ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ก.พ. ภาค ข. ค่ะ
apisak ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ก.พ. ภาค ข. ค่ะ

แชร์กระทู้นี้

อ้างอิง: กระทำโดย admin โดยการย้ายจากกระดานข่าว สมัครสมาชิกท่านจะห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น เมื่อเวลา(2011-04-01)
ดาวโหลดไฟล์ทั้งหมดที่นี่   http://www.ziddu.com/download/12432373/ttttt.doc.html

 
ข้อสอบ วิชาเฉพาะตำแหน่ง วิเคราะห์นโยบายและแผน
1.ข้อต่อไปนี้ที่มิใช่หลักเกณฑ์ของการจำแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ
ก.ขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย ข.เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของโยบาย
ค.กิจกรรมสำคัญของรัฐบาล ง.รูปแบบโดยทั่วไปของรัฐบาล
2. ประโยชน์อย่างหนึ่งของการจัดนโยบายสาธารณะ คือ
ก.ทำให้ทราบได้ว่ารัฐบาลหนึ่งๆควรประกอบด้วยบุคคลในปริมาณและคุณภาพเท่าใดจึงจะสามารถกำหนด นโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ข.ทำให้สามารถคาดคะเนได้ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการและขั้นตอนการกำหนดนโยบายเช่นใดบ้างในอนาคต
ค.ทำให้ทราบถึงขั้นตอน วิธีการและเทคนิคของการดำเนินต่างๆเกี่ยวกับนโยบายได้อย่างถูกต้อง
ง.ทำให้ทราบได้ว่าประชาชนได้รับประโยชน์จากนโยบายต่างๆที่ได้กำหนดขึ้นอย่างเต็มที่
3. ข้อใดที่ถือว่าเป็นนโยบายหลักที่ทุกประเทศจะต้องมีอยู่เหมือนกันและถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติ
ก.นโยบายต่างประเทศ ข.นโยบายการประกันสังคม
ค.นโยบายเคหะสงเคราะห์ ง.นโยบายป้องกันและรักษาป่าไม้
4.นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่างๆ ทรรศนะข้างต้นนี้เป็นของใคร
ก.ชาร์ลส์ จาคอป ข.ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ กับอับราแอม แคปแพลน
ค.ธอมัส ดาย ง.วิลเลี่ยม กรีนวูด
5. กรอบแนวคิดอย่างหนึ่งของวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ ได้แก่วิธีการศึกษาในแง่
ก.ผลกระทบของนโยบาย ข.การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ค.ผลผลิตของนโยบาย ง.กระบวนนโยบาย
6. ข้อความต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก.การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ได้มุ่งเน้นเป้าหมายในเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960.
ข. การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์ประการหนึ่งคือการศึกษากำหนดนโนบายในแง่ที่เป็นกิจกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่ง
ค.ขอบข่ายของการศึกษานโยบายสาธารณะในทรรศนะของสจวต เนเกล มีอยู่ 3 ประเด็นตามกระบานการของนโยบาย
ง.ความรู้เกี่ยวกับประเด็นของนโยบายเป็นความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการกำหนดนโยบายสาธารณะ
7.ข้อใดเป็นลักษณะประการหนึ่งของการศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวรัฐประศาสนศาสตร์
ก.เป็นการศึกษาวิเคราะห์นโยบายโดยมุ่งเน้นที่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย
ข. เป็นการศึกษาโดยนักรัฐประศาสนศาสตร์โดยเฉพาะ
ค. เป็นการศึกษาถึงศาสตร์ว่าด้วยนโยบาย
ง. เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของรัฐ
8. การกำหนดนโยบายสาธารณะและการตัดสินใจมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เกือบจะเป็นอย่างเดียวกัน ข้อความข้างต้นเป็นทรรศนะของใคร
ก.เยเฮชเกิล ดรอร์ ข.ไอรา ชาร์แคนสกี
ค.ธอมัส ดาย ง. ริชาร์ด เกบิล



9. ขอบข่ายของการศึกษานโยบายสาธารณะในทรรศนะของสจ๊วต เนเกล คือ
ก.การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย ข. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลผลิตของนโยบาย
ค.การนำนโยบายไปปฏิบัติ ค.การพัฒนานโยบาย
10. แนวคิดที่ว่าฝ่ายการเมืองควรมีบทบาทในการกำหนดและควบคุมนโยบาย และฝ่ายราชการประจำควรมีหน้าที่ในการนำนโยบายไปปฏิบัตินั่น เป็นแนวความคิดในเชิงใด
ก.รัฐศาสตร์ ข.ปทัสถาน
ค.รัฐประศาสนศาสตร์ ค.ประจักษ์
11. ตัวอย่างหนึ่งของตัวแบบนโยบายที่มีการนำมาใช้ศึกษานโยบายสาธารณะ คือตัวแบบอะไร
ก. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ข.ทฤษฎีทางการเมือง
ค.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ง.สถาบัน
12. การศึกษารัฐศาสตร์สมัยดั้งเดิมเป็นการศึกษาที่ให้ความสนใจในเรื่องใด
ก.นโยบายสาธารณะของประเทศต่างๆ ข.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลของประเทศต่างๆ
ค.กระบวนการและพฤติกรรมการกำหนด นโยบายของรัฐบาลต่างๆ
ง. ภารกิจของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
13. การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ก็คือการศึกษาการกำหนดนโยบายสาธารณะนั่นเอง เป็นทรรศนะของใคร
ก. ดับเบิลยู เฮนรี แลมไบรท์ ข.เอช จอร์จ เฟรเดอริคสัน
ค.ไอรา ชาร์แคนสกี ง.ชาร์ลส์ ลินบอล์ม
14. ปัจจัยสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะอย่างไร
ก.มีอิทธิพลต่อการกำหนด นโยบายสาธารณะโดยตรง ข.มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติโดยตรง
ค.มีอิทธิพลต่อการประเมินผลนโยบายสาธารณะโดยตรง ง.มีอิทธิพลต่อการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการโดยตรง
15. ข้อใดคือปัจจัยสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอกระบบการเมือง
ก.ปัจจัยเกี่ยวกับผู้นำ ค.ปัจจัยเกี่ยวกับจิตวิทยา
ค.ปัจจัยเกี่ยวกับการเมือง ง.ปัจจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
16.การเมืองกับการบริหารแตกต่างกันอย่างไร
ก. การเมืองเป็นเรื่องการกำหนดวิธีการจัดสรรผลประโยชน์ การบริหารเป็นเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์
ข.การเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์ การบริหารเป็นเรื่องการกำหนดวิธีการจัดสรรผลประโยชน์
ค.การเมืองเป็นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ การบริหารเป็นเรื่องการนำแผนและโครงการไปปฏิบัติ
ง.การเมืองเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการบริหารเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจ
17.ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาประเภทใค
ก. ปัญหาป้องกัน ข. ปัญหาพัฒนา ค. ปัญหาขัดข้อง ง. ปัญหาเฉพาะเรื่อง
18.การกำหนดนโยบายสาธารณะโดยใช้ประสบการณ์ในอดีตเป็นแนวทางในการตัดสินใจคือ ตัวแบบใด
ก. ตัวแบบชั้นผู้นำ ข.ตัวแบบกลุ่ม ค. ตัวแบบกระบวนการ ง.ปัญหาเฉพาะเรื่อง
19. คุณลักษณะของผู้นำในการกำหนดนโยบายสาธารณะ คือ ข้อใด
ก.มีความสาสมรถทำให้ผู้อื่นยอมรับ ข.มีความสามารถวางแผนสั่งการ
ค.มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ง.มีความสามารถในการควบคุม
20. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ก. นายยกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะส่งเสริมการลงทุนเพื่อส่งออก
ข.นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา
ค.นายกรัฐมนตรีส่งตัวแทนออกไปพบชาวนาที่ชุมนุมประท้วงอยู่ที่หน้าทำเนียบเพื่อให้มีการประกันราคาข้าว
ง.นายกรัฐมนตรีตอบกระทู้ถามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
21.บุคคลหรือองค์กรใดในหัวข้อต่อไปนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายสาธารณะแห่งชาติโดยลำพัง
ก.นายกรัฐมนตรี ข. ประธานาธิบดี ค. คณะรัฐมนตรี ง. รัฐสภา
22. ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่กลไกในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ก. ประชาชน ข. ข้าราชการ ค.คณะรัฐมนตรี ง. ปลัดกระทรวง
23. กิจกรรมใดต่อไปนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำในขั้นตอนของการระบุปัญหา
ก.สำรวจสถานการณ์ ข.กำหนดสภาพที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินการแก้ปัญหาแล้ว
ค.กำหนดเป้าหมาย ง.กำหนดแนวทางการกระทำ
24. การสำรวจสถานการณ์เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำในขั้นตอนใดของการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ก.กำหนดวัตถุประสงค์ ข. กำหนดหัวข้อปัญหา ค. จักทำข้อเสนอนโยบาย ง.กำหนดสภาพของปัญหา
25. การตักสินใจตามตัวแบบสมเหตุสมผลควรทำอย่างไร
ก.ยอมรับนโยบายเดิม ข.ยอมรับนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็ยค่อยไป
ค.ยอมรับนโยบายที่ต้นทุนต่ำ ง. ไม่ยอมรับนโยบายที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างต้นทุนกับผลประโยชน์
26.ในขั้นตอนกำหนดการวิเคราะห์ของกระบวนการวิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์จะใช้ประโยชน์จากข้อใดมากที่สุด
ก.การพยากรณ์ ข.การกำหนดตัวแบบ
ค.การวิเคราะห์ระบบ ง.การวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์
27. ข้อใดคือกลไกการกำหนดนโยบายสาธารณะที่มีลักษณะจากล่างขึ้นบน
ก.ข้าราชการ ข.ประชาชน ค.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ง. คณะรัฐมนตรี
28. โดย ทั่วๆไปการประใช้นโยบายสาธารณะระดับชาติจะตราขึ้นเป็น
ก.รัฐธรรมนูญ ข.รัฐบัญญัติ ค.กฤษฎีกา ง.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
29.ข้อใดเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ก.การวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข. การพยากรณ์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ค.การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิภาพ ง.การกำหนดตัวแบบ
30. การศึกษาในข้อใดต่อไปนี้ถือว่าอยู่ในขอบข่ายของการศึกษาการนำ นโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
ก.การศึกษาความแตกต่างในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของนโยบายแต่ละประเภท
ข. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
ค.การศึกษาเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลของกลยุทธ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ง. ถูกทุกข้อ
31. การวัดความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติตามแนวทางข้อใดที่ถือว่า มีขอบข่ายกว้างและตรงประเด็นมากที่สุด
ก.การพิจารณาระดับความร่วมมือของผู้ปฏิบัติ
ข.การพิจารณาว่านโยบายนั่นก่อให้เกิดผลการปฏิบัติในระยะสั้นและหรือก่อให้เกิดผลกระทบตามที่พึงปรารถนา
ค.การพิจารณาระดับความล่าช้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ง. การพิจารณาระดับของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
32. ความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติในบางครั้งอาจจะไม่นำไป สู่ผลกระทบในทางที่พึงปรารถนาเสมอไป หากนโยบายนั้นมีรากฐานมาจากอะไร
ก. ทฤษฏีไม่ถูกต้อง ข.ความขัดแย้งในเป้าหมายนโยบาย
ค. ความแตกต่างในวัตถุประสงค์ของหน่วยปฏิบัติ ง.ความล้มเหลวในการระบุแนวทางปฏิบัติ
33. โดยทั่วไปฝ่ายใดมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในกระบวนการนำนโยบายสาธารณะไป ปฏิบัติ
ก. พรรคการเมือง ข. ระบบราชการ ค.สภาผู้แทนราษฎร ง. ภาคธุรกิจเอกชน




