ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : รวมข้อสอบปลัดอำเภอ 1000 ข้อ (เพื่อสอบปี 2558-59 ครบทุกวิชา)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

รวมข้อสอบปลัดอำเภอ 1000 ข้อ (เพื่อสอบปี 2558-59 ครบทุกวิชา)

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ เกี่ยวกับกรมการปกครอง 

1.กรมการปกครอง เปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมการปกครองตั้งแต่ พ..ใด

ตอบ.. 2505

2.การดำเนินการสื่อสารระหว่างกรม กับจังหวัด และอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครองตาม พ...แบ่งส่วนราชการ ปค. หรือไม่

ตอบ ไม่ใช่ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย (กองการสื่อสาร สป.)

3.ส่วนราชการในส่วนกลางของกรมการปกครองมีกี่ส่วน

ตอบ 6 สำนัก 8 กอง 1 เทียบเท่า (3 ส่วนราชการภายใน ไม่มี กม.รับรอง)

4.ส่วนราชการใดใน ปค. ที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามระเบียบงานสารบรรณ

ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม

5.ส่วนราชการใด เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมการปกครอง

ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม กองคลัง กองการเจ้าหน้าที่ กองวิชาการและแผนงาน

6.กรมการปกครองได้มีหนังสือสั่งการให้จัดตั้ง สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาลและพนักงานส่วนตำบลขึ้น เป็นส่วนราชการภายในที่ทำการปกครองจังหวัด โดยมีผู้ใดเป็นหัวหน้า

ตอบ ปลัดจังหวัด

7.กรมการปกครองแบ่งส่วนราชการออกเป็น

ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม และกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง

8.นายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัด

ตอบ กระทรวงมหาดไทย (ตาม พ...ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้สังเกต ปลัดจังหวัด ไม่ได้ระบุสังกัดไว้)

9.อำเภอแบ่งส่วนราชการออกเป็น

ตอบ สำนักงานอำเภอ และส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้จัดตั้งขึ้นในอำเภอนั้น

10.การจัดตั้งหมู่บ้าน ตาม พ...ลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2457 ให้ยึดหลัก

ตอบ จำนวนบ้าน และจำนวนราษฎร

11.ส่วนราชการใดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเป็นลำดับสุดท้ายในกรมการปกครอง

ตอบ กองการสื่อสาร

12.ส่วนราชการใดของกรมการปกครองที่รับผิดชอบดำเนินการตาม พ...ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535

ตอบ กองการเจ้าหน้าที่

13.กรมการปกครอง มีตำแหน่งข้าราชการระดับ 9 ที่เป็นตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับสูง ในราชการบริหารส่วนกลางอยู่กี่ตำแหน่ง

ตอบ 29 ตำแหน่ง (ผต.ปค. 18 เขต 18 ตำแหน่ง ผอ.สำนัก 6 สำนัก 6 ตำแหน่ง รอง อปค. 4 ตำแหน่ง อธิการ วปค. 1 ตำแหน่ง)

14.ถ้าจะติดต่อเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องติดต่อที่

ตอบ สำนักงานประสานงานมวลชน

15.หัวหน้าฝ่ายท้องถิ่น ของที่ทำการปกครองจังหวัด มีชื่อเรียกในทางการบริหารและสายงานอย่างไร

ตอบ ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่น (เจ้าพนักงานปกครอง 7)

16.หัวหน้าฝ่ายใดในที่ทำการปกครองจังหวัด ที่มีชื่อตำแหน่งในสายงานต่างไปจากฝ่ายอื่น ๆ

ตอบ ฝ่ายการเงินและบัญชี

17.งานหมู่บ้าน อพป. อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใดในที่ทำการปกครองจังหวัด

ตอบ ฝ่ายกิจการพิเศษ

18. กรมการปกครองเป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทย ตาม

ตอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.. 2534

19. การปรับปรุงข้าราชการฝ่ายปกครองให้มีความสามารถในการเข้ารับราชการในตำแหน่งที่สูงขึ้นอยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของกองใด

ตอบ กองการเจ้าหน้าที่ 

20. การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องทำเป็น

ตอบ พระราชบัญญัติ (การตั้ง เปลี่ยนแปลง)

21. ปค. สั่งการให้การดำเนินการตามโครงการอำเภอเคลื่อนที่ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ

ตอบ ปลัดอำเภอ ฝ่ายปกครองและพัฒนา 

22. ปค.สั่งการให้การรับเรื่องราวร้องทุกข์เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ

ตอบ ปลัดอำเภอ (สำนักงานอำเภอ)

23. เสมียนตราอำเภอ ขึ้นอยู่กับฝ่ายใด

ตอบ ฝ่ายปกครองและพัฒนา

24. การเปลี่ยนแปลงแนวเขตตำบล ต้องแก้ไขรายการในข้อใดบ้าง

ตอบ แผนที่แนวเขตตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งตำบลในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรียงเลขหมู่บ้านที่เป็นเขตตำบล

25. กรมป่าไม้มีหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทำลายป่า กองใดของกรมการปกครองรับผิดชอบหน้าที่นี้ด้วย

ตอบ กองการสอบสวนและนิติการ 

26. การเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน ต้องทำเป็นประกาศของ

ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด 

27.การตรวจราชการในภารกิจของกรมการปกครอง แบ่งเขตตรวจราชการเป็นกี่เขต

ตอบ 18 เขต

 

28. กรมการปกครองเคยมีชื่ออะไรบ้าง

ตอบ  .. 2435 กรมมหาดไทย ฝ่ายพลำภัง  .. 2451 กรมพลำภัง

 .. 2460 กรมปกครอง   .. 2466 กรมพลำภัง

 .. 2475 กรมมหาดไทย   .. 2505 กรมการปกครอง

29. อธิบดีกรมการปกครอง คนปัจจุบันคือ 2555

ตอบ รศ.สุกิจ เจริญรัตนกุล

30.ภารกิจของกรมการปกครองในทศวรรษหน้ามีอะไรบ้าง

ตอบ กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานราชการที่มุ่งการบริหารพัฒนาที่ส่งเสริม ประสาน และสนับสนุนการบูรณาการ และศักยภาพของการพัฒนายั่งยืนในด้าน เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง สังคมประชารัฐ การปกครองท้องถิ่นที่ก้าวหน้า การพัฒนาแบบแผนและวิถีชีวิตของประชาชนและชุมชนตามครรลองระบอบประชาธิปไตย และอำนวยความเป็นธรรม และเป็นที่พึ่งของประชาชน ตลอดจนแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการสืบทอดการพัฒนาสถาบัน และบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และการปลูกฝังจิตสำนึกของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ในหลักการบริหารการปกครองที่ดี (GOOD GOVERNANCE) คุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบอย่างแท้จริง ต่อประโยชน์ส่วนรวม ตลอดจนการให้บริการอย่างเต็มกำลังและจริงจัง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และศรัทธาจากประชาชน

31. ยุทธศาสตร์ของกรมการปกครองมีอะไรบ้าง

1.การพัฒนากรมการปกครองเป็นสถาบันการบริหารการปกครองที่ดี(GOOD GOVERNANCE)

2.การพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง คุณธรรมและจริยธรรม ของประชาชนและชุมชนในพื้นที่

3.การพัฒนาขีดความสามารถของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

4.การพัฒนาความสัมพันธ์เชิงสถาบันระหว่างองค์กรในพื้นที่


DVD เตรียมสอบปลัดอำเภอ ที่กำลังจะเปิดสอบ ทั่วประเทศ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติว
และการติวสอบต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก
แต่จะดีไหมถ้าท่านสามารถติวสอบเองได้เองหรือบางท่านอาจจะไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ขี้เกียจอ่านหนังสือ 
ท่านก็สามารถเอาไฟล์ MP3
จากแผ่นนี้ไปลงใน มือถือ ipad iphone ใช้ฟังในรถยนต์ หรือฟังควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆ ท่านก็สามารถ
จำได้เท่ากับการอ่าน

