แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕
1. พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับใด
ก. พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๔๘๑
ข. พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๔๘๒
ค. พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๔๘๓
ง. พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๔๘๔
ตอบ ง.
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๔
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พุทธศักราช
๒๔๘๐ และ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๔
2. ผู้แต่งตั้งเจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำคือใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ
ง. นายกรัฐมนตรี
ตอบ ข.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๒๘
เจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
มีอำนาจเข้าไปในโรงรับจำนำเพื่อตรวจทรัพย์จำนำและเอกสารที่เกี่ยวกับการรับจำนำ และผู้รับจำนำต้องให้ความสะดวกตามสมควร
เจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
และต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอ
3. ในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้แก้ไขจากคำว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็นข้อใด
ก. อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ข. อธิบดีกรมพัฒนาสังคม
ค. อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ง. อธิบดีกรมตำรวจ
ตอบ ค.
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
มาตรา ๙๕ ในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่
ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม นั้นแล้ว
และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดินมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ
ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใด
ได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว
โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่
และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีนี้
4. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคือใคร
ก. จอมพล ส. ธนะรัชต์
ข. จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ค. พล.อ.เปรม
ติณสูลานนท์
ง. พล.อ.สุจินดา
คราประยูร
ตอบ ก.
จอมพล ส. ธนะรัชต์
5. พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ให้ไว้เมื่อวันที่เท่าใด
ก. วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ข. วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ค. วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ง. วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ตอบ ค.
วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ภูมิพลอดุยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
6. พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นปีที่เท่าใดในรัชกาลปัจจุบัน
ก. ปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
ข. ปีที่ ๑๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
ค. ปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
ง. ปีที่ ๑๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
ตอบ ค.
ปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
7. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ตอบ ข.
รัฐมนตรี
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“โรงรับจำนำ” หมายความว่า
สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของ
เป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท
โดยมีข้อตกลงหรือเข้ากันโดยตรงหรือปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย
“ผู้รับจำนำ” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