34. โดยทั่วไปแล้ว ขั้นตอนการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่ๆคือ
ก.ขั้นตอนของการแปลงนโยบายออกเป็นแนวทางปฏิบัติ และขั้นตอนในการทำให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นยอมรับแนวทางปฏิบัติดังกล่าว
ข.ขั้นตอนในระดับมหาภาค และขั้นตอนในระดับจุลภาค
ค. ขั้นตอนในการพิจารณารับนโยบาย และขั้นตอนในการสร้างความเป็นปึกแผ่น
ง.ขั้นตอนในการระดมพลัง และขั้นตอนในการสร้างความต่อเนื่อง
35. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของหน่วยงาน ที่รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติ
ก.ความขัดแย้งของนโยบาย ข. ความสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายของนโยบาย
ค. ความร่วมมือและความจริงใจของหน่วยงานที่รับผิอชอบ ง. ถูกทุกข้อ
36. ปัญหาสรรถนะเป็นปัญหาหลักด้านหนึ่งของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัญหาในลักษณะดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงไดขึ้นอยู่กับปัจจัยย่อยต่างๆ ยกเว้นปัจจัยด้านใด
ก. ปัจจัยด้านบุคคลากร ข. ปัจจัยด้านเงินทุน
ค. ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องมือ ง.ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ
37. การประเมินผลนโยบาย จะกระทำเมื่อใด
ก.ก่อนมีการดำเนินการตามนโยบาย ข. หลังจากการดำเนินการตามนโยบาย
ค.ระหว่างดำเนินการ และหลังจากดำเนินการตามนโยบาย ง. เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการการกำหนดนโยบาย
38. การวิเคราะห์และประเมินนโยบายสาธารณะควรกระทำอย่างไร
ก. วิเคราะห์และประเมินผลอย่างละเอียดเฉพาะจุด ข. วิเคราะห์และประเมินอย่างจำกัดวง หรือย่างแคบ
ค. วิเคราะห์และประเมินผลอย่างกว้างๆ ทั่วๆไป ง. วิเคราะห์และประเมินผลอย่างครอบคลุม
39. เกณฑ์การประเมินนโยบายสาธารณะที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ
ก. เกณฑ์ศักยภาพ ข. เกณฑ์การลงทุน ค. เกณฑ์การสนองตอบความต้องการ ง.เกณฑ์ค่าใช้จ่ายดำเนินการ
40. ปัญหาข้อต่อไปนี้ข้อใดมิใช่ปัญหาในการประเมินนโยบายสาธารณะที่มักเกิดขึ้นเสมอ
ก.ปัญหาความไม่แน่ชัดของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ข.ปัญหาตัวบุคคลที่ทำการประเมิน
ค.ปัญหา ด้านข้อมูลข่าวสาร ง. ปัญหางบประมาณ
41. ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประเมินได้แก่
ก. ลักษณะนโยบายที่เป็นนามธรรม ข.ลักษณะนโยบายที่เป็นรูปธรรม
ค. ลักษณะนโยบายที่เป็นการกระทำ ง. ลักษณะนโยบายที่ไม่เป็นการกระทำ
42. การปรับปรุงนโยบายสาธารณะ หมายถึง
ก. การยกเลิกนโยบายเดิม ข. การแก้ไขนโยบายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ค. การกำหนดนโยบายออกมาใหม่ ค. การนำนโยบายที่เลิกใช้แล้วมาใช้อีก
43. แผนพัฒนาประเทศไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อใด
ก. พ.ศ. 2504 ข. พ.ศ. 2508 ค. พ.ศ. 2500 ง. พ.ศ. 2498
44. ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของแผนคืออะไร
ก. ชื่อแผน ข. ชื่อบุคคลผู้อนุมัติ ค. ประเด็นปัญหา ง.ทรัพยากรที่ต้องใช้
45. การวางแผนเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใคร
ก. ผู้บริหารระดับสูง ข. ผู้ช่วยและผู้ใต้บังคับบัญชา ค. ที่ปรึกษา ง. คณะกรรมการ
46. ประเทศที่มีการวางแผนพัฒนาอย่างมีระบบเป็นประเทศแรกในโลกคือประเทศอะไร
ก. สหรัฐอเมริกา ข. อินเดีย ค. สหราชอาณาจักร ง. สหภาพโซเวียต
47. ส่วนประกอบโครงการคืออะไร
ก. งาน ข. กิจกรรม ค. แผนงาน ง. สาขางาน
48. การวางแผนจะมีลักษณะเหมือนกับการดูหมอดูทันทีถ้าขากขั้นตอนสำคัญประการหนึ่ง ขั้นตอนนั้นคืออะไร
ก. หลักการ ข. การอนุมัติ ค.การนำไปปฏิบัติ ง.การประเมินผล