MP3 ติวสอบปลัดอำเภอ
" ประกอบด้วย เนื้อหา และแบบฝึกหัด 
การันตีได้ผล...วัดจากการมีผู้สอบได้แล้ว
แผ่น DVD ประกอบด้วย

หลักการและกระบวนการบริหารแนวใหม่
ความรู้พื้นฐานในการปฎิบัติราชการ
MP3 พรก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 
MP3 พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
MP3 พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน
MP3 พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน
MP3 พรบ. พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
MP3 พรบ.ว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ 
MP3 พรบ. ระเบียบงานสารบรรณ
MP3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พศ.2557
กฎหมายทั่วไป
MP3 กฎหมายอาญา
MP3 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
MP3 วิธีพิจารณาความแพ่ง
MP3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
E-Book สรุป ข่าวเด่น สถานการปัจจุบัน ข่าวไทย และทั่วโลก
E-Book รวมแนวข้อสอบเก่าปลัดอำเภอ ปี 39,43,48,51,55
*รับประกันคุณภาพ*    
สอบถามรายละเอียดที่  

Line : testthai1

ราคาชุดละ 2,500 บาท / จัดส่งถึงที่...
คอร์ส DVD
 ชุดเตรียมสอบ+ หนังสือแนวข้อสอบปลัดอำเภอ

จำหน่ายเอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกรมการปกครอง

- ความรู้พื้นฐานในการปฎิบัติราชการ

- สรุปกฎหมายทั่วไป ที่ใช้สอบ

ความรู้ควมเข้าใจในการปกครอง

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2539

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2543

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2548

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2551

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2555


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 399-

ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ  ราคา 679 บาท 

ชุดติว DVDเตรียมสอบปลัดอำเภอ +หน้งสือแนวข้อสอบ ราคา 2500 รวมค่าส่ง EMs

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย 
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี decho  ออมทรัพย์
 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  
decho.by@hotmail.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวสอบแผนพัฒนาอำเภอ

1. กระบวนการวางแผนพัฒนาอำเภอ มีอะไรบ้าง
ตอบ มี 7 ขั้นตอน

2. แผนพัฒนาอำเภอ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 3 ประเภท คือ แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี แผนพัฒนาอำเภอประจำปี แผนปฏิบัติการอำเภอประจำปี

3. หลักการวางแผน VCAP คืออะไร
ตอบ     หลักการวางแผนพัฒนาอำเภอ จะยึดหลักการ V-CAP
    V    =    Vision            =    วิสัยทัศน์
    C    =    Comprehensive Plan    =    ความครอบคลุม
    A    =    Analysis        =    การวิเคราะห์
    P    =    Participation        =    การมีส่วนร่วม

4. การวางแผนพัฒนาอำเภอครั้งแรกเริ่มเมื่อไร ที่อำเภอใด จังหวัดใด และต่อมาทำที่ใด
ตอบ อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีที่ อ.เดชอุดม อุบลราชธานี

5. การวางแผนพัฒนาอำเภอ หมายถึงอะไร
ตอบ     ความหมายของแผนพัฒนาอำเภอ หมายถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอำเภอ อันมีลักษณะเป็นแนวทาง และรายการประสานงานแผนและโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และการดำเนินงานของประชาชนในท้องที่อำเภอได้จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนแก้ไขปัญหาของประชาชนในอำเภอ

6. ลักษณะของแผนอำเภอ มีอย่างไร
ตอบ เป็นรายการประสานงานแผนและโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และการดำเนินงานของประชาชนในท้องที่อำเภอได้จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนแก้ไขปัญหาของประชาชนในอำเภอ

7. ความสำคัญของแผนอำเภอ มีอย่างไร
ตอบ     ความสำคัญของแผนพัฒนาอำเภอ
    1.เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาและความต้องการในภาพรวมของอำเภอ
    2.เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทาง/ทิศทางการพัฒนาของอำเภอในอนาคต
    3.เป็นสิ่งที่หน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่อำเภอ สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้
    4.เป็นเครื่องมือการบริหารการพัฒนาอำเภอ

8. วัตถุประสงค์ของการวางแผน อ.มีอย่างไร
ตอบ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอำเภอประจำปี



9. องค์กรจัดทำแผน อ.มีโครงสร้างและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ กพอ.

10. แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ปัจจุบัน พ.ศ.ใด ถึง พ.ศ.ใด
ตอบ 2545-2549

11. กระบวนการประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มาเกี่ยวข้องกับการทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีอย่างไร
ตอบ ปี 2546 ให้ทบทวนปัญหาความต้องการของประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

12. ประชาคมมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ     องค์ประกอบของประชาคมหมู่บ้าน
    1.ตัวแทนฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ในหมู่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน 3 คน(อาจเชิญผู้ใหญ่บ้าน เป็นที่ปรึกษาประชาคมก็ได้
    2.ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพทุกกลุ่ม ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร/เกษตรก้าวหน้า ปราชญ์หมู่บ้าน ผู้แทนกลุ่มแม่บ้าน พระที่ชาวบ้านศรัทธา ครูโรงเรียนในหมู่บ้าน 1 คน อสม. อาสาพัฒนาชุมชน อาสาสมัครประชาสงเคราะห์ สมาชิก อปพร. สจ.(ที่มีอยู่อาศัยในหมู่บ้าน) ผู้แทนธุรกิจเอกชนที่อยู่ในหมู่บ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ กรณีองค์ประกอบของประชาคมหมู่บ้านมีน้อย ให้เลือกตัวแทนจากกลุ่มบ้านในหมู่บ้านแทน เช่น คัดเลือกตัวแทนคุ้มในหมู่บ้าน ฯลฯ จำนวนสมาชิกประชาคมควรมีร้อยละ 5-10 ของจำนวนประชาชน

13. ประชาคมตำบลมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ     องค์ประกอบประชาคมตำบล
    1.ประธาน อบต.
    2.ตัวแทนของประชาคมหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10% แต่ไม่น้อยกว่า 7 คน ได้แก่
    ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา อบต.ในหมู่บ้าน 2 คน ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชนที่ประชาคมหมู่บ้านคัดเลือก อย่างน้อย 4 คน และอาจเชิญกำนันเป็นที่ปรึกษาประชาคมได้ ฯลฯ
ประธานและเลขานุการ เลือกจากที่ประชุมประชาคม

14. ประชาคมอำเภอมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ประชาคมอำเภอ
    องค์ประกอบประชาคมอำเภอ
    1.ประธาน อบต.    2.กำนัน
    3.ผู้แทนประชาคมตำบลคัดเลือก ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิก อบต.ตำบลละ 2 คน และผู้แทนกลุ่มประชาคม ตำบลละ 6 คน
    4.ตัวแทนของเทศบาลทุกเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอ
    5.ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตชุมชนเมือง 3 คน
    จำนวนสมาชิก อาจปรับให้น้อยลงได้ในกรณีอำเภอที่มีขนาดใหญ่

15.บทบาทหน้าที่ของประชาคมตำบล หมู่บ้าน มีอย่างไร
ตอบ บทบาทประชาคมหมู่บ้าน ตำบล
    1.ทำหน้าที่ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในตำบล หมู่บ้าน
    2.นำปัญหาในหมู่บ้าน ตำบลไปหารือในที่ประชุม และรายงานให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ตรวจสอบเพื่อให้แก้ไขได้ทันท่วงที
    3.เป็นองค์กรตรวจสอบการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ และรายงานอำเภอทราบ
    4.เป็นเวทีให้ความเห็น และหาแนวทางแก้ไขกับหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญ
    5.ให้ประชาคมมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ในระยะต้นประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้ง
    6.คัดเลือกผู้แทนประชาคม ไปร่วมเป็นประชาคมในระดับเหนือขึ้นไป

16. ขั้นตอนการทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (2545-2549) มีกี่ขั้นตอน มีอะไรบ้าง
ตอบ        ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ
    ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำ จัดตั้งและประชุมประชาคม หมู่บ้าน ตำบล (มี.ค.-เม.ย. 2543)
    ขั้นตอนที่ 2 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการรายด้าน/สาขาและแนวทางแก้ไข (1-10 พ.ค. 2543)
    ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำ วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาอำเภอ 5 ปี (11 –25 พฤษภาคม 2543)
    ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดรายละเอียดกิจกรรม แผนงาน/โครงการ ระยะ 5 ปี (26 พ.ค. –10 มิ.ย.)
    ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (11-30 มิ.ย. 2543)
    ขั้นตอนที่ 6 การจัดประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอ เพื่อรับปัญหาความต้องการของประชาคมอำเภอ (1-10 ก.ค. 2543)
    ขั้นตอนที่ 7 การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ฉบับสมบูรณ์ (ต.ค.-ธ.ค. 2543)

17. องค์กรในการกำกับดูแลการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ คือ
ตอบ กรมการปกครอง

18. แผนพัฒนาอำเภอใช้ระเบียบใดในการจัดทำ
ตอบ ระเบียบ สร.ว่าด้วยการบริหารการพัฒนาเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น พ.ศ. 2539

19. คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) มีใครเป็นเลขานุการ
ตอบ พัฒนาการอำเภอ

20. หลักการวางแผนพัฒนาอำเภอยึดหลักการใดในการปฏิบัติ
ตอบ V – CAP

21. การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน
ตอบ 7 ขั้นตอน

22. ห้วงเวลาในการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี จะต้องดำเนินการในช่วงใด
ตอบ มีนาคม – ธันวาคม 2543
23. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ใช้ใน พ.ศ. ใด
ตอบ พ.ศ. 2545-2549

24. การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ.2545-2549) สอดคล้องกับแผนใด
ตอบ แผนพัฒนามหาดไทย วิสัยทัศน์กรมการปกครอง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

25. ประธานคณะกรรมการประสานการวางแผนพัฒนาจังหวัด คือใคร
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

26. แผนพัฒนาอำเภอชนิดใดที่รวบรวมแผน/โครงการและงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ
ตอบ แผนปฏิบัติการประจำปี

27. การประสานแผนพัฒนาอำเภอทำได้โดยวิธีใด
ตอบ ประสานแบบแนวดิ่ง และแนวนอน

28. ลักษณะเด่นของแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี
ตอบ เป็นแผนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

29. ประธานและเลขานุการประชาคม มาจากกลุ่มใด
ตอบ เลือกกันเองจากตัวแทนกลุ่มประชาชน

30. ใครเป็นผู้จัดทำทำเนียบสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน
ตอบ นายอำเภอ

31. คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.)/กิ่ง อำเภอ มีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนองค์การเอกชน เป็นกรรมการไม่เกินกี่คน
ตอบ กพอ. มี 3 คน /กิ่งอำเภอ มี 2 คน

32. รองประธานคณะกรรมการพัฒนากิ่งอำเภอ (กพอ.กิ่ง อ.) คือใคร
ตอบ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา

33. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาอำเภอ
ตอบ สำนักงานอำเภอ

34. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรก เริ่มในปีใด
ตอบ พ.ศ. 2504

35. การบริหารจัดการที่ยึดหลัก AFP หมายถึงข้อใด
ตอบ พื้นที่เป้าหมาย ภารกิจหน่วยงาน และการมีส่วนร่วม

36. แผนพัฒนาฉบับที่ 9 เป็นการพัฒนาเมืองและชนบทในลักษณะใด
ตอบ เมืองน่าอยู่และชนบทยั่งยืน

