1. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่มีหลักอย่างไร
ตอบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Products) ในทางการตลาดประกอบด้วย
ผลิตภัณฑ์มที่ไม่เคยมีในตลาด เรียกว่า นวตกรรม (Innovation) ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่
(Product Improvment) และผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตทำขึ้นมาลักษณะเหมือนผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันที่มีจำหน่ายในตลาดแล้ว
(Mee-too Products) ดังนั้นที่มาของผลิตภัณฑ์ใหม่น่าจะเกิดจากคามต้องการเป็นผู้บุกเบิก
(Pioneer) ในตลาดของธุรกิจ
ความต้องการปรับปรุงสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
และควมาต้องการมีสินค้าจำหน่ายครอบคลุมทุกชนิด
เพื่อให้สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้
ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
(New
Product Development Process) กระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แบ่งออกได้เป็น
6 ขั้นตอน ดังนี้
1. การแสวงหาความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่
(Exploration)
2. การกลั่นกรองความคิด
(Idea Screening)
3. การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
(Business Analysis)
4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product
Development)
5. การทดสอบตลาด
( Market Testing)
6. การวางตลาดสินค้า
(Commercialization)
การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่มีหลักการดังนี้
1. การออกแบบด้านความแข็งแรง
2. การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน
3. การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน
4. การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
5. การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์คุณค่า
6. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควรคำนึงถึง
(1) ระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์
(2) การจัดองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประเด็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เน้น การออกแบบด้านความแข็งแรง
การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน
การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การวิเคราะห์คุณค่า
การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า
2. จงอธิบาย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว
มาให้เข้าใจ
ตอบ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่
พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว
ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ
ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด
ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ
มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน
ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี