1. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย
ก. แนวทางในการบรรลุผล
ข. ขั้นตอนหรือแผนงาน
ค.ทุนที่ใช้ในการดำเนินการ
ง. เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ
ตอบ ง. ทุนที่ใช้ในการดำเนินการ
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะมีดังนี้
1. ต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ต้องประกอบด้วยลำดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ที่ได้กำหนดเอาไว้
3. ต้องมีลักษณะเป็นแนวทางหรือหลักการที่ประสงค์จะเป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้ สามารถบรรลุผลสำเร็จลงได้
4. ต้องมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ฯลฯ
2. ข้อใดถูกต้อง
ก. Scientific Reasons : การนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ
ข. Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ
ค. Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย
ง. Policy Effects : ปัจจัยน้ำข้าวของนโยบาย เช่น ทรัพยากร
จ. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค. Political Reasons: การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย
Thomas R.Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ” โดยเขาได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ ๓ ประการได้แก่
1. เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทำความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย
2. เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนำความรู้เชิงนโยบายไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ
3. เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง
3. ความสมเหตุสมผลทางด้านปัทสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเรื่องใด
ก. การวางแผนที่เน้นเนื้อหา
ข. การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ
ค. การวางแผนที่เน้นการควบคุม
ง. การวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม
จ. การวางแผนที่เน้นผลลัพธ์
ตอบ ข. การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ
ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาสาระหรือทฤษฎีเชิงสาระ เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนำมาวางแผนเป็นอย่างมากโดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่องโดยไม่สนใจเรื่องวิธีการเช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทำหน้าที่ ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีซึ่งมุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน และต่อมาได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นกานนำนโยบายไปปฏิบัติ
2. การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปัทสถานได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนทางสังคมและการวางแผนสนับสนุน
4. ข้อใดถูกต้อง
ก. นโยบายสาธารณะได้มากจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม
ข. แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา
ค. ความสมเหตุสมผลทางด้านปัทสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ
ง. ทฤษฎีเชิงกรรมวิธีต่อมาได้พัฒนาไปเป็นการวางแผนที่เน้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ
จ. ข้อ ค. และ ข้อ ง. ถูก
ตอบ จ. ข้อ ค. และ ข้อ ง. ถูก
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
5. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. แผนงานเป็นตัวแปรที่ Cook & Scioll เสนอไว้ในตัวแบบของเขา
ข. การนำนโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ
ค. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวของกับการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน
ง. การจัดการศึกษานอกโรงเรียนเกี่ยวของกับนโยบายทางด้านการศึกษา
จ. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับการกินดีอยู่ดีของประชาชน
ตอบ ค. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวของกับการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน
นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Econmomic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยงข้องกับความอยู่ดี กินดีของประชาชน ให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอะไรที่ได้มาซึ่งรายได้ รายจ่าย ซึ่งเมื่อจ่ายไปแล้วมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น
6. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย
ข. การจัดทำร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย
ค. การกำหนดทางเลือกอยู่ในขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย
ง. การตีความหรือแปลงนโยบายอยู่ในขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
จ. ถูกทุกข้อ
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ
ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย การพิจารณาปัญหานโยบาย (Policy Problem) หรือความต้องการของประชาชนที่จะนำมากำหนดเป็นนโยบาย การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา ส่วนขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)
ประกอบด้วย
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2. การกำหนดเกณฑ์วัด และวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3. การกำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน
4. การนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
7. Pressman and Wildavsky ศึกษาเรื่องใด
ก. การปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข. การจ้างงานของชนกลุ่มน้อย
ค. การพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นวิทยาลัยที่สมบูรณ์
ง. Catalytic Role Model
จ. โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาล
ตอบ ข. การจ้างงานของชนกลุ่มน้อย
Pressman and Wildavsky ได้เสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Implementation” โดยมุ่งศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย แห่งนครโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งผลงานวิจัยฉบับนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบและเป็นจุดกำเนิดของวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติอีกด้วย
8. ใครพบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ก. ธงชัย สมครุฑ
ข. ปิยวดี ภูศรี
ค. อาคม ใจแก้ว
ง. สากล จริยวิทยานนท์
จ. เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์
ตอบ จ. เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์
เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัตินโยบายสำหรับชายแดนภาคใต้: ศึกษืเท่านั้น แล้วผลการศึกษาในเรื่องนี้ ผู้วิจัยก็พบว่าการแสวงหาผลประโยชน์ เป็นปัจจัยประการหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดความล้มเหลวหรือความสำเร็จของนโยบายไปปฏิบัติ
9. ความสามารถในการผลิตหรือให้บริการ โดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ก. ประสิทธิผล
ข. ประสิทธิภาพ
ค. ความเหมาะสม
ง. ความเป็นธรรม
จ. ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ ข. ประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย โดยใช้ต้นทุนต่ำสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการ โดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด
10. ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ก. ประสิทธิผล
ข. ประสิทธิภาพ
ค. ความเหมาะสม
ง. ความเป็นธรรม
จ. ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ จ. ความสามารถในการตอบสนอง
ความสามารถในการตอบสนอง หมายถึง ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการ ความชอบและค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทางเลือกที่มีความสามารถในการตอบสนองสูงก็คือ ทางเลือกที่ต้องการทำให้กลุ่มที่มีความจำเป็นสูงได้รับผลจากทางเลือกก่อนนั้นเอง
11. ความสามารถในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ก. ประสิทธิผล
ข. ประสิทธิภาพ
ค. ความเหมาะสม
ง. ความเป็นธรรม
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ความพอเพียง หมายถึง ความสามารถในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไขทางทรัพยากรมักจะวัดในรูปของงบประมาณที่มีอยู่
12. การนำเกณฑ์อื่น ๆ มาพิจารณาพร้อม ๆ กัน เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ประเภทใด
ก. ประสิทธิผล
ข. ประสิทธิภาพ
ค. ความเหมาะสม
ง. ความเป็นธรรม
จ. ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ ค. ความเหมาะสม
ความเหมาะสม หมายถึงการพิจารณาคุณค่าและความเหมาะสมของเป้าหมายของทางเลือกที่กำหนดไว้ โดยการนำเกณฑ์อื่น ๆ หลายเกณฑ์มาพิจารณาพร้อมๆ กัน
13. ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ก. ประสิทธิผล
ข. ประสิทธิภาพ
ค. ความเหมาะสม
ง. ความเป็นธรรม
จ. ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ ก. ประสิทธิผล
ประสิทธิผล หมายถึง ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการได้ครบถ้วนตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
14. Thomas R.Dye มีความสำคัญต่อวิชานโยบายสาธารณะอย่างไร
ก. ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะ
ข. ให้เหตุผลในการกำหนดนโยบาย
ค. ศึกษาเรื่องการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
จ. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะ
15. Harold Lasswell มีความสำคัญต่อวิชานโยบายสาธารณะอย่างไร
ก. ศึกษาเรื่องการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ข. ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
ค. ให้เหตุผลในการกำหนดนโยบาย
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
จ. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข. ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
Harold Lasswell เป็นผู้เสนอแนวคิดเรื่องนโยบายศาสตร์ (Policy Sciences ) และได้รับการยกย่องว่า เป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” เนื่องจากเป็นผู้ที่ผสมผสานแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
บิ๊กซีขอนแก่ decho pragay ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com
สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724