37. ขั้นตอนการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นประกอบด้วยกี่ขั้นตอน
ตอบ 9 ขั้นตอน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวสอบงานบัตรประจำตัวประชาชน
1. บัตรประจำตัวประชาชนมีกี่ชนิด
    2 ชนิด คือบัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2. เมื่ออายุครบกี่ปีจึงสามารถยื่นคำขอมีบัตรได้
    อายุครบ 7 ปีบริบูรณ์
3.จะต้องยื่นคำขอมีบัตรหลังจากเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ภายในกี่วัน
    60 วัน
4. ถ้าบัตรหาย บัตรถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร ภายในเวลากี่วัน
    60 วัน
5. ผู้ถือบัตรใดเสียสัญชาติไทยจะต้องส่งมอบบัตรให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านภายในระยะเวลากี่วัน
    30 วัน
6. ถ้าผู้ใดยินยอมให้ผู้อื่นนำบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับของตนไปใช้ในทางทุจริตจะมีความผิดสถานใด
    จำคุกตั้งแต่สามเดือน – 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. บัตรมีอายุใช้ได้กี่ปี
    หกปี
8.เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการขอมีบัตร ผู้ใดไม่มีบัตรต้องระวางโทษปรับเท่าไร
    ไม่เกินห้าร้อยบาท
9. ผู้ใดปลอมบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ต้องระวางโทษสถานใด
    จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. ผู้ใดนำบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ของผู้อื่นไปแสดงตนว่าตนเป็นเจ้าของบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ต้องระวางโทษสถานใด
    หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
11. ผู้ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจบัตรจะมีโทษสถานใด
    โทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
12. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัด สำหรับการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ยื่นขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ หรือการขอเปลี่ยนบัตร ณ สถานที่ใด
    ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล ศาลาว่าการเมืองพัทยา หรือสำนักทะเบียนสาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่จังหวัดตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย
13. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่ที่ไม่มีการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องยื่นขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ หรือการขอเปลี่ยนบัตร ณ สถานที่ใด
    ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือสำนักทะเบียนสาขา ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
14. ถ้าผู้ขอมีบัตรใหม่ไม่มีนิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่ง การพิมพ์ลายนิ้วมือ ควรทำอย่างไร
    ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเฉพาะข้างที่เหลืออยู่ หากไม่มีนิ้วมืออยู่เลย ให้พิมพ์ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งแทน หากไม่มีมือทั้งสองข้างเลย ก็ให้ได้รับการยกเว้นการพิมพ์ลายนิ้วมือ
15. การออกบัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องส่งคำขอมีบัตรพร้อมฟิล์มรูปถ่าย ของผู้ขอมีบัตรไปที่ใด
    สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
16. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ในการเปรียบเทียบปรับคดีผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ประกาศใช้เมื่อใด
    วันที่ 22 มกราคม 2528
17. การเปรียบเทียบคดีตามปกติ จะเป็นสถานที่ใด
    ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือที่ว่าการเขต
18. การทำลายบันทึกการเปรียบเทียบให้นำระเบียบใดมาปฏิบัติ
    ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526(ต้องเก็บไว้ หกปีถึงจะทำลายได้)
19. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ประกาศใช้เมื่อใด
    วันที่ 18 มกราคม 2534 โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
20. กรณีมีผู้แจ้งความนำจับหลายคน ผู้แจ้งคนใดมีสิทธิรับเงินก่อน
    ผู้แจ้งก่อนและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
21. ถ้ามีผู้แจ้งความนำจับ ไม่เปิดเผยนาม แต่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีสิทธิรับเงินรางวัลหรือไม่
    ได้ เมื่อมีความจำเป็นไม่สามารถเปิดเผยนาม ให้ผู้แจ้งพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ โดยไม่ระบุนาม
22. ผู้แจ้งความนำจับ หรือผู้นำจับ จะได้รับเงินรางวัลเมื่อสามารถจับกุม ผู้กระทำความผิดได้ในอัตราคดีละเท่าไร
    สองพันบาท จากงบประมาณกรมการปกครอง (ถ้าจับผู้กระทำผิดได้หลายคน ก็ได้รางวัลนำจับคดีละสองพันบาทเท่าเดิม)
23. บุคคลใดมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2534
    อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้ที่อธิบดีกรมการปกครองมอบหมาย
24. การปลอมและใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่
    ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน แต่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268
25. ระเบียบกรมการปกครอง ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชน มีผลใช้บังคับเมื่อใด
    30 สิงหาคม 2536 โดย อปค.เป็นผู้รักษาการตามระเบียบ
    การจัดทำบัตรประชาชน จะต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน
    จะต้องรวบรวมคำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายส่งให้กรมการปกครองภายใน 5 วัน
    กรมการปกครองต้องผลิตบัตรให้เสร็จภายในสิบเก้าวัน
26. การยื่นขอมีบัตรที่เป็นกรณีที่ได้รับการยกเว้น สามารถกระทำได้หรือไม่
    สามารถกระทำได้ โดยยื่นคำขอมีบัตรพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน โดยแสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น และจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
27. การขอมีบัตร กรณีได้รับการยกเว้น โดยไม่มีหลักฐานแสดงการได้รับยกเว้น สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร
    สามารถกระทำได้ โดยยื่นคำขอมีบัตรพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องมีบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
28. การขอมีบัตร กรณีได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยมีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
    ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
29. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 มีผลใช้บังคับใช้เมื่อใด
    10 ธันวาคม 2538
30. การขอมีบัตร ได้แก่ การจัดทำบัตรกรณีใดบ้าง
    การขอมีบัตรเป็นครั้งแรกล
    เป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) กรณีตกสำรวจหรือแจ้งเกิดเกินกำหนด
    เป็นบุคคลได้รับการยกเว้น หรือบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี
    เป็นบุคคลซึ่งพ้นจากสภาพการได้รับการยกเว้น
    เป็นบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล
31. การขอมีบัตรใหม่ ได้แก่กรณีใดบ้าง
    บัตรเดิมหมดอายุ และบัตรเดิมสูญหาย หรือถูกทำลาย

