ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รับ ตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ 8 อัตรา (1 ส.ค. – 3 ก.ย.57)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รับ ตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ 8 อัตรา (1 ส.ค. – 3 ก.ย.57)

แชร์กระทู้นี้

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ 8 อัตรา (1 ส.ค. – 3 ก.ย.57)


ชื่อตำแหน่ง : เศรษฐกรปฏิบัติการ (ปริญญาโท)
อัตราเงินเดือน : 17,500 บาท
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง : 8 อัตรา
ระดับการศึกษา : ปริญญาโท
รายละเอียดวุฒิ : ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และเป็นผู้ที่สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. ระดับปริญญาโท

สมัครงานราชการได้ทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง 3 กันยายน 2557 ทาง http://job.fpo.go.th/

ค่าสมัครสอบ 230 บาท รวมค่าธรรมเนียมธนาคารแล้ว

ชำระเงินได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ วัน เวลา สถานที่สอบในวันที่ 10 กันยายน 2557ทาง http://job.fpo.go.th/

เข้าเว็บไซต์สมัครงาน

อ่านรายละเอียดประกาศรับสมัครงานที่นี้


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  ตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ความรู้เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเงินการคลัง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์

- แนวข้อสอบ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหาภาค

- แนวข้อสอบเก่าเศรษฐกร _อัตนัย_

แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ

สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์


สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 วิชาเศรษฐศาสตร์   ราคา 679 บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย 
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น   ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.          พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ไม่ใช่บังคับองค์กรหรือหน่วยราชการตามข้อใด

        ก.  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี

        ข.  การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

        ค.  การดำเนินกิจการทางศาสนา

        ง.  ถูกทุกข้อ


ข้อใดเป็นคำสั่งทางปกครอง

        ก.  คำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมายในการสั่งและมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

        ข.  การอนุญาตหรือไม่อนุญาตอันก่อให้เกิดสิทธิหรือระงับซึ่งสิทธิของบุคคล

        ค.  การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่อันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

        ง.  ถูกทุกข้อ

3.    คำว่า "กฎ" ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หมายถึงข้อใด

        ก.  พระราชกฤษฎีกา                                       ข.  กฎกระทรวง

        ค.  ประกาศกระทรวง และข้อบังคับท้องถิ่น               ง.  ถูกทุกข้อ

4.    บุคคลตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                          ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                        ง.  อธิบดีกรมการปกครอง

5.    บุคคลตามข้อใดเป็นประธานในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

        ก.  นายกรัฐมนตรี                                         ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

        ค.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                ง.  บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

6.    ผู้ดำรงตำแหน่งประธานในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ต้องเป็นบุคคลตามข้อใด

        ก.  เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

       ข.  ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

        ค.  ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์    

        ง.  ต้องอายุไม่เกิน 50 ปีบริบูรณ์

7.    ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดจำนวนไว้ตามข้อใด

        ก.  ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน                    ข.  ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน

        ค.  ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน                    ง.  ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน

8.    บุคคลข้อใดที่ทำตามหน้าที่เลขานุการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

        ก.  เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

        ข.  เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

        ค.  ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้ง

        ง.  ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

9.    กรรมการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระ คราวละกี่ปี

        ก.  2 ปี                ข.  3 ปี                      ค.  4 ปี                       ง.  5 ปี

10.  หน่วยงานที่ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองคือข้อใด

        ก.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา                        ข.  สำนักงานคณะกรรมการรัฐมนตรี

        ค.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน               ง.  กรมการปกครอง

11.  ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

        ก.  สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

        ข.  เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้

        ค.  พิจารณาคดีทางการปกครอง

        ง.  จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอนายกรัฐมนตรี

12.  เจ้าหน้าที่ตามข้อใดทำการพิจารณาทางปกครองได้

        ก.  เป็นคู่กรณีในคดี                         ข.  เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี

        ค.  เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณี             ง.  เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณีในคดี

13.  บุคคลตามข้อใดเป็นคู่กรณีในการพิจารณาปกครองได้

        ก.  บุคคลธรรมดา                       ข.  คณะบุคคล          
        ค.  นิติบุคคล                              ง.  ถูกทุกข้อ

