1. ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรือท่าอากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ศาลใดเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
ก. ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้เสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักร
ข. ศาลทหาร
ค. ศาลแพ่ง
ง. ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ต้องหาในกรณีที่ผู้ต้องหามีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
คำตอบ : ข้อ ค. ป.วิ.พ. มาตรา 3 (1) กำหนดให้ “เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
1. กรณีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่ในราชอาราจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ ......”
2. ข้อใดไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
ก. ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน
ข. ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเก็บกิน
ค. คำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงโฉนด
ง. ฟ้องขับไล่ออกจากบ้านพิพาท
คำตอบ : ข้อ ค. เพราะคำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงโฉนด ไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1428-1429/2514)
3. คำฟ้องในคดีซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้ฟ้องคดีต่อศาลต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. ศาลแพ่ง
ข. ศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา
ค. ศาลที่จำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้ในราชอาณาจักรอยู่ในเขต
ง. ศาลที่โจทก์มีทรัพย์สินอยู่ในภูมิลำเนาอยู่ในเขต
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 4 ตรี กำหนดว่า “ คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาราจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้ ”
4. ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงมีว่าผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร แต่ผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องนานถึง 20 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย ดังนี้ถ้าผู้ร้องจะร้องของจัดการมรดก ต้องร้องต่อศาลใดจึงจะเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
ก. ศาลจังหวัดพิจิตร
ข. ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
ค. ศาลแพ่ง
ง. ข้อ ก และ ข ถูก
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะแม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร แต่ผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องนานถึง 20 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย แสดงว่าผู้ตายมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแหล่งหนึ่งด้วย ดังนั้น นอกจากบ้านที่จังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังถือได้ว่าบ้านที่จังหวัดสุมทรปราการเป็นภูมิลำเนาเป็นภูมิลำเนาของผู้ตายอีกแห่งหนึ่งด้วย เพราะในคดีร้องขอจัดการมรดกนั้นอาจจะมีศาลที่จะยื่นคำร้องขอได้หลายศาล ( คำพิพากษาฎีกาที่ 5912/2539)
5. ต่อไปนี้ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะคดีที่เป็นคดีเดียวแต่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาลได้
ก. คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยุ่ในเขตศาลต่างกัน
ข. คดีที่มีหลายข้อหา
ค. คดีตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล
ง. ไม่มีข้อถูก
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 ได้แก่
1. คดีฟ้องจำเลยร่วมกันหลายคนที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่ละคนมีภูมิลำเต่างกัน
2. คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลต่างกัน
3. คดีที่มีหลายข้อหา
4. คดีตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล
ในคดีที่มีหลายศาลมีอำนาจเหนือคดีนั้น โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้หรือฟ้องจำเลยแต่ละคนในแต่ละเขตศาลก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มี เพราะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยใช่เหตุ การยื่นฟ้องต่อศาลใดที่มีเขตอำนาจนั้นเป็นสิทธิ์ของโจทก์ จึงไม่ต้องขออนุญาตศาล และศาลที่โจทก์เสนอคำฟ้องนั้นจะเกี่ยงไปให้ฟ้องยังอีกศาลหนึ่งไม่ได้เพราะเป็นหน้าที่
6. ข้อใดไม่ใช่หลักในเรื่องการขอโอนคดี
ก. ต้องมีศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นตั้งแต่สองศาลขึ้นไป
ข. จำเลยเท่านั้นมีสิทธิขอโอนคดี
ค. การพิจารณาคำร้องขอโอนคดีจะต้องฟังโจทก์และคู่ความอื่น ถ้ามี ก่อนว่าจะคัดค้านอย่างไร หรือไม่
ง. ถ้าศาลที่รับโอนคดีไม่ยินยอม ศาลเดิมจะต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด และคำสั่งสอน ของประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะ ถ้าศาลที่รับโอนคดีไม่ยินยอม ศาลเดิมจะต้องส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด และคำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิพ. มาตรา 8
7. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ของการรวมคดีที่มีเขตอำนาจศาลต่างกัน
ก. ศาลที่รับโอนคดีจะต้องมีอำนาจเหนือคดีที่รับโอน
ข. คดีมีประเด็นอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกันอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นต่างศาล กัน แม้กฎหมายจะใช้คำว่าคดีสองเรื่องแต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องสองเรื่องเสมอไปอาจจะมี มากกว่าสองเรื่องก็ได้ สองศาลก็ได้
