ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ สรุป พรบ.ที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ สรุป พรบ.ที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้

แชร์กระทู้นี้

ภาษีป้าย
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี
- ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น
- เพื่อหารายได้ หรือโฆษณาสินค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้
- แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
- ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย
2. ป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ บริเวณโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณา
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบกิจการค้า
6. ป้ายของราชการ
7. ป้ายขององค์การที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายนั้นๆ และนำรายได้ส่งรัฐ
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
11.  ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินการกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
1. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรคเตอร์
2.  ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
3. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือ 1 และ 2 โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
3.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
1) เจ้าของป้าย
2) ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบฯ หรือเมื่อ พนง. จนท. ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
4.  ระยะเวลาการยื่นแบบฯเสียภาษีป้าย
1) เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
2) ติดตั้งป้ายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบฯภายใน 15 วัน
5.  คำนวณพื้นที่ อัตราค่าภาษี และคำนวณภาษีป้าย
5.1 การคำนวณพื้นที่ป้าย ให้คำนวณเป็นตารางเซนติเมตร
5.2 อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้
1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดหรือไม่
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม 1) 2) หรือ 3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น
5) ป้ายตาม 1) 2) หรือ 3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
5.3 การคำนวณค่าภาษี ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษีมีพื้นที่ 10,000
ตารางเซนติเมตร เป็นป้ายประเภทที่ 2 ป้ายนี้เสียภาษีดังนี้  10,000/ 500X 20 = 400 บาท
6.  เงินเพิ่ม
   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1) ไม่ยื่นแบบฯ ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้าย เว้นแต่ได้ยื่นแบบฯก่อนที่ พนง.จนท.แจ้งให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของค่าภาษีป้าย
2) ยื่นแบบฯโดยไม่ถูกต้อง ทำให้เสียภาษีลดลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีได้มาขอแก้ไขแบบฯให้ถูกต้องก่อน พนง.จนท.แจ้งการประเมิน
3) ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของค่าภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม 8.1 และ 8.2 มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย
7.  บทกำหนดโทษ
1) ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยาน หลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2) ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 50,000 บาท
3) ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายหรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
4) ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติของ พนง.จนท.หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งซึ่งสั่งให้มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับป้ายมาตรวจสอบภายในกำหนดเวลาอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8.  การอุทธรณ์การประเมินภาษี
   เมื่อผู้เสียภาษีได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) แล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
   ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้บริหารท้องถิ่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
9.  การขอคืนเงินภาษีป้าย
   ผู้ที่เสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสีย ผู้นั้นมีสิทธิขอรับคืนเงินได้โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย
อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้
อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร)
ลักษณะ   บาท
1) อักษรไทยล้วน   3
2) อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น   20
3)ป้ายดังต่อไปนี้   40
    ก. ไม่มีอักษรไทย   
   ข.   อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ   
4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้อัตราตาม 1) 2) หรือ 3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น   
5) ป้ายใดเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท   
การตีราคาปานกลาง
มาตรา 13   ให้นำราคาที่ดินในหน่วยที่ศึกษา ซึ่งซื้อขายกันโดยสุจริต ครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 3 ราย,
ไม่เกิน 1 ปี
มาตรา 14   ผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งแต่คณะกรรมการ
มาตรา 16   ตีราคาปานกลางทุกระยะ 4 ปี
มาตรา 18   ให้ดำเนินการภายในเดือนตุลาคมของปีที่จะครบรอบ 4 ปี
มาตรา 20   เจ้าของที่ดินไม่เห็นด้วย อุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ภายใน 30 วัน
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
1. ที่ดินของบุคคลหรือคณะบุคคล มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิของเอกชน ได้แก่ พื้นที่ดิน ภูเขาหรือน้ำด้วย (มาตรา 6)
2. ไม่เป็นที่ดินที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน (มาตรา 8 และมาตรา 22)
การแต่งตั้ง เจ้าพนักงานประเมิน และ เจ้าพนักงานสำรวจ (มาตร 9)
1. เขตเทศบาล ให้นายกเทศมนตรี
2. นอกเขตเทศบาล ให้นายอำเภอท้องที่
ที่ดินที่เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 8)
1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ใน กิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบ    ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง  หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานหรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 22)
   บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันหรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน และที่ใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังนี้
(1)  นอกเขตเทศบาล ลดหย่อนไม่เกิน 5 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่ ทั้งนี้
(2) ในเขตเทศบาลตำบล ลดหย่อนไม่เกิน 1 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 200 ตารางวา
(3) ในเขตเมืองพัทยาและเขตเทศบาลอื่นนอกจาก (2) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100 ตารางวา แต่ไม่น้อยกว่า 50 ตารางวา
(4) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ลดหย่อนได้ดังนี้
. ชุมชนหนาแน่นมาก ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100 ตารางวา แต่ไม่น้อยกว่า 50 ตารางวา
. ชุมชนหนาแน่นปานกลาง ลดหย่อนได้ไม่เกิน 1 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา
. ในท้องที่ชนบท ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่
ท้องที่ใดจะเป็นท้องที่ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น
ในกรณีที่บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น
การลดหย่อนตามเกณฑ์ในมาตรานี้ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว
มาตรา 23   การเพาะปลูก ถ้าในปีล่วงมาแล้ว เสียหายมากผิดปกติ/ทำการเพาะปลูกไม่ได้ ด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไปผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจพิจารณายกเว้น/ลดภาษี ตามระเบียบมหาดไทย
- เสียหายเกิน 2 ใน 3 ของเนื้อที่เพาะปลูก ยกเว้นทั้งหมด
- เสียหายเกิน 2 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ลดตามส่วนที่เสียหาย
หลักฐานที่ใช้ประกอบในการเสียภาษี
   ปีแรกของการเสียภาษี ควรแนะนำผู้เสียนำหลักบานเท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี เช่น
1. บัตรประตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท
4. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3
5.  ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
6.  หนังสือมอบอำนาจกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน
ปีต่อไป ให้นำ ภ.บ.ท.5 ท่อนที่มอบให้เจ้าของที่ดินหรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายมาด้วย
การยื่นแบบฯ กรณีเป็นเจ้าของที่ดินรายใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลง
1) เจ้าของที่ดินเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินหรือเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินขึ้นใหม่ ต้องมายื่นแบบฯ หรือยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดิน ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับโอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบ      ภ.บ.ท.5 หรือ ภ.บ.ท.8 แล้วแต่กรณี
2) เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแล้ว จะออกใบรับไว้ให้เป็นหลักฐาน
3) เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด
4) การขอชำระภาษีบำรุงท้องที่ในปีถัดไปจากปีที่มีการประเมินราคาปานกลางของที่ดินให้ผู้รับประเมินนำใบเสร็จรับเงินของปีก่อนพร้อมไปชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี
เงินเพิ่ม
1. ไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษี เว้นแต่ได้ยื่นแบบฯ ก่อนที่ จพง.ประเมินจะแจ้ง เสียงเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของภาษี
2. ยื่นแบบฯไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ที่ประเมินเดิม เว้นแต่ได้มาขอแก้ไขแบบฯให้ถูกต้องก่อน จพง.ประเมินแจ้ง
3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อ จพง.สำรวจ ทำให้เสียภาษี ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
   เงินเพิ่ม (ตามมาตรา 45)
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด คิดร้อยละ 10 หรือร้อยละ 5 ครั้งเดียว
ในปีแรกที่มีการยื่นแบบแสดงรายการ (หนังสือ มท 0409/ว 847 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 )
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


   
   
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
pungnoy ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณคะ
นู๋ผึ้ง
rungthiwa255 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้