1. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ บัญญัติขึ้นในปี พ.ศ.ใด
พ.ศ.๒๕๕๑
2. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ มีที่มาอย่างไร
1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 279 และมาตรา 280
2) พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 31(2) และมาตรา 77
3) มติ ก.ตร.ในการประชุมครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2551
3. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด
1) เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ลงราชกิจจาเมื่อ ๑๙ ก.ย.๒๕๕๑
3) มีผลบังคับใช้เมื่อ ๑๙ พ.ย.๒๕๕๑
4. อะไรคือred;">กรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ
ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
5. การพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ใดรวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการลงโทษบุคคล ทั้งในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการหรือหน่วยเทียบเท่ากองบัญชาการ กองบังคับการ กองกำกับการ สถานีตำรวจ และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ควรคำนึงถึง
พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว
6. หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการตำรวจ
กองบัญชาการศึกษา
7. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กำหนดตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยม
กองบัญชาการศึกษา
8. ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ก.ตร.
9. หน่วยงานใดมีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
จเรตำรวจ
10. กรณีที่ข้าราชการตำรวจพบว่ามีการละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ให้สามารถรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเหนือหน่วยงานที่ตนสังกัดได้อย่างน้อยกี่ชั้น
อย่างน้อยสามลำดับชั้น
11. ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจประกอบด้วย
1) คุณธรรม ค่านิยมหลัก และอุดมคติของตำรวจ
2) จริยธรรมของตำรวจ
3) จรรยาบรรณของตำรวจ
12. คุณธรรม ค่านิยมหลัก และอุดมคติของตำรวจ ถือเป็น
1) เครื่องเหนี่ยวรั้งให้ข้าราชการตำรวจอยู่ในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม
2) เป็นแนวทางชี้นำให้ข้าราชการตำรวจบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
13. จริยธรรมของตำรวจ คือ
คุณความดีที่เป็นข้อประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจเพื่อให้ประชาชนศรัทธา เชื่อมั่นและยอมรับ
14. จรรยาบรรณของตำรวจ คือ
ประมวลความประพฤติในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพตำรวจ ที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของข้าราชการตำรวจและวิชาชีพตำรวจ
15. “การไม่เลือกปฏิบัติ” ตรงกับธรรมะข้อใด
16. กรณีเมื่อข้าราชการตำรวจได้ละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ จะต้อง
รายงานผู้บังคับบัญชาทางใด
เป็นหนังสือทันที
17. คุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท ได้แก่
(1) การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม
(2) การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
(3) การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
(4) การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
ของบ้านเมือง
18. คุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท ตรงกับธรรมะข้อใด
19. ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ใดเป็นผู้กำหนด
ผู้ตรวจการแผ่นดิน
20. ค่านิยมหลักมีกี่ประการ 9 ประการ
21. ค่านิยมหลัก ตรงกับธรรมมะข้อใด
(1) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
(2) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(4) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(5) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(9) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์การ
22. อุดมคติของตำรวจมีกี่ประการ 9 ประการ
23. แนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เรียกว่า
อุดมคติของตำรวจ
24. อุดมคติของตำรวจ มีอะไรบ้าง ตรงกับธรรมะข้อใด
1) เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
2) กรุณาปราณีต่อประชาชน
3) อดทนต่อความเจ็บใจ
4) ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
5) ไม่มักมากในลาภผล
6) มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชนแก่ประชาชน
7) ดำรงตนในยุติธรรม
8) กระทำการด้วยปัญญา
9) รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
10)
25. จริยธรรมของตำรวจ มีกี่ประการ 9 ประการ
26. จริยธรรมของตำรวจ มีอะไรบ้าง
1) ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
2) ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
3) ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติ เป็นสำคัญ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
4) ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
5) ข้าราชการตำรวจต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรม เช่น ฝ่ายอัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และกระทรวง ทบวง กรมอื่น ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
6) ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
7) ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
8) ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ
9) ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ
10)
27. จรรยาบรรณของตำรวจมีกี่ประการ 6 ประการ
28. จรรยาบรรณของตำรวจ มีอะไรบ้าง ตรงกับจริยธรรมข้อใด
1) ข้าราชการตำรวจจะต้องสำนึกในการให้บริการประชาชนด้านอำนวยความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนมีความเลื่อมใส เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
2) เมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
3) ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง เป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่น ที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิต เมื่อมีการใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ไม่ว่าจะมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตหรือไม่ ข้าราชการตำรวจต้องรายงานเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามระเบียบแบบแผนทันที
4) ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย ผู้เสียหาย ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือบุคคลอื่น ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
