1. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่อยู่ในแบบหนังสือภายใน
ก. อ้างถึง ข. สิ่งที่ส่งมาด้วย
ค. คำลงท้าย ง. ทุกข้อไม่อยู่ในแบบ
ตอบ ง.
2. โดยปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องในระดับใด
ก. กองและแผนก ข. กรมและแผนก
ค. กรมและหน่วยงาน ง. กรมและกอง
ตอบ ง.
3. ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับใด
ก. กอง ข. กรม
ค. แผนก ง. กระทรวง
ตอบ ก.
4. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหนังสือที่อยู่ในส่วนที่ 2 ของงานสารบรรณฯ
ก. หนังสือภายนอก
ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
ตอบ ข.
5. หนังสือรับรองเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้แก่บุคคลให้ติดรูปถ่ายของผู้ที่ได้รับการรับรอง มีขนาดเท่าไร
ก. 2 3 ซ.ม. ข. 4 6 ซ.ม.
ค. 5 9 ซ.ม. ง. 6 9 ซ.ม.
ตอบ ข.
6. หนังสือเวียนคือหนังสือที่มาถึงผู้รับจำนวนมากมีข้อความอย่างเดียวกันให้เพิ่มเติมรหัสพยัญชนะตัว ว ไว้ที่ใด
ก. มุมของด้านขวา ข. หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
ค. บริเวณใดก็ได้ ขอให้ผู้รับเห็นชัดเจน ง. หลังเลขทะเบียนหนังสือส่ง
ตอบ ข.
7. มท. เป็นรหัสพยัญชนะประจำกระทรวงที่มีหน้าที่หลักในเรื่องใด
ก. ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
ข. ป้องกันการรุกรานจากต่างประเทศ
ค. การคมนาคมทั้งทางบก-เรือ และอากาศ
ง. การแพทย์-พยาบาล และสุขภาพอนามัยของประชาชน
ตอบ ก.
8. กห. เป็นรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงที่มีหน้าที่หลักในเรื่องใด
ก. ป้องกันการรุกรานจากต่างประเทศ
ข. ให้การศึกษาแก่ประชาชนในชาติระดับอุดมศึกษา
ค. ให้ความเป็นธรรมและยุติธรรม
ง. การแพทย์-พยาบาล และสุขภาพอนามัยของประชาชน
ตอบ ก.
9. รย. เป็นรหัสพยัญชนะประจำจังหวัดซึ่งอยู่ทางภาคไหนของประเทศไทย
ก. ภาคเหนือ ข. ภาคกลาง
ค. ภาคตะวันออก ง. ภาคใต้
ตอบ ค.
10. ภก. เป็นรหัสพยัญชนะประจำจังหวัดซึ่งอยู่ทางไหนของประเทศไทย
ก. ภาคเหนือ ข. ภาคกลาง
ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ง. ภาคใต้
ตอบ ง.
11. ชม. เป็นรหัสพยัญชนะประจำจังหวัดซึ่งอยู่ทางไหนของประเทศไทย
ก. ภาคเหนือ ข. ภาคกลาง
ค. ภาคใต้ ง. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอบ ก.
12. หนังสือราชการถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ใช้คำขึ้นต้นว่าอย่างไร
ก. ถึง ข. เรียน
ค. กราบเรียน ง. ขึ้นต้นตามข้อใดก็ได้
ตอบ ค.
13. หนังสือราชการถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ใช้คำขึ้นต้นว่าอย่างไร
ก. ทูล ข. กราบทูล
ค. นมัสการ ง. ขอประทานกราบทูล
ตอบ ง.
14. หนังสือราชการถึงบุคคลธรรมดาใช้สรรพนามอย่างไร
ก. ข้าพเจ้า ข. กระผม ผม
ค. ดิฉัน ท่าน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
15. หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่ได้สนทนา คือหนังสือชนิดใด
ก. บันทึก (Memorandum) ข. บันทึกช่วยจำ (Aide Memories)
ค. หนังสือกลาง (Note Verbal) ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข.