49. ในการวางแผนนั้น ผู้วางแผนจะต้องให้ความสำคัญและพึงระมัดระวังในเรื่องใดมากที่สุด
ก. การกำหนดวิธีการปฏิบัติ ข. การบรรจุคนเข้าทำงาน
ค. การทำนายอนาคต ง. การประเมินผล
50. กลยุทธ์และกลวิธีเป็นชื่อเรียกแผนในองค์กรประเภทใด
ก. องค์การเอกชน ข. การระหว่างประเทศ ค. องค์การของรัฐ ง. รัฐวิสาหกิจ
51. ส่วนใดต่อไปนี้ เป็นตัวกระทำการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ก.นโยบาย ข. แผนงาน ค. แผน ง. โครงการ
52. ตามหลักการวางแผนนั้น แผนระยะยาวย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าแผนระยะสั้น ท่านคิดว่าปัญหาของแผนในลักษณะดังกล่าวนี้อยู่ที่ใด
ก. การพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข. การแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้อง
ค. การตีความตัวเลขข้อมูลระยะยาว ง. การหานักวางแผนที่ดีมีความสามารถทางสถิติ
53. การแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ แผนวัตถุประสงค์ ทำครั้งเดียวเสร็จ และทำซ้ำหลายครั้ง ใครเป็นผู้แบ่ง
ก. W.H. Newman ข. T.J. Atchison ค. A. Waterston ง. Grower Starling
54. ข้อใดแสดงความหมายของการพยากรณ์ ได้ดีที่สุด
ก. กระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อคะเนเหตุการณ์ในอนาคต
ข. กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต
ค. กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อตัดสินใจ
ง. กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
55. เทคนิคเชิงวิเคราะห์ในเชิงวิชาการหมายถึง
ก. การวิเคราะห์โดยใช้ประสบการณ์ ข. การวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์
ค. การวิเคราะห์โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ง. ถูกทั้ง ข และ ค
56. ทฤษฏีทางสถิติที่นำมาใช้ในเทคนิคเชิงวิเคราะห์อย่างกว้างขวางคือ
ก. ทฤษฏีแปรผัน ข. ทฤษฏีความน่าจะเป็น ค. ทฤษฏีอ้างอิง ง. ทฤษฏีกระจายข้อมูล
57.เทคนิคเชิงวิเคราะห์ได้ถูกนำไปใช้ในหน่วยงานดังต่อไปนี้
ก. หน่วยงานราชการ ข. หน่วยงานเอกชน ค. หน่วยงานองค์การระหว่างประเทศ ง. ถูกทั้งหมด
58. การจะตัดสินใจลงทุนในโครงการหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจกระทำได้โดย
ก.วิเคราะห์ว่ามีเงินทุนเพียงพอหรือไม่เท่านั้น ข. มีความรู้ในกิจกรรมนั้นๆ ก็สามารถตัดสินใจลงทุนได้เลย
ค. มีการวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนอย่างละเอียด ง. ถูกทั้งหมด
59. เทคนิควิเคราะห์ผลประโยชน์ต้นทุนมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจอย่างไร
ก. ต้นทุนเท่ากับประโยชน์ก็ลงทุนได้ ข. ต้นทุนต่ำกว่าประโยชน์ก็อาจลงทุนได้
ค. ต้นทุนสุงกว่าประโยชน์ก็อาจจะลงทุนได้ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
60. เทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดได้แก่
ก. เทคนิคผลประโยชน์ต้นทุน ข. เทคนิคโปรแกรมเชิงเส้นตรง ค. เทคนิคการรอคอย ง. เทคนิคตารางบัญชีสังคม

61. เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้แก่
ก. เทคนิคผลประโยชน์ต้นทุน ข.เทคนิคการรอคอย ค. เทคนิคตารางบัญชีสังคม ง.เทคนิคลูกโซ่มาร์คอฟ
62. เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการประเมินความสำเร็จล้มเหลวของนโยบายที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหานั้นได้แก่
ก. เทคนิคโปรแกรมเชิงเส้นตรง ข. เทคนิคผลประโยชน์ต้นทุน ค. เทคนิคการรอคอย ง. เทคนิคลูกโซ่มาร์คอฟ
63. เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์หาข้อบกพร่องในการรอรับบริการเพื่อวางแผนจัดระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้แก่
ก. เทคนิคผลประโยชน์ต้นทุน ข. เทคนิคโปรแกรมเชิงปฏิบัติ ค. เทคนิคการรอคอย ง. เทคนิคตารางบัญชีทางสังคม
64. เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์เลือกนโยบายที่เหมาะสมไม่ได้เปรียบเสียเปรียบคู่แข่งขันมากจนเกินไปได้แก่
ก. เทคนิคผลประโยชน์ต้นทุน ข. เทคนิคโปรแกรมเชิงปฏิบัติ ค. เทคนิคการรอคอย ง. เทคนิคเกมและกลยุทธ์
65. เทคนิคเชิงวิเคราะห์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
ก. เทคนิคเชิงพรรณนาและเทคนิคสุ่มตัวอย่าง ข. เทคนิคอ้างอิงและสรุปเหตุผล
ค. เทคนิคเชิงพรรณนาและเทคนิคเชิงอ้างอิง ง. เทคนิคเชิงพรรณนาและเทคนิคกราฟิค
66. ทฤษฏีความน่าจะเป็นมีคำนิยาม คือ
ก. ความน่าจะเป็นอย่างง่าย ข. ความน่าจะเป็นร่วม ค. ความน่าจะเป็นแบบเงื่อนไข ง. ถูกทั้งหมด
67. เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลประโยชน์ต้นทุนมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ก.ระบุผลประโยชน์ส่วนต้นทุน ประเมินความเป็นไปได้
ข. ประมาณการผลประโยชน์ต้นทุน ประเมินความเป็นไปได้
ค. ระบุประเภทผลไม้ต้นทุน ประมาณการผลประโยชน์ต้นทุนตัวเงิน ปรับค่าผลประโยชน์ปละต้นทุน และประเมินความเป็นไปได้
ง. ระบุผลประโยชน์ต้นทุน และปรับค่าผลประโยชน์ ต้นทุน
68. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ ผลประโยชน์ต้นทุนได้แก่
ก. อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน ข. อัตราผลตอบแทนภายใน ค. ประโยชน์ปัจจุบัน ง. ถูกทั้งหมด
69. การเขียนโครงการแบบเดิมมักมีข้อบกพร่องคือ
ก.ขาดคุณสมบัติของการย่อความ ข. ขาดคุณสมบัติเชิงเปรียบเทียบ
ค. โครงการต่างๆ มีหลายวัตถุประสงค์ ง. ถูกทุกข้อ
70. ข้อใดเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นในการบริหารโดยวัตถุประสงค์
ก. ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงาน ข. ผู้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์
ค. สภาพแวดล้อมสลับซับซ้อน ง. กำหนดเวลาในเรื่องต่างๆ
71.การพิจารณาวัตถุประสงค์ร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นขั้นใดของการบริหารโดยวัตถุประสงค์
ก. การพัฒนาแผนดำเนินการ ข. การพัฒนาวัตถุประสงค์
ค. การตรวจสอบผลงาน ง. การกำหนดเวลาทำงาน
72. ข้อใดไม่ใช่หลักการเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารโดย วัตถุประสงค์
ก. เวลา ข. วัตถุประสงค์ ค. สภาพแวดล้อม ง. การมีส่วนร่วม
73. การตรวจสอบโดยการสอบถามจากผู้ร่วมงานอื่นเป็นการตรวจสอบผลงานแบบใด
ก.แบบไม่เป็นทางการ ข. แบบเป็นทางการ ค.แบบประเมินผล ง.โดยดุลยพินิจ
74. การนำการบริหารโครงการมาใช้ในองค์การมีผลดีต่อองค์การอย่างไร
ก.สามารถจัดหาวัสดุได้ตามที่ต้องการ ข. องค์การสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อ
ค.แสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นของการบังคับบัญชา ง. ช่วยในการจัดระบบสารสนเทศ


75. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในขั้นใดของขั้นตอนการบริหารโครงการ
ก. การดำเนินการตามโครงการ ข. การประเมินผลโครงการ
ค. การประเมินค่าโครงการ ง. การวางแผนโครงการ
76. ลักษณะงานตามข้อใดไม่เหมาะที่จะนำการบริหารโครงการมาประยุกต์ใช้
ก.งานเร่งด่วน ข.งานที่ไม่คุ้ยเคย ค. งานที่มีลักษณะพิเศษ ง. งานตามสายการบังคับบัญชา
77. การบริหารโครงการเป็นแนวคิดทางการบริหารของกลุ่มใด
ก. องค์การระบบราชการ ข. ศาสตร์การจัดการ ค. ทฤษฏีองค์การ ง.กระบวนการบริหาร

78. โครงสร้างองค์การแบบใดที่ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบรวมถึงการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ โดยมีการตั้งโครงการขึ้นมาเป็นหน่วยหนึ่งขององค์การ
ก. แบบเน้นหน้าที่ ข.แบบเน้นโครงการ ค. แบบเมตริกซ์ ง. แบบพิเศษ

79. ในสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอนสูง เทคโนโลยีที่นำมาใช้ยุ่งเหยิงเหมาะสมกับโครงสร้างองค์การแบบใด
ก.เมตริกซ์ ข. เน้นโครงการ ค. เน้นหน้าที่ ง. ราชการ
80. บทบาทของผู้จัดโครงการที่ก่อให้เกิดเอกภาพในการติดต่อสื่อสารเป็นบทบาทในฐานะใด
ก. ผู้ประสานงานโครงการ ข. ผู้เร่งโครงการ
ค. ผู้จัดการทั่วไปของโครงการ ง. ผู้สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
81. กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการและรายงานผลโดยตรงต่อผู้จัดการโครงการเรียกว่า
ก.ทีมสนับสนุน ข.ทีมงาน ค. ทีมโครงการ ง. ทีมเวอร์ค
82. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องควบคุมในการดำเนินโครงการ
ก.การควบคุมเวลา ข.การควบคุมค่าใช้จ่าย ค. การควบคุมคุณภาพ ง. การควบคุมบุคลากร
83. ผู้จัดการโครงการจะต้องทำหน้าที่ประสานงานภายนอกโครงการกับใคร
ก. ผู้บริหารระดับสูง ข. ผู้บริหารหน่วยงานตามหน้าที่ ค. ผู้รับบริการ ง.ถูกทุกข้อ
84. การนำโครงการไปปฏิบัติให้บรรลุผลตามที่ต้องการ เป็นขั้นใดของการบริหารโครงการ
ก.การรวมแผนโครงการ ข. การประเมินค่าโครงการ ค. การประเมินผลโครงการ ง. การดำเนินตามโครงการ
85. งานในข้อใดเหมาะสมที่จะนำการบริหารโครงการมาใช้
ก.งานตามสายการบังคับบัญชา ข.งานที่มีความเกี่ยวพันกัน
ค. งานทางการเมือง ง. งานด้านเศรษฐกิจ
86. บทบาทของผู้จัดการโครงการที่ทำให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชา คือบทบาทในฐานะใด
ก.ผู้ประสานโครงการ ข. ผู้จัดการทั่วไปของโครงการ ค. ผู้เร่งโครงการ ง. ผู้สร้างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
87. ผู้มีหน้าที่ในการสรรหาและคัดเลือกผู้จัดการโครงการ คือ
ก.ผู้บริหารระดับสูง ข.ผู้บริหารหน่วยงานตามหน้าที่
ค.ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารหน่วยงานตามหน้าที่ ง. ทุกระดับขององค์การ
88. ข้อใดคือความหมายของการประเมินผลความสำเร็จของแผนและโครงการที่ใช้ในการปฏิบัติ
ก. การนำเอาผลการปฏิบัติจริงมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ข. การนำเอาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้
ค. การดำเนินการเพื่อหาเหตุผลของความเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์
ง. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการตรวจวัดและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน


89. ข้อใดคือความสำคัญของการประเมินผลความสำเร็จของแผนโครงการ
ก. เป็นเครื่องมือของนักบริหารในการตัดสินใจ ข.เป็นข้อมูลที่ใช้ปรับปรุง กลวิธีการปฏิบัติงาน
ค. เป็นประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากร ง. เป็นการทดสอบหลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
90. นักวิชาการท่านใดเป็นผู้แบ่งประเภทของการประเมินผลออกเป็นการประเมินผลแบบเปรียบเทียบ แบบแท้ และแบบ เชิงตัดสินใจ
ก. วิลเลียม เอ็น ดันน์ ข. เอมิส โพชาแวค ค. ที คุก ง. อาร์ ไรซ์ฮาร์ท
91. ข้อใดคือบทบาทของผู้ประเมินผลความสำเร็จของแผนและโครงการ
ก. เป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในโครงการนั้น ข. เป็นผู้ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นพิเศษเฉพาะเรื่อง
ค. เป็นผู้ที่มาจากหน่วยงานเอกชน ง. เป็นผู้ที่มีความเป็นกลางในการประเมิน

