ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แจกแนวข้อสอบ เตรียมสอบท้องถิ่น อบจ.เทศบาล 2556
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แจกแนวข้อสอบ เตรียมสอบท้องถิ่น อบจ.เทศบาล 2556

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ


1.    พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายในปี

        ก.  พ.ศ. 2539              ข.  พ.ศ. 2540                      ค.  พ.ศ. 2541                      ง.  พ.ศ. 2542

2.    ข้อใดเป็นเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

        ก.  เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

        ข.  เพื่อกำหนดข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจน

        ค.  เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ง.  ถูกทุกข้อ

3.    กรณี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ขัดแย้งกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติจะ  ดำเนินการตามข้อใด

        ก.  ใช้บังคับตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

        ข.  ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

        ค.  เสนอนายกรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

        ง.  เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

4.    ข้อใดคือหลักการสำคัญของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ก.  เพื่อให้ทันต่อกระแสยุคโลกาภิวัฒน์

        ข.  เพื่อให้เอกชนมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐ

        ค.  เพื่อรับรองสิทธิสาธารณชนในการรับรู้ข่าวสารของราชการ

        ง.  ถูกทุกข้อ

5.    ข้อใดถูกต้อง
 
     ก.  ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติเป็นข้อยกเว้นของพระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของ                                               ราชการ

        ข.  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นข้อยกเว้นของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย แห่งชาติ

       ค.  กรณีมีข้อขัดแย้งในการปฏิบัติระหว่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
กับระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
ต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

        ง.  ไม่มีข้อถูก

6.    ข้อใดเป็นผลในการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลข่าวสารของทางราชการในประเทศไทย

        ก.  การปฏิรูปการเมือง                                                               ข.  การปฏิรูประบบราชการ

        ค.  การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ                                                   ง.  ถูกทุกข้อ

7.    ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร

        ค.  นายกรัฐมนตรี

        ง.  ประธานสภาผู้แทนราษฎร

8.    สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นหน่วยงานอยู่ในส่วนราชการใด

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                            ข.  สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  สภาผู้แทนราษฎร                                                                 ง.  รัฐสภา

9.    ข้อมูลข่าวสารของราชการในข้อใดที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้

        ก.  นโยบาย และแผนงานของรัฐบาล

        ข.  โครงการ และงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล

        ค.  สัญญาร่วมทุนของรัฐบาลกับเอกชนในการจัดบริการสาธารณะ

        ง.  ถูกทุกข้อ

10.  ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำดังกล่าวมีสิทธิ                ดำเนินการอย่างไร

        ก.  ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ข.  อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ค.  ฟ้องร้องต่อศาล

        ง.  ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข

11.  ข้อใดไม่ใช่ "หน่วยงานของรัฐ" ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ก.  ราชการส่วนท้องถิ่น                             
        ข.  หน่วยงานอิสระของรัฐ
        ค.  รัฐวิสาหกิจ                             
        ง.  ศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี

12.  ข้อใดไม่ถูกต้อง

        ก.  ข้อมูลข่าวสาร หมายความรวมถึง สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อมูล ด้วยการบันทึกโดยเครื่อง คอมพิวเตอร์

        ข.  ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความรวมถึง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชนที่อยู่ในความครอบครองของ รัฐ
 
     ค.  ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลที่อยู่ในความ                  
                               ครอบครองของรัฐ

        ง.  เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ

13.  หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารประเภทใด ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

        ก.  โครงสร้าง และการจัดองค์การในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ

        ข.  รายชื่อ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ

        ค.  คำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานภายในส่วนราชการ

        ง.  งบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ

14.  ข้อใดไม่ใช่ข่าวสารประเภทที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้

        ก.  ผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐที่มีผลต่อเอกชน

        ข.  คู่มือการปฏิบัติงานของราชการ

        ค.  มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการแต่งตั้งโดยกฎหมาย

        ง.  แผนงาน โครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ

15.  ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ก.  ส่งข้อมูลข่าวสารของราชการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

        ข.  จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดู

        ค.  จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ขอในเวลาอันสมควร

        ง.  จัดทำสำเนาและรับรองข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนทุกครั้งตามประสงค์ที่ขอ

16.  ข้อใดเป็นข่าวสารที่กำหนดว่าห้ามเปิดเผย

        ก.  ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ

        ข.  ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

        ค.  ข่าวสารที่อาจให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

        ง.  ถูกทุกข้อ

17.  ข้อใดเป็นข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย

        ก.  ข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

        ข.  ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

        ค.  ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

        ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข และ ค

18. กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งอาจมีผู้มีประโยชน์ได้เสียในข้อมูลข่าวสารนั้นเจ้าหน้าที่รัฐ    
ต้องแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียได้เสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด
กำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องไม่น้อยกว่ากี่วัน

        ก.  7 วัน      
       ข.  15 วัน                            
       ค.  20 วัน           
       ง.  30 วัน

19.  กรณีที่มีการคัดค้านคำสั่งเปิดเผยข้อมูล
และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งไม่รับฟ้องคำคัดค้าน
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้เมื่อใด

        ก.  เปิดเผยได้ทันที                                                        
        ข.  เปิดเผยเมื่อได้ล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
        ค.  เปิดเผยได้เมื่อล่วงพ้น 30 วันไปแล้ว         
        ง.  เปิดเผยเมื่อได้ล่วงพ้น 45 วันไปแล้ว

20.  การอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องอุทธรณ์ต่อใคร

        ก.  คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์

        ข.  คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ค.  คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

        ง.  ศาลอุทธรณ์

21.  ข้อใดเป็นการออกระเบียบเพื่อยกเว้นการบังคับใช้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่ถูกต้อง

        ก.  สำนักข่าวกรองแห่งชาติเป็นผู้ออกระเบียบ

        ข.  สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ออกระเบียบ

        ค.  หน่วยงานของรัฐออกระเบียบ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ง.  ถูกทุกข้อ

22.  ข้อใดเป็นการวางระบบข้อมูลข่าวสารของราชการที่ถูกต้อง

        ก.  ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ

        ข.  จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

        ค.  จัดให้มีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

        ง.  ถูกทุกข้อ

23.  ผู้ขอข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการในกรณีหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในข้อใด

        ก.  ไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนดู

        ข.  ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า

        ค.  ไม่อำนวยความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันควร

        ง.  ถูกทุกข้อ

24.
 กรณีคณะกรรมการได้รับข้อร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของราชการของหน่วยงาน     ของรัฐ
คณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน

        ก.  15 วัน  
        ข.  30 วัน                        
        ค.  45 วัน  
        ง.  60 วัน

25.  ข้อใดไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานหน่วยงานของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ที่อยู่ในความ    ควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ

        ก.  การเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลซึ่งได้ให้ไว้ล่วงหน้า

        ข.  การเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในเวลาที่จะเปิดเผย
 
     ค.  หน่วยงานของรัฐมีอำนาจเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในความควบคุมดูแลได้ทุกรณีไม่จำ
เป็นต้องได้รับความ ยินยอม

        ง.  ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข

26. กรณีหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ตรงตามคำขอของเจ้าของ
ข้อมูล เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ          อุทธรณ์ต่อใครภายในระยะเวลาเท่าใด

        ก.  อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 15 วัน

        ข.  อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 30 วัน

       ค.  อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ภายใน 15 วัน

        ง.  อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน

27.  หน่วยงานที่มีหน้าที่เก็บรักษาเอกสารประวัติศาสตร์ตามพระราชบัญญัตินี้ คือ บุคคลในข้อใด

        ก.  พิพิธภัณฑ์

        ข.  หอจดหมายแห่งชาติ

        ค.  กรมสารสนเทศ

        ง.  สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

28.  ตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ คือ บุคคลในข้อใด

        ก.  นายกรัฐมนตรี

        ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

        ง.  รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

29.  ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ก.  กำหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ข.  สอดส่องการดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ

        ค.  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ

        ง.  พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน

30.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

  
          ก.  2 ปี                           ข.  3 ปี                        
          ค.  4 ปี                                   ง.  5 ปี

31.  ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ก.  ประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ข.  นายกรัฐมนตรี

        ค.  คณะรัฐมนตรี

        ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

32.  กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน

        ก.  19 คน                     ข.  21 คน                             ค.  23 คน                             ง.  25 คน

33.  คำสั่งขยายเวลาไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการของหน่วยงานของรัฐมีกำหนดคราวละเกินกี่ปีไม่ได้

  
     ก.  2 ปี                           ข.  3 ปี                        
          ค.  4 ปี                                   ง.  5 ปี

34.  กรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอ ถ้าผู้ขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงควรดำเนินการอย่างไร

        ก.  ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้ตรวจสอบ

        ข.  ร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจสอบสวนข้อเท็จจริง

        ค.  ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง

        ง.  ถูกทุกข้อ

35.  การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องดำเนินการอย่างไร

        ก.  นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจในการแต่งตั้ง

        ข.  คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

        ค.  คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง

        ง.  เลือกตั้งคณะกรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

36.  ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

        ก.  วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

        ข.  วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

        ค.  วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

        ง.  ถูกทุกข้อ

37.  คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร แต่ละคณะจะต้องมีกรรมาการไม่น้อยกว่ากี่คน

       ก.  3 คน                        ข.  5 คน                          
                     ค.  7 คน                                          
     ง.  9 คน

38.  การส่งคำอุทธรณ์
จากคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย
ข้อมูล      ข่าวสารเพื่อพิจารณา
จะต้องทำภายในกี่วันนับแต่วันที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้รับ
อุทธรณ์

        ก.  3 วัน          
        ข.  5 วัน     
         ค.  7 วัน                     
         ง.  15 วัน

39.  การไม่ปฏิบัติตามคสั่งของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ที่สั่งให้เรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งให้   ส่งพยานหลักฐาน มีโทษเพียงใด

        ก.  โทษปรับสถานเดียวไม่มีโทษจำคุก                                   ข.  มีโทษจำคุกสถานเดียว ไม่มีโทษปรับ

        ค.  มีทั้งโทษปรับ และ/หรือโทษจำคุก                                   ง.  ไม่มีโทษทางอาญา

40.  ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 แห่งพราะราชบัญญัตินี้ หมายถึงข้อใด

        ก.  หมายถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

        ข.  หมายถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างและจัดองค์กรในการดำเนินงานของส่วนราชการ

        ค.  หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ

        ง.  ถูกทุกข้อ

        
เฉลยแนวข้อสอบพระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

 

1.  ข       2.  ง       3.  ข       4.  ค       5.  ข       6.  ง       7.  ค       8.  ข

9.  ง   10.  ง         11.  ง     12.  ค     13.  ก     14.  ข     15.  ง     16.  ค

17.  ง     18.  ข     19.  ข     20.  ค     21.  ค     22.  ง     23.  ง     24.  ข

25.  ง     26.  ข     27.  ข     28.  ง     29.  ก     30.  ข     31.  ค     32.  ค

33.  ง     34.  ก     35.  ข     36.  ง     37.  ก     38.  ค     39.  ค     40.  ง
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ. 2539


1.    พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ไม่ใช่บังคับองค์กรหรือหน่วยราชการตามข้อใด

        ก.  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี

        ข.  การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

        ค.  การดำเนินกิจการทางศาสนา

        ง.  ถูกทุกข้อ

2.    ข้อใดเป็นคำสั่งทางปกครอง

        ก.  คำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมายในการสั่งและมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

        ข.  การอนุญาตหรือไม่อนุญาตอันก่อให้เกิดสิทธิหรือระงับซึ่งสิทธิของบุคคล

        ค.  การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่อันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

        ง.  ถูกทุกข้อ

3.    คำว่า "กฎ" ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หมายถึงข้อใด

        ก.  พระราชกฤษฎีกา                                                                  ข.  กฎกระทรวง

        ค.  ประกาศกระทรวง และข้อบังคับท้องถิ่น                         ง.  ถูกทุกข้อ

4.    บุคคลตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                                     ง.  อธิบดีกรมการปกครอง

5.    บุคคลตามข้อใดเป็นประธานในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                                   ง.  บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

6.    ผู้ดำรงตำแหน่งประธานในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ต้องเป็นบุคคลตามข้อใด

