ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ กฏหมายปกครอง 2539
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ กฏหมายปกครอง 2539

แชร์กระทู้นี้

สรุปแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 
1. การพิจารณาของอธิดีกรมการปกครอง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
2. การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง , การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง , การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ, การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ คือวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
3. การออกระเบียบ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
4. การประกาศเตือน ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
5. พระราชบัญญัติไม่ใช่กฎ
6. การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง คือการพิจารณาทางปกครอง
7. เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ถ้า คู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี , ญาติของคู่กรณี , นายจ้างของคู่กรณี หรือเป็นคู่กรณีเองไม่ได้
8. ถ้ากรณีเคยเป็นลูกจ้างของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองได้
9. คู่กรณีไม่มีสิทธินำทนายความของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
10. คู่กรณีไม่มีสิทธิแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแทนตนในการพิจารณาทางปกครอง
11. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนของคู่กรณีที่ไม่ทราบข้อเท็จจร ิงในเรื่องที่พิจารณาทางปกครองอย่างพียงพอ
12. เมื่อมีการแต่งตั้งตัวแทนร่วมของคู่กรณีๆ จะยกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนมิได้
13. ในการพิจารณาทางปกครองเจ้าหน้าที่จะต้อง แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบ , ให้คู้กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ , ให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงหลักฐานของตนเอง , ไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ในกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ
14. คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ในคำสั่งด้วย
15. คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย
16. คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ
17. คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน จะไม่เสียไปถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลังถือว่าใช้ได้
18. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ไม่ออกโดยรัฐมนตรี ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน 15 วัน
19. คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ต้องอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง คู่กรณีสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้
20. คำสั่งของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ไม่สามารถอุทธรณ์ได้แต่สามารถฟ้องศาลปกครองได้
21. หากได้รับการวินิจฉัยความผิดถึงที่สุด และเห็นว่าคำสั่งทางปกครองที่ได้รับไม่เป็นธรรม สามารถฟ้องศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง
22. เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
23. การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
24. กรณีเห็นด้วยกับอุทธร์ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตน
25. กรณีไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์
26. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่รู้ถึงเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น
27. ผู้ที่ไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองในขณะที่รับคำสั่งทางปกครอง สามารถอ้างความเชื่อโดยสุจริตได้เมื่อถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
28. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองต้องร้องขอค่าทดแทนภายใน 180 วันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
29. การยื่นขอให้พิจารณาใหม่ ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่วันผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่
30. เจ้าหน้าที่อาจยึดอายัดทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ชำระเงินตามกำหนดของคำสั่งทางปกครอง
31. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ละเว้นกระทำ หากฝ่าฝืนต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวัน
32. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำแล้วไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการด้วยตนเองได้
33. เจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตราการบังคับทางปกครองได้ หากมีการต่อสู้ขัดขวาง
34. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะกระทำด้วยวาจาก็ได้
35. การแจ้งทางไปรษณีย์ต้องแจ้งโดยไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น
36. การแจ้งภายในประเทศให้ถือว่าได้รับเมื่อครบกำหนด 7 วันนับตั้งแต่วันส่ง
37. การแจ้งคำสั่งทางปกครองจะกระทำได้โดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ ในกรณี ไม่รู้ตัวผู้รับ กรณีรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลำเนา กรณีมีผู้รับเกิน 100 คนขึ้นไป
38. ในกรณีประกาศหรือลงหนังสือพิมพ์ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันได้แจ้ง
39. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน แม้วันสุดท้ายจะเป็นวันหยุดการทำงาน
40. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่สามารถจะเป็นพยานในการส่งหนังสือเพื่อแจ้งคำสั่งทางปกครองในกรณีผู้รับไม่ยอมรับห รือไม่มีผู้รับ
41. ค่าปรับทางปกครองมี 4 ระดับคือ 20,000 บาทสำหรับคณะกรรมการ และรัฐมนตรี
42. 15,000 บาทสำหรับปลัด อธิบดี ผู้ว่าฯ
43. 10,000 บาทสำหรับนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ
44. 5,000 บาทสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ส่วนเอกชนที่ใช้อำนาจทางปกครองต้องเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายไปทั้งนี้ไม่เกิน 1.000 บาท
45. ชั้นศาลปกครองได้แก่ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
46. ศาลปกครองชั้นต้นแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองส่วนภูมิภาค
47. ในวาระแรกกฎหมายได้กำหนดให้จัดตั้งศาลปกครองในรูปภูมิภาคจำนวน 16 แห่ง
48. การเปิดทำการของศาลปกครองในภูมิภาค กฎหมายกำหนดให้เปิดทำการไม่น้อยกว่าปีละ 7 ศาล
49. คดีที่ไม่อยู่ในศาลปกครองมี ,การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลล้มละลาย
50. การฟ้องในคดีโต้แย้งคำสั่งทางปกครองต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
51. การฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
52. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครอง
53. ผู้ที่จะได้แต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ต้องมีอายุ 35 ปี
54. ก.ศป. หมายถึงตุลาการศาลปกครอง
55. คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมี 13 คน
56. องค์คณะของศาลปกครองชั้นต้นต้องมีอย่างน้อย 3 คน
57. สำนักงานศาลปกครองเป็น หน่วยงานอิสระ
58. ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธารกรรมการตุลาการศาลปกครองสูงสุด
59. การฟ้องคดีที่ศาลปกครองในกรณีขอให้ศาลปกครองสั่งให้หน่วยงานของรัฐชดใช้เงิน ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ร้อยละ 2.5 ไม่เกิน 200,000 บาท
60. การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง จะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

 
รูปภาพ: 40untitled1.jpg
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
1.คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อำนาจตามกฏหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ฯ ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
ก การสั่งการ
ข การอนุญาต
ค การวินิจฉัยอุทธรณ์
ง การออกกฎ
2.เจ้าหน้าที่ในข้อใดที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
ก เป็นคู่หมั้นของคู่กรณี
ข เป็นญาติของคู่กรณี
ค เป็นนายจ้างของคู่กรณี
ง ทุกข้อที่กล่าวมาจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
3.การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีคำสั่งใดไม่ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ ฯให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นภายในกี่วัน
ก 15
ข 30
ค 60
ง 90
4.คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ
ก ต้องระบุวัน เดือนและ ปีที่ทำคำสั่ง
ข ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง
ค ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง
ง ถูกทุกข้อ
5.คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่เมื่อใด
ก ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป
ข วันที่ออกคำสั่งทางปกครอง
ค วันที่ระบุในคำสั่งทางปกครอง
ง วันที่ผู้นั้นเซนต์รับคำสั่งทางปกครอง
6.การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วัน
ก 15
ข 30
ค 60
ง 90
7.ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้ ต้องรองขอค่าทดแทนดังกล่าวได้ภายในกี่วัน นับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
ก 1 ปี
ข 180
ค 120
ง 90
8.คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่ากี่วัน.. ซึ่งถ้าไม่มีการปฏิบัติตาม คำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สิน...ฯ
ก 90
ข 30
ค 15
ง 7
9.ข้อใดต่อไปนี้หมายความว่า “กฎ”ตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
ก พระราชกฤษฎีกา
ข กฎกระทรวง
ค ประกาศกระทรวง
ง ทุกข้อ
10.ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มีการกำหนดให้บุคคลใด เป็นตัวแทนร่วมของตน ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคล ดังข้อใดเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว
ก แต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีคัดเลือกเป็นตัวแทนร่วม
ข แต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทนร่วม
ค แต่งตั้งคู่กรณีฝ่ายข้างมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วม
ง แต่งตั้งคู่กรณีที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นตัวแทนร่วม
..............................................................................................
1-ง 2- ง 3-ก 4-ง 5-ก 6-ง 7-ข 8-ง 9-ง 10-ค
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
3. พรบ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง 2539
เนื้อหาสำคัญๆที่มักจะออกสอบ มีดังนี้..
3.1 ข้อยกเว้นการบังคับใช้ พรบ. นี้
มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
(๓) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง
(๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๕) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๖) การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
(๗) การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทาง ยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุก คามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
(๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
*(๙) การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา
การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่ การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
3.2 คำสั่งทางปกครอง
ความหมาย
มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้
"คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า
(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่นการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกคำสั่งทางปกครอง มีดังนี้...