32. ผู้ใดมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอทำลายเอกสารที่เกี่ยวกับบัตรในเขตสำนักทะเบียนอำเภอ
     ผู้ว่าราชการจังหวัด
33. คณะกรรมการทำลายเอกสารเกี่ยวกับบัตรให้แต่งตั้งจากผู้ใด
     แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
    ทำลายเอกสาร โดยวิธีการเผา หรือวิธีอื่นที่ทำให้เอกสารนั้นไม่สามารถอ่านเป็นเรื่องได้ หรือสามารถนำกลับมาใช้อีก
34. บัตรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคืน หรือเรียกคืนทุกกรณี จะต้องดำเนินการอย่างไร
     พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจำหน่ายโดยการเจาะรูบนตัวบัตร และจัดเก็บรวบรวมไว้
35. วัสดุบัตรที่ใช้ในการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง ผู้ใดในจังหวัดเป็นผู้มีหน้าที่ในการเก็บรักษาและควบคุมเบิกจ่าย
    จ่าจังหวัด
36. พระภิกษุมีความประสงค์จะขอมีบัตร เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถดำเนินการได้หรือไม่
     ได้ โดยใช้คำหน้านาม ชื่อ ชื่อสกุล ตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน
37. กล้องที่ใช้ในการถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวประชาชน ที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์มีกี่ยี่ห้อ
     3 ยี่ห้อ คือ โคนิก้า กล้องแพนเท็กซ์ และกล้องไซแม็กซ์
38. กรณีเคยทำบัตรมาก่อนและบัตรยังไม่หมดอายุ ไปรับราชการเป็นทหารเกณฑ์ ซึ่งในระหว่างรับราชการทหาร บัตรเดิมหมดอายุ อยากทราบว่าต้องไปขอต่ออายุบัตรหรือไม่ ถ้าไม่ไปต่อบัตรจะมีโทษปรับหรือไม่ และเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร
     ในระหว่างรับราชการทหารกองประจำการไม่ต้องขอมีบัตร แต่เมื่อพ้นสภาพการเป็นทหาร จะต้องยื่นขอมีบัตรภายใน 60 วัน ถ้าไปขอมีบัตรระหว่างรับราชการทหารกองประจำการ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมสิบบาท
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวสอบ อส.

