ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ ส.ป.ก. นักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ ส.ป.ก. นักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ

แชร์กระทู้นี้

ประกาศ เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ จำนวน 11 อัตรา (7-28 พ.ย.54)
 
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกาศ เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ จำนวน 11 อัตรา (7-28 พ.ย.54)

1.     ข้อใดเป็นความหมายของคำว่าที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน 

        ก.    พื้นที่ดินทั่วไป                                                                      ข.    คลอง

        ค.    ที่ชายทะเล                                                                            ง.     ถูกทุกข้อ 

ตอบ  ง.  ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หมายความถึงพื้นที่ดินทั่วไป และให้ความหมายรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่าที่ดินมีความหมายกว้างมาก เพราะนอกจากจะหมายความถึงพื้นที่ดินโดยทั่วๆ ไปที่ราษฎรใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพแล้วประมวลกฎหมายที่ดิน ยังให้ความหมายรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ด้วย ซึ่งแม้โดยสภาพจะไม่เป็นพื้นดินธรรมดา เช่น หนองน้ำ บึง ทะเลสาบ เป็นต้น สาเหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะเห็นว่าที่ดินเป็นทรัพย์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น พื้นที่ต่างๆ ดังกล่าวแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีสภาพเป็นพื้นดิน แต่ในอนาคตจะตื้นเขินกลายเป็นพื้นดินขึ้นมาในภายหลังได้ จึงได้บัญญัติครอบคลุมไปถึงไว้ด้วย

2.     สิทธิในที่ดิน หมายถึงข้อใด                                                     

        ก.    เฉพาะสิทธิครอบครอง                                                      ข.   เฉพาะกรรมสิทธิ์ 

ค.    ทั้งสิทธิครอบครอง และกรรมสิทธิ์                                  ง.   ไม่มีข้อถูก 

        ตอบ   ค.   สิทธิในที่ดิน หมายถึง กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง 

3.     ที่ดินมือเปล่า คือที่ดินตามข้อใด 

        ก.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดแผนที่ 

        ข.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดตราจอง 

        ค.    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น  นส.3ก 

        ง.     ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว 

ตอบ  ค.   ที่ดินมือเปล่า  คือ  ที่ดินที่เจ้าของยังไม่มีกรรมสิทธิ์ เช่น นส.3., ส.ค.1, น.ส. 3ก, ใบไต่สวน เหล่านี้เป็นที่ดินมือเปล่า เพราะเจ้าของยังไม่มีกรรมสิทธิ์ 

4.     หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์มีกี่ชนิด 

        ก.    1  ชนิด                                                                                   ข.    2  ชนิด

ค.    4  ชนิด                                                                                   ง.     5  ชนิด 

ตอบ   ค.   หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ มี  4  ชนิด คือ  1)  โฉนดที่ดิน   2)  โฉนดแผนที่   3) โฉนดตราจอง      4)  ตราจองที่ตราไว้ได้ทำประโยชน์แล้ว    

5.     บุคคลในข้อใดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว

        ก.    นาย ก มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นใบจอง 

        ข.    นาย ข มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหลักฐานการแจ้งการครอบครอง 

        ค.    นาย ค มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นโฉนดที่ดิน 

        ง.     นาย    มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ 

ตอบ   ค.   มาตรา 2  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497  บัญญัติว่า  ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ  จากมาตรา 2  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าว จะเห็นว่าที่ดินที่ ราษฎรยังมิได้มีกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่าราษฎรยังมิได้มีกรรมสิทธิ์  ถึงแม้ว่าราษฎรจะมีสิทธิครอบครองโดยอาจจะหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่าง เช่น ใบจอง ตราจอง หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน หนังสือรับรอง การทำประโยชน์ เป็นต้น แต่มาตรา 2 แห่งกฎหมายที่ดินก็ยังถือว่าที่ดินที่ราษฎรมีสิทธิครอบครองนี้เป็นที่ดินของ รัฐ เพียงแต่รัฐอนุญาตให้ราษฎรมีสิทธิครอบครองแล้วรัฐจะไม่เข้าไปข้องเกี่ยว แต่สิทธิครอบครองที่กล่าวนี้จะต้องเป็นสิทธิครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมาย

6.     หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินข้อใด ที่ได้รับตามประมวลกฎหมายที่ดิน 

        ก.    โฉนดแผนที่                                                                         ข.    โฉนดตราจอง 

        ค.    ตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว                          ง.     โฉนดที่ดิน

ตอบ   ง.   การได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งอาจจะเป็นการได้โฉนดที่ดินโดย การ     ที่ทางราชการประกาศออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล หรืออาจจะเป็นการยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย

7.     หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามข้อใด ตั้งเมื่อทำประโยชน์ครบ 2 ปี หรือ 3 ปีแล้ว สามารถนำมาขอตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว จากทางราชการได้