        ก.  เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

      ข.  ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

        ค.  ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์    บริหารราชการแผ่นดิน

        ง.  ต้องอายุไม่เกิน 50 ปีบริบูรณ์

7.    ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดจำนวนไว้ตามข้อใด

        ก.  ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน                                   ข.  ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน

        ค.  ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน                                   ง.  ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน

8.    บุคคลข้อใดที่ทำตามหน้าที่เลขานุการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

        ก.  เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

        ข.  เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

        ค.  ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้ง

        ง.  ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

9.    กรรมการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละกี่ปี

        ก.  2 ปี                           ข.  3 ปี                                   ค.  4 ปี                                   ง.  5 ปี

10.  หน่วยงานที่ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือหน่วยงานในข้อใด

        ก.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา                                    ข.  สำนักงานคณะกรรมการรัฐมนตรี

        ค.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                  ง.  กรมการปกครอง

11.  ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

        ก.  สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

        ข.  เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้

        ค.  พิจารณาคดีทางการปกครอง

        ง.  จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอนายกรัฐมนตรี

12.  เจ้าหน้าที่ตามข้อใดทำการพิจารณาทางปกครองได้

        ก.  เป็นคู่กรณีในคดี                                                                    ข.  เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี

        ค.  เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณี                                             ง.  เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณีในคดี

13.  บุคคลตามข้อใดเป็นคู่กรณีในการพิจารณาปกครองได้

        ก.  บุคคลธรรมดา                       ข.  คณะบุคคล                ค.  นิติบุคคล                                        ง.  ถูกทุกข้อ

14.  บุคคลตามข้อใดเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณี ในกรณีที่มีคู่กรณีเกิน 50 คนยื่นคำขออย่างเดียวกันได้

        ก.  บุคคลธรรมดา                       ข.  คณะบุคคล                     ค.  นิติบุคคล                                        ง.  ถูกทุกข้อ

15.  กรณีที่คำขอหรือคำแถลงของคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครอง มีข้อบกพร่องอันเกิดจากความไม่รู้ของคู่กรณี เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามข้อใด

        ก.  ให้จำหน่ายเรื่องออกการพิจารณา

        ข.  ให้เจ้าหน้าที่แนะนำให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง

        ค.  ให้เจ้าหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้อง

        ง.  ให้พิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่มีอยู่

16.  ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ตามข้อใด

        ก.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความเหมาะสม

        ข.  ไม่ผูกพันอยู่กับคำขอของคู่กรณี

        ค.  ไม่ต้องผูกพันกับพยานหลักฐานของคู่กรณี

        ง.  ถูกทุกข้อ

17.  ในการจัดพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามข้อใด

        ก.  แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

        ข.  ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

        ค.  ออกไปตรวจสถานที่

        ง.  ถูกทุกข้อ

18.  การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามข้อใดไม่ถูกต้องในกรณีที่คำสั่งทางการปกครองจะกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี

        ก.  เจ้าหน้าที่ให้คู่กรณีมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริง และมีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน

        ข.  เจ้าหน้าที่ไม่ให้โอกาสคู่กรณีทราบข้อเท็จจริงเนื่องจากเป็นมาตรการบังคับทางการปกครอง

        ค.  เจ้าหน้าที่ให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้งพยานหลักฐานถึงแม้ว่าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายต่อประโยชน์                             สาธารณะ

        ง.  เจ้าหน้าที่ไม่ให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงเนื่องจากจะทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการทำ      คำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป

19.  คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งสิทธิหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ การขอ   ดังกล่าวไม่รวมถึงการขอในข้อใด

        ก.  ขอตรวจดูเอกสารต้นร่างคำวินิจฉัย ในขณะที่ยังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครอง

        ข.  ขอสำเนาเอกสารที่เป็นพยานหลักฐานทั้งหมด

        ค.  ขอดูหลักฐานที่เจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้

        ง.  มีสิทธิขอดูได้ทุกกรณี

20.  รูปแบบคำสั่งทางการปกครองในข้อใดไม่ถูกต้อง

        ก.  ทำเป็นหนังสือ

        ข.  เป็นคำสั่งด้วยวาจาก็ได้

        ค.  สั่งทางจดหมายอิเล็คทรอนิกส์

        ง.  คำสั่งทางปกครองอาจใช้รูปแบบได้ทั้งข้อ ก , ข และข้อ ค

21.  ในกรณีคำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับสั่งร้องขอภายในกี่วันนับแต่วันมีคำสั่งเจ้าหน้าที่ต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ

        ก.  3 วัน                                        ข.  5 วัน                                                ค.  7 วัน                                                                ง.  15 วัน

22.  เหตุผลที่ต้องจัดให้มีไว้ในคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ คือข้อใด

        ก.  ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

        ข.  กฎหมายที่ใช้อ้างอิง

        ค.  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจ

        ง.  ต้องมีเหตุผลทั้งในข้อ ก ข และ ค

23.  ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

        ก.  ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

        ข.  การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองสามารถอุทธรณ์ด้วยวาจาได้

        ค.  การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง

        ง.  เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์ภายในไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการอุทธรณ์

24.  ในการพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่มีอำนาจพิจารณาในประเด็นตามข้อใด

        ก.  พิจารณาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง

        ข.   พิจารณาประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย

        ค.  พิจารณาความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางการปกครอง

        ง.  ถูกทุกข้อ

25.  การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ

        ที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางการปกครองนั้น

        ก.  30 วัน                      ข.    60 วัน                           ค.  90 วัน                              ง.  120 วัน

26.  เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์

        ก.  มีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นข้อยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ

        ข.  คู่กรณีที่แท้จริงไม่ได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาในกระบวนการ

        ค.  เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางการปกครอง

        ง.  ถูกทุกข้อ

27.  คำสั่งทางปกครองที่กำหนดใช้ชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ชำระภายในเวลาที่กำหนด โดยจะต้องให้มีเวลาไม่น้อยกว่ากี่วัน

        ก.  7 วัน                                        ข.  15 วัน                              ค.  30 วัน                              ง.  45 วัน

28.  คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ละเว้นการกระทำ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่อาจบังคับให้ไป       ชำระค่าปรับทางปกครองได้ โดยจำนวนเงินที่กำหนดต้องไม่เกินอัตราตามข้อใด

        ก.  500 บาทต่อวัน                                                                      ข.  1,000 บาทต่อวัน

        ค.  2,000 บาทต่อวัน                                                                  ง.  20,000 บาทต่อวัน

29.  ก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือให้มีการกระทำหรือละเว้นการ        กระทำตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนด คำเตือนดังกล่าวจะต้องระบุตามข้อใด

        ก.  มาตรการบังคับทางการปกครองที่จะใช้

        ข.  ค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเอง

        ค.  จำนวนค่าปรับทางปกครอง

        ง.  ถูกทุกข้อ

30.  การแจ้งคำสั่งทางปกครองโดยวิธีส่งทางไปรณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเวลาตามข้อใด

        ก.  5 วันนับแต่ส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 7 วันนับแต่วันที่ส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ

        ข.  7 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 15 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ

        ค.  15 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 30 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ

        ง.  20 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 45 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ


เฉลยแนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติระเบียบการปกครอง พ.ศ. 2539



1.  ง       2.  ง       3.  ง       4.  ก       5.  ง       6.  ค       7.  ค       8.  ค

9.  ข     10.  ก     11.  ค    12.  ค     13.  ง    14.  ก    15.  ข    16.  ง  

17.  ง     18.  ค     19.  ก     20.  ง     21.  ค     22.  ง     23.  ข     24.  ง

25.  ค     26.  ง     27.  ก   28.  ง     29.  ง     30.  ข
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550


1.    ข้อใดไม่ใช่ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

        ก.  ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง                                     ข.  ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด

        ค.  ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค                 ง.  ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

2.    ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินคือใคร

        ก.  ประธานรัฐสภา                                                                    ข.  ประธานสภาผู้แทนราษฎร

        ค.  ประธานวุฒิสภา                                                                   ง.  นายกรัฐมนตรี

3.    ข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                            ข.  กระทรวง

        ค.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                            ง.  ทบวง

4.    หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการเพิ่มขึ้นจนกว่าจะ      ครบ 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา การรวมหรือโอนส่วนราชการ ใช้บังคับ

        ก.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                  ข.  สำนักงบประมาณ

        ค.  กระทรวงการคลัง                                                                 ง.  ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

5.    การยุบส่วนราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กระทำได้โดยวิธีใด

        ก.  ตราเป็นพระราชบัญญัติ                                                      ข.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

        ค.  ออกเป็นประกาศกระทรวง                                 ง.  ออกเป็นกฎกระทรวง

6.    "สำนักนายกรัฐมนตรี" เดิมมีชื่อเรียกว่าอะไร

        ก.  สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี                                 ข.  สำนักงานเลขานุการกระทรวง

        ค.  สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี                                 ง.  สำนักงานเลขาธิการ

7.    ผู้มีอำนาจออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในกระทรวง คือใคร

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

        ค.  ปลัดกระทรวง                                                                       ง.  คณะรัฐมนตรี

8.    หน่วยงานใดมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการในกระทรวง คือข้อใด

        ก.  กระทรวงการคลัง                                                                 ข.  สำนักงบประมาณ

        ค.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                  ง.  ถูกทั้งข้อ ข และข้อ ค

9.    การจัดระเบียบข้าราการจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้กำหนดกฎหมายฉบับใด

        ก.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในกระทรวง

        ข.  พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

      ค.  พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ

      ง.  พระราชบัญญัติปรับปรุงส่วนราชการ

10.  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายของงานในสำนักนายกรัฐมนตรี คือใคร

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  รองนายกรัฐมนตรี                                                               ง.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

11.  อำนาจของนายกรัฐมนตรีในข้อใด ที่ต้องให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนจึงใช้บังคับได้

        ก.  แต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง

        ข.  แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค. วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน

        ง.  แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

12.  ใครคือผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                                   ง.  เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

13.  ตำแหน่งข้าราชการข้อใดเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ

        ก.  รองนายกรัฐมนตรี                                                               ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                          ง.  เลขานุการนายกรัฐมนตรี

14.  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานในด้านใด

        ก.  ราชการคณะรัฐมนตรี                                                          ข.  ราชการของรัฐสภา

        ค.  ราชการในพระองค์                                                              ง.  ถูกทุกข้อ

15.  ตำแหน่งของข้าราชการในข้อใดเป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง

        ก.  เลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                                    ข.  ปลัดกระทรวง

        ค.  อธิบดี                                                                                      ง.  รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

16.  ข้อใดคือบทบาทของส่วนราชการส่วนกลางยุคใหม่

        ก.  บทบาทภารกิจในการกำหนดนโยบาย

        ข.  บทบาทภารกิจในการวางและกำกับกฎระเบียบและการตรวจสอบ

        ค.  บทบาทภารกิจในการสนับสนุนส่งเสริม

        ง.  ถูกทุกข้อ

17.  ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง

        ก.  เป็นกลไกสนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในด้านการเมือง

        ข.  ประสานกับสำนักนายกรัฐมนตรีของกระทรวงเพื่อบูรณาการและการพิจารณาถึงความสอดคล้องของ                                             นโยบายกระทรวงนั้นและกระทรวงอื่น

        ค.  เพื่อศึกษาให้ข้อคิดเห็น คำแนะนำ และจัดทำข้อเสนอทางนโยบายแก่รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

        ง.  บูรณาการ บริหาร และจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ

18.  หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี คือหน่วยงานใด

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

        ข.  สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

        ค.  สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

        ง.  ไม่มีข้อถูก

19.  การจัดตั้งส่วนราชการในกระทรวงเพื่อรับผิดชอบภาระหน้าที่ใดโดยเฉพาะซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมจะกระทำได้  หรือไม่ เพียงใด

        ก.  กระทำไม่ได้                                                                          ข.  กระทำโดยตราเป็นพราะราชกฤษฎีกา

        ค.  กระทำโดยตราเป็นพระราชบัญญัติ                                  ง.  กระทำได้โดยทำเป็นคำสั่งรัฐมนตรี

20.  กฎหมายใดเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการในกระทรวง

        ก.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในกระทรวง

        ข.  พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

        ค.  พระราชกฤฎีกาแบ่งส่วนราชการ

        ง.  พระราชกฤษฎีปรับปรุงส่วนราชการ

21.  ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจำในกระทรวง คือผู้ใด

        ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง                                                    ข.  ปลัดกระทรวง

