ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ

แชร์กระทู้นี้

กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ

 (แนวทางการจัดทำรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง)

1.1 การวางแผนกลยุทธ์และการประเมินแผนงาน (งาน/โครงการ)

          การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการบวนการซึ่งชี้นำให้สมาชิกในองค์การกำหนดวิสัยทัศน์และพัฒนาแนวทาง   การปฎิบัติที่จำเป็นและดำเนินการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ในอนาคต อีกประการหนึ่งการวางแผนกลยุทธ์ช่วยให้องค์การได้ประดิษฐ์อนาคตได้ด้วยตนเอง แผนกลยุทธ์แตกต่างจากแผนระยะยาว คือ แผนระยะยาวเป็นความพยายาม พยากรณ์อนาคตแล้ววางแผนตามนั้น  แนวทางการวางแผนกลยุทธ์ 9 ขั้นตอนที่เพื่อนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 1. การจัดระบบเพื่อการวางแผน 2. สำรวจค่านิยมองค์การ  3. การกำหนดภารกิจ/พันธกิจ  4. การกำหนดกลยุทธ์ 5. การตรวจสอบการปฏิบัติงาน 6. การวิเคราะห์ช่องว่าง  7. บูรณาการแผนปฏิบัติการ 8. การวางแผนสำรอง  9. การนำไปปฏิบัติ

การประเมินแผนงาน (งาน/โครงการ)  การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ การจัดการประเมินโครงการเพื่อให้ทราบว่าโครงการนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จะได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงโครงการ

การประเมินโครงการในโรงเรียนสามารถแบ่งการประเมินเป็น 4 ระยะ คือ 1. ประเมินก่อนดำเนินโครงการ  (Ex-ante’  Evaluation) 2. ประเมินระหว่างดำเนินโครงการ  (Formative  Evaluation) 3. ประเมินเสร็จสิ้นโครงการ  (Summative  Evaluation) 4. ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ  (Follow – up)

กระบวนการประเมินโครงการ ต้องกำหนดหลักการเหตุผลและความสำคัญ กำหนดวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ การออกแบบการประเมิน เช่น รูปแบบของTyler  เหมาะสำหรับเรื่องการเรียนการสอน วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา รูปแบบของ  CIPP  เหมาะสำหรับการใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจยุติ/ขยายโครงการ และหาข้อบกพร่องของโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงานการประเมินโครงการ

    การวางแผนกลยุทธ์และการประเมินแผนงาน เป็นภารกิจที่สำคัญในการบริหารโรงเรียน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ทราบแนวทางการดำเนินงานและผลการปฏิบัติงานว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

 1.2 การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนาผู้เรียน หรือกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน

 กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา กำหนดคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน เป็นลักษณะ 3 ด้าน    คือ 1. ด้านความรู้  2. ด้านทักษะ/กระบวนการ และ 3. ด้านเจตคติ โดยกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพนักเรียน ได้แก่

 1. ด้านความรู้ รู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียน และกฎบัตรอาเซียน

 2. ด้านทักษะ/กระบวนการ ทักษะพื้นฐาน คือ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ภาษาอังกฤษและภาษาประเทศในอาเซียนอีก อย่างน้อย 1 ภาษา ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ความสามารถในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม เปลี่ยนแปลง

3 ด้านเจตคติ คือ มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ความเป็นอาเซียน ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล(คารวะธรรม ปัญญาธรรม สามัคคีธรรม) สันติวิธี/สันติธรรม ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัดคุณภาพครู ครูผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ครูสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ครูใช้หนังสือ ตำราเรียน และสื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้ ครูใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ICT) ในการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการเผยแพร่ ผลงาน ทั้งระบบออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) ครูใช้เทคนิคและวิธีสอนที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้ ครูสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในประเทศ และในกลุ่มประชาคม อาเซียน ครูใช้ประสบการณ์การวิจัย สื่อ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดคุณภาพผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน มีความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวการณ์ มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะในการใช้ ICT มีความสามารถในการประสานภาคีเครือข่ายเพื่อความร่วมมือมีความสามารถในการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงาน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารกับภาคีเครือข่ายในกลุ่มประชาคมอาเซียน

การเตรียมความพร้อมรับประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมกำลังคนและความรู้

 

1.3 การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน

          การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนต้องยึดหลักการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์(RBM) โดยใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีด้วย (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542)  หลักปฏิบัติ 6 ประการ หลักนิติธรรม(Rule  of  Law) หลักคุณธรรม(Ethics)  หลักความโปร่งใส(Transparency)  หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ  (Accountability) หลักความคุ้มค่า(Utility)  RBM  :  Results  เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการบริหาร ได้แก่ (เมธินี  จิตติชานนท์. ออนไลน์)

