1. บุคคลใดเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา
(ก) ราษฎรที่ถูกเกณฑ์มาช่วยราชการ
(ข) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการประกวดเทพี
(ค) ลูกจ้างภารโรงประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรี
(ง) ผิดทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ง
ข้อสังเกต การที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา จะต้อง
1. ต้องมีการแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย และ
2. การ แต่งตั้งนั้นต้องเป็นการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการหน้าที่ราชการ หมายถึง หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น
2. ความผิดใดแม้ไม่มีเจตนาก็เป็นความผิดได้
(ก) ความผิดอันยอมความได้ (ข) ความผิดอาญาแผ่นดิน
(ค) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (ง) ความผิดที่กระทำโดยประมาท
ตอบ ง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4 การ กระทำโดยประมาท คือ การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลภาวะเช่นนั้นจักต้องมีทัศนะวิสัยและพฤติกรรม กล่าวถึงการกระทำเสียก่อน แต่หากเทียบกับในภาวะวิสัยและพฤติการณ์เช่นเดียวกันแล้วก็กระทำไม่แตกต่าง กับจำเลย จำเลยก็ไม่เป็นประมาท
3. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจราจร ไดั้เรียกผู้เสียหายซึ่งขับรถบรรทุกฝ่าฝืนจราจรหยุดรถเพื่อตรวจใบอนุญาติขับ ขี่ และจับกุมอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ภายหลังได้เรียกเงินจากผู้เสียหายโดยมิชอบ ดังนี้
(ก) เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน
(ข) ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่
(ค) ผิดฐานกรรโชก (ง) ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ก
ตามข้อ ก เป็นความผิดมาตรา 149 กล่าวคือเป็นการเรียกรับทรัพย์สิน (สินบน) เพื่อจะกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งของตน จะตรงกับคำถามมากกว่า ข้อ (ข) เนื่องจากตามข้อ (ข) ไม่ชัดเจนนั้น เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 จึง ต้องมีตัวประกอบที่ว่าด้วยคือ การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน จะต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือกระทำโดยทุจริต ซึ่งมาตรา 149 จะตรงกับกรณีการรับทรัพย์สินมากกว่า
4. เหตุที่ทำให้การกระทำ ไม่เป็นความผิดและไม่มีโทษซึ่งผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้ คือ
(ก) ป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ
(ข) เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
(ค) ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก (ง) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค.
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อ
1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
2. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด คือ ไม่เป็นความผิด
3. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ตามโครงร่างวิจัย 1. ถ้าการกระทำนั้นมีกฎหมายยกเว้นความผิดบุคคลก็ไม่ต้องรับผิด ซึ่งกฎหมายยกเว้นความผิดมีหลักเกณฑ์ คือ