        ค.  อธิบดี                                                                                      ง.  นายกรัฐมนตรี

22.  การกำหนดกลุ่มภารกิจในกระทรวงกระทำได้โดยวิธีใด

        ก.  ตราเป็นพระราชบัญญัติ                                                      ข.  ตราเป็นพระราชกฤฎีกา

        ค.  ออกเป็นกฎกระทรวง                                                          ง.  โดยคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

23.  ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี คือผู้ใด

        ก.  รัฐมนตรี                                                                                 ข.  ปลัดกระทรวง

        ค.  เลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                                    ง.  อธิบดี

24.  ตำแหน่งใดคือผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในกรม

        ก.  เลขานุการกรม                                                                      ข.  อธิบดี

        ค.  ผู้อำนวยการ                                                                           ง.  ปลัด

25.  ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวง

        ก.  ตรวจการปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง

        ข.  แนะนำการปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง

        ค.  สั่งการปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง

        ง.  ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

26.  การมอบอำนาจอธิบดีให้กับรองอธิบดีจะต้องทำอย่างไร

        ก.  ตราเป็นพราะราชบัญญัติ                                                    ข.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

        ค.  ออกเป็นประกาศกระทรวง                                 ง.  ทำเป็นหนังสือ

27.  ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการ มอบอำนาจให้ดำรงตำแหน่งถัดไปแล้ว ผู้ได้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจนั้นต่อไป     ได้อีกหรือไม่

        ก.  ไม่ได้                                                                                       ข.  ได้

        ค.  ไม่ได้ เว้นแต่การมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด                  ง.  ถูกทุกข้อ

28.  ข้อใดคือหลักฐานการพิจารณาในเรื่องการมอบอำนาจ

        ก.  พิจารณาถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

        ข.  พิจารณาถึงความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ

        ค.  พิจารณาถึงการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่ง

        ง.  ถูกทุกข้อ

29.  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ใครคือผู้รักษาราชการแทน

        ก.  ประธานรัฐสภา                                                                    ข.  ประธานสภาผู้แทนราษฎร

        ค.  รองนายกรัฐมนตรี                                                               ง.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

30.  ในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ใครคือผู้รักษาราชการแทน

        ก.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                                   ข.  รองเลขานุการนายกรัฐมนตรี

        ค.  ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                          ง.  อธิบดี

31.  ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค

        ก.  จังหวัด                                                                                    ข.  อำเภอ

        ค.  ตำบล                                                                                       ง.  ถูกทั้งข้อ ก และ ข

32.  ข้อใดคือหน้าที่ของกรมการจังหวัด

        ก.  เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด                              

        ข.  พิจารณาความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด

        ค.  ปฏิบัติตามหน้าที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด

        ง.  ถูกทุกข้อ

33.  ตำแหน่งใดไม่ใช่กรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการจังหวัด

        ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัด               ข.  ปลัดจังหวัด                    ค.  อัยการจังหวัด                                ง.  นายอำเภอ

34.  การยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการในจังหวัดตามที่          พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนด จะต้องกระทำโดยวิธีใด

        ก.  ตราเป็นพระราชบัญญัติ                                                      ข.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

        ค.  กำหนดโดยกฎกระทรวง                                                     ง.  ไม่สามารถกระทำได้

35.  การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยวิธีใด

        ก.  ตราเป็นพระราชบัญญัติ                                                      ข.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

        ค.  กำหนดโดยกฎกระทรวง                                                     ง.  ไม่สามารถกระทำได้

36.  ข้าราชการในตำแหน่ง  นายอำเภอ สังกัดส่วนราชการใด

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                          

        ข.  กระทรวงมหาดไทย

        ค.  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

        ง.  กระทรวงยุติธรรม

37.  ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบราชการส่วนท้องถิ่น

        ก.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด                                                ข.  อำเภอ

        ค.  เทศบาล                                                                                   ง.  เมืองพัทยา

38.  คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีชื่อเรียกโดยย่อว่าอะไร

        ก.  "ก.พ."                     ข.  "ก.พ.ร."                         ค.  "ก.ร."                      ง.  "ค.พ.ร."

39.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ที่ต้องทำงานเต็มเวลา กำหนดให้มีไม่น้อยกว่ากี่   คน

        ก.  3 คน                        ข.  5 คน                                                ค.  7 คน                                                ง.  10 คน

40.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

        ก.  3 ปี                           ข.  4 ปี                                   ค.  5 ปี                                   ง.  6 ปี

41.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะต้องมีจำนวนไม่เกินกี่คน

        ก.  3 คน                        ข.  5 คน                                                ค.  7 คน                                                ง.  10 คน

42.  สำนักกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วนราชการสังกัดหน่วยงานใด

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

        ข.  กระทรวงมหาดไทย

        ค.  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

        ง.  กระทรวงยุติธรรม

43.  ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาสังคมระบบราชการ

        ก.  เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐตามทั่ร้องขอ

        ข.  สั่งการปฏิบัติราชการหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ

        ค.  เสนอแนะคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ

        ง.  เรียกให้เข้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา

44.  ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นจากการใช้บังคับตามพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน ใครจะเป็นผู้ตีความและ   และวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  สภาผู้แทนราษฎร

        ค.  รัฐสภา                                                                                    ง.  คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

45.  การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากมีการแก้ไข             พระราชบัญญัติ คณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก คือฉบับใ

        ก.  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535                                                          ข.  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

        ค.  (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2543                                                        ง.  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

46.  การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากมีการปฏิรูประบบ ราชการ คือฉบับใด

        ก.  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535                                                          ข.  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

        ค.  (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2543                                                        ง.  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

47.  การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากมีการปรับปรุง        หลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีและส่วนราชการระดับกรม คือฉบับใด

        ก.  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535                                                          ข.  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

        ค.  (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2543                                                        ง.  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

48.  การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากได้มีการ   กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นผู้บังคับ    ข้าราชการในสำนักคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและรับผิดชอบ          ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี คือฉบับใด

            ก.  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535                                                      ข.  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

        ค.  (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2543                                                        ง.  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

49.  การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุอันเนื่องมาจากได้มีการตรา พระราชบัญญัตินโยบายพลังแห่งชาติ และพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้สำนักงาน     คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี คือฉบับใด

            ก.  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535                                                      ข.  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

        ค.  (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2543                                                        ง.  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

50.  การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากได้มีการ   กำหนดให้มีการบริหารราชการแนวใหม่ ให้เป็นไปตามกรอบการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี คือ       ฉบับใด

            ก.  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535                                                      ข.  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

        ค.  (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2543                                                        ง.  (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
เฉลยแนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550


1.  ข       2.  ง       3.  ค       4.  ง       5.  ข       6.  ก       7.  ข       8.  ง

9.  ข       10.  ก     11.  ค     12.  ง     13.  ค     14.  ง     15.  ก     16.  ง

17.  ก     18.  ค     19.  ข     20.  ข     21.  ข     22.  ค     23.  ค     24.  ข

25.  ค     26.  4     27.  4     28.  4     29.  ค     30.  ค     31.  ค     32.  ง

33.  ง     34.  ก     35.  ข     36.  ข     37.  ข     38.  ข     39.  ก     40.  ข

41.  ง     42.  ก     43.  ข     44.  ง     45.  ก     46.  ง     47.  ค     48.  ข

                                                                49.  ข    50.  ง
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

1.    ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหลักการที่นำมาใช้ในพระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

        ก.  หลักในเรื่องลูกหนี้ร่วมตามกฎหมายแพ่ง

        ข.  หลักการซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจให้เกิดความ                     เสียหายเท่านั้น

        ค.  หลักการซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการประมาท                              เลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น

        ง.  ความรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นการ                                  เฉพาะตัว

2.    เจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หมายถึงข้อใด

        ก.  ข้าราชการ                                                                              ข.  พนักงาน

        ค.  ลูกจ้าง                                                                                     ง.  ถูกทุกข้อ

3.    หน่วยงานของรัฐ หมายถึงข้อใด

        ก.  รัฐวิสาหกิจ                                                                             ข.  องค์การบริหารส่วนตำบล

        ค.  กระทรวง                                                                                ง.  ทุกข้อเป็นหน่วยงานของรัฐ

4.    ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการละเมิด ผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวต้องฟ้องใคร

        ก.  ฟ้องเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิด

        ข.  ฟ้องหน่วยงานของรัฐที่ผู้ทำละเมิดสังกัด

        ค.  ฟ้องทั้งตัวเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่สังกัด

        ง.  ผู้ถูกกระทำละเมิดมีสิทธิเลือกฟ้องตามความประสงค์

5.    กรณีการกระทำละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด จะถือว่าหน่วยงานใดเป็น          หน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดถูกฟ้องร้องคดีดังกล่าว

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                            ข.  กระทรวงการคลัง

        ค.  เหตุเกิดที่จังหวัดใดให้ฟ้องที่จังหวัดนั้น                          ง.  กรมการปกครอง

6.    นายภคพงษ์ ทำงานในบริษัทเอกชน ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง                ได้กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก แนวปฏิบัติข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับผลแห่งละเมิดดังกล่าว

        ก.  ผู้ถูกทำละเมิดไม่สามารถฟ้องรัฐวิสาหกิจนั้นได้เนื่องจากไม่ได้สังกัดรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ฟ้องได้เฉพาะตัว                    นายภคพงษ์

        ข.  ผู้ถูกทำละเมิดฟ้องรัฐวิสาหกิจนั้นได้เพราะนายภคพงษ์ เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจนั้น

        ค.  ผู้ถูกทำละเมิดต้องฟ้องกระทรวงการคลังเพราะกฎหมายถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่                            ต้องรับผิด

        ง.  ผู้ถูกละเมิดต้องฟ้องบริษัทที่นายภคพงษ์ทำงานอยู่

7.    ข้อใดไม่ถูกต้อง

        ก.  ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ไม่ใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเป็นการ                                                เฉพาะตัว

        ข.  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องเป็นการเฉพาะตัว เห็นว่าตนเองกระทำไปตามหน้าที่ มีสิทธิขอให้ศาล                            พิจารณาคดีนั้น เรียกหน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

        ค.  กรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ถูกฟ้องเห็นว่า เรื่องที่ถูกฟ้องเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด หน่วยงานของรัฐ                          ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้น เรียกเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

        ง.  ในกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้คดี        ดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุด

8.    กรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่

        ไปแล้ว หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนได้ในกรณีใด

        ก.  กรณีที่การละเมิดจากการจงใจของเจ้าหน้าที่

        ข.  กรณีที่การละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่

        ค.  ไม่สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคืน

        ง.  ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ข

9.    ข้อใดถูกต้อง ในกรณีที่เจ้าหน้าที่หลายคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในผลแห่งละเมิด

        ก.  ทุกคนต้องรับผิดเท่า ๆ กัน

        ข.  เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายไปแล้ว

        ค.  เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องร่วมรับผิดในลักษณะของลูกหนี้ร่วม

        ง.  ถูกทุกข้อ

10.  กรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว สิทธิจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่า    สินไหมทดแทนคืน มีอายุความตามข้อใด

        ก.  6 เดือน นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย

        ข.  1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย

        ค.  6 เดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

        ง.  1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

11.  กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีกำหนดอายุความกี่ปี

        ก.  1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด

        ข.  1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

        ค.  2  ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด

        ง.  1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

12.  กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด และหน่วยงานของรัฐผู้นั้นไม่ต้องรับผิดจึงไม่ได้มีคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหม           ทดแทน แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าต้องรับผิด สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมีกำหนดอายุความกี่ ปี

        ก.  1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

        ข.  1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

        ค.  2 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

        ง.  2 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

13.  ในกรณีที่ผู้เสียหายได้ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหาย    ที่เกิดขึ้นแก่ตน ซึ่งหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาและมีคำสั่งไปแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่พอใจผลการวินิจฉัย         หน่วยงานของรัฐ ผู้เสียหายมีสิทธิดำเนินการตามข้อใด

        ก.  ฟ้องร้องต่อศาล    

        ข.  ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์

        ค.  ไม่มีสิทธิดำเนินการใดเนื่องจากกรณีเป็นอันยุติแล้ว

        ง.  ถูกเฉพาะข้อ ก และข้อ ข

14.  กำหนดเวลาร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาในกรณีที่      ผู้เสียหายไม่พอใจผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ ต้องร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลาตามข้อใด

        ก.  ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

        ข.  ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

        ค.  ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

        ง.  ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

15.  กำหนดเวลาในการพิจารณาคำขอของหน่วยงานของรัฐ ที่ผู้เสียหายได้ยื่นต่อหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามข้อ     ใด

        ก.  60 วัน                      ข.  90 วัน                              ค.  180 วัน                           ง.  ไม่มีกำหนดเวลา

เฉลยแนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539



1.  ก       2.  ง       3.  ง       4.  ข       5.  ข       6.  ค       7.  ง       8.  ง

                                            9.  ข      10.  ข    11.  ง    12.  ก    13.  ง     14.  ค    15.  ค
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

1.    ข้อใดเป็นเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

        ก.  เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ

        ข.  เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

        ค.  เพื่อให้การบริหารแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

        ง.  ถูกทุกข้อ

2.    การกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ       บ้านเมืองที่ดี เพื่อให้ส่วนราชการปฏิบัติ ต้องดำเนินการตามข้อใดจึงจะถูกต้องที่สุด

        ก.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา                                                   ข.  ก.พ.ร.เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติ

        ค.  ทำเป็นประกาศกระทรวง                                                    ง.  ทำเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

3.    ส่วนราชการตามข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

        ก.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                              ข.  กระทรวง

        ค.  ทบวง                                                                                       ง.  กรม

4.    บุคคลตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                                       ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        ค.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                               ง.  ประธาน ก.พ.ร.

