถึงเรื่องใด

 ก. ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ข. ข้าราชการรัฐสภาพิเศษ

 ค. ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ง. ข้าราชการสภาสามัญ, พิเศษ

 ตอบ  ก. ข้าราชการรัฐสภาสามัญ

 หมวด 3 ข้าราชการรัฐสภาสามัญ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนิติกร รัฐสภา ใหม่ล่าสุด

ใหม่ล่าสุด ใช้สอบทั่วประเทศ
ที่กำลังเปิดสอบ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือ

ส่งทันทีรวดเร็ว ได้อ่านสอบเร็วไม่ต้องรอ รวบรวมจากหนังสือมากกว่า สิบเล่มและรุ่นพี่ที่สอบได้

วิชาที่ใช้สอบ นิติกร รัฐสภา  ภาค ข.

- ความรู้เฉพาะตำแหน่งที่ใช้สอบ

- แนวข้อสอบระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ 2548

- เฉลยข้อสอบความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา

- ระบบงานรัฐสภา   รวมกฎหมายรัฐสภา

- แนวข้อสอบ กฎ ก.ร. ฉบับที่ 14 ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ

- แนวข้อสอบ ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551

- แนวข้อสอบ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551

- แนวข้อสอบ ระบบงานของรัฐสภา และการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา

- เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550

- เอกสารสรุปทบทวน_ภาค_ก_รัฐสภา

- แนวข้อสอบกฎหมายอาญา

- แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง

- แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

- แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้