5) ข้าราชการตำรวจต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
6) ข้อมูลข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 19 หรือจากการปฏิบัติหน้าที่อื่น ข้าราชการตำรวจจะต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์หรือชื่อเสียงของบุคคล หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษทั้งต่อผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิดข้าราชการตำรวจจะเปิดเผยข้อมูลนั้นได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเพื่อประโยชน์ในราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
29. วิธีจำค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม 9 ประการ ( 4 ยึด จิตดี ทำถูก เร็วไม่เลือก ให้ครบ มาตรฐาน )
(๑) ยึดคุณธรรมและจริยธรรม
(๒) จิตดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(๓) ยึดประโยชน์ประเทศ และไม่ทับซ้อน
(๔) ทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(๕) บริการรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(๖) ให้ข้อมูลข่าวสารครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือน
(๗) มุ่งผลสัมฤทธิ์ มาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(๘) ยึดประชาธิปไตย
(๙) ยึดจรรยาวิชาชีพ
30. วิธีจำอุดมคติของตำรวจ 9 ประการ ในทางธรรมะ
(๑) เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
(๒) กรุณาปราณีต่อประชาชน
(๓) อดทนต่อความเจ็บใจ
(๔) ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
(๕) ไม่มักมากในลาภผล
(๖) มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
(๗) ดำรงตนในยุติธรรม
(๘) กระทำการด้วยปัญญา
(๙) รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
31. วิธีจำจริยธรรมของตำรวจ 9 ประการ ( 2 เคา 5 ต้อง 2 เป็น )
1) เคารพ ศรัทธา และยึดมั่นประชาธิปไตย
(1) จงรักภักดี
(2) เป็นกลางทางการเมือง
2) เคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
3) ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) รวดเร็ว กระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรม
(2) วิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ กล้าหาญและอดทน
(3) รับผิดชอบ ความเต็มใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่หลีกเลี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบ
(4) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า
(5) รักษาความลับ
4) ต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
(1) เป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์
(2) ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ ไม่เบียดเบียน กริยาสุภาพ ให้เกียรติ
(3) เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ และช่วยเหลือ
(4) ให้ข้อมูลข่าวสาร
5) ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้
6) ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม ( 6 ไม่ )
(1) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ แสวงหาประโยชน์
(2) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ ไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ของตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น จนทำให้สูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม
(3) ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และมีมูลค่าเกิน ป.ป.ช.
(4) ไม่ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์ของราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
(5) ไม่ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกัน
(6) ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ทำผิดกฎหมายแม้เรื่องเล็กน้อย
7) ต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
(1) ตรงไปตรงมา
(2) ไม่สั่งให้ลูกน้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อคุณธรรมและศีลธรรม
(3) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องโหว่
8) เป็นนายต้องประพฤติปฏิบัติดี
(1) เป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดี
(2) หมั่นอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ปกครองด้วยหลักการและเหตุผล
(4) ใช้หลักคุณธรรมในการ
9) เป็นลูกน้องต้องประพฤติปฏิบัติดี
(1) เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่ง
(2) รักษาวินัยและความสามัคคีในหมู่คณะ
(3) ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพมีน้ำใจ
(4) อุทิศตนเอง ไม่หลีกเลี่ยงหรือเกี่ยงงาน
32. วิธีจำจรรยาบรรณของตำรวจ 6 ประการ ( 6 ต้อง )
1) ต้องสำนึกในการให้บริการประชาชน
(1) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
(2) สุภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติประชาชน
(3) ขณะที่อยู่ในเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ ต้องดำรงตนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและเหมาะสม
(4) พกพาอาวุธตามระเบียบแบบแผน ไม่จับหรือถืออาวุธ หรือเล็งอาวุธไปยังบุคคล
(5) พกพาเอกสารหรือตราประจำตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจำตัวเมื่อมีบุคคลร้องขอ
2) ต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด
(1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญและมีสติปัญญา
(2) ยืนหยัดเจตนารมณ์ในการรักษากฎหมายให้ถึงที่สุด ไม่ประนีประนอม ผ่อนปรน หรือละเลย
(3) ไม่ใช้มาตรการรุนแรง
3) ต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็น
4) ต้องแสดงความเป็นมืออาชีพ ในการ การสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน
(1) ไม่ทำการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล
(2) ไม่ใช้ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทารุณ
(3) ไม่กระทำการข่มขู่หรือรังควาน หรือไม่ใช้อำนาจที่มิชอบ หรือแนะนำเสี้ยมสอน
(4) ไม่กักขังหรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไม่ได้ถูกจับกุม
(5) ไม่ใช้อำนาจที่มิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน
5) ต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม
(1) ไม่ผ่อนปรนให้บุคคลนั้นมีสิทธิหรือได้ประโยชน์
(2) ไม่รบกวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับทนายความ
(3) จัดให้บุคคลได้รับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทย์ตามสมควร
(4) ไม่ควบคุมเด็กและเยาวชนร่วมกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ หรือไม่คุมขังผู้หญิงร่วมกับผู้ชาย
6) ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัด
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com