ก) กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา เช่น การป้องกันตามมาตรา 68 การทำแท้งตาม มาตรา 305 การแสดงความเห็นโดยทุจริต ตาม มาตรา 329 การแสดงความเห็นในศาลตาม มาตรา 231 เป็นต้น
ข) ความ ยินยอมยกเว้นความผิด ซึ่งไม่มีประวัติในกฎหมาย แต่เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่นำมาใช้เพื่อเป็นคุณ เช่น แพทย์ตัดขาคนไข้เพื่อช่วยชีวิต เป็นต้น
ค) กฎหมายยกเว้นความผิดในรัฐธรรมนูญ เป็นการอภิปรายในสภา
ง) กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การตัดกิ่งไม้รุกล้ำ มาตรา 1347
จ) กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้กระทำ (เจ้าพนักงาน) มีอำนาจกระทำได้ การกระทำนั้นก็จะไม่เป็นความผิดทางอาญา เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ทำไมเจ้าพนักงานที่ยังยางล้อรถคนร้ายจนยางแตก เพื่อจับกุมคนร้าย เป็นการกระทำพอสมควรแก่สามารถทำได้
5. ในกรณีเพิ่มโทษน้อยกว่า และลดโทษมากกว่าต้องเป็นไปดังต่อไปนี้
(ก) แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพราะเป็นดุลพินิจของศาล
(ข) เพิ่มก่อนแล้วจึงลดเพราะเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่า
(ค) ลดก่อนแล้วจึงเพิ่มเพราะเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่า
(ง) แล้วแต่พนักงานอัยการจะร้องขอ
ตอบ ขตามมาตรา 54 กำหนด ให้ศาลกำหนดโดยที่จะลงเส้นก่อน แล้วจึงเพิ่มหรือลดโทษ ในกรณีที่มีทั้งการเพิ่มโทษและลดโทษ ให้กำหนดโทษก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ และลดโทษจากโทษที่เพิ่มแล้วนั้น แต่ถ้าส่วนของการเพิ่มเท่ากับหรือมากกว่าส่วนของการลด และศาลเห็นสมควรจะไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้
6. รถ ยนต์วิ่งมาตกหลุมที่เป็นท่อระบายน้ำ เป็นเหตุให้คนโดยสารเป็นอันตรายบาดเจ็บสาหัส โดยไม่มีเครื่องหมายให้รู้ได้อยากทราบว่าเทศบาลมีความผิดข้อหาใด
(ก ) ไม่มีความผิด
(ข) มีความผิดต้องชดใช้ทางแพ่ง
(ค) ต้องชดใช้ทางแพ่งและผิดทางอาญา
(ง) ประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินเสียหาย
ตอบ ค
7. หลักสำคัญที่สุดประการหนึ่งของการกระทำโดยพลาดตาม ปอ. มาตรา 60 คือ
(ก) ผู้เสียหายจะต้องมี 2 ฝ่าย ขึ้นไป
(ข) ผู้กระทำเล็งเห็นว่าผลจะเกิดแก่ผู้เสียหาย
(ค) ต้องเจตนากระทำความผิดต่อทรัพย์และผลที่เกิดแก่ทรัพย์
(ง) ผู้กระทำต้องไม่ประสงค์ต่อผล
ตอบ ก
ตามมาตรา 60 การกระทำผิดตามมาตรานี้ จะเป็นพลาดได้ต้องมีเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่งและผลการกระทำไป เกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง
การกระทำใดพลาดมีหลักเกณฑ์
1. การกระทำโดยพลาด ต้องมีผู้ถูกกระทำสองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายแรกคือ ผู้เสียหายคนแรกที่ผู้กระทำมีเจตนา ประสาก็ต้องเห็นผลหรือเล็งเห็นผล ฝ่ายที่สอง คือ ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
2. พลาด นั้นจะต้องไม่เลือกเจตนาประสงค์ต่อผล และไม่ใช่เรื่องเล็งเห็นผล เช่น แดงต้องการฆ่าดำ ดำยืนติดกับขาวแดงใช้ปืนลูกซองยิงดำ กระสุนถูกดำตายและกระสุนแผ่กระจายไปถูกขาวตายด้วย แดงยิงดำเป็นเจตนาฆ่าประเภทประสงค์ต่อมาตรา 59 และมาตรา 288 ขาวยืนติดกับดำและใช้ลูกซอง จึงเป็นเจตนาฆ่า ประเภทเล็งเห็นผล มาตรา 59 และมาตรา 288
3. การที่ผลเกิดแก่ผู้ซึ่งได้รับผลร้ายไม่ต้องคำนึงว่าผู้กระทำจะประมาทหรือไม่
