ความหมายของการวัดผล (measurement) นักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของการวัดผลไว้ดังนี้ การวัดผล หมายถึง ขบวนการที่จะนำมาซึ่งตัวเลข จำนวน ปริมาณ โดยจำนวนหรือปริมาณนั้นมีความหมายแทนพฤติกรรมอย่างหนึ่งหรือแทนผลงานที่แต่ละคนแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งเร้าออกมา (วิเชียร เกตุสิงห์. 2514 : 5) การวัดผล หมายถึงกระบวนการที่กำหนดจำนวน ตัวเลขให้กับวัตถุสิ่งของ หรือบุคคล ตามความหมายที่จะวัดสอบ และเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างที่ปรากฏอยู่ในสิ่งที่จะวัดนั้น ๆ (สุภาพ วาดเขียน. 2518 : 2) การวัดผลเป็นการพิจารณาหรือตีค่าข้อมูลในรูปตัวเลข
(Guilford. 1976 : 8) การวัดผล หมายถึง การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะค้นหา หรือการตรวจสอบเพื่อให้ได้ปริมาณ จำนวน หรือคุณภาพ ที่มีความหมายแทนพฤติกรรม หรือผลงาน ที่แต่ละคนแสดงออกมา (ภัทรา นิคมานนท์. 2522 : 1) จากความหมายที่ได้กล่าวมา สรุปว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะ หรือคุณภาพของสิ่งที่วัด โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือปริมาณเท่าใด เช่น การวัดส่วนสูงของเด็กเป็นการแปลงคุณลักษณะด้านความสูงออกมาเป็นตัวเลขว่าสูงกี่เซนติเมตรหรือนักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 20 คะแนน ก็เป็นการแปลงคุณภาพด้านความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ออกมาเป็นตัวเลข โดยใช้แบบทดสอบ เป็นต้น การวัดผล หมายถึง หมายถึง กระบวนการในการกำหนดตัวเลขแทนปริมาณของสิ่งต่างๆที่ต้องการการวัดหรือคุณลักษณะ (Traits) ที่ต้องการวัดอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ โดยจะต้องมีเครื่องมือที่ใช้วัดและผลการวัดที่ได้จะตอบคำถามที่ว่าสิ่งที่จะวัดมีจำนวนมากน้อยเท่าไร (How much) จากตัวอย่างที่กล่าวมาการวัดผลจะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. คุณลักษณะที่ต้องการวัด หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งที่เราต้องการศึกษา เช่น ความสูง น้ำหนัก ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น 2. เครื่องมือที่ใช้วัด เครื่องมือที่ใช้วัดนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ไม้เมตร ตาชั่ง แบบทดสอบ เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องเลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับคุณลักษณะที่ต้องการวัด 3. วิธีการที่ให้ผู้ถูกวัดแสดงพฤติกรรมออกมา 4. ผลที่ได้จากการวัด ผลที่ได้จากการวัดมักจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่แทนลักษณะของสิ่งที่วัด เช่น สมชายสูง 160 เซนติเมตร หรือธิดาสอบวิชาภาษาไทยได้ 20 คะแนน เป็นต้น จากความหมายของการวัดผล สามารถจำแนกการวัดผลได้ 2 ลักษณะ คือ 1. การวัดทางกายภาพศาสตร์(physical sciences) เป็นการวัดในสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือวัดในสิ่งที่มีตัวตน มีทรวดทรงและทราบลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น ความสูงของนักเรียน น้ำหนักของโต๊ะ เป็นต้น การวัดในด้านนี้สามารถแปลความหมายของสิ่งที่วัดได้ โดยการอ่านค่าตัวเลขที่ปรากฏบนเครื่องวัดได้โดยตรง มีมาตรา (scale) ที่แน่นอน ดังนั้น การวัดทางกายภาพศาสตร์นี้มักจะมีความคลาดเคลื่อนน้อย ถ้าหากเราควบคุมให้ดี 2. การวัดทางสังคมศาสตร์ (social sciences) หรือพฤติกรรมศาสตร์ (behavior sciences) เป็นการวัดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือวัดในสิ่งที่ไม่มีตัวตน นั่นคือเราไม่ทราบลักษณะสิ่งที่จะวัด เช่น การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความถนัด ความมีระเบียบวินัย ทัศนคติ เป็นต้น การวัดทางด้านนี้เป็นการวัดทางอ้อม กล่าวคือจะต้องสร้างเครื่องมือ เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม ฯลฯ ขึ้นมา แล้วนำไปวัดพฤติกรรมที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่จะวัด ต่อจากนั้นจึงแปลความหมายของสิ่งที่วัดออกมา ดังนั้น การวัดทางด้านนี้จึงมีความคลาดเคลื่อนสูง ความหมายของการทดสอบ (testing) การทดสอบหมายถึงการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆในการทดสอบหรือหมายถึงขบวนการอันมีระบบที่ใช้วัดเปรียบเทียบพฤติกรรมบุคคล ตั้งแต่ 2 คน หรือมากกว่าขึ้นไป (สุภาพ วาดเขียน และอรพินธ์ โภชนดา. 