ข้อสอบเฉพาะทาง สาธารณะสุข
1. 1669 คือเบอร์อะไร
เบอร์ 1669 คือเบอร์ กู้ชีพ กู้ภัย หรือ ที่เรียกกันว่า EMS สามารถโทรได้ทุกที่ ในประเทศ ท่านกด
ที่ใด ก็จะไปติด ศูนย์ที่จังหวัดนั้น มีไว้แจ้ง เรื่องอุบติเหตุ ไม่ว่า เจอกับตัว หรือ พบเห็น สามารถ โทรเข้าได้เลย แล้วศูนย์ จะแจ้งไปยัง หน่อยกู้ภัย ในเขต นั้นๆ ให้รีบออกไปยัง สถานที่เกิดเหตุนั้นๆ
2. - หมายเลขโทรถามเรื่องบัตรทองคือ ?
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหน่วยงานราชการ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ฯ 10210 โทรศัพท์ เบอร์กลาง 02 141 4000
โทรสาร (Fax) 02 143 9730 – 1 เว็บไซท์ : http://www.nhso.go.th
3. สิทธิต่างๆของบัตรทองมีอะไรบ้าง
- บัตรทองเป็นสิทธิสวัสดิการที่ได้จากรัฐ ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทั้งหมดตามความเป็นจริง
แต่ยกเว้นค่าห้องค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน ผู้รับสิทธิบัตรทองต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ไม่มีการเก็บเงินสมทบ แต่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานครั้งละ
30 บาท
4. ใครที่ต้องลงขันให้กองทุนประกันสังคม
- ลูกจ้างผู้ประกันตนและนายจ้างจะต้องลงขันฝ่ายละ 5% ของค่าจ้างรายเดือน
5. ประกันสังคมจ่ายในกรณีไหนบ้าง
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนมาตรา 40
6. แต่ละช่วงอายุจะฉีดวัคซีนอะไรบ้าง (ชื่อวัคซีนในชอยส์เป็นตัวย่อภาษาอังกฤษทั้งหมด)
- ทารกแรกเกิด - วัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค
ทารกอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน- วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน, ฮิปวัคซีนทารกอายุ 9 เดือน – วัคซีนป้องกันโรคหัด
เด็กอายุ 15 เดือน - วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
อายุ 18 เดือน - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน
อายุ 2 ปี – วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์
อายุ 3 ปี - วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ และให้ฉีดทุก 3 ปี
อายุ 4-6 ปี - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน
อายุ 14-16 ปี - วัคซีน ดี ที ชนิดผู้ใหญ่
7. อาการของวัณโรค , ต้องตรวจอะไรตรงไหนถึงจะรู้ว่าเป็นไหม
- ไข้ พบว่าผู้ป่วยโรควัณโรคจะมีไข้ได้ตั้งแต่ร้อยละ 37-80 แต่ก็มีผู้ป่วยร้อยละ 21 ที่ไม่มีไข้เลย หลังจากได้รับยารักษาวัณโรคพบว่าไข้จะลงในหนึ่งและสองสัปดาห์ ร้อยละ34,64 ตามลำดับระยะเวลาเฉลี่ยที่ไข้ลงประมาณ 10 วัน
อาการอื่นๆที่พบได้ได้แก่ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน
พบว่าเม็ดเลือดขาวอาจจะต่ำ ปกติหรือสูงก็ได้ ในรายที่เป็นมานานจะพบภาวะโลหิตจางด้วย
อาการของเลือแรโซเดียมต่ำซึ่งจากปอดที่ติดเชื้อวัณโรสร้าง antidiuretic hormone-like substance
การวินิจที่ถูกต้องจะต้องตรวจพบตัวเชื้อโรค โดยการนำสารหลั่งต่างมาตรวจ เช่น เสมหะ น้ำจากกระเพาะอาหาร น้ำจากช่องปอด น้ำไขสันหลัง นอกจากนั้นหากสามารถเพาะเชื้อโรคได้จะทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง การนำมาเพาะเชื้อก็มีความจำเป็นเนื่องจากเชื้อวัณโรคมีการดื้อยาบ่อยทำให้ ต้องทราบว่าเชื้อดื้อต่อยาอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นระยะเวลาก็มีความสำคัญ
8. ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรค
- ผู้ที่ได้รับเชื้อ [Latent infection] ทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคทุกคน ประมาณว่าร้อยละ 10จะเป็นวัณโรคโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรค ประจำตัวเหล่านี้ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่ได้รับยา prednisolone หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน หรือเปลี่ยนไต ผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย ผู้ป่วยที่เป็น silicosis ผู้ป่วยที่ตัดกระเพาะ หรือตักต่อลำไส้
9. การจำแนกกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน จำแนกกี่แบบ อะไรบ้าง
- 1. เบาหวานในทารกและเด็ก หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการของเบาหวานเริ่มต้นเมื่ออายุ 0-14 ปี ผู้ป่วยพวกนี้มักจะมีอาการเริ่มต้นรุนแรงและมักเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้ รับอินซูลินตลอดเวลา
2. เบาหวานในวัยรุ่น หมายถึงผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเบาหวานระหว่างอายุ 15 – 25 ปี ซึ่งโดยมากมักจะมีอาการเกิดขึ้นทันที และมักจะเป็นผู้ป่วยซึ่งต้องให้อินซูลินรักษาเช่นเดียวกัน
3. เบาหวานในผู้ใหญ่ หมายถึง โรคเบาหวานซึ่งเริ่มต้นมีอาการตั้งแต่อายุ 25 – 64 ปี ซึ่งผู้ป่วยพวกนี้มีอาการเปลี่ยนแปลงได้มาก และมักไม่จำเป็นจะต้องได้รับอินซูลิน
4. เบาหวานในคนสูงอายุ หมายถึงผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเมื่อมีอายุเกิน 64 ปีขึ้นไป และมักจะไปพบแพทย์ด้วยอาการของโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน ผู้ป่วยพวกนี้มักสามารถควบคุมอาการเบาหวานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน
นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังจำแนกออกได้อีกแบบหนึ่งดังนี้
1. เบาหวานประเภทวัยรุ่น หมายถึงผู้ป่วยเบาหวานไม่ว่าจะอยู่ในอายุใดๆ ก็ตามที่ต้องการอินซูลินในการรักษา และเป็นประเภทซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเกิดภาวะคีโทซิส (ketosis) ได้ง่าย
2. เบาหวานประเภทต่อต้านอินซูลิน หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการอินซูลินมากเกินกว่าวันละ 200 หน่วย
3. เบาหวานจากต่อมไร้ท่อ หมายถึงผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือมีความผิดปกติไม่ทนต่อเมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรต เนื่องจากโรคของต่อมไร้ท่อ เช่นกลุ่มอาการคุชิง
4. เบาหวานประเภทเปลี่ยนแปลงง่าย หมายถึง โรคเบาหวานประเภทวัยรุ่นซึ่งควบคุมอาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ ภาวะคีโทซิส และอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ยาก
10. ประชากรไทยมักป่วยด้วยโรคอะไร
- โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (HEART ATTACK) มะเร็งไฝ (MELANOMA) มะเร็งเต้านม (BREAST CANCER) กาฬหลังแอ่น (MENINGOCOCCAL INFECTION) เบาหวาน (DIABETES)
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
ประกอบด้วย
1. แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์)
2.แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
3. ข้อสอบความรอบรู้ในการปฎิบัติราชการ
-แนวข้อสอบการปกครองท้องถิ่น หลักธรรมาภิบาล หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักสิทธิมนุษยชน
-แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
-แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบข้าราชการและบุคคลากรกรุงเทพมหานคร
-แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารราชการ
-แนวข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-เก็งข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข
-แนวข้อสอบเฉพาะทาง สาธารณะสุข
- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม _ฉบับที่ ๒_ พ.ศ. ๒๕๕๐
- สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นหนังสือ พร้อมซีดี ภาษาไทย+คณิตศาสตร์ ราคา 679 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
บิ๊กซีขอนแก่น decho pragay ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com