16. หนังสือราชการภาษาอังกฤษที่ลงชื่อ คือหนังสือตามข้อใด
ก. หนังสือราชการที่เป็นพิธี (First Person Formal Note)
ข. หนังสือราชการที่ไม่เป็นแบบพิธี (First Person Informal Note)
ค. หนังสือกลาง (Third Person Note หรือ Note Verbal)
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ ง.
17. งานสารบรรณ คือข้อใดต่อไปนี้
ก. งานที่ว่าด้วยหนังสือ ข. งานที่ว่าด้วยการเก็บหลักฐาน
ค. งานที่ว่าด้วยการรับส่งหนังสือ ง. งานที่หน่วยงานราชการจำเป็นต้องมีขึ้น
ตอบ ก.
18. หนังสือราชการมี
ก. 4 ชนิด ข. 5 ชนิด
ค. 6 ชนิด ง. 7 ชนิด
ตอบ ค.
19. การจดบันทึกหรือรายงานการประชุม จะกระทำได้กี่วิธี
ก. 4 ชนิด ข. 5 ชนิด
ค. 6 ชนิด ง. 7 ชนิด
ตอบ ข.
20. หนังสือราชการ คือ
ก. หนังสือสั่งราชการ ข. หนังสือที่ประทับตราแทนชื่อ
ค. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ง. หนังสือที่ลง วัน เวลา ตามแบบสากล
ตอบ ค.
21. หนังสือราชการที่มีความสำคัญสูงสุด เป็นหนังสือราชการประเภทใด
ก. ลับ ข. ปกติ
ค. ลับที่สุด ง. ลับมาก
ตอบ ค.
22. เมื่อได้ส่งข้อความทางโทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุแล้ว
ก. ไม่ต้องส่งหนังสือนั้นตามไป
ข. ต้องส่งหนังสือนั้นตามไปเพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน
ค. ถือว่าโทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุ นั้นเป็นหลักฐานยืนยัน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข.
23. หนังสือราชการที่จำเป็นจะต้องแจ้งให้ผู้รับทราบด่วน ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. โทรศัพท์ ข. โทรเลข
ค. วิทยุสื่อสาร ง. วิทยุโทรทัศน์
ตอบ ง.
24. เกี่ยวกับการพิมพ์ วัน เดือน พ.ศ. ถ้าเป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2511 ให้พิมพ์ว่า
ก. 5 ม.ค. 44 ข. วันที่ 5 มกราคม 44
ค. 31 กรกฎาคม 2511 ง. วันที่ 5 เดือนมกราคม พุทธศักราช 2544
ตอบ ค.
25. ใครเป็นผู้วางระเบียบงานสารบรรณ
ก. กระทรวงมหาดไทย ข. คณะรัฐมนตรี
ค. สำนักนายกรัฐมนตรี ง. กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ข.
26. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับงานสารบรรณมากที่สุด
ก. งานการเงิน ข. งานเกี่ยวกับการจัดสำนักงาน
ค. งานธุรการและผลิตเอกสาร ง. งานเกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
ตอบ ง.
27. “ส่วนราชการ” ตามระเบียบงานสารบรรณหมายความว่าอย่างไร
ก. คณะกรรมการ ข. ทบวง
ค. กระทรวง ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
28. หนังสือที่ติดต่อระหว่างกระทรวง หรือส่วนราชการต่างกระทรวง หรือส่วนราชการถึงบุคคลภายนอก เรียกว่า หนังสือประเภทใด
ก. หนังสือประทับตรา ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือภายนอก ง. หนังสือประชาสัมพันธ์
ตอบ ค.
29. ข้อใดเรียกว่า “หนังสือภายใน”
ก. เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกรมเดียวกัน ข. เป็นหนังสือที่ติดต่อในจังหวัดเดียวกัน
ค. เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
30. อำนาจของผู้ทำหนังสือราชการลับมากคือข้อใด
ก. ข้าราชการตั้งแต่หัวหน้าคณะทูต ผบ.ตร.
ข. ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า
ค. ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า
ง. หัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อหน่วยนั้นๆ
ตอบ ข.
31. ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง ข. วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ค. คำขึ้นต้นและคำลงท้าย ง. อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย
ตอบ ง.
32. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอกจัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก. หนังสือภายนอก ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือประทับตรา ง. หนังสือประชาสัมพันธ์
ตอบ ก.