5.    ข้อใดคือเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

        ก.  เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน

        ข.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

        ค.  เกิดการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

        ง.  มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

6.    ข้อใดคือความหมายของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สูขของประชาชน

        ก.  เพื่อให้เกิดความผาสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

        ข.  เพื่อความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนร่วม

        ค.  เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ

        ง.  ถูกทุกข้อ

7.    ข้อใดเป็นวิธีดำเนินการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามที่กำหนดในพระ       ราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

        ก.  การปฏิบัติภารกิจส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสุจริต สามารถตรวจสอบได้

        ข.  ถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับภารกิจจากรัฐ

        ค.  ข้าราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

        ง.  ถูกทุกข้อ

8.    หลักเกณฑ์ที่กำหนดว่าก่อนจะดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า เป็น    ข้อกำหนดเพื่อจุดมุ่งหมายตามข้อใด

        ก.  วัดความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ

        ข.  วัดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจที่กระทำ

        ค.  เพื่อใช้ในการตรวจสอบการทำงาน

        ง.  ถูกทุกข้อ

9.    ข้อใดไม่ใช่การบริหารงานแบบบูรณาการ

        ก.  เป็นการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม

        ข.  เป็นการร่วมมือระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

        ค.  เพื่อให้เกิดความประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน

        ง.  เพื่อให้มีการปฏิบัติงานร่วมกันหรือมีแผนดำเนินงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

10.  ข้อใดถูกต้องที่สุดสำหรับความหมายของการทำความตกลงในการปฏิบัติงาน ตามที่กำหนดในพระราช               กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจบ้านเมืองที่ดี

        ก.  เป็นการทำความตกลงระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติ

        ข.  เป็นการทำความตกลงระหว่างหัวหน้าส่วนราชการกับผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการนั้น ๆ

        ค.  เป็นการทำความตกลงเพื่อผลสำเร็จของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่จะร่วมกันดำเนินงาน

        ง.  เป็นการทำความตกลงระหว่างผู้บริหารระดับกระทรวงกับผู้บริหารระดับกรม

11.  ข้อใดเป็นผลสืบเนื่องอันเกิดขึ้นจากการทำความตกลงในการปฏิบัติราชการ

        ก.  เป็นข้อมูลประเมินศักยภาพของผู้ดำรงตำแหน่ง

        ข.  เป็นมาตรการในการกำกับการปฏิบัติราชการ

        ค.  เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามแผน

        ง.  ถูกทุกข้อ

12.  หน่วยงานตามข้อใดเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเสนอต่อ  คณะรัฐมนตรี

        ก.  สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

        ข.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนัก                              เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

        ค.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนัก                                      เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ

        ง.  สำนักงบประมาณ กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

13.  หลังจากที่รัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำ        แผนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลาตามข้อใด

        ก.  ภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

        ข.  ภายใน 45 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

        ค.  ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

        ง.  ภายใน 90 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

14.  แผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำเป็นแผนกี่ปี

        ก.  1 ปี                                           ข.  3 ปี                                                   ค.  4 ปี                                                   ง.  5 ปี

15.  ข้อใดไม่ใช่สาระสำคัญที่กำหนดให้ต้องมีในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

        ก.  การกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน

        ข.  ส่วนราชการและชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบในแต่ละภารกิจ

        ค.  ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้

        ง.  ระยะเวลาการดำเนินการและการติดตามประเมินผล

16.  หน่วยงานตามข้อใดมีหน้าที่พิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ

        ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                            ข.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

        ค.  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                         ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข และข้อ ค

17.  แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ กำหนดใหจัดทำเป็นแผนกี่ปี

        ก.  1 ปี                                           ข.  3 ปี                                                   ค.  4 ปี                                                   ง.  5 ปี

18.  หน่วยงานตามข้อใดเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ

        ก.  คณะรัฐมนตรี                                                                        ข.  สำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  สำนักงบประมาณ                                                                ง.  สำนักงาน ก.พ.

19.  ข้อใดเป็นสาระสำคัญที่กำหนดให้ต้องมีในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ

        ก.  ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรที่จะต้องใช้

        ข.  นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

        ค.  เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน

        ง.  ถูกทุกข้อ

20.  หน่วยงานตามข้อใดมีหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการนำไปใช้ปฏิบัติงาน

        ก.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

        ข.  สำนักงบประมาณ

        ค.  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

        ง.  ถูกทุกข้อ

21.  หน่วยงานตามข้อใดมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

        ก.  สำนักงาน ก.พ.ร.                                                                

        ข.  สำนักงบประมาณ

        ค.  สำนักงานนายกรัฐมนตรี                                                  

        ง.  ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ข

22.  การปรับแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการกระทำได้ในกรณีตามข้อใด

        ก.  ภารกิจที่ดำเนินการไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์

        ข.  การดำเนินการตามภารกิจเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น

        ค.  ภารกิจที่จะดำเนินการหมดความจำเป็นหรือไม่เกิดประโยชน์

        ง.  ถูกทุกข้อ

23.  ข้อใดไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้ส่วนราชการต้องกำหนด ให้การดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วน       ราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

        ก.  เป้าหมาย แผนการทำงาน                                                   ข.  ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

        ค.  ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ                      ง.  งบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ

24.  หน่วยงานตามข้อใดเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ประเมินความคุ้มค่าในการภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการ    ดำเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี

        ก.  สำนักงบประมาณ

        ข.  วำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

        ค.  กรมบัญชีกลาง

        ง.  ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ข

25.  ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการในการจัดซื้อจัดจ้าง

        ก.  ต้องถือราคาต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

        ข.  ต้องดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม

        ค.  ต้องคำนึงถึงคุณภาพและวัตถุประสงค์ที่จะต้องใช้

        ง.  ต้องคำนึงถึงราคาและประโยชน์ในการใช้งานของส่วนราชการ

26.  ในการปฏิบัติภารกิจส่วนราชการ กรณีมีคำขอจากส่วนราชการหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งให้ส่วนราชการที่มี           อำนาจอนุญาต อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ   หรือให้ความเห็นชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามข้อใด

        ก.  ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ                 ข.  ภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

        ค.  ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ                               ง.  ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

27.  การกระจายอำนาจการตัดสินใจ เป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อมุ่งหมายให้เกิดผลตามข้อใด

        ก.  ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

        ข.  เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน

        ค.  เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบงานที่ใกล้ชิดกับประชาชน

        ง.  ถูกเฉพาะข้อ ก และข้อ ข

28.  หน่วยงานตามข้อใดมีหน้าที่เสนอแนะต่อส่วนราชการเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ของราชการส่วนที่ใช้อยู่

        ก.  สำนักงานอัยการสูงสุด                                                        ข.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

        ค.  สำนักงานคณะกรรมการตุลาการ                                      ง.  สำนักงาน ก.พ.ร.

29.  กรณีที่ส่วนราชการได้รับสอบถามจากประชาชนเกี่ยวกับงานที่อยู่ในหน้าที่ เป็นหน้าที่ที่ส่วนราชการนั้นต้อง    ตอบหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน

        ก.  7 วัน                        ข.  15 วัน                              ค.  20 วัน                                              ง.  30 วัน

30.  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นเรื่องของการกำหนดขอบเขต       แบบแผน วิธีปฏิบัติราชการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในข้อใด

        ก.  เพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

        ข.  ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

        ค.  เพื่อให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

        ง.  ถูกทุกข้อ

เฉลยแนวข้อสอบ

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546



1.  ง       2.  ก       3.  ก       4.  ก       5.  ค       6.  ง       7.  ง       8.  ข      

                9.  ก       10.  ก     11.  ง     12.  ง     13.  ง     14.  ค     15.  ข     16.  ง                    

17.  ค     18.  ก     19.  ง     20.  ข     21.  ง     22.  ง     23.  ข     24.  ง    

                                         25.  ก    26.  ค    27.  ง     28.  ข    29.  ข     30.  ง
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
1.    ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

        ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                                     ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                                    ง.  นายกรัฐมนตรี

2.    ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของลับ

        ก.  หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผย                              

        ข.  การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการคลังของประเทศ

        ค.  การรายงานของนักวิชาการ

        ง.  การรายงานของแพทย์

3.    ประโยชน์แห่งรัฐคือข้อใด

        ก.  การดำเนินการของรัฐที่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน

        ข.  การดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตภัณฑ์รถยนต์ของบริษัทเอกชน

        ค.  การดำเนินงานของรัฐที่เกี่ยวกับพลังงาน

        ง.  ถูกหมดทุกข้อ ทั้งข้อ ก, ข และ ค

4.    ใครไม่ใช่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ

        ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                                    ข.  ปลัดกระทรวงกลาโหม

        ค.  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                                                      ง.  สมุหราชองครักษ์

5.    ข้อไหนไม่ใช่การปรับชั้นความลับ

        ก.  การลดชั้นความลับ                                                               ข.  การเพิ่มชั้นความลับ

        ค.  การยกเลิกชั้นความลับ                                                         ง.  การตั้งชั้นความลับเพิ่มขึ้น

6.    ทุกๆ กี่ปีเป็นอย่างน้อย นายกรัฐมนตรีต้องจัดให้มีการทบทวนการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับ   ของทางราชการ พ.ศ. 2544 และพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบนี้ให้เหมาะสม

        ก.  3 ปี                                           ข.   4 ปี                                 ค.  5 ปี                                   ง.  6 ปี

7.    องค์การรักษาความปลอดภัยแบ่งออกเป็นข้อใหญ่ ๆ ได้กี่ฝ่าย

        ก.  2 ฝ่าย                                       ข.  3 ฝ่าย                               ค.  4 ฝ่าย                               ง.  5 ฝ่าย

8.    สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสังกัดหน่วยงานใด

        ก.  กระทรวงกลาโหม                                                                ข.  สำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  กระทรวงมหาดไทย                                                             ง.  กระทรวงยุติธรรม

9.    ศูนย์รักษาความปลอดภัยสังกัดกระทรวงใด

        ก.  กระทรวงกลาโหม                                                                ข.  กระทรวงมหาดไทย

        ค.  กระทรวงยุติธรรม                                                                ง.  สำนักนายกรัฐมนตรี

10.  องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนหมายถึงข้อใด

        ก.  ศูนย์รักษาความปลอดภัย                                                     ข.  สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

        ค.  สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ                                 ง.  กรมสอบสวนคีพิเศษ

11.  องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายทหารหมายถึงข้อใด

        ก.  ศูนย์รักษาความปลอดภัย                                                     ข.  กรมสอบสวนคดีพิเศษ