14.  บุคคลตามข้อใดเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณี ในกรณีที่มีคู่กรณีเกิน 50 คนยื่นคำขออย่างเดียวกันได้

        ก.  บุคคลธรรมดา                       ข.  คณะบุคคล                
        ค.  นิติบุคคล                             ง.  ถูกทุกข้อ

15.  กรณีที่คำขอหรือคำแถลงของคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครอง มีข้อบกพร่องอันเกิดจากความไม่รู้ของคู่กรณี เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามข้อใด

        ก.  ให้จำหน่ายเรื่องออกการพิจารณา

        ข.  ให้เจ้าหน้าที่แนะนำให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง

        ค.  ให้เจ้าหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้อง

        ง.  ให้พิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่มีอยู่

16.  ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ตามข้อใด

        ก.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความเหมาะสม

        ข.  ไม่ผูกพันอยู่กับคำขอของคู่กรณี

        ค.  ไม่ต้องผูกพันกับพยานหลักฐานของคู่กรณี

        ง.  ถูกทุกข้อ

17.  ในการจัดพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามข้อใด

        ก.  แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

        ข.  ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

        ค.  ออกไปตรวจสถานที่

        ง.  ถูกทุกข้อ

18.  การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามข้อใดไม่ถูกต้องในกรณีที่คำสั่งทางการปกครองจะกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี

        ก. เจ้าหน้าที่ให้คู่กรณีมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน

        ข.  เจ้าหน้าที่ไม่ให้โอกาสคู่กรณีทราบข้อเท็จจริงเนื่องจากเป็นมาตรการบังคับทางการปกครอง

        ค.  เจ้าหน้าที่ให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้งหลักฐานจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายต่อประโยชน์

        ง. เจ้าหน้าที่ไม่ให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงเนื่องจากจะทำให้เวลาที่กฎหมายกำหนดไว้

19.  คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งสิทธิหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ การขอ ดังกล่าวไม่รวมถึงการขอในข้อใด

        ก.  ขอตรวจดูเอกสารต้นร่างคำวินิจฉัย ในขณะที่ยังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครอง

        ข.  ขอสำเนาเอกสารที่เป็นพยานหลักฐานทั้งหมด

        ค.  ขอดูหลักฐานที่เจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้

        ง.  มีสิทธิขอดูได้ทุกกรณี

20.  รูปแบบคำสั่งทางการปกครองในข้อใดไม่ถูกต้อง

        ก.  ทำเป็นหนังสือ

        ข.  เป็นคำสั่งด้วยวาจาก็ได้

        ค.  สั่งทางจดหมายอิเล็คทรอนิกส์

        ง.  คำสั่งทางปกครองอาจใช้รูปแบบได้ทั้งข้อ ก , ข และข้อ ค

21.  ในกรณีคำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับสั่งร้องขอภายในกี่วันนับแต่วันมีคำสั่งเจ้าหน้าที่ต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ

        ก.  3 วัน                                 ข.  5 วัน                                    
        ค.  7 วัน                                 ง.  15 วัน

22.  เหตุผลที่ต้องจัดให้มีไว้ในคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ คือข้อใด

        ก.  ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

        ข.  กฎหมายที่ใช้อ้างอิง

        ค.  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจ

        ง.  ต้องมีเหตุผลทั้งในข้อ ก ข และ ค

23.  ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

        ก.  ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งภายใน15วันนับวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

        ข.  การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองสามารถอุทธรณ์ด้วยวาจาได้

        ค.  การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง

        ง.  เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผู้อุทธรณ์ภายในไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการอุทธรณ์

24.  ในการพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่มีอำนาจพิจารณาในประเด็นตามข้อใด

        ก.  พิจารณาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง

        ข.   พิจารณาประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย

        ค.  พิจารณาความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางการปกครอง

        ง.  ถูกทุกข้อ

25.  การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ

        ที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางการปกครองนั้น

        ก.  30 วัน                      ข.    60 วัน          
        ค.  90 วัน                      ง.  120 วัน
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้