ค. คู่ความในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่นั้นมีสิทธิที่จะรวมคดีได้ ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคู่ความใน คดีหนึ่งคดีใดก็ได้
ง. คู่ความขอดอนคดีไปรวมที่ศาลใดก็ได้และศาลที่จะโอนไปรวมนั้นต้องถามศาลที่รับโอนก่อนว่า ยินยอมที่จะรับโอนหรือไม่
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะศาลที่รับดอนคดีจะมีอำนาจเหนือคดีที่รับโอนหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะเป็นเรื่องการรวมคดีจากศาลหนึ่งไปรวมกับอีกศาลหนึ่ง แม้จะเรียกว่าเป็นการโอนก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องการโอน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 6 เป็นการโอนไปรวมพิจารณากับอีกศาลหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 8
8. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสาระสำคัญในเรื่องการขอรวมคดีที่มีเขตอำนาจศาลซ้อนกันหรือการขอรวมคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาล
ก. มีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาในศาลชั้นต้นเดียวกันหรือต่างศาลกัน
ข. การขอรวมของคู่ความ อาจจะขอมาในชั้นที่ยื่นคำให้การหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษาซึ่งศาลที่รับคำร้องจะต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นเสียก่อน
ค. ศาลที่จะรับดอนคดีไปรวมต้องเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่โอนมาด้วย ถ้าไม่มีเขตอำนาจ เหนือคดีนั้นจะรับโอนมาไม่ได้
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะตามบทบัญญัติของ ป.วิ .พ. มาตรา 28 มีสาระสำคัญในเรื่องการขอรวมคดีที่มีเขตอำนาจศาลซ้อนกันดังนี้
1. มีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาในศาลชั้นต้นเดียวกันหรือต่างศาลกัน
2. คดีที่ค้างพิจารณานั้นคู่ความทั้งหมดหรือแต่บางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกัน คือ อาจจะเป็นโจทก์คนเดียวกันหรือจำเลยคนเดียวกันหรือทั้งโจทก์ทั้งจำเลยเป็นคนเดียวกันก็ได้หรือถ้ามีผู้ร้องสอดก้อาจจะมีผู้ร้องสอดคนเดียวกันก็ได้
3. คดีที่ค้างพิจารณานั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน
4. การนำคดีมารวมกันนั้นจะทำให้เกิดความสะดวกในการพิจารณา
5. คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะขอให้มีการรวมพิจารณาหรือศาลเห็นจะให้มีการรวมพิจารณาก็ได้
6. การขอรวมของคู่ความ อาจจะขอมาในชั้นที่ยืนคำให้การหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นๆก่อนศาลมีคำพิพากษา ซึ่งศาลที่รับคำร้องจะต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นเสียก่อน
7. เมื่อศาลที่รับคำร้องรวมเห็นสมควรให้รวม ถ้าเป็นคดีศาลเดียวกันก็สั่งรวมพิจารณาได้เลย แต่ถ้าเป้นเรื่องต่างศาลกันแล้ว ศาลที่โอนไปรวมต้องสอบถามศาลที่จะรับโอนไปรวมเสียก่อนถ้าศาลที่รับโอนไปรวมไม่ขัดข้องก็สั่งให้โอนไปรวมได้
8. ศาลที่จะรับโอนคดีไปรวมต้องเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่โอนมาด้วยถ้าไม่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นจะรับโอนมาไม่ได้ ไม่เหมือนกับการโอนมารวม ตามมาตรา 8 เพราะว่าการโอนมารวมตามมาตรา 8 เป็นเรื่องต่างเขตอำนาจกัน
9. ถ้าศาลที่รับดอนไปรวมไม่ยินยอมศาลที่จะโอนไปรวมก็ต้องส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าจะให้โอนไปรวมหรือไม่ ไม่ว่าศาลชั้นต้นที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในเขตอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาคใดก็ต้องส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
9. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์การขอบังคับคดีนอกเขตศาล
ก. มีการออกหมายบังคับคดี ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 275 แล้ว
ข. ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏว่าทรัพย์หรือบุคคลที่จะต้องบังคับหรือจะต้องถูกบังคับอยู่นอกเขตศาลที่ ออกหมายบังคับคดี
ค. เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา ยื่นคำแถลงต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือทรัพย์และบุคคลที่จะต้องถูก บังคับ หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีรายงานให้ศาลมีเขตอำนาจทราบว่าจะต้องมีการบังคับคดีต่อทรัพย์ หรือบุคคลที่อยู่ในเขตศาลนั้น
ง. เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือทรัพย์และบุคคลที่จะต้องถูก บังคับ หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีรายงานให้ศาลมีเขตอำนาจทราบว่าจะต้องมีการบังคับคดีต่อทรัพย์ หรือบุคคลที่อยู่ในเขตศาลนั้น
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยื่นคำแถลงต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือทรัพย์และบุคคลที่จะต้องถูกบังคับ หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีรายงานให้ศาลมีเขตอำนาจทราบว่าจะต้องมีการบังคับคดีต่อทรัพย์หรือบุคคลที่อยู่ในเขตศาลนั้น
10. ในเรื่องอำนาจในการพิจารณาเนื้อหาของคำคู่ความ ในการพิจารณาเนื้อหาศาลมีทางที่จะสั่งได้ 3 ทาง ต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. สั่งให้แก้ไข เอเนื้อหาไม่ถูกต้อง
ข. สั่งรับคำคู่ความนั้นไว้พิจารณา เมื่อเห็นว่าชอบด้วยกฎหมาย
ค. สั่งไม่รับคำคู่ความนั้นถ้าเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ง. สั่งให้คืนไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เมื่อยื่นผิดศาล