        ก.    ใบเหยียบย่ำ                                                                          ข.   นส.3 

        ค.    ใบไต่สวน                                                                             ง.   ส.ค.1 

ตอบ   ก.   ตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว  ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6)พุทธศักราช 2479  ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้มีการออกใบอนุญาตแก่ผู้มาขอจับจองทำประโยชน์ที่ดินของรัฐเป็นใบเหยียบย่ำหรือตราจอง  ซึ่งมีอายุในการทำประโยชน์ 2 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่กรณี เมื่อผู้ขอจับจองได้ทำประโยชน์ครบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้แล้ว  ผู้ที่มีตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว  จากทางราชการได้

8.     การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อครองชีพนั้น เมื่อราษฎรทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ เรียกว่าอะไร 

        ก.    ตราจองที่ตราว่า  ได้ทำประโยชน์แล้ว                         ข.   หนังสือแสดงการทำประโยชน์

        ค.    หนังสือรับรองการทำประโยชน์                                      ง.   หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน 

ตอบ   ข.   การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2551  นั้น ทางราชการได้จัดที่ดินให้ราษฎรเข้าทำกินในที่ดินตามเงื่อนไขและระเบียบของเจ้าหน้าที่ เมื่อราษฎรได้ทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ฉบับหนึ่ง เรียกว่า หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (ไม่ใช่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก) เป็นหนังสือรับรองที่เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์หรือเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แล้วแต่กรณีเป็นผู้ออกให้ เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิไปขอรับโฉนดที่ดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้) 

9.   ที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หากเจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เป็นระยะเวลาเท่าใด ที่ดินนั้นอาจกลับคืนมาเป็นของรัฐได้ 

ก.   1  ปี                                                                                          ข.   3  ปี 

ค.   5  ปี                                                                                          ง.   10  ปี 

ตอบ   ง.   มาตรา 6  นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับบุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนาดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ 

1.   สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน 

2.   สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะ 

                                                                                                ส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือที่ปล่อยให้เป็นที่ร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป

10.  ที่ดินที่ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นอาจกลับมาเป็นของรัฐอีกในกรณีใด 

        ก.    เจ้าของที่ดินเวนคืนให้รัฐด้วยความสมัครใจ 

        ข.    เจ้าของที่ดินที่มีโฉนดที่ดินทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เกิน 5 ปี 

        ค.    เจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกิน 1 ปี 

        ง.    ถูกทุกข้อ 

ตอบ   ก.  ถึงแม้ว่าราษฎรจะมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ดินนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นของรัฐได้อีก พอจะแยกพิจารณาได้ดังนี้ 

1.   เจ้าของที่ดินเวนคืนให้รัฐโดยความสมัครใจ 

                2.   เจ้าของที่ดินทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า 

2.1   สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกิน 10 ปีติดต่อกัน 

2.2   สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกิน 5 ปีติดต่อกัน       

        3.   เจ้าของที่ดินถูกทางราชการบังคับเวนคืน 

11.  ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากเจ้าของทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เป็นระยะเวลาเท่าใด 

        ที่ดินนั้นอาจกลับคืนมาเป็นของรัฐได้ 

        ก.    1  ปี                                                                                         ข.    3  ปี 

        ค.    5  ปี                                                                                         ง.     10  ปี 

ตอบ   ค.   มาตรา 6  นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับบุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ 

1.   สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน 

       2.   สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิ์ในที่ดิน เฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือที่ปล่อยให้เป็นที่ร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป 

12. เมื่อราษฎรได้ครองรองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับได้ไปแจ้ง 

        การครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกเอกสารตามข้อใด 

        ก.    หนังสือรับรองการทำประโยชน์                                      ข.    หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน

        ค.    ใบไต่สวน                                                                             ง.     ตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว

ตอบ   ข.   หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน หรือ ส.ค. 1 ออกให้ในกรณีที่ราษฎรซึ่งได้ครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลที่ดินใช้บังคับได้ไปแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5  แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 

13.  หนังสือการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว คือข้อใด 

        ก.    ใบเหยียบย่ำ                                                                          ข.    ใบจอง 

ค.    ใบไต่สวน                                                                             ง.    ส.ค.1 

ตอบ   ข.   ใบจองหรือ น.ส.2 ตามมาตรา 1  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้ให้ความหมายว่าเป็นหนังสือแสดงการยอมรับให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว ซึ่งรัฐออกให้แก่บุคคลผู้ประสงค์จะได้ที่ดินของรัฐเป็นของตน โดยบุคคลผู้นั้นได้เสนอความต้องการของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็จะอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดินและออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐาน 

14.  การออกใบจองมีกี่วิธี

        ก.    1  วิธี                                                                                       ข.    2  วิธี 

        ค.    3  วิธี                                                                                       ง.     4  วิธี 