        ค.  ศูนย์รักษาความปลอดภัย                                                     ง.  สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

12.  ชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารแบ่งออกเป็นกี่ชั้น

        ก.  6 ชั้น                                       ข.  5 ชั้น                               ค.  4 ชั้น                                               ง.  3 ชั้น

13.  การกำหนดให้ข้อมูลข่าวสารลับอยู่ในชั้นความลับใด เพื่อพิจารณาอะไรเป็นองค์ประกอบ

        ก.  ความสำคัญของเนื้อหาและแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร

        ข.  วิธีการนำไปใช้ประโยชน์และจำนวนบุคคลที่ควรรับทราบ

        ค.  ผลกระทบหากมีการเปิดเผยและหน่วยงานที่รับผิดชอบในฐานะ

        ง.  ทั้งข้อ ก, ข และ ค

14.  การแสดงชั้นความลับให้ได้ตัวอักษรตามชั้นความลับที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรธรรมดา โดยใช้สีแดงหรือสี      อื่นที่สามารถมองได้เด่น และชัดเจน ข้อมูลข่าวสารที่มีสภาพเป็นเอกสาร และการปฏิบัติให้แสดงชั้นความลับ               ทุกหน้าเอกสาร ถ้าเอกสารนั้นเข้าปกให้แสดงไว้ที่ด้านนอกปกหน้าและปกหลังด้วยการแสดงชั้นความลับให้    แสดงเอกสารไว้ตรงไหนของทุกหน้าเอกสาร

        ก.  ด้านบนทั้งด้านซ้ายและด้านขวา                                       ข.  ตรงกลางทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

        ค.  ตรงกลางทั้งด้านบนและด้านล่าง                                      ง.  ด้านล่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

15.  การปรับชั้นความลับ อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้มีอำนาจกำหนดชั้นความลับของหน่วยงานเจ้าของเรื่องแต่ต้อง   ให้ผู้กำหนดชั้นความลับเดิมทราบ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเดิมแสดงข้อความการปรับชั้นความลับไว้บนปก        ไหนหรือหน้าไหนของข้อมูลข่าวสารแต่ละฉบับ โดยแสดงไว้กับเครื่องหมายแสดงชั้นความลับเดิม

        ก.  บนปกหลัง                             ข.  หน้าแรก                         ค.  หน้าหลัง                                        ง.  หน้ากลาง

16.  นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง

        ก.  หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ                                                   ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                 ง.  นายรัฐมนตรี

17.  การปฏิบัติในเวลาฉุกเฉินต่อข่อมูลข่าวสารลับ ต้องมีแผนการปฏิบัติงานอย่างไร

        ก.  แผนการเคลื่อนย้าย                                                              ข.  แผนการพิทักษ์รักษา

        ค.  แผนการทำลายข้อมูลข่าวสารลับ                                       ง.  ถูกหมดทุกข้อ ทั้งข้อ ก, ข และ ค

18.  การตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544           และการมีอยู่ของข้อมูลข่าวสารลับที่มีอยู่ในทะเบียนบ้านข้อมูลข่าวสารลับ ต้องมีการตรวจสอบทุก ๆ กี่เดือน            และเสนอรายการตรวจสอบให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ทราบและสั่งการต่อไป

        ก.  3 เดือน                    ข.  6 เดือน                            ค.  9 เดือน                            ง.  12 เดือน

19.  การจัดส่งข้อมูลข่าวสารลับ เจ้าหน้าที่นำสารต้องส่งให้แก่ใคร

        ก.  นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ                                           ข.  ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ

        ค.  ผู้รับตามจ่าหน้า                                                                     ง.  ถูกทุกข้อ ทั้งข้อ ก, ข และ ค

20.  การตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 ของ          เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐนั้นและมีการอยู่ของข้อมูลข่าวสารลับที่มีอยู่ในทะเบียนบ้านข้อมูลข่าวสารลับ     โดยมีนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับเป็นประธาณกรรมการและมีเจ้าหน้าที่อื่นเป็นกรรมการอีกไม่น้อยกว่ากี่      คน

        ก.  2 คน                                        ข.  3 คน                                                                ค.  4 คน                                                                ง.  5 คน

แนวข้อสอบ
ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544

1.  ง       2.  ค       3.  ง       4.  ก       5.  ง       6.  ค       7.  ก       8.  ข      

9.  ก       10.  ข     11.  ค     12.  ง     13.  ง     14.  ค     15.  ข     16.  ค    
17.  ง       18.  ข    19.  ง     20.  ก
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลยในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ะเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
1.  ข้อใดหมายถึงส่วนราชการ

        ก.  ราชการบริหารส่วนกลาง                                                    ข.  ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

        ค.  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น                                               ง.  ข้อ ก, ข และข้อ ค เป็นส่วนราชการ

2.    ข้อใดไม่ใช่หนังสือราชการ      

        ก.  หนังสือธุรการ                                                                       ข.  หนังสือภายใน

        ค.  หนังสือประทับตรา                                                              ง.  หนังสือประชาสัมพันธ์

3.    "หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑเป็นหนังสือติตต่อระหว่างส่วนราชการหรือส่วน               ราชการที่มีหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก" หมายถึงหนังสือแบบใด

        ก.  หนังสือภายใน                                                                      ข.  หนังสือภายนอก

        ค.  หนังสือประทับตรา                                                              ง.  หนังสือประชาสัมพันธ์

4.    ข้อใดไม่ใช่หนังสือสั่งการ

        ก.  คำสั่ง                                       ข.  ระเบียบ                           ค.  ประกาศ                          ง.  ข้อบังคับ

5.    ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์

        ก.  ข่าว                                                                                          ข.  ประกาศ

        ค.  แถลงการณ์                                                                            ง.  ข้อ ก, ข และข้อ ค เป็นหนังสือประชาสัมพันธ์

6.    "หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่าง             ใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ" หมายถึงหนังสือตามข้อใด

        ก.  บันทึก                                     ข.  หนังสืออื่น                     ค.  หนังสือรับรอง              ง.  รายงานการประชุม

7.    หนังสือในข้อใดต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ

        ก.  หนังสือด่วน                                                                          ข.  หนังสือด่วนมาก

        ค.  หนังสือด่วนที่สุด                                                                  ง.  ทุกข้อเป็นหนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ

8.    หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติเป็นหนังสือที่ต้องจดส่งและดำเนินการทางสารบรรณด้วยความรวดเร็ว         เป็นพิเศษ และให้ระบุความเร็วด้วยอักษรสีใด

        ก.  สีส้ม                                        ข.  สีแดง                               ค.  สีน้ำเงิน                          ง.  สีเขียว

9.    การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน เช่น ทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับดำเนินการอย่างไร

        ก.  ให้ผู้ส่งและผู้รับแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาการทราบทันที

        ข.  และผู้ส่งและผู้รับบันข้อความไว้เป็นหลักฐาน

        ค.  ให้ผู้ส่งและผู้รับมีพยานรับรู้การฟัง

        ง.  ให้ผู้ส่งและผู้รับจดชื่อผู้ส่งและผู้รับไว้

10.      "หนังสือที่มีถึงผู้รับจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสด้วยตัวพยัญชนะ ว หน้า เลขทะเบียน หนังสือรับส่ง ซึ่งกำหนดเป็นเลขที่หนังสือนั้นโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปี    ปฏิทิน" หมายถึงหนังสือตามข้อใด

        ก.  หนังสือเวียน                         ข.  หนังสือรับ                     ค.  หนังสือส่ง                                     ง.  หนังสือด่วน

11.  ถ้าท่านเป็นเจ้าหน้าที่งานสารบรรณ เมื่อรับหนังสือเข้ามาจากภายนอก ท่านจะปฏิบัติอย่างไร

        ก.  ประทับตรารับหนังสือ ที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ โดยกรอกรายละเอียด เลขรับ วันที่ เวลา

        ข.  จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้วส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

        ค.  ลงทะเบียนวันรับหนังสือ ในทะเบียนหนังสือรับ

        ง.  ให้ปฏิบัติตามข้อ ก, ข และข้อ ค

12.  การส่งหนังสือทางไปรษณีย์ให้ถือปฏิบัติตามข้อใด

        ก.  ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบหรือวิธีการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด

        ข.  ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานผู้รับส่งหนังสือ

        ค.  ให้ปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานผู้รับหนังสือ

        ง.  ให้ปฏิบัติตามข้อ ก, ข และ ค

13.  ข้อใดคือการเก็บหนังสือตามระเบียบงานสารบรรณ

        ก.  การเก็บระหว่างปฏิบัติ

        ข.  การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว

        ค.  ข้อ ก และข้อ ข ถือเป็นการเก็บหนังสือตามระเบียบงานสารบรรณ

        ง.  ข้อ ก และข้อ ข ไม่ใช่การเก็บหนังสือตามระเบียบงานสารบรรณ

14.  "การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อย แต่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบประจำ ไม่สะดวกในการส่งไปยัง     หน่วยเก็บของส่วนราชการ ให้เจ้าของเรื่องเก็บเป็นเอกเทศโดยแต่งตั้งเจ้หน้าที่ขึ้นรับผิดชอบก็ได้ เมื่อหมด  ความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการตรวจสอบแล้ว ให้จัดหนังสือนั้นส่งไปยังหน่วยเก็บของส่วนราชการ" หมายถึง                การเก็บหนังสือในข้อใด

        ก.  การเก็บระหว่างปฏิบัติ                                                         ข.  การเก็บเพื่อใช้ในการตรวจสอบ

        ค.  การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว                                                ง.  การเก็บเมื่อส่งตัวจริงไปตามประสงค์แล้ว

15.  อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี

        ก.  ไม่น้อยกว่า 10 ปี                                                                  ข.  ไม่น้อยกว่า 8 ปี

        ค.  ไม่น้อยกว่า 6 ปี                                                                     ง.  ไม่น้อยกว่า 4 ปี

16.  หนังสือในข้อใดให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

        ก.  หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว                                ข.  หนังสือที่เป็นหลักฐานทางวรรณคดี

        ค.  หนังสือต้องสงวนเป็นความลับ                                         ง.  หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์

17.  หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการแล้ว       เสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี

        ก.  ไม่น้อยกว่า 4 ปี                     ข.  ไม่น้อยกว่า 3 ปี                             ค.  ไม่น้อยกว่า 2 ปี             ง.  ไม่น้อยกว่า 1 ปี

18.  การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ผู้ยืมต้องปฏิบัติอย่างไร

        ก.  ผู้ยืมต้องแจ้งจุดประสงค์การยืมและความมุ่งหมายที่จะนำไปใช้ให้ผู้ยืมทราบ

        ข.  ผู้ยืมจะต้องแจ้งให้ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้นจะนำไปใช้ในราชการใด

        ค.  ผู้ยืมต้องมอบหลักฐานการยืมให้เจ้าหน้าที่เก็บ

        ง.  ผู้ยืมต้องปฏิบัติตามทั้งข้อ ข และข้อ ค

19.  ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ สำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้น ไม่ว่าจะเป็น         หนังสือเก็บไว้เองหรือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมายแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอ        หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ ภายในกี่วันหลังจากสิ้นปี               ปฏิทิน

        ก.  ภายใน 45 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน                             ข.  ภายใน 60 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน

        ค.  ภายใน 90 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน                             ง.  ภายใน 120 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน

20.  เมื่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมตามข้อ 19 เห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรทำลายให้ส่งบัญชีหนังสือขอทำลาย     ให้หน่วยงานใดพิจารณาก่อน

        ก.  กองจดหมายเหตุแห่งชาติ   กรมศิลปากร

        ข.  กองการเจ้าหน้าที่  กระทรวงศึกษาธิการ

        ค.  กองงานสารบรรณ กระทรวงมหาดไทย

        ง.  ให้ส่งหนังสือทำลายทุกหน่วยตามข้อ ข, ข และ ค

21.  ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบัน มีขนาดตามข้อใด

        ก.  ขนาดตังครุฑตัวสูง 3 เซนติเมตร                                      ข.  ขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร

        ค.  ขนาดตังครุฑสูงตามข้อ ก และข้อ ข                                ง.  ขนาดตัวครุฑตามข้อ ก แต่ข้อ ข ไม่ใช่