92. ข้อใดต่อไปนี้แสดงถึงความหมายของสารสนเทศที่ถูกต้องที่สุด
ก. สารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสำหรับผู้บริหาร
ข.สารสนเทศจะได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ
ค. สารสนเทศได้มาจากการประมวนผลข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆกันและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆได้
ง. สารสนเทศเป็นวัตถุดิบของการประมวลผลข้อมูล

93. สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติเช่นใด
ก. มีความถูกต้อง ข. ทันต่อความต้องการใช้งาน ค. ปราศจากอคติ ง. ถูกทุกข้อ
94. ระบบสารสนเทศมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอื่นๆ ในองค์การอย่างไรบ้าง
ก. เป็นระบบที่ประมวลผลข้อมูลได้มาจากระบบย่อยอื่นๆ เพื่อผลิตสารสนเทศตามที่ระบบย่อยเหล่านั้นต้องการ
ข. เป็นระบบที่ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์การ
ค. เป็นระบบที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบย่อยอื่น
ง. เป็นระบบที่มีหน้าที่ติดตามผลการปฏิบัติงานของระบบย่อยอื่นๆ ในองค์การแทนฝ่ายบริหาร
95. ระบบสารสนเทศควนมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
ก. ข้อมูลนำเข้า ข. การประมวลผล ค. ฐานข้อมูล ง. ถูกทุกข้อ
96. ระบบสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนอย่างไรบ้าง
ก.ทำให้นโยบายสาธารณะและแผนที่กำหนดขึ้นมีความน่าเชื่อถือ
ข. ทำให้ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยส่วนรวมได้อย่างชัดเจนและสามารถเลือกหัวข้อปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วนก่อนได้
ค. ทำให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบายสาธารณะและแผนได้ด้วยตัวเอง
ง. ทำให้ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะและแผนสามารถลดภาระที่ควรปฏิบัติลงได้
97. ฐานข้อมูลมีประโยชน์ต่อระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง
ก. ทำให้มีข้อมูลสำหรับระบบสารสนเทศได้หลายรูปแบบ
ข. ทำให้ข้อมูลที่จะนำไปประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศมีความถูกต้องสูง
ค. ทำให้งานต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลชุดเดียวกันในการประมวลผลพร้อมกันได้
ง. เฉพาะข้อ ข และข้อ ค

98. ข้อใดต่อไปนี้คือประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด
ก. ทำให้การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศระหว่างกันมีระเบียบมากขึ้น
ข. ทำให้สามารถส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้รับที่ต้องการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
ค. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินเอกสารลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง
ง. ถูกทุกข้อ
99. ขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในองค์การ คือขั้นตอนใด
ก. การวางแผนเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ข. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
ค. การปรับใช้ระบบสารสนเทศ ง. ถูกทุกข้อ
100. การกำหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนจะได้รับประโยชน์จากระบบสารสนเสศอย่างไรบ้าง
ก.ทำให้ผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของประชาชนโดยส่วนรวมได้
ข. ทำให้การวิเคราะห์ทางทางเลือกแต่ละทางเลือกในการแก้ปัญหาเป็นไปโดยละเอียดและรอบคอบ
ค. ทำให้ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา
ง.ถูกทุกข้อ

bben ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
รบกวนขอแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายฯ ก.พ. ด้วยค่ะ
neiy1111 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอด้วยค่ะ
toeandaman ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
wyclassic ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอด้วยคนค่ะ

wyclassic@hotmail.com
netnapa ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
รบกวนขอแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายฯ ก.พ. ด้วยค่ะ
netnapa ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
รบกวนขอแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายฯ ก.พ. ด้วยค่ะ joyjoy0608@hotmail.com
catsanowie ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
รบกวนขอแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายฯ ก.พ. ด้วยค่ะ catsanowiee@windowslive.com
manit ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอแนวข้อสอบเก่า กพ  ด้วยคับ
poor ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอด้วยคนครับ hibino5@hotmail.com
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้