4. การ กระทำโดยพลาดจะต้องมีผลเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายที่สอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าผลจะเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกด้วยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเรื่องเจตนาโอน แดงเจตนาฆ่าดำ แต่พลาดไปถูกขาว เจตนาฆ่าก็จะโอนไปเสียเจตนาฆ่าต่อขาวด้วย
8. วิธีการเพื่อความปลอดภัย
(ก) เป็นโทษทางอาญาที่เบาที่สุด
(ข) เป็นวิธีการซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันสังคมจาการกระทำผิดซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต
(ค) กฎหมายให้อำนาจศาลโดยแท้ เพื่อใช้วิธีการนี้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
(ง) เป็นโทษทางอาญาซึ่งมีวัตถุประสงค์จะป้องกันสังคม
ตอบ ข
ความแตกต่างระหว่างโทษตามมาตรา 18 (ประหารชีวิต,จำคุก,กักขัง,ปรับ,ริบทรัพย์สิน) กับวิธีการเพื่อความปลอด ภัย คือโทษซึ่งใช้ลงแก่ผู้กระทำความผิดเพื่อการปราบปรามนั้นเป็นการมองย้อนใน อดีตที่ผ่านมาว่ากระทำความผิดอะไรมาแล้วสมควรถึงจะลงโทษอย่างไร แต่วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะเป็นการไปในอนาคตว่าจะมีมาตราการอย่างใดบ้าง ที่เอามาใช้เพื่อป้องกันผู้ที่มีสภาพเป็นอันตรายไม่ให้ไปกระทำความผิดอีกใน อนาคตซึ่งอาจจะกระทำโดยการตัดโอกาสที่เขาจะไปทำความผิดเช่น เอาตัวไปกักกัน หรือควบคุมคนวิกลจริตไว้ในสภาพ เป็นต้น
สำหรับการที่ ข้อ (ค) ไม่ถูกต้องเนื่องจากวิชาการเพื่อความปลอดภัยบทวิธีเป็นต้นของพนักงานอัยการที่จะร้องขอการฟ้องขอให้กักกันตมามาตรา 43 เป็นต้น
9. โดยหลักแล้วต้องใช้ทฤษฎีเงื่อนไขเสมอแต่บางกรณีต้องใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมแทนทั้งๆที่ถ้าใช้ทฤษฎีเงื่อนไขก็ใช้ได้
(ก) กรณีที่ผลของการกระทำความผิดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษน้อยลง
(ข) กรณีมีเหตุแทรกแซงเกิดขึ้น
(ค) กรณีที่เป็นผลจากการกระทำโดยไม่เจตนาไม่ประมาท
(ง) ไม่มีข้อถูก
ตอบ ข
เรื่อง นี้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล กล่าวคือ เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้นผู้กระทำจะต้องรับผิดชอบในผลหรือไม่มีหลัก คือ
1. ผล โดยตรง คือ ผลตามทฤษฎีเงื่อนไข กล่าวคือ ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้นหลักคือ ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยผลไม่เกิด ถือว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของเลย และต้องมีเหตุอื่นๆ ประกอบด้วยในการที่ก่อให้เกิดนั้นขึ้นก็ตามแต่ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลย ผลก็ยังเกิดอยู่นั่นเองถือว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของ จำเลย
2. ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำได้รับโทษหนักขึ้น ผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาด้วย ตามมาตรา63 ผล ธรรมดาคือผลตามทฤษฎีตามเหตุที่เหมาะสม คือเป็นผลที่วิญญูชนคาดเห็นความเป็นไปได้ของผลนั่น เช่น แดงโกธรดำ เมื่อรู้ว่าดำไปต่างประเทศ จึงว่างเพลิงเผาบ้านดำ บ้านดำไหม้ไฟ แดงผิด มาตรา 218 แน่นอน เพราะไฟลุกไหม้เป็นผลโดยตรงจากการวางเพลิงของแดง แต่เมื่อไฟตกลงในบ้านดำ ปรากฏว่าพบศพขาวตายในไฟ ขาวได้รับมอบหมายจากดำให้มาเฝ้าบ้าน ความตายของขาวเป็นผลธรรมดาจากการกระทำของแดง และเป็นผลให้แดงต้องรับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 224 ความตายของคนเป็นผลธรรมดา ของการวางเพลิงซึ่งวิญญูชนควรคาดหมายได้ เป็นผลธรรมดา ตามมาตร 63
3. บาง กรณีผลที่เกิดขึ้นนั้นปลายไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้ที่กระทำต้องรับผลที่หนักขึ้น แต่เป็นผลในขั้นปลายที่เกิดจากสิ่งๆ หนึ่งในระหว่างกลางหรือเรียกว่า เหตุแทรกแซง ประดับ คือผู้กระทำจะรับผลในบั้นปลายหรือไม่ ให้ดูว่าถ้าผลในบั้นปลายอันเป็นผลโดยตรงนั้นเกิดจากเหตุแทรกแซง จะต้องพิจารณาว่า เหตุแทรกแซงนั้นวิญญูชนคาดหมายได้หรือไม่ ถ้าคาดหมายได้ผู้กระทำจะต้องรับผิด
10. ดำยืมโฉนดของผู้อื่นมา แล้วขูดลบชื่อเจ้าของโฉนด ดำมีความผิดข้อหาใด
(ก) ปลอมแปลงเอกสาร (ข) ปลอมแปลงเอกสารราชการ
(ค) ปลอมแปลงใบสำคัญ (ง) ผิดทุกข้อ
ตอบ ง
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารตามมาตรา 264 วรรคแรก มี 3 ความผิดคือ
ความผิดที่ 1 – ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือ แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด
ความผิดที่ 2 – การ 1) เติม 2)ตัดทอนข้อความ หรือ 3) แก้ไขด้วยประการใด ในเอกสาร
ที่แท้จริง
ความผิดที่ 3 – การประทับตราปลอม หรือ ลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร
ซึ่งทั้งความผิดทั้ง 3 ความ ผิดนั้นจะต้องทำโดยประการที่น่าจะเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และมีมูลเหตุชักจูงเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง แต่เนื่องจากตามคำถามไม่ชัดเจนว่าการขูดลบชื่อเจ้าของโฉนด เป็นการกระทำเพื่ออะไร
11. เจตนาพิเศษ หมายถึง
(ก) เจตนาและมูลเหตุจูงใจประกอบกัน
(ข) เจตนาชั่วร้าย
(ค) เจตนาที่ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกกระทำ
(ง) ความตั้งใจในการกระทำความผิด
ตอบ ก เจตนาพิเศษ คือ มูลเหตุจูงใจในการกระทำ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า”เพื่อ”
12. อุบัติเหตุ คือ
(ก) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออุบัติขึ้นในกรณีต่างๆ
(ข) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
(ค) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยขาดความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์
(ง) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้เจตนาหรือประมาท
ตอบ ง
13. ก. เอาปืนเด็กเล่นมาขู่ ข. แทง ค. ให้ตาย ข. เชื่อว่าเป็นความจริง โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูให้ดีเสียก่อน ซึ่งถ้า ข. ใช้ความระมัดระวัง อย่างเพียงพอ ก็จะทราบว่าเป็นปืนเด็กเล่น ข. กลัวตาย จึงแทง ค ตาย ดังนี้
(ก) ข. มีความผิด ฐานทำให้ ค. ตายโดยประมาท
(ข) ไม่มีความผิดฐานใดเลย
(ค) ข. มีความผิดฐานฆ่า ค. ตายโดยเจตนา
(ง) ข. มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการกระทำผิดด้วยความจำเป็น
ตอบ ก
การกระทำโดยประมาท คือการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติกรรม
ภาวะเช่นนั้น หมายถึง ขณะกระทำการนั้นๆ
วิสัย หมายถึง สภาพภายในตัวผู้กระทำ
พฤติกรรม หมายถึง สภาพภายนอกผู้กระทำ
