ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)

แชร์กระทู้นี้

ณ วันนี้และเวลานี้   การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป หรือเรียกย่อ ๆ ว่าการสอบภาค ก. มีการจัดสอบแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
 ประเภทที่ 1 เป็นการสอบโดยสำนักงาน กพ. โดยตรง โดยถือว่าเป็นต้นฉบับของการสอบ ภาค ก โดยแท้จริง เมื่อผู้เข้าสอบได้สอบผ่านจะได้หนังสือรับรองการสอบ ภาค ก. จากสำนักงาน กพ. แล้วสามารถนำผลการสอบดังกล่าวไปแสดงต่อหน่วยงานที่จัดสอบบุคคลเข้ารับราชการเพื่อเข้าสอบใน ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต่อไป
  ประเภทที่ 2 เป็นการสอบโดยส่วนราชการที่ประสงค์จะรับบุคคลเข้ารับราชการในหน่วยงานของตนโดยตรง ซึ่งจะเปิดสอบ ภาค ก. พร้อมกับการสอบ ภาค ข. และ ค. ทั้งนี้โดยได้รับอนุมัติจากสำนักงาน กพ. ก่อนที่จะดำเนินการดังกล่าวได้
  ประเภทที่ 3 เป็นการสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. เทศบาล ดำเนินการสอบโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งจะได้ดำเนินการในปี 2549 เป็นครั้งแรก เมื่อผู้เข้าสอบผ่านการสอบภาค ก. จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แล้วสามารถนำผลการสอบไปแสดงต่อหน่วยงานที่จัดสอบ เช่น อบต. อบจ. เทศบาล เพื่อเข้าสอบ ภาค ข. และ ค. ต่อไป

การสอบ ภาค ก. ของแต่ละประเภทแตกต่างกันหรือไม่ ?
  ขอตอบว่า การสอบ ภาค ก. ของแต่ละประเภท เหมือนกันทุกประการ เพราะการสอบทั้ง 3 ประเภท ได้ใช้มาตรฐานการสอบ ภาค ก. จากสำนักงาน กพ.ทั้งสิ้น
  
วัตถุประสงค์ของการสอบ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) เป็นอย่างไร
  การสอบภาค ก. เป็นการใช้ข้อสอบมาตรฐานเป็นเครื่องมือวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของผู้เข้าสอบ ซึ่งประกอบด้วย วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย สำหรับวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปจะวัดความสามารถขั้นพื้นฐานทางสติปัญญาของผู้เข้าสอบ ซึ่งเป็นความสามารถที่เกิดจากการสะสมความรู้มาตั้งแต่ชั้นประถมการศึกษา ถึงชั้นมัธยมการศึกษา เป็นความสามารถจากประสบการณ์ของผู้เข้าสอบโดยแท้ ดังนั้น ข้อสอบภาค ก. ผู้เข้าสอบจึงไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชาให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เพียงแต่หาแนวข้อสอบเก่า ๆ มาฝึกหัดทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ ก็น่าจะเพียงพอแล้วโดย การสอบภาค ก. มีตัวชี้วัด 3 ทาง คือ
  ตัวชี้วัดที่ 1 วัดความสามารถทางด้านความมีเหตุผล (Reasoning Ability)
ตัวชี้วัดที่ 2 วัดความสามารถทางด้านตัวเลข (Numerical Ability)
ตัวชี้วัดที่ 3 วัดความสามารถทางด้านภาษา (Verbal Ability)
   
  
ข้อสอบ ภาค ก. สอบวิชาใดบ้าง
  ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) คะแนนเต็ม 200 คะแนน ประกอบด้วย 2 วิชา คือ
  1. วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
  ทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรปุเหตุผล โดยการให้สรุปใจความ หรือให้จับประเด็นในข้อความ วิเคราะห์เหตุการณ์ หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็น
  2. วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
  ทดสอบ ความเข้าใจภาษา การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา หรือการเรียงความ
   จำนวน ข้อสอบ และเวลาในการทำข้อสอบ
  ปกติ สำนักงาน กพ. จะใช้ข้อสอบ จำนวน 80 ข้อ (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป 40 ข้อ และภาคภาษาไทย 40 ข้อ ๆ ละ 2.5 คะแนน) ใช้เวลาในการทำข้อสอบ 2.30 ชั่วโมง (เฉลี่ยเวลาที่ใช้ทำข้อสอบ ข้อละ 1นาที 52 วินาที)
   
  
ดังนั้นการสอบ ภาค ก. จึงเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นประตูไปสู่ การสอบ ภาค ข. และ ภาค ค. ต่อไป
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
calko ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณครับ
49116445 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ใครรู้ช่วยตอบหน่อยค่ะ   แสดงว่าถ้าสอบผ่านภาค ก ของสำนักงาน กพ. ก็สามารถยื่นเอกสารใช้แทนการสอบผ่านภาค ก. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ เนื่องจากการสอบทั้ง 2 ประเภท ได้ใช้มาตรฐานการสอบ ภาค ก. จากสำนักงาน กพ. เหมือนกัน
jangber ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณมากค่ะ
kkanta ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณครับ
darunee2608 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณมากค่ะ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้