2520 : 2) การทดสอบ หมายถึง การหาหรือกำหนดจำนวน ปริมาณ หรือคุณลักษณะของพฤติกรรมหรือความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือ หรือเป็นสิ่งเร้า (ไพศาล หวังพานิช. 2526 : 15) การทดสอบ หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือเปรียบเทียบการกระทำของบุคคลกับมาตรฐานที่วางไว้ โดยใช้เครื่องมือเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้ และวัดออกมาว่ามีจำนวน ปริมาณ หรือคุณภาพเท่าใด เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่วางไว้หรือไม่ (บุญชม ศรีสะอาด, นิภา ศรีไพโรจน์ และนุชวนา ทองทวี. 2528 : 2) โดยสรุปแล้ว การทดสอบหมายถึงกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะให้ได้มาซึ่งจำนวน ปริมาณ หรือคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้ออกมา เพื่อนำไปสู่การประเมินค่า หรือตีราคา การทดสอบทำได้หลายวิธี เช่น การทดสอบปากเปล่า การทดสอบภาคปฏิบัติ หรือการทดสอบโดยการเขียนตอบ การทดสอบที่ดีจะต้องพยายามดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความยุติธรรมแก่ผู้สอบอย่างเสมอหน้า ภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกัน ซึ่งองค์ประกอบของการทดสอบประกอบด้วย 1. บุคคลซึ่งถูกวัดคุณลักษณะหรือความสามารถ 2. ข้อสอบเพื่อทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้า 3. การดำเนินการสอบ การจัดสภาพการสอบ และผู้คุมสอบซึ่งต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม 4. ผลการสอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคะแนน ที่ได้มาจากการตรวจข้อสอบ คะแนนนี้จะแทนความสามารถสูงสุดของแต่ละบุคคล ความหมายของการประเมินผล (evaluation)
การประเมินผลเป็นการตัดสินค่านิยมของการกระทำ (Guilford. 1976 : 5) การประเมินผล คือกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งของหรือการกระทำใด ๆ โดยเปรียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (สมหวัง พิธิยานุวัตน์. 2520 : 3) การประเมินผลหมายถึงกระบวนการตัดสินความสำคัญของปรากฏการณ์อย่างหนึ่งกับกระบวนการอีกอย่างหนึ่ง โดยใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. 2526 : 5) สรุปได้ว่า การประเมินผล หมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล แล้ววินิจฉัย
ตัดสิน ลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์ และมีคุณธรรม เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน ได้หรือตก เป็นต้น แนวข้อสอบมาตรฐานที่3 การจัดการเรียนรู้ 1. “ความรู้ คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา ” เป็นคำกล่าวของใคร ?
ก. Hideo Yamazaki ข. Trapp
ค. Newman , Brian ง. Ryoko Toyama
ตอบข้อ ก. Hideo Yamazaki
2. ปิรามิลำดับของความรู้ ข้อใดเรียงลำดับจากล่างถึงยอดได้ถูกต้อง ?
ก. สารสนเทศ ข้อมูล ความรู้ ปัญญา ข. ข้อมูล สารสนเทศ ปัญญา ความรู้
ค. ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา ง. สารสนเทศ ข้อมูล ปัญญา ความรู้
ตอบข้อ ค. ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา
3. ข้อมูลที่ได้มีการประมวลผล เรียบเรียงและแปรความหมาย คือ ?
ก. Information ข. Data
ค. Knowledge ง. Management
ตอบข้อ ก. Information
4. ข้อใดเป็นความรู้แบบนามธรรม ?