เมื่อ เกิดกรณีที่จะต้องพิจารณา ประเภท หรือไม่ จะต้องพิจารณาโดยหากบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในภาวะและวิสัยเช่นเดียวกับจำเลย ก็ไม่อาจระมัดระวังได้อีกว่าจำเลย จำเลยจึงจะไม่ประมาท
ส่วนการกระทำความผิดโดยจำเป็นตาม (ง) แนะตามมาตรา 67 นั้น แบ่งได้เป็น 2 กรณี
1. การกระทำความผิดโดยเป็น อันเนื่องมาจาก อยู่ในบังคับหรืออยู่ภายใต้อำนาจ โดยไม่อาจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงได้
2. การกระทำความผิดโดยจำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย
ตามคำถามข้อ 13 ข้อ เท็จจริงน่าจะใกล้เคียงกับการกระทำใดแก่เพื่อให้พ้นภยันตราย จึงต้องการองค์ประกอบที่สำคัญ คือมีภยันตรายเกิดขึ้น แต่กรณีตามคำถามขึ้นที่นำมาขู่เป็นปืนเด็กเล่น จึงไม่อาจก่อภยันตรายได้ จึงไม่เข้าลักษณะที่จะอ้างการกระทำโดยจำเป็นได้
14. ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าได้กระทำเกินกว่าเหตุ เนื่องจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือกลัว
(ก) ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้
(ข) ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นพียงใดก็ได้
(ค) ผู้กระทำต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
(ง) ผู้กระทำต้องระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นมาตรา 69 ตอนท้าย
ตอบ ก
15.กระทำความผิดหลายกระทง คือ การกระทำความผิด
(ก) กรรมเดียว และเป็นความผิดผลเดียว
(ข) กรรมเดียว และเป็นความผิดหลายบท
(ค) หลายกรรมเกิดเป็นความผิดหลายบท
(ง) หลายกรรมแต่เป็นความผิดบทเดียว
ตอบ ค
16. เอกสารสิทธิหมายถึง
(ก) ส.ค. 1 (ข) ใบแต่งทนายความ
(ค) ทะเบียนสมรส (ง) คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา
ตอบ ก
เอกสารสิทธิ์ มีคำนิยามตามมาตรา 1 (9) ซึ่งหมายถึง “ เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน จ้าง หรือระงับสิทธิ์ “ สิทธิ นั้นอาจเป็นบุคคลลัทธิหรือทรัพย์สินก็ได้ แต่สิ่งนี้สำคัญ คือ เอกสารสิทธิ์นั้นจะต้องเป็นเอกสารที่แสดงที่แดงให้เห็นถึงสิทธินั้นโดยตรงใน ตัวเอกสารนั้นเอง เช่น สัญญากู้ยืมเงิน ส.ค. 1 ใบเสร็จรับเงิน ตั๋วเงินต่างๆ
สิทธิ ทะเบียนสมรส เป็นเพียงเอกสารที่รับรองสถานะของบุคคลเท่านั้น ในตัวเอกสารไม่ได้ก่อตั้งสิทธิขึ้นมา ค่าร้องทุกข์ไม่ได้ก่อตั้งสิทธิ เพราะสิทธิของผู้เสียหายเป็นอยู่แล้ว เช่นเกี่ยวกับดำเนินการ หากของศาลบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นเพียงเอกสารที่แสดงฐานะบุคคล
17. เอกสาร หมายถึงข้อใด
(ก) ควันที่พ่นออกเป็นคำด่า (ข) ไฟกระพริบเป็นตัวเลข
(ค) ภาพถ่าย (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ข
ความหมายของเอกสารจะอยู่ในมาตรา 1 (7) มีข้อควรสังเกตุว่าสาระสำคัญที่จะทำให้เป็นเอกสารอยู่ที่กระทำให้ปรากฎความหมายด้วยตัวอักษร ฯลฯ คืออ่านได้ใจความ ฉะนั้นการขีดเขียนแต่ไม่ปรากฏความหมาย เช่น วาดรูป รูปภาพ จึงไม่ใช่เอกสาร
18. การพยายามกระทำความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
(ก) การพยายามฆ่าตัวเอง (ข) การพยายามวางเพลิง
(ค) การพยายามกระทำความผิดซึ่งผู้กระทำยับยั้งเสียเองหรือกลับใจแก้ไขไม่ให้กระทำนั้นบรรลุผล
(ง) การพยายามปล้นทรัพย์
ตอบ ค
มาตรา 82 มี ข้อสังเกตว่า ความผิดที่พยายามกระทำ แต่ยับยั้งกลับใจนั้น จะต้องยังไม่เป็นความผิดสำเร็จ เช่น ลักทรัพย์สำเร็จพาทรัพย์เคลื่อนที่แล้ว กลับใจนำไปคืน ไม่เข้ากรณีมาตรา 82 แต่ยาวเป็นเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 เป็นต้น
