ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อม

แชร์กระทู้นี้

Roman\">http://www.testthai1.com      จำหน่าย E-BOOK แนวข้อสอบรับราชการ  รัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงาน

 

ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการป้องกันแก้ไขที่ดี

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน

มลพิษทางสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ ดิน เป็นต้น มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มากมาย แต่การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดมลพิษขึ้นในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

มลพิษทางสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติถูกปะปนหรือปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือสารมลพิษ ทำให้มีลักษณะหรือสมบัติแตกต่างไปจากเดิมหรือจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ยังผลให้ใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และมีผลเสียต่อสุขภาพ

มลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

มลพิษทางน้ำ 

มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหามลพิษอื่นๆปัญหามลพิษทางน้ำมักเกิดกับเมืองใหญ่ๆแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมาด้วย น้ำทิ้งดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของการที่น้ำมีสีดำ และมีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำที่มีสารพิษตกค้างอยู่ เช่น น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมที่มีปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช น้ำทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูสะสมในวงโคจรโซ่อาหารของสัตว์น้ำ และมีผลต่อมนุษย์ภายหลัง

ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ

น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น

น้ำที่เป็นมลพิษจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างเห็นได้ชัดกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆเพราะก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข

2.
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

3.
ผลกระทบทางด้านสังคม 

แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ

1. การบำบัดน้ำเสีย

2.
การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

3.
การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางน้ำแก่ประชาชน

4.
การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

5.
การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสำรวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ



คำถาม มลพิษทางน้ำ

1. คำถาม มลพิษทางน้ำ หมายถึง

2.
คำถาม มลพิษทางน้ำที่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ เป็นต้น กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดจาก

3.
คำถาม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ได้แก่

4.
คำถาม ของเสียจากแหล่งชุมชนส่วนมากจะอยู่ในรูปของ

5.
คำถาม ของเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ

6.
คำถาม น้ำที่เป็นมลพิษมีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือ

7.
คำถาม น้ำเสียส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหาร ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพโดยตรงต่อมนุษย์จัดเป็นผลกระทบทางด้าน

8.
คำถาม การแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำที่ได้ผล และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือ

แนวคำตอบ มลพิษทางน้ำ

1. แหล่งน้ำที่ถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่

2.
ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย 

3. 1.
ของเสียจากแหล่งชุมชน 2. ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 3. ของเสียจากกิจกรรมทางการเกษตร 4. สารมลพิษอื่นๆที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน

4.
สารอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร สบู่ ผงซักฟอก อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

5.
ประเภทและชนิดของโรงงานอุตสาหกรรม

6.
คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น

7.
ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข

8.
การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางน้ำแก่ประชาชน


มลพิษทางอากาศ

ส่วนใหญ่เกิดจากควันของยานพาหนะและจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันดังกล่าวมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่มี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือไนโตรเจนออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ เมื่อรวมกับละอองน้ำในอากาศ จะกลายเป็นสารละลายกรดซัลฟิวริกหรือกรดไนตริก กลายเป็นฝนกรด ตกลงมาอันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและยังทำให้สิ่งก่อสร้างเกิดการสึกกร่อนได้

สถานที่กำลังประสบปัญหากับมลพิษทางอากาศเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคทรวงอก เยื่อบุตาอักเสบ และเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ตลอดจนเสียชีวิตได้

ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect)

เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภูมิอากาศทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณการณ์ไว้ว่าที่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป ฤดูหนาวจะสั้นขึ้นและมีความชื้นมาก ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานขึ้นอาจทำให้พื้นดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย และในเขตร้อนอาจจะมีพายุบ่อยครั้งและรุนแรง บริเวณขั้วโลกความร้อนส่งผลโดยตรงต่อการละลายของหิมะเป็นเหตุ ให้ปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ปากใบปิดไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำได้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิดอาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในที่สุด

สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFC) มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีออน(Freon) ฟรีออนใช้ในการอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ใช้เป็นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซขับดันในผลิตภัณฑ์สเปรย์ เป็นส่วนผสมในการผลิตโฟม ใช้กับเครื่องสำอาง ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮออล์ ใช้เป็นตัวทำละลายและทำความสะอาด ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า และใช้เป็นสารดับเพลิง เป็นต้น



คำถามมลพิษทางอากาศ

1. คำถาม มลพิษทางอากาศ หมายถึง

2.
คำถาม สิ่งที่เป็นมลพิษที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ได้แก่

3.
คำถาม ผลกระทบของมลพิษทางอากาศชนิดเฉียบพลันที่มีต่อมนุษย์ คือ

4.
คำถาม ตัวอย่างผลลกระทบต่อพืชจากมลพิษทางอากาศ เช่น

5.
คำถาม ก๊าซสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝนกรด คือ

6.
คำถาม เมื่อก๊าซจากข้อ 5 ถูกแสงแดดจะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศเกิดปฏิกิริยาเคมีกลายเป็น

7.
คำถาม ผลกระทบของฝนกรดที่มีต่อสิ่งมีชีวิต คือ

8.
คำถาม ก๊าซที่สำคัญที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งเปรียบเหมือนกับกระจกของเรือนกระจก ได้แก่…………ถ้าก๊าซเหล่านี้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในบรรยากาศผลที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ…….