                   Plan  ต้องกำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายชัดเจน (ต้องการผลสัมฤทธิ์อะไร)

                   Do   ปฏิบัติมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้

                   Check  วัดว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนหรือไม่ (KPI ชัดเจน)

                   Act  ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้

          การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน(Performance Monitoring) เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการของรัฐได้

          การมอบหมายงาน การกำกับติดตามและการส่งเสริมการพัฒนา เป็นแนวทางช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา

     และวิชาชีพ

          นอกจากการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารงานต้องมีความรู้กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน เช่น

          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

          2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ .ศ. 2545

4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

          5. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

6. กฎกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา พ.ศ. 2546

7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546

8. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น  เช่น  ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการชักธงชาติ              ในสถานศึกษา พ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 254, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547,ระเบียบ ศธ.     ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548, กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา

          การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา        และวิชาชีพ ผู้บริหารต้องศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกกฎ ระเบียบ

 

1.5 การระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหาร

     จัดการสถานศึกษา

การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี เช่น การขอรับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง โยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา การจัดผ้าป่าการศึกษา

แหล่งทรัพยากรเพื่อการศึกษานั้น นอกจากรัฐแล้ว ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  มาตรา 58  ได้กำหนดให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ  การเงิน  และทรัพย์สินจากแหล่งต่าง ๆ อย่างหลากหลาย  ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2532) ได้แบ่งรูปแบบของเครื่องมือที่นิยมใช้ในการระดมทุนขององค์การสาธารณประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1) ขายสิ่งของที่ระลึก (Sale of Seals) 2) การส่งจดหมายเชิญชวน (Direct mail) 3) หนังสือพิมพ์ (Newspaper Promotion) 4) โทรทัศน์ (TV appeals & marathons) 5) การออกเรี่ยไรตามบ้านเรือน (Direct door-to-door canvass) 6) ภาพยนตร์ (Motion pictures) 7) กล่องรับบริจาค (Donor boxes) 8) จัดงานการกุศล (Bazaars, balls and dinners) 9) สลากรับเงินรางวัล (Sweepstake) 10) สิ่งพิมพ์ (Printed media) 11) การจัดประกวด (Contest) 12) การจัดวันรับบริจาคสมทบทุนการกุศล (Tag day)

นคร ตังคะพิภพ (2549) ได้จำแนกประเภทของทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาออกเป็น 6 ประเภท คือ

3.1) เงินทุน ได้แก่ เงินทุนการศึกษา เงินพัฒนาสถานศึกษาในลักษณะต่างๆ ที่สามารถจะนำมาจัดซื้อจัดจ้างทำสิ่งของ หรือจัดสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และการใช้จ่าย เพื่อทำกิจกรรมหรือทำประโยชน์ทางการศึกษาให้มากขึ้น

3.2) วัสดุอุปกรณ์ การระดมทรัพยากรเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่สามารถนำมาประกอบเป็นสิ่งของที่ใช้ได้ และสิ่งของที่สามารถใช้ได้ทันที เช่น สื่อการสอน คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3.3) ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา อาคารเรียน อาคารประกอบอื่นๆ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีผู้สร้างให้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน

3.4) บุคคล ซึ่งได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับครู บุคลากรและนักเรียน

3.5) แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สถานประกอบการ สาธารณสถานโบราณสถาน สถานที่ราชการและเอกชน ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการเรียนการสอนได้

3.6) แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร น้ำตก ป่าชายเลน ทะเล เป็นต้น ถ้าโรงเรียนสามารถเสาะแสวงหาและนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา ก็จะเป็นทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยไม่ต้องลงทุน

ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา  3 ประเภทแรกนั้น  อาจจะมีจุดเน้นของการระดมจากรายใหญ่เป็นบุคคลหรือเป็นรายย่อยก็ได้  ซึ่งต้องมียุทธศาสตร์พิเศษที่จะระดมทรัพยากรจากบุคคลเหล่านี้เป็นกรณี ๆ

การสร้างเครือข่าย หมายถึง การทำให้มีการติดต่อ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการร่วมมือกันด้วยความสมัครใจ  การสร้างเครือข่ายควรสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้สมาชิกในเครือข่ายมีความพัมพันธ์กันฉันท์เพื่อน ที่ต่างก็มีความเป็นอิสระมากกว่าสร้างการคบค้าสมาคมแบบพึ่งพิง นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายต้องไม่ใช่การสร้างระบบติดต่อด้วยการเผยแพร่ข่าวสารแบบทางเดียว เช่นการส่งจดหมายข่าวไปให้สมาชิกตามรายชื่อ แต่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันด้วย

 