มาตรา ๓๔ คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการสื่อ ความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้
จากบทบัญญัติดังกล่าจึงพอสรุปได้ว่า รูปแบบของคำสั่งทางปกครอง มีอยู่ 3รูปแบบด้วยกัน คือ
1. การทำคำสั่งทางปกครองด้วยวาจา
2. การทำคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ
3. การทำคำสั่งทางปกครองด้วยวิธีอื่น ที่ต้องมีข้อความหรือความหมายชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ เช่น สัญญานไฟจราจร เป็นต้น
หลักเกณฑ์ในการทำคำสั่งทางปกครองด้วยวาจา
มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ด วันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งนั้นต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ
หลักเกณฑ์ในการทำคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ
มาตรา ๓๖ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้น
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้เหตุผลในการออกคำสั่งในทางปกครอง
มาตรา ๓๗ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำ สั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
(๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศในราชกิจจา นุเบกษากำหนดให้คำสั่งทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่ง นั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งนั้นก็ได้
บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นกรณีที่มีผลตรงตามคำขอและไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
(๒) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก
(๓) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับตามมาตรา ๓๒
(๔) เป็นการออกคำสั่งทางปกครองด้วยวาจาหรือเป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควรหากผู้อยู่ในบังคับของคำ สั่งนั้นร้องขอ

ผลของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง
มาตรา ๔๑ คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์
(๑) การออกคำสั่งทางปกครองโดยยังไม่มีผู้ยื่นคำขอในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะดำเนิน การเองไม่ได้นอกจากจะมีผู้ยื่นคำขอ ถ้าต่อมาในภายหลังได้มีการยื่นคำขอเช่นนั้นแล้ว
(๒) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง
(๓) การรับฟังคู่กรณีที่จำเป็นต้องกระทำได้ดำเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ ถ้าได้มีการรับฟังให้สมบูรณ์ในภายหลัง
(๔) คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อนถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลัง
เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้ กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย
กรณีตาม (๒) (๓) และ (๔) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ ๕ ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทาง ปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทาง ปกครองนั้น
การกำหนดเงื่อนไขในการออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่
มาตรา ๓๙ การออกคำสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น
การกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกำหนดเงื่อนไขในกรณีดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมแก่กรณีด้วย
(๑) การกำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
(๒) การกำหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
(๓) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง
(๔) การกำหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำหรือต้องมีภาระ หน้าที่หรือยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกำหนดข้อความในการจัดให้มี เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้อกำหนดดังกล่าว
3.3 การทบทวนคำสั่งทางปกครอง มี 3กรณี คือ
1 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
3 การขอให้พิจารณาใหม่
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
ความหมาย
หมายถึง การที่คู่กรณีซึ่งได้รับผลกระทบจากคำสั่งทางปกครอง ได้ทำการยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเพื่อขอให้มีการการทบทวนคำสั่งทางปกครอง โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
ขั้นแรก
มาตรา ๔๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๘ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทาง ปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย
การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองเว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง
ขั้นที่สอง
มาตรา ๔๕ ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย
ถ้าเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่งรายงานความเห็น พร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วัน ที่ตนได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนด เวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบ กำหนดเวลาดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ใช้กับกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
ผลของคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ อาจถูกเพิกถอนคำสั่งได้ตามหลักเกณฑ์ต่างๆใน มาตรา ๔๙ - ๕๓
การอให้พิจารณาใหม่
มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้...
มาตรา ๕๔ เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ตามส่วนที่ ๕ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
(๒) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาใน กระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วม ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
(๓) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(๔) ถ้าคำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด และต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะ เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาครั้งที่ แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
3.4 คู่กรณีในทางปกครอง
ความหมาย
มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้
"คู่กรณี" หมายความว่า ผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำอั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะ ถูกกระทบกระเทือนจากผลของคำสั่งทางปกครอง
สาระสำคัญของผู้ที่อาจเป็นคู่กรณีในทางปกครอง มีดังนี้
มาตรา ๒๑ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบ กระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
มาตรา ๒๒ ผู้มีความสามารถกระทำการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้ จะต้องเป็น
(๑) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
(๒) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
(๓) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา ๒๑ โดยผู้แทนหรือตัวแทนแล้วแต่กรณี
(๔) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราชกิจจา นุเบกษากำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
3.5 สิทธิโต้แย้งของคู่กรณี
มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมี โอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
(๑) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสีย หายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(๒) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
(๓) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง
(๔) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทำได้
(๕) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(๖) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
มาตรา ๓๑ คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารอันเป็นต้นร่างคำวินิจฉัย
การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ
3.6 มาตราการบังคับทางปกครอง
มาตรา ๕๖ เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาใช้ มาตรการบังคับทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งของตนได้ตามบทบัญญัติในส่วน นี้ เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อนโดยเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้น เอง ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์หรือผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำ สั่งทางปกครองดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ใต้ บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองใช้มาตรการบังคับทาง ปกครองเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง โดยกระทบกระเทือนผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองน้อยที่สุด
พิจารณาจากบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว การบังคับทางปกครอง จึงหมายถึง การดำเนินการของเ้จ้าหน้าที่โดยใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับประชาชนที่่มี
ภาระผูกพันต้องปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง(มาตรา 56 วรคหนึ่ง)ขอบเขตของการบังคับทางปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.ในด้านเนื้อหาของคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองที่จะบังคับทางปกครองได้นั้นจะต้องเป็นคำสั่งทางปกครอง ประเภทที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ของคำสั่ง ทางปกครองเท่านั้น มีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่จำเป็นต้องบังคับทางปกครองต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่ คำสั่งทางปกครองที่เป็นการใช้สิทธิหรือรับรองสิทธิของประชาชนผู้รับคำสั่ง ทางปกครอง เช่น ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานหรือหนังสือรับรองสัญชาติ เป็นต้น คำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าวก็ไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องมีการ บังคับทางปกครอง
2.ในด้านตัวบุคคลที่จะถูกบังคับทางปกครอง
บุคคลที่จะถูกบังคับทางปกครอง ได้แก่ ประชาชนที่มีความผูกพันต้องปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง การบังคับทางปกครองจึงไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่(หมายถึงหน่วยงานของรัฐด้วยกัน) เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 55)
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
kukkung ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
thank
mos14 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
สุดยอด
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้