แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
1. ผู้ใดเป็นรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก. ประธานศาลปกครองสูงสุด
ข. คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท
ง. ตุลาการศาลปกครอง
ตอบ ก. ประธานศาลปกครองสูงสุด
มาตรา ๔ ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. ศาลปกครองแบ่งออกเป็นกี่ชั้น
ก. 8 ชั้น
ข. 6 ชั้น
ค. 4 ชั้น
ง. 2 ชั้น
ตอบ ง. 2 ชั้น
มาตรา ๗ ศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ
(๑) ศาลปกครองสูงสุด
(๒) ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่
(ก) ศาลปกครองกลาง
(ข) ศาลปกครองในภูมิภาค
3. ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครอง
ก. จัดพิมพ์และเผยแพร่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด
ข. รับผิดชอบในงานธุรการของศาลปกครอง
ค. ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
ง. ดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง
ตอบ ข. รับผิดชอบในงานธุรการของศาลปกครอง
มาตรา ๗๗ สำนักงานศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบในงานธุรการของศาลปกครอง
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองตามคำสั่งของศาลปกครอง
(๓) ดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครอง
(๔) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของศาลปกครอง
(๕) วิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๖) จัดพิมพ์และเผยแพร่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง
(๗) จัดให้มีการศึกษาอบรมและพัฒนาความรู้ของตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาหลักกฎหมายมหาชน การบริหารราชการแผ่นดิน และบุคลากรด้านกฎหมายมหาชน
(๘) ปฏิบัติการอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครอง
4. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง ถ้าจะต้องกระทำโดยตุลาการปกครองหลายคนนั้นจะต้องบังคับตามความเห็นของฝ่ายข้างมาก แต่ในกรณีที่ตุลาการในศาลปกครองผู้ใดมีความเห็นแย้งให้กระทำเช่นไร
ก. ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดมาเป็นผู้วินิจฉัย
ข. ทำการวินิจฉัยคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นใหม่
ค. ทำความเห็นแย้งไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค. ทำการตัดสินคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นใหม่
มาตรา ๖๗ การทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองถ้าจะต้องกระทำโดยตุลาการปกครองหลายคน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะต้องบังคับตามความเห็นของฝ่ายข้างมาก และในกรณีที่ตุลาการในศาลปกครองผู้ใดมีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐหมายความว่า
ก. ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง
ข. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท
ค. บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาของหน่วยงานทางปกครอง
ง. ถูกทุกข้อง
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการปกครอง
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า
(๑) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง
(๒) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ
(๓) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (๑) หรือ (๒)
“คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีการจัดองค์กรและวิธีพิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
“ตุลาการศาลปกครอง” หมายความว่า ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
“ก.ศป.” หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
6. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตำแหน่งของตุลาการศาลปกครอง
ก. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท
ข. ตุลาการศาลปกครอง
ค. ประธานศาลปกครองสูงสุด
ง. ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครอง
ตอบ ค. ประธานศาลปกครองสูงสุด
มาตรา ๑๒ ในศาลปกครองสูงสุดให้มีตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานศาลปกครองสูงสุด
(๒) รองประธานศาลปกครองสูงสุด
(๓) ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
(๔) ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ทั้งนี้ ตามจำนวนที่ ก.ศป. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
7. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือใคร
ก. นายบรรหาร ศิลปอาชา
ข. นายชวน หลีกภัย
ค. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ง. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ตอบ ข. นายชวน หลีกภัย
8. ในวาระเริ่มแรกให้จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาค โดยที่ศาลปกครองขอนแก่นมีเขตตลอดท้องที่ในจังหวัดใด
ก. จังหวัดหนองคาย
ข. จังหวัดอุดรธานี
ค. จังหวัดกาฬสินธุ์
ง. จังหวัดเลย
ตอบ ค. จังหวัดกาฬสินธุ์
มาตรา ๙๔ ในวาระเริ่มแรก ให้จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
(๑) ศาลปกครองขอนแก่น ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหววัดมหาสารคาม
(๒) ศาลปกครองชุมพร ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดระนอง
(๓) ศาลปกครองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
(๔) ศาลปกครองนครราชสีมา ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ
(๕) ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(๖) ศาลปกครองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
(๗) ศาลปกครองพิษณุโลก ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดสุโขทัย
(๘) ศาลปกครองแพร่ ตั้งอยู่ในจังหวัดแพร่ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดอุตรดิตถ์
(๙) ศาลปกครองยะลา ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี
(๑๐) ศาลปกครองระยอง ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
(๑๑) ศาลปกครองลพบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดลพบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
(๑๒) ศาลปกครองสกลนคร ตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดสกลนคร จัหงวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร
(๑๓) ศาลปกครองสงขลา ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล
(๑๔) ศาลปกครองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี
(๑๕) ศาลปกครองอุดรธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
(๑๖) ศาลปกครองอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอำนาจเจริญ
9. จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ในเขตท้องที่ศาลปกครองของจังหวัดใด
ก. จังหวัดอุบลราชธานี
ข. จังหวัดอุดรธานี
ค. จังหวัดขอนแก่น
ง. จังหวัดสกลนคร
ตอบ ก. จังหวัดอุบลราชธานี
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
10. จังหวัดใดต่อไปนี้ไม่ได้อยู่ในเขตท้องที่ศาลปกครองจังหวัดสงขลา
ก. จังหวัดยะลา
ข. จังหวัดสตูล
ค. จังหวัดพัทลุง
ง. จังหวัดตรัง
ตอบ ก. จังหวัดยะลา
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
11. คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองของศาลปกครองจะต้องมีสิ่งใดต่อไปนี้ระบุในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด
ก. ชื่อจำเลย
ข. พยานในการฟ้อง
ค. ชื่อผู้ยื่นคำฟ้อง
ง. วัน เดือน ปีที่ฟ้อง
ตอบ ค. ชื่อผู้ยื่นคำฟ้อง
มาตรา ๖๙ คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองของศาลปกครองอย่างน้อยต้องระบุ
(๑) ชื่อผู้ยื่นคำฟ้อง
(๒) หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
(๓) เหตุแห่งการฟ้องคดี
(๔) ข้อเท็จจริงของเรื่องที่ฟ้อง
(๕) เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย
(๖) คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี
(๗) คำบังคับ (ถ้ามี) โดยให้ระบุหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับไว้ด้วย
(๘) ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา (ถ้ามี)
คำพิพากษาหรือคำสั่งตามวรรคหนึ่งต้องลงลายมือชื่อของตุลาการศาลปกครองที่นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งนั้น ถ้าตุลาการศาลปกครองคนใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นหรือประธานศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณีจดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย
12. เมื่อมีการละเมิดอำนาจศาล ให้ศาลปกครองมีอำนาจสั่งลงโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินสองเดือน
ข. ไล่ออกจากบริเวณศาล
ค. ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ ข. ไล่ออกจากบริเวณศาล
มาตรา ๖๔ นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ให้นำบทบัญญัติที่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่อมีการละเมิดอำนาจศาลให้ศาลปกครองมีอำนาจสั่งลงโทษได้ ดังนี้
(๑) ตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ก็ได้
(๒) ไล่ออกจากบริเวณศาล
(๓) ลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลพึงใช้อย่างระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี และหากเป็นการสั่งลงโทษตาม (๓) ให้องค์คณะอื่นที่มิใช่องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นเป็นผู้พิจารณาและสั่งลงโทษ
13. ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ก. เป็นบุคคลล้มละลาย
ข. ลาออก
ค. เป็นคนไร้ความสามารถ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๒๑ ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สิ้นปีงบประมาณที่ตุลาการศาลปกครองผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่จะผ่านการประเมินสมรรถภาพให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตาม มาตรา ๓๑
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ หรือ มาตรา ๑๘
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๗) เป็นโรคหรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นตุลาการศาลปกครองตามที่ระบุไว้ในประกาศที่ ก.ศป. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
(๘) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม มาตรา ๒๒
(๙) ถูกไล่ออกตาม มาตรา ๒๓
การพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งนอกจาก (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง
14. ตุลาการศาลปกครองผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออก โดยบุคคลใดเป็นผู้สั่งอนุญาตให้พ้นจากตำแหน่ง
ก. ประธานศาลปกครองสูงสุด
ข. ประธานศาลปกครอง
ค. สำนักงานศาลปกครอง
ง. คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
ตอบ ก. ประธานศาลปกครองสูงสุด
มาตรา ๒๖ ตุลาการศาลปกครองผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออก เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นลาออก
นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าประธานศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจะยับยี้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่ขอลาออก็ได้
15. คำฟ้องจะต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีสิ่งใดต่อไปนี้
ก. ชื่อและที่อยู่ของจำเลย
ข. ชื่อและที่อยู่ของพยานจำเลย
ค. ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
ง. ชื่อและที่อยู่ของพยานผู้ฟ้องคดี
ตอบ ค. ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
มาตรา ๔๕ คำฟ้องให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมี
(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดด
(๒) ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
(๓) การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว
(๔) คำขอของผู้ฟ้องคดี
(๕) ลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี ถ้าเป็นการยื่นฟ้องคดีแทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีมาด้วย
คำฟ้องใดมีรายการไม่ครบตามวรรคหนึ่ง หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้ให้สำนักงานศาลปกครองให้คำแนะนำแก่ผู้ฟ้องคดีเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้นให้ถูกต้อง ในการนี้ให้ถือวันที่ยื่นฟ้องครั้งแรกเป็นหลักในการนับอายุความ
ในกรณีที่มีผู้ประสงค์จะฟ้องคดีปกครองหลายคนในเหตุเดียวกัน บุคคลเหล่านั้นอาจยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยจะมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีคนใดเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนผู้ฟ้องคดีในกระบวนพิจารณาผูกพันผู้ฟ้องคดีทุกคน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบพนักงานศาลปกครอง ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
ประกอบด้วย
- ข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ
- ข้อสอบกฎหมายปกครอง
- ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
- ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
- ข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
บิ๊กซีขอนแก่ decho pragay ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com
สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724