22.  มาตรฐานกระดาษ โดยปกติใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก 60 กรัม ต่อตารางเมตร มีกี่ขนาด

        ก.  มี 3 ขนาด               ข.  มี 4 ขนาด                       ค.  มี 5 ขนาด                                       ง.  มี 6 ขนาด

23.  ข้อความใดเป็นความหมายส่วนหนึ่งของตรารับหนังสือ

        ก.  คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือ เพื่อลงเลขทะเบียนรับหนังสือ

        ข.  มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.5 เซนติมเตร 5 เซนติเมตร

        ค.  มีชื่อ ส่วนราชการอยู่ตอนบน

        ง.  ทุกข้อรวมกันหมายถึงส่วนหนึ่งของตรารับหนังสือ

24.  ความว่า "ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้รับเข้าเป็นประจำวัน โดยเรียงลำดับลงมาตามเวลาที่ได้รับหนังสือ               มีขนาดเอ 4 พิมพ์สองหน้ามี 2 ชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็นแผ่น" หมายถึงข้อใด

        ก.  ตรารับหนังสือ                                                                      ข.  ทะเบียบรับหนังสือ

        ค.  ทะเบียบหนังสือส่ง                                                              ง.  สมุดหนังสือและใบรับหนังสือ

25.  ข้อใดหมายถึง ใบรับหนังสือ

        ก.  ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่จะเก็บ มีขนาดเอ 4 พิมพ์หน้าเดียว

        ข.  เป็นทะเบียบที่ใช้ลงรายการหนังสือเก็บ มีขนาดเอ 4 พิมพ์สองหน้า มี 2 ชนิด คือ ชนิดเป็นเล่ม และชนิด                       เป็นแผ่น

        ค.  ใช้สำหรับกำกับไปกับหนังสือที่นำส่งโดยให้ผู้รับเซ็นชื่อรับแล้วกลับคืนมา มีขนาดเอ 8 พิมพ์หน้าเดียว

        ง.  เป็นบัตรกำกับเก็บหนังสือและละรายการเพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้น ๆ ได้มีการดำนินการตามลำดับ                                 ขั้นตอนใดจนกระทั่งเสร็จสิ้น
แนวข้อสอบ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

1.  ง       2.  ก       3.  ข       4.  ค       5.  ง       6.  ค       7.  ง       8.  ข

9.  ข       10.  ก     11.  ง     12.  ก     13.  ค     14.  ข     15.  ก     16.  ก