สำหรับ การฆ่าตัวตายนั้นไม่เป็นความผิดกฎหมายอยู่แล้ว การพยายามฆ่าตนเองจึงไม่เป็นความผิดด้วย โปรดสังเกต ไม่ทำความผิดทำให้ต้องรับโทษ แต่หากกฎหมายกำหนดว่า ไม่ต้องรับโทษ แสดงว่าเป็นความผิด แต่ยกเว้นโทษ
19. ดูต้นทางให้เพื่อนทำอนาจาร มีความผิดฐานใด
(ก) เป็นตัวการในการกระทำอนาจาร (ข) เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำอนาจาร
(ค) พยายามกระทำอนาจาร (ง) ไม่มีความผิดฐานใด
ตอบ ข
ถ้า การต่างกับผู้สนับสนุน ตรงที่ว่า ตัวการต้องมีการกระทำ ในขณะที่การเป็นความผิดฐานพยายามได้จะต้องเป็นการที่ความผิดยังไม่สำเร็จ แต่เมื่อความผิดสำเร็จและเกิดผลแล้ว จะไม่เป็นการพยายามอีกไม่เข้ากรณี (ค)
20. ถ้ามีเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำผิดคนใด
(ก) ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดี จะนำเหตุนั้นไปใช้กับผู้กระทำความผิดคนอื่นด้วยก็ได้
(ข) ถ้าเป็นเหตุส่วนตัว จะนำเหตุนั้นไปใช้กับผู้กระทำความผิดคนอื่นด้วยก็ได้
(ค) ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดี ใช้กับผู้กระทำความผิดคนอื่นด้วยก็ได้
(ง) ผิดทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ค มาตรา 89
21. ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงซึ่งผู้กระทำมิได้มีเจตนาร้าย จะแก้ตัวได้เพียงใด
(ก) อาจทำให้พ้นผิด (ข) ไม่ต้องรับโทษ
(ค) ได้รับโทษน้อยลง (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ง
มาตรา 62 สำคัญผิดในข้อเท็จจริง กล่าวคือ ข้อเท็จจริงไม่มีแต่คิดว่ามีข้อเท็จจริง เช่น จำเลยเชื่อว่า เข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด มาตรา 277 วรรค 1 จำเลยยอมไม่มีความผิดฐานนี้
22. พลตำรวจชาติ ประดับเครื่องหมายยศ สิบตำรวจโท ไปขอเงินพ่อค้าโดยอ้างว่าผู้ใหญ่ให้มาเอาพ่อค้าจะให้ 100 บาท พลตำรวจชาติ บอกว่าไม่พอ และว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือแล้วกลับไป พลตำรวจชาติมีความผิดฐานใด
(ก) ฐานกรรโชก (ข) ฐานรีดเอาทรัพย์
(ค) เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบ
(ง) ประดับเครื่องหมายยศสิบตำรวจเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิใช้
ตอบ ง
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ตามมาตรา 337 จะต้องเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้คำว่าประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายโดยอาจมีหรือไม่มีอาวุธ
ส่วนความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 148 จะ ต้องเป็นการใช้อำนาจ ในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ เบื้องต้นจะต้องมีอำนาจให้กระทำหน้าที่นั้นได้แล้วใช่โดยมิชอบ จะต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่นั้นก่อน แก้จากคำถาม พลตำรวจถ้ายังไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ใดที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่หรือเป็น หน้าที่ของงานไว้ เพียงแต่ติดเครื่องหมายทางตำรวจชั้นผู้ใหญ่เพื่อเอาเครื่องหมายไปอวดแก่พ่อ ค้าพ่อค้าเพื่อขอเงินเท่านั้น จึงเป็นความผิดฐานประดับเครื่องหมายที่ตนไม่มีสิทธิใช้ตามมาตรา 146