ก. ทักษะในการงาน ข. งานฝีมือ
ค. การคิดวิเคราะห์ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง. ทักษะในการงาน งานฝีมือ การคิดวิเคราะห์
5. ข้อใดคือแนวปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ?
ก. สร้างรูปแบบให้มีการติดต่อ สื่อสารที่รวดเร็ว
ข. ระดมสมองในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ค. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถให้ผู้ปฏิบัติงาน
ง. สร้างวัฒนธรรมในการค้นหาความรู้มาพัฒนาองค์กร
ตอบข้อ ค. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถให้ผู้ปฏิบัติงาน
6. วัยใดที่มีการพัฒนาของสมองมากที่สุด
ก. ต่ำกว่า 3 ขวบ ข. 4 ขวบ
ค. 5 ขวบ ง. มากกว่า 6 ขวบ
ตอบข้อ ก. ต่ำกว่า 3 ขวบ
7. สมองซีกใด ทำหน้าที่ สร้างสรรค์ และคิดสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ?
ก. สมองซีกซ้าย ข. สมองซีกขวา
ค. สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ข. สมองซีกขวา
8. เด็กหญิงก้องเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง “ การแลกเปลี่ยนเงินตรา ”นำความรู้ที่ได้มาใช้ช่วยแม่ขายผลไม้ที่ตลาด ถือว่าเป็นลำดับชั้นความรู้ข้อใด ?
ก. ข้อมูล ข. สารสนเทศ
ค. ความรู้ ง. ปัญญา
ตอบข้อ ค. ความรู้
9. ความรู้ที่ได้ตกผลึกในความคิดของบุคคล อยู่ในลำดับชั้นความรู้ใด ?
ก. ข้อมูล ข. สารสนเทศ
ค. ความรู้ ง. ปัญญา
ตอบข้อง. ปัญญา
10. Tacit Knowledge คืออะไร ?
ก. ความรู้ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ข. ความรู้ที่ได้จากการรวบรวม
ค. ความรู้ที่ได้จากการค้นหา ง. ความรู้ที่ได้จากการสำรวจ
ตอบข้อ ข. ความรู้ที่ได้จากการรวบรวม
11. ข้อใดเป็นความรู้แบบรูปธรรม ?
ก. ทักษะการทำงาน ข. งานฝีมือ
ค. ความชำนาญในอาชีพ ง. คู่มือการเรียน
ตอบข้อ ง. คู่มือการเรียน
12. Tacit Knowledge มีประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ ขององค์ความรู้องค์กร ?
ก. 50 % ข. 60 %
ค. 80 % ง. 100 %
ตอบข้อ ค. 80 %
13. “การจัดการความรู้ คือ การจัดการความรู้เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยที่วัฒนธรรม พฤติกรรมภายในองค์กร พลวัต และวิธีปฏิบัติมีผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ” เป็นคำกล่าวของใคร?
ก. วิจารณ์ บุญกิจ ข. วิจารณ์ พานิช
ค. Ryo Toyama ง. Newman
ตอบข้อ ข. วิจารณ์ พานิช
14. โมเดลปลาทู ถูกคิดค้นโดยใคร ?
ก. กพร. ข. สคศ.
ค. พว. ง. อจท.
ตอบข้อ ข. สคศ.
15. ส่วนใดของโมเดลปลาทู เทียบได้กับส่วนแลกเปลี่ยนความรู้ ?
ก. หัวปลา ข. เหลือกปลา
ค. ตัวปลา ง. หางปลา
ตอบข้อ ค. ตัวปลา
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบใบประกอบวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 1 ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับ
http://www.ziddu.com/download/14438333/p1.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
http://www.ziddu.com/download/14438339/p2.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้
http://www.ziddu.com/download/14438341/p3.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู
http://www.ziddu.com/download/14438351/p4.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่5 การวัดและการประเมินผล
http://www.ziddu.com/download/14438363/p5.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการในห้องเรียน
http://www.ziddu.com/download/14438382/p6.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 7 การวิจัยทางการศึกษา
http://www.ziddu.com/download/14438384/p7.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 8 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
http://www.ziddu.com/download/14438398/p8.doc.html แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 9 ความเป็นครู
http://www.ziddu.com/download/14438403/p9.doc.html ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.testthai1.com