1.    การลงโทษทางวินัยแก่สมาชิก อส.ได้แก่
ตอบ  ภาคทัณฑ์   ทัณฑกรรมกรรม   กักบริเวณ

2.    ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน คือ
ตอบ  รมว.มหาดไทย

3.    กองอาสารักษาดินแดนมีหน่วยงานบังคับบัญชาสูงสุด คือ
ตอบ  กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

4.    วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน คือวันที่เท่าใดของทุกปี
ตอบ  10 กุมภาพันธ์

5.    รมว.มหาดไทย ดำรงตำแหน่งใดในฐานะผู้บังคับบัญชา อส.
ตอบ  ผู้บังคับการกองอาสารักษาดินแดน

6.    สมาชิก อส.ย่อมาจากอะไร
ตอบ  สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน

7.    กองอาสารักษาดินแดน เป็นองค์กรซึ่งขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด
ตอบ  กระทรวงมหาดไทย

8.    ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง ผบ.ร้อยบริการและบังคับการ ของกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดคือ
ตอบ  ป้องกันจังหวัด

9.    ปัจจุบันค่าตอบแทนสมาชิก อส.ขั้นที่ 1 เดือนละเท่าไร
ตอบ  4,100 บาท

10.    สมาชิก อส.แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ตอบ  3  ประเภท คือ ประเภทสำรอง  ประเภทประจำกอง  และประเภทกองหนุน

11.    ชุดปฏิบัติการ อส.กู้ภัย 1 ชุด ประกอบด้วย
ตอบ  รถกู้ภัย 1 คัน กำลังคน 24 คน ปฏิบัติหน้าที่ 3 เวลา เวลาละ 8 คน

12.    ปัจจุบันค่าตอบแทนของสมาชิก อส.มีกี่ชั้น
ตอบ   9  ขั้น

13.    สมาชิก อส.ประเภทสำรอง คือ
ตอบ  สมาชิกที่ยังไม่ได้เข้ารับการฝึกหัดและอบรม

14.    เงินซึ่งสมาชิก อส.ได้รับจากทางราชการเป็นรายเดือน เรียกว่า
ตอบ  ค่าตอบแทนรายเดือน

15.    สมาชิก อส.มีฐานะเป็น
ตอบ  อาสาสมัครประเภทหนึ่ง

16.    สมาชิก อส. สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่
ตอบ  เบิกได้เฉพาะกรณีเจ็บป่วย

17.    ค่าตอบแทนชั้นสูงสุดที่สมาชิก อส.ได้รับในปัจจุบันคือเท่าไร
ตอบ  6,020  บาท

18.    ชั้นยศสูงสุด ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน คือชั้นยศใด
ตอบ  นายหมู่ใหญ่

19.    กองอาสารักษาดินแดน จัดตั้งขึ้นโดย
ตอบ  พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497

20.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งใด ในสายกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน
ตอบ  ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

21.    อธิบดีกรมการปกครองดำรงตำแหน่งใด ในกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน
ตอบ  หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

22.    ปลัดจังหวัด ดำรงตำแหน่งใด ในกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด
ตอบ  ผู้ช่วยผู้บังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด / หัวหน้าฝ่ายอำนวยการกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด

23.    ป้องกันจังหวัด ดำรงตำแหน่งใด
ตอบ  ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดและผู้บังคับกองร้อยบังคับการและบริการ

24.    นายอำเภอมีฐานะใดในงานอาสารักษาดินแดน
ตอบ   ผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1111111111111
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้