ความจำเป็นที่ต้องมีเครือข่าย

          การพัฒนางานหรือการแก้ปัญหาใดๆที่ใช้วิธีดำเนินงานในรูปแบบที่สืบทอดกันเป็นวัฒนธรรมภายในกลุ่มคน หน่วยงาน หรือองค์กรเดียวกัน จะมีลักษณะไม่ต่างจากการปิดประเทศที่ไม่มีการติดต่อสื่อสารกับภายนอก การดำเนินงานภายใต้กรอบความคิดเดิม อาศัยข้อมูลข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ภายใน ใช้ทรัพยากรหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่พอจะหาได้ใกล้มือ หรือถ้าจะออกแบบใหม่ก็ต้องใช้เวลานานมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอย่างยิ่งและไม่อาจแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้        การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายที่เป็นทางการและเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร

 

1.6 การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้

 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กล่าวถึงเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า รัฐจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษา การทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยจัดให้มีเงินสนับสนุนและเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ อันจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ (2555 : 44-46) ได้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ดังนี้

ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา

1.มีแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระยะกลาง (3-5 ปี ) และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่อยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปี

2.มีการสนับสนุนงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

3.มีการส่งเสริมและประสานเครือข่ายจากชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน

4. มีระบบกำกับติดตามกประเมินผลการดำเนินงานและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง

5. มีระบบงานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

6.มีบุคลากรรับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยตรง

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1. มีระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และระบบเครือข่ายภายใน ในสถานศึกษา

2. มีระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการกและการจัดการเรียน การสอน

3. มีซอฟต์แวร์ที่จำ เป็นสำหรับใช้ในสถานศึกษาที่ไม่ละเมิดลิขสิทธ์

4. มีการจัดห้องเรียนที่หลากหลาย เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และ/หรือห้องเรียนคอมพิวเตอร์

5 มีระบบการบำรุงรักษาและความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ด้านการเรียนการสอน

1.มีหลักสูตรและแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละสาระการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือและการจัดการเรียนรู้ตามแผนฯ ที่กำหนด

2.มีรูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่หลากหลาย

3. ผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ผู้สอนเป็นแบบอย่าง และสอนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยคำนึงถึงกฎหมาย คุณธรรมและจริยธรรม

5. มีระบบแนะแนวและให้คำปรึกษาทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และประชาชน ผู้รับบริการ

ด้านกระบวนการเรียนรู้

1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในรูปแบบที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และได้ทา กิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามความสนใจของผู้เรียน

2. ผู้เรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานกที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

3.ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

ด้านทรัพยากรการเรียนรู้

1.มีเว็บไซต์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

2. มีระบบจัดการแหล่งการเรียนรู้กในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

3. มีการจัดรวบรวมสื่อกนวัตกรรมการเรียนการสอนกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเป็นระบบ จัดเป็นคลังแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ตามศักยภาพของสถานศึกษา

     จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่าในการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ต้องมีการวางกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ปฏิบัติได้จริงและการประเมินแผนงานตามรูปแบบที่เหมาะสมกับโครงการนั้น ในการบริหารและการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ต้องสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายต้นสังกัด และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบราชการ มุ่งเน้นการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ดำเนินงานตามวงจร PDCA ของเดมมิ่ง การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงานจัดบริหารงานสู่สากล เพื่อผลิตและพัฒนาผู้เรียน หรือกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน  ใช้แนวการการระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสถานศึกษา

    หน่วยที่ 2 ภาวะผู้นำ อุดมการณ์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496281

การสร้างเครือข่าย (Networking). สมัยใหม่. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http;//med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/...//Networking.doc เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555.

กัลยาณี  สูงสมบัติ. บทบาทผู้บริหาร ผู้นำสมัยใหม่. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttp://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-1-3.htm   เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555.

เครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันในยุคโลกาภิวัฒน์. http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=126:network&catid=8:special-article&Itemid=10  เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555.

นคร ตังคะพิภพ (2549) การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.เพชรบุรี: โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ.

เนตรทราย  บัลลังก์ปัทมา. (2551). บริหารงานวิชาการ...ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/205609.  เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2555.

ประชุม  โพธิกุล. การวางแผนกลยุทธ์เชิงประยุกต์. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ).(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก          http://www.moe.go.th/wijai/strategic%20applies.htm  เมื่อวันที่14 กรกฎาคม 2555

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2532) องค์การสาธารณประโยชน์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เมธินี  จิตติชานนท์. การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์(Results  Based  Management) (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://iad.dopa.go.th/subject/RBM.doc  เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

          . (2555). ใบความรู้ รหัส UTQ-2301: การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.utqonline.com  (วันที่16 กรกฎาคม 2555)

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อรทัย  ศักดิ์สูง. การประเมินโครงการ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/wijai/project.htm  เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้