        ตอบ   ข.   การออกใบจองมีได้  2  กรณีคือ 

        1.  การจัดที่ดอนจองรัฐให้แก่ประชาชน เรียกว่า การจัดที่ดินผืนใหญ่ 

        2.  ที่ดินที่รัฐอนุญาตให้ราษฎรจับจองเรียกว่า การจับจองที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย 

15.  ผู้ได้รับใบจอง จะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายในเวลาใด 

        ก.    7  วัน                                                                                      ข.   15  วัน

       ค.   1  เดือน                                                                                    ง.    6  เดือน 

ตอบ   ง.  ราษฎรผู้ได้รับใบจองเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับใบจอง    

        ถ้าผู้ถือใบจองไม่เริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับใบจอง ให้เจ้าหน้าที่ในการจัดที่ดินสอบสวนรายงานตามลำดับไปยังอธิบดีกรมที่ดิน เพื่อพิจารณาสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่ดินตามมาตรา 32  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก   

 ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร ประกอบด้วย
- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง
- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา

- แนวข้อสอบ พรบ.ประมวลกฎหมายที่ดิน
- สรุปกฎหมายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

- การพัฒนาชนบท

- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับที่ดิน
- การพัฒนาการเกษตร
 

สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 

 

 

สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
 บิ๊กซีขอนแก่น
decho pragay  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
การจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
      ส.ป.ก. ได้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 โดยการนำที่ดินของรัฐ และที่ดินที่จัดซื้อจากเอกชนนำมาจัดให้กับเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ได้เข้าทำประโยชน์ เช่า หรือเช่าซื้อ โดยในการจัดที่ดินดังกล่าว คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ได้ออกระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ตามระเบียบ คปก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538 และกำหนดให้การคัดเลือกเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินในแต่ละท้องที่ อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด
นอกจากนี้ตามมาตรา 30 กำหนดให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร โดยจัดให้เช่าได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.)กำหนด ตามจำนวนที่ดินที่ คปก. เห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประเภท และลักษณะการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรนั้นๆ
1. ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน
      ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่
      1. เกษตรกร ซึ่งเกษตรกรตามความหมายของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน หมายถึง
            1.1 ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยพิจารณาจากการใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น
            1.2 ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง 3 ประเภท คือ
                  (1) ผู้ยากจน
                  (2) ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม
                  (3) ผู้เป็นบุตรของเกษตรกร
            ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเป็นเกษตรกร ที่กำหนดไว้ใน พระราชกฤษฎีกา
      2. สถาบันเกษตรกร หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
2. ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
      พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 มาตรา 30 กำหนดให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินให้เกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด ตามขนาดการถือครองในที่ดิน ดังนี้
      1. จำนวนที่ดินไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับเกษตรกร และบุคคลในครอบรัวเดียวกัน เพื่อใช้ประกอบเกษตรกรรม
      2 จำนวนที่ดินไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับเกษตรกร และบุคคลในครอบรัวเดียวกัน เพื่อใช้ประกอบเกษตรกรรม ประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ
      3. จำนวนตามที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควรสำหรับสถาบันเกษตรกร
      4. ถ้าเป็นที่ดินของรัฐ และมีเกษตรกรถือครองอยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนด ก่อนเวลาที่คณะกรรมการฯ กำหนด (พ.ศ. 2524) จัดให้ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100 ไร่ (มาตรา 30 วรรคสาม)
3. ขั้นตอนการประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
      เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติเห็นชอบตามสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ส.ป.ก. จังหวัด) เสนอให้ดำเนินการจัดเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมท้องที่ใด คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดจะออกประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด ระยะเวลาการให้เกษตรกรยื่นคำร้องฯ ต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน ถ้ามีเหตุสมควรคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด อาจประกาศให้ขยายระยะเวลาตามความจำเป็นได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน (ระเบียบคัดเลือกฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง)
ประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน จะต้องปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ ศาลากลางจังหวัด สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ และที่ชุมชนในท้องที่ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ หรือจะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นด้วยก็ได้
ข้อยกเว้นกรณีไม่ต้องประกาศให้ยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์
ในกรณีที่ที่ดินที่จะจัดให้มีจำกัด และมีเกษตรกรซึ่งเป็นผู้เช่าอยู่ขณะโอนกรรมสิทธิ์เป็นของ ส.ป.ก. หรือมีเกษตรผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนขอรับที่ดินทำกินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 2/2534 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2534 ไว้แล้ว ให้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดังกล่าวต่อไปโดยไม่ต้องประกาศฯ และสำหรับผู้ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้วให้ได้รับการยกเว้นการยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ (ระเบียบคัดเลือก ข้อ 5 วรรคสาม)
4. คุณสมบัติเกษตรกรผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เกษตรกรผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
      (1) มีสัญชาติไทย
      (2) บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว
      (3) มีความประพฤติดี และซื่อสัตย์สุจริต
      (4) มีร่างสมบูรณ์ ขยันขันแข็งและสามารถประกอบการเกษตรได้
      (5) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
      (6) ไม่มีที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย แต่ไม่เพียงพอต่อการประกอบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ
      (7) เป็นผู้ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด

5 ขั้นตอนการยื่นคำร้องตามประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด
      เมื่อมีประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว เกษตรกรที่ประสงค์จะขอรับการจัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามประกาศฯ ดังกล่าว จะต้องมายื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด ณ สถานที่ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด พร้อมทั้งแนบหลักฐานเอกสาร ดังนี้
      (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
      (2) สำเนาทะเบียนบ้าน

6. การสอบสวนสิทธิ และกระจายสิทธิ
      เกษตรกรที่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตาม ประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เรื่องให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. จังหวัด เมื่อได้รับคำร้องฯ แล้วจะทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องฯ พร้อมทั้งสอบสวนสิทธิการถือครอง และการทำประโยชน์ในที่ดิน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ดังนี้
      (1) ประวัติเบื้องต้นของเกษตรกร
      (2) จำนวนที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมที่มีอยู่ของครอบครัว รวมทั้งตรวจสอบการได้รับการจัดที่ดินจากหน่วยงานอื่นใดของรัฐ (ระเบียบคัดเลือก ข้อ 10 วรรคหนึ่ง)
      (3) ลักษณะ วิธีการ ผลผลิต รายได้จากการประกอบเกษตรกรรม
      (4) วิธีการได้ที่ดินมา

7. ขั้นตอนการคัดเลือกเกษตรกร
      7.1 เกษตรกรที่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ได้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้ยื่นคำร้องฯ พร้อมทั้งสอบสวนสิทธิการ ถือครองแปลงที่ดินและการทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด จะจัดทำบัญชีคัดเลือกเกษตรกร เพื่อนำ เสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาคัดเลือกและจัดที่ดินให้กับเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด อาจพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือกเกษตรกรระดับอำเภอ ขึ้นมาเพื่อพิจารณาในเบื้องต้นก่อน นำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพื่อพิจารณาก็ได้ (ระเบียบคัดเลือก ข้อ 12)
      7.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาเกษตรกรผู้จะได้รับการคัดเลือก จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
      (1) เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินของรัฐ หรือเกษตรกรผู้เช่าที่ดินที่นำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเป็นผู้ทำกินในที่ดินนั้น
      (2) เกษตรกรผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนขอรับที่ดินทำกินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
      (3) เกษตรกรอื่นตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณากำหนด
      ทั้งนี้ ให้อำนาจคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นผู้พิจารณาในการจัดลำดับเกษตรกรที่จะจัดที่ดินให้ (ระเบียบคัดเลือก ข้อ 8)
8. การประกาศผลการคัดเลือก
      8.1 เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ได้พิจารณา และมีมติคัดเลือกเกษตรกร และจัดที่ดินให้เข้าทำประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดินดังกล่าว โดยปิดประกาศรายชื่อเกษตรกรไว้ในที่เปิดเผย ณ ศาลากลางจังหวัด สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ และที่ชุมชนในท้องที่ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ
      8.2 ในกรณีที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติไม่คัดเลือกให้ผู้ยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินฯ ได้รับการจัดที่ดิน หรือในกรณีที่มีผู้ได้รับผลกระทบจากการคัดเลือกและการจัดที่ดินตามประกาศผลการคัดเลือกดังกล่าว ในข้อ 8.1 ผู้ยื่นคำร้องฯ หรือผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว สามารถใช้สิทธิทางศาลปกครองได้
.
9. การมอบหนังสือรับมอบที่ดิน
      เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดินตามประกาศผลการคัดเลือกดังกล่าว ส.ป.ก. จะนัดมอบแปลงที่ดิน และมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบ คปก. ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ข้อ 5 โดยให้เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดิน ลงลายมือชื่อในหนังสือรับมอบที่ดินไว้เป็นหลักฐาน ตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด ( แบบ ส.ป.ก 4-28 ก.)
10. การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
      เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดิน และได้รับหนังสือรับมอบที่ดินจาก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแล้ว ในกรณีที่ดินที่ได้รับเป็นประเภทที่ดินของรัฐ ส.ป.ก. จะออก หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ข) ให้กับเกษตรกร (ระเบียบ คปก. ว่าด้วย การออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน และออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2540)
สำหรับในกรณีที่ดินที่ได้รับ เป็นประเภทที่เอกชนที่ ส.ป.ก. ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ส.ป.ก. จะจัดทำสัญญาเช่าที่ดิน ( ส.ป.ก. 4-14 ก) หรือ สัญญาเช่าซื้อที่ดิน (ส.ป.ก. 4-18 ข) กับเกษตรกร
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้