17.  ง       18.  ง     19.  ข    20.  ก     21.  ค   29.  ค
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลยในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.ตามกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และแพทย์ประจำตำบล
2.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก.ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง*
ข.ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ค.ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ง.ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
จ.ไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันกี่ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละเท่าไร จึงอาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก.ติดต่อกัน 2 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนบาท
ข.ติดต่อกัน 3 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนบาท
ค.ติดต่อกัน 3 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสน 5 หมื่นบาท*
ง.ติดต่อกัน 4 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสน 5 หมื่นบาท
จ.ติดต่อกัน 4 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนบาท
4.การจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำอย่างไร
ก.ทำเป็นประกาศจังหวัด
ข.ทำเป็นประกาศจังหวัดและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.ทำเป็นประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย*
จ.ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5.ใครเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.มติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายอำเภอ
ค.นายอำเภอโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.นายอำเภอโดยความเห็นชอบตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งโดยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความเห็นชอบ
6.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คือใคร
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกปลัดฯหรือสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ง.ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ
จ.หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
7.ใครเป็นเลขานะการคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ
ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่คณะผู้บริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ค.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ง.นายกฯแต่งตั้งเลขาฯ คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาฯหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้*
จ.หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
8.ใครมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.นายกรัฐมนตรี
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*
จ.นายอำเภอ
9. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติตำบลเพื่อเก็บภาษีอากรและค่า ธรรมเนียมตามที่กฎหมายบัญญัติเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละเท่าไรของภาษีอากร และค่าธรรมเนียมประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ก.ไม่เกินร้อยละ 2
ข.ไม่เกินร้อยละ 4
ค.ไม่เกินร้อยละ 5
ง.ไม่เกินร้อยละ 8
จ.ไม่เกินร้อยละ 10*
10.ข้อใดกล่าวถึงองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ถูกต้อง
ก.ตามกฎหมายปัจจุบันสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งเป็นโดยตำแหน่งและจากการเลือกตั้ง*
ข.สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนอย่างน้อยที่สุด 6 คน
ค.ตำบลใดมี 3 หมู่บ้านขึ้นไป สมาชิกสภา อบต.มีจำนวนหมู่บ้านละ 2 คน
ง.ข้อ ก.และข้อ ข.
จ.ข้อ ก. ข. และ ค.
11. สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสาม ปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละเท่าไร สามารถจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก.หนึ่งแสนบาท
ข.หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท*
ค.สองแสนบาท
ง.สองแสนห้าหมื่นบาท
จ.สามแสนบาท
12. องค์การบริหารส่วนตำบลที่มี่จำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึงเท่าไร และเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินการบริหารงานพื้นที่นั้นให้มี ประสิทธิภาพในลักษณะขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ก.หนึ่งพันคน
ข.หนึ่งพันห้าร้อยคน
ค.สองพันคน*
ง.สองพันห้าร้อยคน
จ.สามพันคน
13.องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาท โดย
ก.ประกาศกระทรวงมหาดไทย*
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.พระราชบัญญัติ
ง.พระราชกำหนด
จ.เป็นได้เลย เมื่อครบหลักเกณฑ์
14.ข้อใดไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก.สุขาภิบาล
ข.องค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาตำบล*
ง.เทศบาล
จ. ก. และ ค.
15.องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย
ก.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ข.สมาชิกสภาตำบล
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.ข้อ ค. และ ง.*
16.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. 2 คน*
ข. 3 คน
ค. 4 คน
ง. 1 คน
จ. 2-3 คน
17. ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนกี่คน
ก. 6 คน*
ข. 8 คน
ค. 9 คน
ง. 10 คน
จ. 12 คน
18. ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมี 2 หมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. 3 คน*
ข. 4 คน
ค. 5 คน
ง. 6 คน
จ. 3-4 คน
19.อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดคราวละกี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ก. 4 ปี*
ข. 5 ปี
ค. 6 ปี
ง. 2 ปี
จ. 3 ปี
20.ประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี นับแต่วันที่ได้รับเลือก
ก. ครบอายุหรือยุบสภา*
ข. 5 ปี
ค. 6 ปี
ง. 2 ปี
จ. 3 ปี
21. เมื่อตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้มีการเลือกประธานหรือรองประธานสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
ก. 15 วัน*
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
22.จากข้อ 21 ผู้ได้รับเลือกแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 3 ปี
ง. 4 ปี
จ.เท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน*
23.ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุม
ก. 1 สมัย
ข. 2 สมัย
ค. 3 สมัย
ง. 4 สมัย
จ.ข้อ ข หรือแล้วแต่ที่ประชุมจะกำหนดแต่ไม่เกินสี่สมัย*
24. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรก ต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุมภายในกี่วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล
ก. 15 วัน*
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ.90 วัน
25.สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก.10 วัน
ข. 15 วัน*
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
จ. 60 วัน
26.จากข้อ 25 ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีก จะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ*
ง.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จ.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
27.ใครเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.กำนัน
ง.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.นายอำเภอ
28.ใครเป็นคนเรียกประชุมวิสามัญได้
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ประธานสภา
ค.สมาชิกสภา
ง.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.นายอำเภอ*
29. นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภา,นายก อบต.หรือสมาชิกสภา มีจำนวนไม่ต่ำกว่าเท่าใดของสมาชิกสภาจึงขอยื่นให้เปิดประชุมวิสามัญ
ก.1/2*
ข.1/3
ค.2/3
ง.3/4
จ.3/5
30.สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. 10 วัน
ข. 15 วัน*
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
จ. 60 วัน
31. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ก.2/3
ข.3/4
ค.4/8
ง.3/5
จ.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง*
32.ใครเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ปลัดอำเภอ
ค.หัวหน้าส่วนการคลัง
ง.พัฒนากรอำเภอ
จ.สมาชิกสภาหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือก*
33.ใครมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.หัวหน้าส่วนการคลัง
ค.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
35.ใครเป็นเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกฯแต่งตั้งเลขาฯ คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาฯหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้*
ค.กรรมการบริหารที่ได้รับเลือก
ง.สมาชิกสภาที่ได้รับเลือก
จ.เลขานุการสภา
36.การประชุมและการดำเนินงานของคณะผู้บริหารให้เป็นไปโดย??.ของกระทรวงมหาดไทย
ก.ข้อบังคับ
ข.ระเบียบ*
ค.ประกาศ
ง.ข้อบังคัลการประชุม
จ.ขั้นตอนการประชุม
37.คณะผู้บริหารมีอำนาจหน้าที่ในการรายงานการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบอย่างน้อยปีละกี่ครั้ง
ก. เป็นประจำทุกปี*
ข. 3 ครั้ง
ค. 4 ครั้ง
ง. 5 ครั้ง
จ.ทุกครั้งที่มีการประชุมสภา
38.ใครเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สมาชิกสภาที่ได้รับเลือก
จ.รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับเลือกจากสมาชิกสภา ด้วยคะแนน 2 ใน 3
39. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามลำดับที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ง ตั้งไว้ เป็นผู้?????..
ก.ผู้ปฏิบัติราชการแทน
ข.ผู้รักษาราชการแทน*
ค.ผู้รักษาการแทน
ง.ผู้ทำการแทน
จ.ผู้ปฏิบัติหน้าทีแทน
40.คณะผู้บริหารลาออก ในกรณีนี้ถือว่าพ้นจากตำแหน่งนับแต่
ก.วันยื่นการลาออก
ข.นายอำเภออนุมัติ
ค.วันถัดไป
.คณะผู้บริหารมีมติลาออก*
จ.สภาอนุมัติ
43. ในระหว่างที่ไม่มีคณะผู้บริหาร ให้ใครทำหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเท่าท่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะผู้บริหารที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.ปลัดอำเภอที่นายอำเภอแต่งตั้ง
ค.ประธานสภา
ง.นายอำเภอ
จ.สมาชิกสภาอาวุโส
45.องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้าน
ก.เศรษฐกิจ
ข.สังคม
ค.วัฒนธรรม
ง.ป้องกันประเทศ
จ. ก. ข. และ ค.*
46.องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถออก??..เพื่อใช้บังคับในตำบลได้
ก.เทศบัญญัติ
ข.ประกาศตำบล
ค.ข้อบังคับตำบล
ง.ระเบียบตำบล
จ.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล*
47.จากข้อ 46 จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่ปรับไม่เกินเท่าใด
ก. 200 บาท
ข. 500 บาท
ค.1,000 บาท*
ง.1,500 บาท
จ.5,000 บาท
48. ในกรณีที่นายอำเภอไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลใดให้ ส่งคืนสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภายในกี่วันนับแต่วันที่นายอำเภอได้รับร่างฯ ดังกล่าว
ก. 10 วัน
ข. 20 วัน
ค. 15 วัน*
ง.30 วัน
จ. 45 วัน
49.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ถือเป็น
ก.ข้าราชการพลเรือน
ข.ข้าราชการตำบล
ค.พนักงานของรัฐบาลท้องถิ่น
ง.พนักงานส่วนตำบล*
จ.เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
50.ระเบียบพนักงานส่วนตำบลให้ตราขึ้นเป็น
ก.ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ข.พระราชกฤษฎีกา*
ค.พระราชกำหนด
ง.พระราชบัญญัติ
จ.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
51.ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.จังหวัด
ข.องค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาตำบล
ง.อำเภอ*
จ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
52.ข้อใดมิได้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ควบคุมราคาสินค้า*
ข.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ค.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ง.จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
จ.ถูกทั้ง ข. และ ค.
53.อาคารที่ทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมีชื่อตามกฎหมายว่า
ก.สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล*
ง.ศาลาว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.ที่ทำงานองค์การบริหารส่วนตำบล
54.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การบริหารส่วนตำบลให้จัดทำเป็น
ก. พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
ง.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
55.รายจ่ายค่าสาธารณูปโภคได้แก่รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสาธารณูปโภค รวมทั้งค่าธรรมเนียมการรักษา เช่น
ก.ค่าโทรเลข*
ข.ค่าติดตั้งน้ำประปาสำนักงาน
ค.ค่าติดตั้งไฟฟ้าสำนักงาน
ง.ไม่มีข้อใดถูก
จ.ถูกทุกข้อ
56.เจ้าหน้าที่งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
ค.พนักงานส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
ง.ถูกข้อ ข. และ ค.
จ.ถูกทุกข้อ
57.ใครเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.นายอำเภอ*
ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.ประธานสภาตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
58.กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายเงินไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ชดใช้เงินคืน
ก.เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา ผู้อนุมัติฎีกา และผู้จ่ายเงิน*
ข.เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา และผู้จ่ายเงิน
ค.ผู้เบิกเงิน และผู้จ่ายเงิน
ง.ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา และผู้จ่ายเงิน
จ.ถูกทั้ง ข้อ ค. และ ง.
59.การยืมเงินสะสม ใครเป็นผู้ลงชื่อผู้ยืม
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ*
ง.เจ้าหน้าที่การคลัง
จ.นายอำเภอ
60. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ หากมีเงินเหลือจ่ายจากรายรับและไม่ได้เบิกตัดปี หรือขยายเวลาเบิกตัดปี หรือเป็นเงินที่ยังไม่ได้จ่ายตามฎีกาที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้เงินที่เหลือนั้น
ก.เป็นเงินรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในปีงบประมาณถัดไป
ข.เป็นเงินสะสม*
ค.เป็นเงินค้างรับ
ง.ถูกหมดทุกข้อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลยในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.ตามกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และแพทย์ประจำตำบล
2.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก.ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง*
ข.ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ค.ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ง.ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
จ.ไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันกี่ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละเท่าไร จึงอาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก.ติดต่อกัน 2 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนบาท
ข.ติดต่อกัน 3 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนบาท
ค.ติดต่อกัน 3 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสน 5 หมื่นบาท*
ง.ติดต่อกัน 4 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสน 5 หมื่นบาท
จ.ติดต่อกัน 4 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนบาท
4.การจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำอย่างไร
ก.ทำเป็นประกาศจังหวัด
ข.ทำเป็นประกาศจังหวัดและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.ทำเป็นประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย*
จ.ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5.ใครเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.มติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายอำเภอ
ค.นายอำเภอโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.นายอำเภอโดยความเห็นชอบตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งโดยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความเห็นชอบ
6.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คือใคร
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกปลัดฯหรือสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ง.ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ
จ.หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
7.ใครเป็นเลขานะการคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ
ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่คณะผู้บริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ค.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ง.นายกฯแต่งตั้งเลขาฯ คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาฯหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้*
จ.หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
8.ใครมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.นายกรัฐมนตรี
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*
จ.นายอำเภอ
9. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติตำบลเพื่อเก็บภาษีอากรและค่า ธรรมเนียมตามที่กฎหมายบัญญัติเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละเท่าไรของภาษีอากร และค่าธรรมเนียมประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ก.ไม่เกินร้อยละ 2
ข.ไม่เกินร้อยละ 4
ค.ไม่เกินร้อยละ 5
ง.ไม่เกินร้อยละ 8
จ.ไม่เกินร้อยละ 10*
10.ข้อใดกล่าวถึงองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ถูกต้อง
ก.ตามกฎหมายปัจจุบันสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งเป็นโดยตำแหน่งและจากการเลือกตั้ง*
ข.สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนอย่างน้อยที่สุด 6 คน
ค.ตำบลใดมี 3 หมู่บ้านขึ้นไป สมาชิกสภา อบต.มีจำนวนหมู่บ้านละ 2 คน
ง.ข้อ ก.และข้อ ข.
จ.ข้อ ก. ข. และ ค.
11. สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสาม ปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละเท่าไร สามารถจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก.หนึ่งแสนบาท
ข.หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท*
ค.สองแสนบาท
ง.สองแสนห้าหมื่นบาท
จ.สามแสนบาท
12. องค์การบริหารส่วนตำบลที่มี่จำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึงเท่าไร และเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินการบริหารงานพื้นที่นั้นให้มี ประสิทธิภาพในลักษณะขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ก.หนึ่งพันคน
ข.หนึ่งพันห้าร้อยคน
ค.สองพันคน*
ง.สองพันห้าร้อยคน
จ.สามพันคน
13.องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาท โดย
ก.ประกาศกระทรวงมหาดไทย*
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.พระราชบัญญัติ
ง.พระราชกำหนด
จ.เป็นได้เลย เมื่อครบหลักเกณฑ์
14.ข้อใดไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก.สุขาภิบาล
ข.องค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาตำบล*
ง.เทศบาล
จ. ก. และ ค.
15.องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย
ก.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ข.สมาชิกสภาตำบล
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.ข้อ ค. และ ง.*
16.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. 2 คน*
ข. 3 คน
ค. 4 คน
ง. 1 คน
จ. 2-3 คน
17. ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนกี่คน
ก. 6 คน*
ข. 8 คน
ค. 9 คน
ง. 10 คน
จ. 12 คน
18. ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมี 2 หมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. 3 คน*
ข. 4 คน
ค. 5 คน
ง. 6 คน
จ. 3-4 คน
19.อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดคราวละกี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ก. 4 ปี*
ข. 5 ปี
ค. 6 ปี
ง. 2 ปี
จ. 3 ปี
20.ประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี นับแต่วันที่ได้รับเลือก
ก. ครบอายุหรือยุบสภา*
ข. 5 ปี
ค. 6 ปี
ง. 2 ปี
จ. 3 ปี
21. เมื่อตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้มีการเลือกประธานหรือรองประธานสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
ก. 15 วัน*
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
22.จากข้อ 21 ผู้ได้รับเลือกแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 3 ปี
ง. 4 ปี
จ.เท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน*
23.ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุม
ก. 1 สมัย
ข. 2 สมัย
ค. 3 สมัย
ง. 4 สมัย
จ.ข้อ ข หรือแล้วแต่ที่ประชุมจะกำหนดแต่ไม่เกินสี่สมัย*
24. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรก ต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุมภายในกี่วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล
ก. 15 วัน*
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ.90 วัน
25.สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก.10 วัน
ข. 15 วัน*
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
จ. 60 วัน
26.จากข้อ 25 ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีก จะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ*
ง.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จ.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