23. คนขับรถแท็กซี่จำนวน 15 คน รวมหัวกันรับส่งคนโดยสารที่สถานีรถไฟ โดยมีความมุ่งหมายว่าถ้าคนอื่นมารับส่งบ้างจะแกล้งทำให้ของโสโครกเปรอะเปื้อน คนขับรถทั้ง 15 คน มีความผิดฐานใด
(ก) ฐานซ่องโจร (ข) ฐานอังยี่ (ค) ฐานก่อการจราจล
(ง) แกล้งทำให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก
เป็นความผิดลงโทษ ตามมาตรา 389 เมื่อมีการกระทำนั้นเกิดขึ้นไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร แม้ว่าจะสมคบกันเกิน 5 คน ก็ตาม เพราะ การกระทำความผิดตามมาตรา 389 นั้น โทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง 1 ปี จึงขาดองค์ประกอบ ตามมาตรา 210 ไม่เป็นความผิดฐานอังยี่ เพราะไม่ใช่คณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ
24. นายสงวนได้กล่าวต่อ จ.ส.ต. สันติ ในขณะที่จะเข้าจับกุมตน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า “ไอ้จ่า ถ้ามึงจับกู กูจะเอามึงออก “ นายสงวนกล่าวถ้อยคำนี้เป็นความผิดฐานใด
(ก) ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่
(ข) หมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน
(ค) ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
(ง) ไม่มีความผิด
ตอบ ค
หมิ่น ประมาท เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยบุคคลที่สามเมื่อฟังแล้วจะลดคุณค่าของผู้ถูกใส่ความลง ดูหมิ่นหมายถึงการดูถูก เหยียดยาม ทำให้อับอายเสียหาย กับประมาทหรือด่า โดยผู้กล่าว หรือผู้กระทำความผิดจะมีความรู้สึกลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นลง
25. ร.ต.ต. ธวัชพนักงานสอบสวนได้ทำการไกล่เกลี่ยแบ่ง ทรัพย์สินกันระหว่างสามีภรรยา นายตุ๋ย สามีได้กล่าวต่อ ร.ต.ต.ธวัช ว่า “ หมวดทำอย่างนี้ไม่ยุติธรรม ชุ่ยมาก” ถ้อยคำที่นายตุ๋ยกล่าวเป็นความผิดฐานใดหรือไม่
(ก) ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
(ข) หมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
(ค) กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
(ง) ไม่มีความผิด
ตอบ ง
การกระทำของ ร.ต.ต. ธวัช ในการไกล่เกลี่ยนั้นไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจึงไม่เป็นการหมิ่นหรือหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการยุติธรรมปฎิบัติการ ใหม่ล่าสุด.
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
รายละเอียดประกอบด้วย
- ข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
- ข้อสอบ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ข้อสอบ พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไข 2550
- ข้อสอบ วิเคราะห์นโยบายและแผน
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม
- เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
- แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ Conversation ข้อสอบ Reading
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
- พระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙
- อาชญาวิทยา และทัณฑวิทยา
สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724
ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย บิ๊กซีขอนแก่ decho pragay ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ decho.by@hotmail.com