1. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ขึ้นกับหน่วยงานใด
ตอบ กระทรวงสาธารณะสุข
2. ภาษาอังกฤษขององค์การอนามัยโลกมีว่าอย่างไร
ตอบ World Health Organization (WHO)
3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ เมื่อวันที่เท่าใด
ตอบ วันที่ 20 มีนาคม 2555
4. ประธาน ชมรมพัฒนาระบาดวิทยา แห่งประเทศไทยท่านใหม่คือใคร
ตอบ นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ
5. International Emerging Infections Program (IEIP) คือหน่วงงานใด
ตอบ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข
6. โรคติดต่ออุบัติใหม่หมายถึงอะไร
ตอบ โรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ในมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ยังหมายรวมถึงโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่
7. ภาษาอังกฤษโรคติดต่ออุบัติใหม่มีว่าอย่างไร
ตอบ Emerging infectious diseases
8. โรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) หมายถึงอะไร
ตอบ โรคติดต่อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตและสงบไปนานหลายปีแล้ว แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก
9. โรคอุบัติใหม่ได้เกิดขึ้นมากในตั้งแต่ช่วงทศวรรษใด
ตอบ 1980 เป็นต้นมา
10. จำนวนโรคอุบัติใหม่ทั้งหมดนี้ ร้อยละ 60.3 เป็นโรคติดต่อประเภทใด
ตอบ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มักมีต้นเหตุมาจากสัตว์ป่า เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้เลือดออกอิโบลา
11. โรคอุบัติใหม่ร้อยละ 54.3 มีสาเหตุมาจากอะไร
ตอบ จากเชื้อแบคทีเรียหรือริกเก็ตเซีย
12. โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่สำคัญได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ 1. โรคกาฬหลังแอ่น
2. โรคไข้เลือดออกอีโบลา
3. โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
4. โรคไข้หวัดนก
5. ไข้เหลือง
6. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
7. โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
8. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
9. โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
10. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
11. โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
12. โรคเมลิออยโดซิส
13. โรคลิชมาเนีย
14. โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
13. โรคที่มีความสัมพันธ์กับโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ 1. โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
3. โรคแอนแทรกซ์
14. วงการแพทย์เรียกโรคกาฬหลังแอ่นว่าอย่างไร
ตอบ Meningococcal meningitis (เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น) หรือ Meningococcemia (การติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในกระแสเลือด)
15. ร้อยละ20 ของโรคกาฬหลังแอ่นสามารถตรวจพบได้ที่ใด
ตอบ สามารถตรวจพบได้ในลำคอ
16. การติดต่อของโรคกาฬหลังแอ่นเป็นอย่างไร
ตอบ เชื้อถูกถ่ายทอดได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยของน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย จากการไอ จามของผู้ป่วยแพร่เชื้อไปให้แก่ผู้ที่ใกล้ชิด เชื้อโรคจะมีระยะฟักตัวอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-10 วัน (โดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 วัน)
17. การติดเชื้อ Neisseria Meningitides มีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ การติดเชื้อ Neisseria Meningitides มี 3 ลักษณะคือ
1) การติดเชื้อที่ไม่รุนแรง
2) เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) มีอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ3 และ
3) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ50
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com