27.ใครเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.กำนัน
ง.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.นายอำเภอ
28.ใครเป็นคนเรียกประชุมวิสามัญได้
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ประธานสภา
ค.สมาชิกสภา
ง.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.นายอำเภอ*
29. นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภา,นายก อบต.หรือสมาชิกสภา มีจำนวนไม่ต่ำกว่าเท่าใดของสมาชิกสภาจึงขอยื่นให้เปิดประชุมวิสามัญ
ก.1/2*
ข.1/3
ค.2/3
ง.3/4
จ.3/5
30.สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. 10 วัน
ข. 15 วัน*
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
จ. 60 วัน
31. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ก.2/3
ข.3/4
ค.4/8
ง.3/5
จ.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง*
32.ใครเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ปลัดอำเภอ
ค.หัวหน้าส่วนการคลัง
ง.พัฒนากรอำเภอ
จ.สมาชิกสภาหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือก*
33.ใครมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.หัวหน้าส่วนการคลัง
ค.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
35.ใครเป็นเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกฯแต่งตั้งเลขาฯ คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาฯหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้*
ค.กรรมการบริหารที่ได้รับเลือก
ง.สมาชิกสภาที่ได้รับเลือก
จ.เลขานุการสภา
36.การประชุมและการดำเนินงานของคณะผู้บริหารให้เป็นไปโดย??.ของกระทรวงมหาดไทย
ก.ข้อบังคับ
ข.ระเบียบ*
ค.ประกาศ
ง.ข้อบังคัลการประชุม
จ.ขั้นตอนการประชุม
37.คณะผู้บริหารมีอำนาจหน้าที่ในการรายงานการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบอย่างน้อยปีละกี่ครั้ง
ก. เป็นประจำทุกปี*
ข. 3 ครั้ง
ค. 4 ครั้ง
ง. 5 ครั้ง
จ.ทุกครั้งที่มีการประชุมสภา
38.ใครเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สมาชิกสภาที่ได้รับเลือก
จ.รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับเลือกจากสมาชิกสภา ด้วยคะแนน 2 ใน 3
39. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามลำดับที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ง ตั้งไว้ เป็นผู้?????..
ก.ผู้ปฏิบัติราชการแทน
ข.ผู้รักษาราชการแทน*
ค.ผู้รักษาการแทน
ง.ผู้ทำการแทน
จ.ผู้ปฏิบัติหน้าทีแทน
40.คณะผู้บริหารลาออก ในกรณีนี้ถือว่าพ้นจากตำแหน่งนับแต่
ก.วันยื่นการลาออก
ข.นายอำเภออนุมัติ
ค.วันถัดไป
.คณะผู้บริหารมีมติลาออก*
จ.สภาอนุมัติ
43. ในระหว่างที่ไม่มีคณะผู้บริหาร ให้ใครทำหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเท่าท่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะผู้บริหารที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.ปลัดอำเภอที่นายอำเภอแต่งตั้ง
ค.ประธานสภา
ง.นายอำเภอ
จ.สมาชิกสภาอาวุโส
45.องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้าน
ก.เศรษฐกิจ
ข.สังคม
ค.วัฒนธรรม
ง.ป้องกันประเทศ
จ. ก. ข. และ ค.*
46.องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถออก??..เพื่อใช้บังคับในตำบลได้
ก.เทศบัญญัติ
ข.ประกาศตำบล
ค.ข้อบังคับตำบล
ง.ระเบียบตำบล
จ.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล*
47.จากข้อ 46 จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่ปรับไม่เกินเท่าใด
ก. 200 บาท
ข. 500 บาท
ค.1,000 บาท*
ง.1,500 บาท
จ.5,000 บาท
48. ในกรณีที่นายอำเภอไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลใดให้ ส่งคืนสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภายในกี่วันนับแต่วันที่นายอำเภอได้รับร่างฯ ดังกล่าว
ก. 10 วัน
ข. 20 วัน
ค. 15 วัน*
ง.30 วัน
จ. 45 วัน
49.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ถือเป็น
ก.ข้าราชการพลเรือน
ข.ข้าราชการตำบล
ค.พนักงานของรัฐบาลท้องถิ่น
ง.พนักงานส่วนตำบล*
จ.เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
50.ระเบียบพนักงานส่วนตำบลให้ตราขึ้นเป็น
ก.ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ข.พระราชกฤษฎีกา*
ค.พระราชกำหนด
ง.พระราชบัญญัติ
จ.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
51.ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.จังหวัด
ข.องค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาตำบล
ง.อำเภอ*
จ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
52.ข้อใดมิได้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ควบคุมราคาสินค้า*
ข.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ค.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ง.จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
จ.ถูกทั้ง ข. และ ค.
53.อาคารที่ทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมีชื่อตามกฎหมายว่า
ก.สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล*
ง.ศาลาว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.ที่ทำงานองค์การบริหารส่วนตำบล
54.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การบริหารส่วนตำบลให้จัดทำเป็น
ก. พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
ง.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
55.รายจ่ายค่าสาธารณูปโภคได้แก่รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสาธารณูปโภค รวมทั้งค่าธรรมเนียมการรักษา เช่น
ก.ค่าโทรเลข*
ข.ค่าติดตั้งน้ำประปาสำนักงาน
ค.ค่าติดตั้งไฟฟ้าสำนักงาน
ง.ไม่มีข้อใดถูก
จ.ถูกทั้ง ข. และ ค.
56.เจ้าหน้าที่งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
ค.พนักงานส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
ง.ถูกข้อ ข. และ ค.
จ.ถูกทุกข้อ
57.ใครเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.นายอำเภอ*
ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.ประธานสภาตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
58.กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายเงินไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ชดใช้เงินคืน
ก.เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา ผู้อนุมัติฎีกา และผู้จ่ายเงิน*
ข.เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา และผู้จ่ายเงิน
ค.ผู้เบิกเงิน และผู้จ่ายเงิน
ง.ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา และผู้จ่ายเงิน
จ.ถูกทั้ง ข้อ ค. และ ง.
59.การยืมเงินสะสม ใครเป็นผู้ลงชื่อผู้ยืม
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ*
ง.เจ้าหน้าที่การคลัง
จ.น
60. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ หากมีเงินเหลือจ่ายจากรายรับและไม่ได้เบิกตัดปี หรือขยายเวลาเบิกตัดปี หรือเป็นเงินที่ยังไม่ได้จ่ายตามฎีกาที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้เงินที่เหลือนั้น
ก.เป็นเงินรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในปีงบประมาณถัดไป
ข.เป็นเงินสะสม*
ค.เป็นเงินค้างรับ
ง.ถูกหมดทุกข้อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลยในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.ตามกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และแพทย์ประจำตำบล
2.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก.ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง*
ข.ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ง.ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
จ.ไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันกี่ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละเท่าไร จึงอาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก.ติดต่อกัน 2 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนบาท
ข.ติดต่อกัน 3 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนบาท
ค.ติดต่อกัน 3 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสน 5 หมื่นบาท*
ง.ติดต่อกัน 4 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสน 5 หมื่นบาท
จ.ติดต่อกัน 4 ปี และเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนบาท
4.การจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำอย่างไร
ก.ทำเป็นประกาศจังหวัด
ข.ทำเป็นประกาศจังหวัดและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.ทำเป็นประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย*
จ.ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5.ใครเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.มติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายอำเภอ
ค.นายอำเภอโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.นายอำเภอโดยความเห็นชอบตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งโดยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความเห็นชอบ
6.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คือใคร
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกปลัดฯหรือสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ง.ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ
จ.หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
7.ใครเป็นเลขานะการคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ
ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่คณะผู้บริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ค.หัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้ง
ง.นายกฯแต่งตั้งเลขาฯ คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาฯหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้*
จ.หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
8.ใครมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.นายกรัฐมนตรี
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*
จ.นายอำเภอ
9. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติตำบลเพื่อเก็บภาษีอากรและค่า ธรรมเนียมตามที่กฎหมายบัญญัติเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละเท่าไรของภาษีอากร และค่าธรรมเนียมประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ก.ไม่เกินร้อยละ 2
ข.ไม่เกินร้อยละ 4
ค.ไม่เกินร้อยละ 5
ง.ไม่เกินร้อยละ 8
จ.ไม่เกินร้อยละ 10*
10.ข้อใดกล่าวถึงองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ถูกต้อง
ก.ตามกฎหมายปัจจุบันสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งเป็นโดยตำแหน่งและจากการเลือกตั้ง*
ข.สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนอย่างน้อยที่สุด 6 คน
ค.ตำบลใดมี 3 หมู่บ้านขึ้นไป สมาชิกสภา อบต.มีจำนวนหมู่บ้านละ 2 คน
ง.ข้อ ก.และข้อ ข.
จ.ข้อ ก. ข. และ ค.
11. สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสาม ปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละเท่าไร สามารถจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก.หนึ่งแสนบาท
ข.หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท*
ค.สองแสนบาท
ง.สองแสนห้าหมื่นบาท
จ.สามแสนบาท
12. องค์การบริหารส่วนตำบลที่มี่จำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึงเท่าไร และเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินการบริหารงานพื้นที่นั้นให้มี ประสิทธิภาพในลักษณะขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ก.หนึ่งพันคน
ข.หนึ่งพันห้าร้อยคน
ค.สองพันคน*
ง.สองพันห้าร้อยคน
จ.สามพันคน
13.องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาท โดย
ก.ประกาศกระทรวงมหาดไทย*
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.พระราชบัญญัติ
ง.พระราชกำหนด
จ.เป็นได้เลย เมื่อครบหลักเกณฑ์
14.ข้อใดไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก.สุขาภิบาล
ข.องค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาตำบล*
ง.เทศบาล
จ. ก. และ ค.
15.องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย
ก.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ข.สมาชิกสภาตำบล
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.ข้อ ค. และ ง.*
16.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. 2 คน*
ข. 3 คน
ค. 4 คน
ง. 1 คน
จ. 2-3 คน
17. ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนกี่คน
ก. 6 คน*
ข. 8 คน
ค. 9 คน
ง. 10 คน
จ. 12 คน
18. ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมี 2 หมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. 3 คน*
ข. 4 คน
ค. 5 คน
ง. 6 คน
จ. 3-4 คน
19.อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดคราวละกี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ก. 4 ปี*
ข. 5 ปี
ค. 6 ปี
ง. 2 ปี
จ. 3 ปี
20.ประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี นับแต่วันที่ได้รับเลือก
ก. ครบอายุหรือยุบสภา*
ข. 5 ปี
ค. 6 ปี
ง. 2 ปี
จ. 3 ปี
21. เมื่อตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้มีการเลือกประธานหรือรองประธานสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
ก. 15 วัน*
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
22.จากข้อ 21 ผู้ได้รับเลือกแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 3 ปี
ง. 4 ปี
จ.เท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน*
23.ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุม
ก. 1 สมัย
ข. 2 สมัย
ค. 3 สมัย
ง. 4 สมัย
จ.ข้อ ข หรือแล้วแต่ที่ประชุมจะกำหนดแต่ไม่เกินสี่สมัย*
24. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรก ต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุมภายในกี่วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล
ก. 15 วัน*
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ.90 วัน
25.สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก.10 วัน
ข. 15 วัน*
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
จ. 60 วัน
26.จากข้อ 25 ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีก จะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ*
ง.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จ.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
27.ใครเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.กำนัน
ง.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.นายอำเภอ
28.ใครเป็นคนเรียกประชุมวิสามัญได้
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ประธานสภา
ค.สมาชิกสภา
ง.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.นายอำเภอ*
29. นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภา,นายก อบต.หรือสมาชิกสภา มีจำนวนไม่ต่ำกว่าเท่าใดของสมาชิกสภาจึงขอยื่นให้เปิดประชุมวิสามัญ
ก.1/2*
ข.1/3
ค.2/3
ง.3/4
จ.3/5
30.สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. 10 วัน
ข. 15 วัน*
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
จ. 60 วัน
31. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ก.2/3
ข.3/4
ค.4/8
ง.3/5
จ.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง*
32.ใครเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ปลัดอำเภอ
ค.หัวหน้าส่วนการคลัง
ง.พัฒนากรอำเภอ
จ.สมาชิกสภาหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือก*
33.ใครมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.หัวหน้าส่วนการคลัง
ค.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล*
35.ใครเป็นเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกฯแต่งตั้งเลขาฯ คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาฯหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้*
ค.กรรมการบริหารที่ได้รับเลือก
ง.สมาชิกสภาที่ได้รับเลือก
จ.เลขานุการสภา
36.การประชุมและการดำเนินงานของคณะผู้บริหารให้เป็นไปโดย??.ของกระทรวงมหาดไทย
ก.ข้อบังคับ
ข.ระเบียบ*
ค.ประกาศ
ง.ข้อบังคัลการประชุม
จ.ขั้นตอนการประชุม
37.คณะผู้บริหารมีอำนาจหน้าที่ในการรายงานการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบอย่างน้อยปีละกี่ครั้ง
ก. เป็นประจำทุกปี*
ข. 3 ครั้ง
ค. 4 ครั้ง
ง. 5 ครั้ง
จ.ทุกครั้งที่มีการประชุมสภา
38.ใครเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สมาชิกสภาที่ได้รับเลือก
จ.รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับเลือกจากสมาชิกสภา ด้วยคะแนน 2 ใน 3
39. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามลำดับที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ง ตั้งไว้ เป็นผู้?????..
ก.ผู้ปฏิบัติราชการแทน
ข.ผู้รักษาราชการแทน*
ค.ผู้รักษาการแทน
ง.ผู้ทำการแทน
จ.ผู้ปฏิบัติหน้าทีแทน
40.คณะผู้บริหารลาออก ในกรณีนี้ถือว่าพ้นจากตำแหน่งนับแต่
ก.วันยื่นการลาออก
ข.นายอำเภออนุมัติ
ค.วันถัดไป
.คณะผู้บริหารมีมติลาออก*
จ.สภาอนุมัติ
43. ในระหว่างที่ไม่มีคณะผู้บริหาร ให้ใครทำหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเท่าท่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะผู้บริหารที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.ปลัดอำเภอที่นายอำเภอแต่งตั้ง
ค.ประธานสภา
ง.นายอำเภอ
จ.สมาชิกสภาอาวุโส
45.องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้าน
ก.เศรษฐกิจ
ข.สังคม
ค.วัฒนธรรม
ง.ป้องกันประเทศ
จ. ก. ข. และ ค.*
46.องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถออก??..เพื่อใช้บังคับในตำบลได้
ก.เทศบัญญัติ
ข.ประกาศตำบล
ค.ข้อบังคับตำบล
ง.ระเบียบตำบล
จ.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล*
47.จากข้อ 46 จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่ปรับไม่เกินเท่าใด
ก. 200 บาท
ข. 500 บาท
ค.1,000 บาท*
ง.1,500 บาท
จ.5,000 บาท
48. ในกรณีที่นายอำเภอไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลใดให้ ส่งคืนสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภายในกี่วันนับแต่วันที่นายอำเภอได้รับร่างฯ ดังกล่าว
ก. 10 วัน
ข. 20 วัน
ค. 15 วัน*
ง.30 วัน
จ. 45 วัน
49.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ถือเป็น
ก.ข้าราชการพลเรือน
ข.ข้าราชการตำบล
ค.พนักงานของรัฐบาลท้องถิ่น
ง.พนักงานส่วนตำบล*
จ.เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
50.ระเบียบพนักงานส่วนตำบลให้ตราขึ้นเป็น
ก.ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ข.พระราชกฤษฎีกา*
ค.พระราชกำหนด
ง.พระราชบัญญัติ
จ.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
51.ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.จังหวัด
ข.องค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาตำบล
ง.อำเภอ*
จ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
52.ข้อใดมิได้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ควบคุมราคาสินค้า*
ข.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ค.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ง.จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
จ.ถูกทั้ง ข. และ ค.
53.อาคารที่ทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมีชื่อตามกฎหมายว่า
ก.สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล*
ง.ศาลาว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.ที่ทำงานองค์การบริหารส่วนตำบล
54.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การบริหารส่วนตำบลให้จัดทำเป็น
ก. พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
ง.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล*
จ.ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
55.รายจ่ายค่าสาธารณูปโภคได้แก่รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสาธารณูปโภค รวมทั้งค่าธรรมเนียมการรักษา เช่น
ก.ค่าโทรเลข*
ข.ค่าติดตั้งน้ำประปาสำนักงาน
ค.ค่าติดตั้งไฟฟ้าสำนักงาน
ง.ไม่มีข้อใดถูก
จ.ถูกทั้ง ข. และ ค.
56.เจ้าหน้าที่งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่
ก.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*
ข.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
ค.พนักงานส่วนตำบลที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
ง.ถูกข้อ ข. และ ค.
จ.ถูกทุกข้อ
57.ใครเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.นายอำเภอ*
ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.ประธานสภาตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
58.กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายเงินไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ชดใช้เงินคืน
ก.เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา ผู้อนุมัติฎีกา และผู้จ่ายเงิน*
ข.เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา และผู้จ่ายเงิน
ค.ผู้เบิกเงิน และผู้จ่ายเงิน
ง.ผู้เบิกเงิน ผู้ตรวจฎีกา และผู้จ่ายเงิน
จ.ถูกทั้ง ข้อ ค. และ ง.
59.การยืมเงินสะสม ใครเป็นผู้ลงชื่อผู้ยืม
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ*
ง.เจ้าหน้าที่การคลัง
จ.นายอำเภอ
60. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ หากมีเงินเหลือจ่ายจากรายรับและไม่ได้เบิกตัดปี หรือขยายเวลาเบิกตัดปี หรือเป็นเงินที่ยังไม่ได้จ่ายตามฎีกาที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้เงินที่เหลือนั้น
ก.เป็นเงินรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในปีงบประมาณถัดไป
ข.เป็นเงินสะสม*
ค.เป็นเงินค้างรับ
ง.ถูกหมดทุกข้อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้