แนวคำตอบมลพิษทางอากาศ

1. สภาวะที่อากาศตามธรรมชาติถูกปนเปื้อนหรือเจือปนด้วยสิ่งแปลกปลอม ทำให้องค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปและเสื่อมโทรมลง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

2.
ฝุ่นละออง เขม่าควัน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารตะกั่ว ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และคาร์บอนไดออกไซด์

3.
เกิดจากการสูดหายใจเอาสารพิษในอากาศที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไป ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจ ปอด และทำให้ตามในที่สุด

4.
ทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ผลผลิตลดลง สีของต้นไม้และใบเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงและการหายใจของพืชเสื่อมลง

5.
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์

6.
กรดซัลฟูริก(กรดกำมะถัน)และกรดไนตริก

7.
จะไปทำลายโซ่อาหารตามธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์ คือต้นไม้และป่าไม้

8.
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFC) ไนตรัสออกไซด์ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน และไอน้ำ

มลพิษทางเสียง

สิ่งที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์นั้นมีหลายประการ เช่น เสียงอึกทึกที่เกิดจากเครื่องยนต์ตามท้องถนน โดยเฉพาะถนนที่มีปัญหาเรื่องการจารจรติดขัด เสียงเครื่องบิน เสียงดนตรี

ในดิสโก้เทค เสียงเพลงจากซาวด์อะเบ้าท์ เสียงเครื่องจักรของโรงงาน เสียงเครื่องขยายเสียงจากงานชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงจากอื่นๆอีกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมอันเป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์และมีเสียงดังเกินเหตุ

ระดับเสียงปกติที่ไม่เป็นอันตรายต่อการได้ยินของคนจะอยู่ในระดับไม่เกิน 80 – 85 เดซิเบล และระดับเสียงในระดับปกติธรรมดาควรไม่เกิน 50 – 70 เดซิเบล แต่ระดับเสียงในดิสโก้เทคเฉลี่ยประมาณ 90 – 100 เดซิเบล นับว่าเป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ โดยเฉพาะซาวด์อะเบาท์ เป็นการนำเอาเครื่องฟังแนบประกบไว้กับหูตลอดเวลา และถ้ามีเสียงรบกวนก็จะเปิดเสียงดังเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มระดับคลื่นเสียงให้มีผลต่อระบบประสาทหูโดยตรง ก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน เป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหูอาจมีผลทำให้เกิดอาการหูหนวกเมื่อมีอายุมากขึ้น และเกิดปัญหาหูตึงได้ในที่สุด

ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของมนุษย์ เช่น การทิ้งขยะมูลฝอยลงบนถนน แม่น้ำ ลำคลอง ชายหาด หรือตามสถานที่สาธรณต่างๆ การปลูกสร้าง การติดป้ายโฆษณาการเดินสายไฟฟ้าที่ไม่เป็นระเบียบ การปล่อยน้ำเสียหรือควันของโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดมลพิษทางทัศนาการ เพราะทำให้ความสวยงามของสถานที่ต่างๆต้องสูญเสียไป



 

 

 

 

 


คำถามมลพิษทางเสียง

1. คำถาม สภาวะที่เสียงดังเกินไป ซึ่งคนเราไม่ประสงค์ที่จะได้ยิน และก่อให้เกิดความรำคราญ หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เรียกว่า

2.
คำถาม ระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อการได้ยินของมนุษย์จะอยู่ในระดับ

3.
คำถาม เสียงรบกวนในขุมชนส่วนมากเกิดจาก

4.
คำถาม สาเหตุตามธรรมชาติที่ทำให้เกิดมลพิษทางเสียง ได้แก่

5.
คำถาม ผลกระทบของมลพิษทางเสียงที่มีต่อสุขภาพอนามัย เช่น

6.
คำถาม แนวทางป้องกันแก้ไขมลพิษทางเสียงที่สำคัญได้แก่

7.
คำถาม ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักเกิดขึ้นในเขต

8.
คำถาม ปัญหาต่างๆที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ได้แก่

แนวคำตอบมลพิษทางเสียง

1. มลพิษทางเสียง

2. 85
เดซิเบล

3.
กิจกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เช่น เสียงจากเครื่องขยายเสียงตามสถานที่ต่างๆเสียงจากอู่ซ่อมรถยนต์ เสียงจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่นำมาติดตั้งในโอกาสต่างๆ เสียงจากยานพาหนะ

4.
ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง

5.
ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ โรคหัวใจบางชนิด

6. 1.
การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์ 2. การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆบังคับ 3. การกำหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกำหนดผังเมือง 4. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย 5. การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

7.
ในชุมชนใหญ่ๆหรือเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา เป็นต้น

8. 1.
ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น 2. เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคชนิดต่างๆ เช่นยุง แมลงวัน แมลงสาบ 3. ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรกขาดความสวยงามและความเป็นระเบียบ 4. ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย 5. ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้